กรรม เกิดจาก เจตนา เจตนา คือ ตัวกรรม
Group Blog
 
<<
มีนาคม 2555
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
5 มีนาคม 2555
 
All Blogs
 
วิญญาณเวียนว่ายตายเกิด.....สักกายทิฐิ.....ปฏิสนธิวิญญาณ..

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์



[๑๒๕] ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็สักกายทิฐิ จะมีได้อย่างไร ฯ
พ. ดูกรภิกษุ ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับในโลกนี้ เป็นผู้ไม่ได้เห็นพระอริยะ
ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้ฝึกในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ
ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้ฝึกในธรรมของสัตบุรุษ ย่อมเล็งเห็นรูปโดย
ความเป็นอัตตาบ้าง เล็งเห็นอัตตาว่ามีรูปบ้าง เล็งเห็นรูปในอัตตาบ้าง เล็งเห็น
อัตตาในรูปบ้าง ย่อมเล็งเห็นเวทนาโดยความเป็นอัตตาบ้าง เล็งเห็นอัตตาว่ามีเวทนา
บ้าง เล็งเห็นเวทนาในอัตตาบ้าง เล็งเห็นอัตตาในเวทนาบ้าง ย่อมเล็งเห็นสัญญา
โดยความเป็นอัตตาบ้าง เล็งเห็นอัตตาว่ามีสัญญาบ้าง เล็งเห็นสัญญาในอัตตาบ้าง
เล็งเห็นอัตตาในสัญญาบ้าง ย่อมเล็งเห็นสังขารโดยความเป็นอัตตาบ้าง เล็งเห็น
อัตตาว่ามีสังขารบ้าง เล็งเห็นสังขารในอัตตาบ้าง เล็งเห็นอัตตาในสังขารบ้าง
ย่อมเล็งเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตาบ้าง เล็งเห็นอัตตาว่ามีวิญญาณบ้าง เล็ง
เห็นวิญญาณในอัตตาบ้าง เล็งเห็นอัตตาในวิญญาณบ้าง ดูกรภิกษุ อย่างนี้แล
สักกายทิฐิจึงมีได้ ฯ
[๑๒๖] ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สักกายทิฐิจะไม่มีได้อย่างไร ฯ
พ. ดูกรภิกษุ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้วในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ได้เห็น
พระอริยะ ฉลาดในธรรมของพระอริยะ ฝึกดีแล้วในธรรมของพระอริยะ ได้เห็น
สัตบุรุษ ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ฝึกดีแล้วในธรรมของสัตบุรุษ ย่อมไม่เล็งเห็น
รูปโดยความเป็นอัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาว่ามีรูปบ้าง ไม่เล็งเห็นรูปในอัตตาบ้าง
ไม่เล็งเห็นอัตตาในรูปบ้าง ย่อมไม่เล็งเห็นเวทนาโดยความเป็นอัตตาบ้าง ไม่เล็ง
เห็นอัตตาว่ามีเวทนาบ้าง ไม่เล็งเห็นเวทนาในอัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาในเวทนา
บ้าง ย่อมไม่เล็งเห็นสัญญาโดยความเป็นอัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาว่ามีสัญญาบ้าง
ไม่เล็งเห็นสัญญาในอัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาในสัญญาบ้าง ย่อมไม่เล็งเห็น
สังขารโดยความเป็นอัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาว่ามีสังขารบ้าง ไม่เล็งเห็นสังขาร
ในอัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาในสังขารบ้าง ย่อมไม่เล็งเห็นวิญญาณโดยความเป็น
อัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาว่ามีวิญญาณบ้าง ไม่เล็งเห็นวิญญาณในอัตตาบ้าง ไม่
เล็งเห็นอัตตาในวิญญาณบ้าง ดูกรภิกษุ อย่างนี้แล สักกายทิฐิจึงไม่มี ฯ
[๑๒๗] ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอแลเป็นคุณเป็นโทษ เป็น
ทางสลัดออกในรูป อะไรเป็นคุณ เป็นโทษ เป็นทางสลัดออกในเวทนา อะไร
เป็นคุณ เป็นโทษ เป็นทางสลัดออกในสัญญา อะไรเป็นคุณ เป็นโทษ เป็น
ทางสลัดออกในสังขาร อะไรเป็นคุณ เป็นโทษ เป็นทางสลัดออกในวิญญาณ ฯ
พ. ดูกรภิกษุ อาการที่สุขโสมนัสอาศัยรูปเกิดขึ้น นี้เป็นคุณในรูป
อาการที่รูปไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษในรูป
อาการที่กำจัดฉันทราคะ ละฉันทราคะ ในรูปได้ นี้เป็นทางสลัดออกในรูป
อาการที่สุขโสมนัสอาศัยเวทนาเกิดขึ้น นี้เป็นคุณในเวทนา อาการที่เวทนาไม่เที่ยง
เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษในเวทนา อาการที่กำจัด
ฉันทราคะ ละฉันทราคะในเวทนาได้ นี้เป็นทางสลัดออกในเวทนา อาการที่สุข
โสมนัสอาศัยสัญญาเกิดขึ้น นี้เป็นคุณในสัญญา อาการที่สัญญาไม่เที่ยง เป็นทุกข์
มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษในสัญญา อาการที่กำจัดฉันทราคะ
ละฉันทราคะในสัญญาได้ นี้เป็นทางสลัดออกในสัญญา อาการที่สุขโสมนัส
อาศัยสังขารเกิดขึ้น นี้เป็นคุณในสังขาร อาการที่สังขารไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มี
ความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษในสังขาร อาการที่กำจัดฉันทราคะ
ละฉันทราคะในสังขารได้ นี้เป็นทางสลัดออกในสังขาร อาการที่สุขโสมนัสอาศัย
วิญญาณเกิดขึ้น นี้เป็นคุณในวิญญาณ อาการที่วิญญาณไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความ
แปรปรวนไปเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษในวิญญาณ อาการที่กำจัดฉันทราคะ
ละฉันทราคะในวิญญาณได้ นี้เป็นทางสลัดออกในวิญญาณ ฯ
[๑๒๘] ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็เมื่อรู้ เมื่อเห็นอย่างไรจึงไม่มี
อนุสัยคือความถือตัวว่าเป็นเรา ว่าของเรา ในกายอันมีวิญญาณนี้ และในนิมิตทั้ง
หมดในภายนอก ฯ
พ. ดูกรภิกษุ บุคคลเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงดังนี้ว่า รูป
อย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็นอนาคต ทั้งที่เป็นปัจจุบัน เป็นไปใน
ภายในหรือมีในภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม อยู่
ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ก็ตาม ทั้งหมดนั่น ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของ
เรา เห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงดังนี้ว่า เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง
ทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็นอนาคต ทั้งที่เป็นปัจจุบัน เป็นไปในภายในหรือมีในภายนอก
ก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้
ก็ตาม ทั้งหมดนั่น ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา เห็นด้วย
ปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงดังนี้ว่า สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต
ทั้งที่เป็นอนาคต ทั้งที่เป็นปัจจุบัน เป็นไปในภายใน หรือมีในภายนอกก็ตาม
หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ก็ตาม ทั้ง
หมดนั่น ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา เห็นด้วยปัญญาอัน
ชอบตามความเป็นจริงดังนี้ว่า สังขารเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็น
อนาคต ทั้งที่เป็นปัจจุบัน เป็นไปในภายในหรือมีในภายนอกก็ตาม หยาบหรือ
ละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ก็ตาม ทั้งหมดนั่น
ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา เห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความ
เป็นจริงดังนี้ว่า วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็นอนาคต ทั้ง
ที่เป็นปัจจุบัน เป็นไปในภายในหรือมีในภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม
เลวหรือประณีตก็ตาม อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ก็ตาม ทั้งหมดนั่น ไม่ใช่ของเรา
ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา ดูกรภิกษุ เมื่อรู้ เมื่อเห็นอย่างนี้แล จึงไม่มี
อนุสัยคือความถือตัวว่าเป็นเราว่าของเรา ในกายอันมีวิญญาณนี้ และในนิมิตทั้ง
หมดในภายนอก ฯ
[๑๒๙] ลำดับนั้นแล มีภิกษุรูปหนึ่ง เกิดความปริวิตกแห่งใจขึ้นอย่าง
นี้ว่า จำเริญละ เท่าที่ว่ามานี้ เป็นอันว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณเป็น
อนัตตา กรรมที่อนัตตาทำแล้ว จักถูกตนได้อย่างไร ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรง
ทราบความปริวิตกแห่งใจของภิกษุรูปนั้นด้วยพระหฤทัย จึงรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่โมฆบุรุษบางคนในธรรมวินัยนี้ ไม่รู้แล้ว ตกอยู่ในอวิชชา ใจ
มีตัณหาเป็นใหญ่ พึงสำคัญคำสั่งสอนของศาสดาอย่างสะเพร่า ด้วยความปริวิตกว่า
จำเริญละ เท่าที่ว่ามานี้ เป็นอันว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณเป็น
อนัตตา กรรมที่อนัตตาทำแล้ว จักถูกตนได้อย่างไร เราจะขอสอบถาม ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย เราได้แนะนำพวกเธอในธรรมนั้นๆ แล้วแล พวกเธอจะสำคัญความ
ข้อนั้นเป็นไฉน รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ
ภิกษุเหล่านั้นทูลว่า ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือสุขเล่า ฯ
ภิ. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา ควร
หรือหนอที่จะเล็งเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา ฯ
ภิ. ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เวทนา
เที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ
ภิ. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ หรือเป็นสุขเล่า ฯ
ภิ. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา ควร
หรือหนอที่จะเล็งเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา ฯ
ภิ. ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน สัญญา
เที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ
ภิ. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ
ภิ. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา ควร
หรือหนอที่จะเล็งเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา ฯ
ภิ. ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน สังขารเที่ยง
หรือไม่เที่ยง ฯ
ภิ. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ
ภิ. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา ควร
หรือหนอที่จะเล็งเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา ฯ
ภิ. ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน วิญญาณ
เที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ
ภิ. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ หรือเป็นสุขเล่า ฯ
ภิ. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา ควร
หรือหนอที่จะเล็งเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา ฯ
ภิ. ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล พวกเธอพึงเห็นด้วยปัญญาอัน
ชอบตามความเป็นจริงดังนี้ว่า รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็นอนาคต
ทั้งที่เป็นปัจจุบัน เป็นไปในภายใน หรือมีในภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียด
ก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ก็ตาม ทั้งหมดนั่น ไม่
ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความ
เป็นจริงดังนี้ว่า เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็นอนาคต ทั้งที่
เป็นปัจจุบัน เป็นไปในภายในหรือมีในภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม
เลวหรือประณีตก็ตาม อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ก็ตาม ทั้งหมดนั่น ไม่ใช่ของเรา
ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงดังนี้ว่า
สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็นอนาคต ทั้งที่เป็นปัจจุบัน เป็น
ไปในภายในหรือมีในภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม
อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ก็ตาม ทั้งหมดนั่น ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่
อัตตาของเรา พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงดังนี้ว่า สังขารเหล่าใด
เหล่าหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็นอนาคต ทั้งที่เป็นปัจจุบัน เป็นไปในภายใน
หรือมีในภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม อยู่ในที่
ไกลหรือในที่ใกล้ก็ตาม ทั้งหมดนั่น ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา
พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงดังนี้ว่า วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้ง
ที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็นอนาคต ทั้งที่เป็นปัจจุบัน เป็นไปในภายในหรือมีในภายนอก
ก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้
ก็ตาม ทั้งหมดนั่น ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา ดูกรภิกษุทั้งหลาย
อริยสาวกผู้สดับแล้วเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่าย แม้ในรูป แม้ในเวทนา แม้
ในสัญญา แม้ในสังขาร แม้ในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะ
คลายกำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว
รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่น
เพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ฯ
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดี
พระภาษิตของพระผู้มีพระภาค และเมื่อพระผู้มีพระภาคกำลังตรัสไวยากรณ์ภาษิตนี้
อยู่ ภิกษุประมาณ ๖๐ รูป ได้มีจิตหลุดพ้นจากอาสวะ เพราะไม่ถือมั่นแล ฯ
จบ มหาปุณณมสูตร ที่ ๙
-----------------------------------------------------
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ บรรทัดที่ ๒๐๓๙ - ๒๑๘๖. หน้าที่ ๘๖ - ๙๒.
//www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=14&A=2039&Z=2186&pagebreak=0

บทว่า ขนฺธาธิวจนํ ได้แก่ ถามว่า การบัญญัติว่าขันธ์แห่งขันธ์ทั้งหลายย่อมมีได้ด้วยเหตุมีประมาณเท่าใด.
บทว่า มหาภูตเหตุ ความว่า ก็เหตุท่านเรียกว่าเหตุ ในคำเป็นต้นว่า กุศลเหตุ ๓ ประการ. อวิชชาชื่อว่า สาธารณเหตุ เพราะเป็นเหตุทั่วไปแก่ปุญญาภิสังขารเป็นต้น. กุศลกรรมและอกุศลกรรมเป็นเหตุสูงสุดในการให้ผลของตนๆ. ในที่นี้ท่านประสงค์เอาปัจจัยเหตุในอธิการว่าด้วยปัจจัยเหตุนั้น มหาภูตรูป คือปฐวีธาตุเป็นเหตุและเป็นปัจจัย เพื่อแสดงการบัญญัติภูตรูป ๓ นอกนี้ และอุปาทายรูป พึงทราบการประกอบความแม้ในบทที่เหลืออย่างนี้.
บทว่า ผสฺโส ความว่า ผัสสะ เป็นเหตุและเป็นปัจจัยแห่งการบัญญัติขันธ์ ๓ โดยพระบาลีว่า ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ถูกกระทบย่อมรู้สึก ย่อมจำได้ ย่อมคิด (ปรุงแต่ง) ดังนี้.
ในบทว่า วิญฺญณกฺขนฺธสฺส นี้มีความว่า รูป ๓๐ ถ้วน และขันธ์ ๓ ที่สัมปยุตกับวิญญาณ โดยกำหนดอย่างสูง ย่อมเกิดแก่คัพภเสยยกสัตว์ทั้งหลายพร้อมกับปฏิสนธิวิญญาณก่อน นามรูปนั้นเป็นเหตุและปัจจัยแห่งการบัญญัติปฏิสนธิวิญญาณ. ในจักขุทวาร จักขุปสาทรูปกับรูปารมณ์ จัดเป็นรูปขันธ์ ขันธ์ ๓ ที่สัมปยุตกับวิญญาณ จัดเป็นนาม. นามรูปนั้นเป็นเหตุและเป็นปัจจัยแห่งการบัญญัติจักขุวิญญาณ. ในวิญญาณที่เหลือมีนัยนี้เหมือนกัน.
บทว่า กถํ ปน ภนฺเต ความว่า ในที่นี้ (ภิกษุ) เมื่อถามวัฏฏะว่า มีได้ด้วยเหตุมีประมาณเท่าไร จึงกล่าวอย่างนั้น.
บทว่า สกฺกายทิฏฺฐิ น โหติ ความว่า เมื่อจะถามวิวัฏฏะนี้ จึงกล่าวอย่างนั้น. ด้วยคำว่า นี้เป็นความชอบใจในรูป นี้ตรัสปริญญาปฏิเวธการแทงตลอดด้วยการกำหนดรู้และทุกขสัจด้วยคำนี้ว่า นี้เป็นโทษในรูป ดังนี้ ตรัสปหานปฏิเวธการแทงตลอดด้วยการละ และสมุทัยสัจ ด้วยคำนี้ว่า นี้เป็นการสลัดออกในรูป ดังนี้ ตรัสสัจฉิกิริยปฏิเวธ การแทงตลอดด้วยการทำให้แจ้งและนิโรธสัจ. ธรรมทั้งหลายมีสัมมาทิฏฐิเป็นต้นในฐาน ๓ ประการเหล่านี้ นี้เป็นภาวนา ปฏิเวธ การแทงตลอดด้วยภาวนา และเป็นมรรคสัจ.
แม้ในบทที่เหลือทั้งหลาย ก็นัยนี้เหมือนกัน.
บทว่า พหิทฺธา คือในกายที่มีวิญญาณของผู้อื่น.
ก็ด้วย บทว่า สพฺพนิมิตฺตเตสุ นี้ ทรงสงเคราะห์เอาแม้สิ่งที่ไม่เนื่องกับอินทรีย์.
อีกอย่างหนึ่ง ในคำว่า สวิญฺญาเณ กาเย ดังนี้ ถือเอากายทั้งของตนและของคนอื่นด้วยเหมือนกัน. และถือเอาสิ่งที่ไม่เนื่องด้วยอินทรีย์ ด้วยการถือเอานิมิตทุกอย่างในภายนอก.
บทว่า อนตฺตกตานิ (ที่อนัตตาทำ) ได้แก่ ตั้งอยู่ในอนัตตากระทำ.
บทว่า กตมตฺตานํ ผุสิสฺสนฺติ ความว่า หยั่งลงสู่ความเห็นว่าเที่ยง (สัสสตทิฏฐิ) ว่า ตั้งอยู่ในตน เช่นไรจึงแสดงผลดังนี้ จึงได้กล่าวอย่างนั้น.
บทว่า ตณฺหาธิปเตยฺเยน คือ มีตัณหาเป็นใหญ่.
บทว่า ตตฺร ตตฺร ได้แก่ ในธรรมทั้งหลายนั้นๆ.
บทว่า สฏฺฐิมตฺตานํ ความว่า ภิกษุเหล่านี้ละกรรมฐานตามปกติเสียแล้ว พิจารณากรรมฐานใหม่อย่างอื่น ไม่ทำลายบัลลังก์ บรรลุพระอรหัตในที่นั่งนั่นแล.
บทที่เหลือในที่ทุกแห่งง่ายทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถามหาปุณณมสูตรที่ ๙
-----------------------------------------------------
ขอนอบน้อมแด่องค์สมเด็จะรัสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

อนุโมทนาสาธุ


Create Date : 05 มีนาคม 2555
Last Update : 5 มีนาคม 2555 19:16:37 น. 2 comments
Counter : 937 Pageviews.

 
อาสึเสเถว ปุริโส น นิพฺพินฺเทยฺย ปณฺฑิโต
เป็นคนควรหวังเรื่อยไป บัณฑิตไม่ควรท้อแท้

สมหวังในทุกสิ่งอันเป็นสัมมาทิฐิ ตลอดไป...นะคะ





โดย: พรหมญาณี วันที่: 6 มีนาคม 2555 เวลา:11:23:38 น.  

 
อนุโมทนาสาธุ สาธุ สาธุ ด้วยค่ะ


โดย: bowkavi (bowkavi ) วันที่: 11 ตุลาคม 2555 เวลา:16:56:48 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

shadee829
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add shadee829's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.