กรรม เกิดจาก เจตนา เจตนา คือ ตัวกรรม
Group Blog
 
<<
กรกฏาคม 2555
 
10 กรกฏาคม 2555
 
All Blogs
 
การทำกรรมดีอะไร หนักแน่นและดีที่สุด สมาธิ ( สมถะวิปัสสนา ) กรรมทีปนี


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙
สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค



๕. สมาธิสูตร
ว่าด้วยสมาธิเป็นเหตุเกิดปัญญา
[๒๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก-
*เศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาค ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย. ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสแล้ว. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เธอทั้งหลายจงเจริญสมาธิ. ภิกษุมีจิตตั้งมั่นแล้ว ย่อมรู้ชัดตามเป็นจริง. ก็ภิกษุย่อมรู้ชัดตามเป็น
จริงอย่างไร. ย่อมรู้ชัดซึ่งความเกิดและความดับแห่งรูป ความเกิดและความดับแห่งเวทนา ความ
เกิดและความดับแห่งสัญญา ความเกิดและความดับแห่งสังขาร ความเกิดและความดับแห่ง
วิญญาณ.
[๒๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเป็นความเกิดแห่งรูป อะไรเป็นความเกิดแห่ง
เวทนา อะไรเป็นความเกิดแห่งสัญญา อะไรเป็นความเกิดแห่งสังขาร อะไรเป็นความเกิดแห่ง
วิญญาณ? ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลในโลกนี้ ย่อมเพลิดเพลิน ย่อมพร่ำถึง ย่อมดื่มด่ำอยู่.
ก็บุคคลย่อมเพลิดเพลิน ย่อมพร่ำถึง ย่อมดื่มด่ำอยู่ ซึ่งอะไร. ย่อมเพลิดเพลิน ย่อมพร่ำถึง
ย่อมดื่มด่ำอยู่ซึ่งรูป เมื่อเพลิดเพลิน พร่ำถึง ดื่มด่ำอยู่ซึ่งรูป ความยินดีก็เกิดขึ้น ความยินดีในรูป
นั่นเป็นอุปาทาน เพราะอุปาทานของบุคคลนั้นเป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ
เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์โทมนัสและอุปายาส. ความ
เกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนั้น ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้. บุคคลย่อมเพลิดเพลินซึ่งเวทนา ฯลฯ
ย่อมเพลิดเพลินซึ่งสัญญา ฯลฯ ย่อมเพลิดเพลินซึ่งสังขาร ฯลฯ ย่อมเพลิดเพลิน ย่อมพร่ำถึง
ย่อมดื่มด่ำอยู่ซึ่งวิญญาณ เมื่อเพลิดเพลิน พร่ำถึง ดื่มด่ำอยู่ซึ่งวิญญาณ ความยินดีย่อมเกิดขึ้น
ความยินดีในวิญญาณ นั่นเป็นอุปาทาน เพราะอุปาทานของบุคคลนั้นเป็นปัจจัย จึงมีภพ
เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์
โทมนัสและอุปายาส. ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้. ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย นี่เป็นความเกิดแห่งรูป นี่เป็นความเกิดแห่งเวทนา นี่เป็นความเกิดแห่งสัญญา นี่เป็น
ความเกิดแห่งสังขาร นี่เป็นความเกิดแห่งวิญญาณ.
[๒๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเป็นความดับแห่งรูป อะไรเป็นความดับแห่งเวทนา
อะไรเป็นความดับแห่งสัญญา อะไรเป็นความดับแห่งสังขาร อะไรเป็นความดับแห่งวิญญาณ?
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมไม่เพลิดเพลิน ย่อมไม่พร่ำถึง ย่อมไม่ดื่มด่ำอยู่.
ก็ภิกษุย่อมไม่เพลิดเพลิน ย่อมไม่พร่ำถึง ย่อมไม่ดื่มด่ำอยู่ซึ่งอะไร. ย่อมไม่เพลิดเพลิน ย่อม
ไม่พร่ำถึง ย่อมไม่ดื่มด่ำอยู่ซึ่งรูป เมื่อเธอไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำถึง ไม่ดื่มด่ำอยู่ซึ่งรูป ความ
ยินดีในรูปย่อมดับไป เพราะความยินดีของภิกษุนั้นดับไป อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ
ภพจึงดับ ฯลฯ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้. ภิกษุย่อมไม่
เพลิดเพลิน ย่อมไม่พร่ำถึง ย่อมไม่ดื่มด่ำ ซึ่งเวทนา ... ซึ่งสัญญา ... ซึ่งสังขาร ...
ซึ่งวิญญาณ เมื่อเธอไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำถึง ไม่ดื่มด่ำอยู่ซึ่งเวทนา ... ซึ่งสัญญา ... ซึ่งสังขาร ...
ซึ่งวิญญาณ ความยินดีในเวทนา ... ในสัญญา ... ในสังขาร ... ในวิญญาณ ย่อมดับไป เพราะความ
ยินดีของภิกษุนั้นดับไป อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ ฯลฯ ความดับแห่งกอง
ทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้. ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นความดับแห่งรูป นี้เป็นความดับ
แห่งเวทนา นี้เป็นความดับแห่งสัญญา นี้เป็นความดับแห่งสังขาร นี้เป็นความดับแห่งวิญญาณ.
จบ สูตรที่ ๕.
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗ บรรทัดที่ ๒๙๓ - ๓๓๑. หน้าที่ ๑๓ - ๑๔.
//www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=17&A=293&Z=331&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=17&i=27
สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗

อรรถกถาสมาธิสูตรที่ ๕
ในสมาธิสูตรที่ ๕ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นภิกษุเหล่านั้นผู้เสื่อมจากความเป็นผู้มีจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งแล้ว ทรงทราบว่า เมื่อภิกษุเหล่านี้ได้ความมีจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง กรรมฐานจักเจริญ ดังนี้แล้วจึงได้ตรัสพระดำรัสนี้ว่า สมาธึ เป็นต้น
บทว่า อภินนฺทติ ได้แก่ย่อมปรารถนา.
บทว่า อภิวทติ ความว่า ภิกษุย่อมกล่าวด้วยความยินดียิ่งนั้นว่า แหมอารมณ์นี้ช่างน่าปรารถนาน่าใคร่น่าพอใจ ดังนี้
อนึ่ง เมื่อเธอยินดียิ่งซึ่งอารมณ์นั้นอาศัยอารมณ์นั้นทำให้เกิดความโลภขึ้นด้วยอาการอย่างนี้ชื่อว่าย่อมกล่าวยกย่อง.
บทว่า อชฺโฌสาย ติฏฺฐติ ได้แก่ กลืนเสร็จสรรพรับไว้.
บทว่า ยา รูเป นนฺทิ ได้แก่ ความเพลิดเพลินกล่าวคือความปรารถนาในรูปอย่างแรงกล้า.
บทว่า ตทุปฺปาทานํ คือ ชื่อว่าอุปาทาน เพราะอรรถว่ายึดมั่นอารมณ์นั้น.
บทว่า นาภินนฺทติ ได้แก่ ไม่ปรารถนา.
บทว่า นาภิวทติ ความว่า เธอย่อมไม่กล่าวว่า อารมณ์น่าปรารถนา น่าใคร่ ด้วยอำนาจแห่งความปรารถนา คือ ภิกษุผู้มีจิตใจประกอบด้วยวิปัสสนาแม้เมื่อทำการเปล่งวาจาว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ก็ชื่อว่าย่อมไม่กล่าวยกย่องทั้งนั้น.

ขอนอบน้อมแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

อนุโมทนาสาธุ





Create Date : 10 กรกฎาคม 2555
Last Update : 10 กรกฎาคม 2555 19:01:16 น. 1 comments
Counter : 1107 Pageviews.

 
"สมาธิเป็นเหตุให้เกิดปัญญา"


สวัสดี วันนี้...วันพระ แรม ๘ ค่ำ เดือน ๘‏

“ถ้าไม่พอใจเขา...แต่เราโคตรเจ็บ...”


โดย: คนป่าหาธรรม วันที่: 11 กรกฎาคม 2555 เวลา:14:53:32 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

shadee829
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add shadee829's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.