กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
 
ธันวาคม 2564
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
space
space
17 ธันวาคม 2564
space
space
space

ธรรม,พระธรรม คืออะไร


จากหนังสือเล่มเดียวกัน คัดเอาตอนที่น่าสนใจมา


   เมื่อวาน  ได้พูดถึงเรื่อง สรณะอันเป็นที่ตั้งทางใจของผู้นับถือศาสนา   โดยเฉพาะพวกเรานับถือพระพุทธศาสนา ก็ยึดเอา พระพุทธเจ้า  พระธรรม  พระสงฆ์  เป็นสรณะ  ซึ่งเรียกว่า รัตนตรัย   ตรัย  แปลว่า สาม  รัตนะ  แปลว่า  แก้ว

   ทำไมจึงเรียก  พระพุทธ  พระธรรม พระสงฆ์  ว่าเป็นรัตนะ  ซึ่งภาษาไทยแปลว่า  แก้ว ?  คำว่า  "รัตนะ"   แปลว่า  สิ่งที่ทำให้ชื่นใจ.  การที่เรามีเพชรประดับนิ้วก็ชื่นใจ   มีสายสร้อยห้อยคอก็ชื่นใจ  มีเงินมากๆ ก็ชื่นใจ มีทองเป็นแท่งๆ ก็สบายใจ  มีอะไรดีๆ สบายใจทั้งนั้น  เขาว่าพระเจ้าจักรพรรดิ์มีแก้ว ๗ ประการ  มีช้างแก้ว  ขุนพลแก้ว  ฯลฯ  แล้วก็ นางแก้ว  ด้วย  มีอะไรดีๆ  หลายอย่าง  ซึ่งในสมัยนั้นคนอินเดียเขานิยมว่าเป็นของประเสริฐ.  แต่ว่าแก้วทั้งหลายเป็นวัตถุ  แม้ว่าจะประเสริฐเลิศสักเท่าใด  ยินดีสักปานใด  มันก็ยังเป็นไปเพื่อความทุกข์ความเดือดร้อน  เพราะสิ่งเหล่านั้นมันไม่เที่ยง  มีการเปลี่ยนแปลง  มีการสูญหาย  เมื่อมีการสูญหายก็เป็นทุกข์   มีอะไรมันก็อย่างนั้นน่ะแหละ   ยังเป็นไปด้วยความทุกข์   แต่ว่ารัตนตรัย คือ  พระพุทธ  พระธรรม พระสงฆ์  นี้   ถ้าเรามีไว้ในใจ ไม่เป็นเหตุให้เกิดความทุกข์ความเดือดร้อน  แต่เป็นเหตุให้เกิดความสุขความสงบทางใจ   จึงถือว่าเป็นรัตนะอันประเสริฐ  ท่านจึงกล่าวว่า   รัตนะใดๆในโลกนี้  ที่มีกันอยู่นั้น  ไม่ประเสริฐเท่า พุทธรัตนะ  ธรรมรัตนะ  สังฆรัตนะ   เพราะรัตนะนี้ทำให้จิตใจสบาย  มีความสุขอย่างแท้จริง  เขาจึงเรียกว่ารัตนะ.

   ทีนี้  รัตนะนี้มีสาม   เขาจึงเรียกว่า  รัตนตรัย  ซึ่งมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน แยกออกจากกันไม่ได้ คือ  พุทธรัตนะ  หมายถึง  พระพุทธเจ้าผู้รู้ธรรม  ธรรมรัตนะ  คือ สิ่งที่พระพุทธเจ้ารู้   สังฆรัตนะ  คือ  พระสาวกผู้รู้ธรรมตามพระพุทธเจ้า  เกี่ยวเนื่องกันแยกจากกันไม่ได้  คล้ายกับไม้  ๓ อันอยู่ด้วยกัน ปลดอันใดอันหนึ่งออก  อีก  ๒  อันก็ต้องล้ม  เช่น  พระพุทธ  พระธรรม พระสงฆ์  นี้   มีก็ต้องมีด้วยกัน  ขาดก็ต้องขาดด้วยกัน  มีอันใดอันหนึ่งก็ต้องมีครบทั้ง ๓ อย่าง  แยกออกจากกันไม่ได้   เช่น  ว่าเรามีพระพุทธเจ้า  ก็ต้องมีธรรมะ  สังฆะ  อยู่ในตัวเรา   เรามีธรรมะ  ก็มีพุทธะ  มีสังฆะอยู่ในตัวเรา  ถ้ามีสังฆะ ก็มีธรรมะ  พุทธะ  อยู่ในตัวเรา   ไม่มีทางที่จะแยกออกจากกัน   แต่ถ้าขาดก็ขาดไปหมดเลย  ถ้ามีก็มีครบทั้ง  ๓  อย่าง  ผู้ใดที่จะเป็นพุทธบริษัทก็ต้องกล่าวคำปฏิญาณตน  เป็นผู้ถึงพระพุทธเจ้า  พระธรรม พระสงฆ์ ด้วยวาจา คือเปล่งวาจาว่า  พุทธัง สะระณัง  คัจฉามิ  ธัมมัง  สะระณัง  คัจฉามิ   สังฆัง  สะระณัง  คัจฉามิ  แปลว่า  ข้าพเจ้าถึงพระพุทธเจ้า ถึงพระธรรมะ  ถึงพระสงฆ์  ว่าเป็นที่พึ่งที่นับถือ   การกล่าววาจาเช่นนี้เป็นการประกาศตนว่าเป็นพุทธมามกะ  หมายความว่า  รับเอาพระพุทธเจ้า  พระธรรม พระสงฆ์  ว่าเป็นสรณะ  เป็นของแห่งตน สามอย่างนี้  จึงเนื่องถึงกันแยกออกจากกันไม่ได้.   


 


Create Date : 17 ธันวาคม 2564
Last Update : 18 ธันวาคม 2564 7:37:07 น. 0 comments
Counter : 333 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space