กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
 
ธันวาคม 2564
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
space
space
19 ธันวาคม 2564
space
space
space

ความเป็นมาของศาสนาต่างๆ

ความเป็นมาของศาสนาต่างๆ

   วันนี้จะได้พูดถึงเรื่อง ความเป็นมาของศาสนาเป็นส่วนรวม  ว่าศาสนาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในโลกนี้มันเกิดขึ้นได้อย่าง? อะไรเป็นเหตุให้เกิดขึ้น?  สิ่งที่ควรเคารพกราบไหว้มีอยู่ทั่วๆไป แต่ว่าเราจะพูดกันในแง่ศาสนา  บางอันก็เป็นเรื่องไม่ใช่ศาสนา  เป็นแต่เพียงลัทธิที่ปฏิบัติสืบๆ กันมา.

   ศาสนา กับ ลัทธิ นี่ต่างกัน คือ ศาสนา มุ่งถึงหลักคำสอน คือการปฏิบัติที่จะให้คนถึงการพ้นทุกข์   ส่วนลัทธิต่างๆ นั้น ไม่ได้มุ่งไปถึงขนาดนั้น 
ศาสนานี้ มีผู้สอน มีคำสอน มีผู้รักษาคำสอน สืบต่อกันมาโดยลำดับ จึงเรียกว่า ศาสนา ที่ปรากฏอยู่ในโลกนี้  มูลเหตุที่จะทำให้เกิดมีศาสนาหรือลัทธิอะไรขึ้นนั้น  มันเนื่องมาจากมูลฐานอันหนึ่ง คือ ความกลัว นี่เอง เป็นเหตุให้เกิดอะไรๆ ในหมู่มนุษย์ เพราะว่ามนุษย์เรามีสัญชาตญาณ คือความกลัวในจิตใจ   เราจะเห็นได้ง่ายๆ เวลาเด็กเกิดออกมาใหม่ๆ ร้องจ้าออกมาทีเดียว การร้องไห้ของเด็ก  เป็นเรื่องแสดงความหวาดกลัวในสิ่งที่ตนได้ประสบ  เพราะสิ่งที่ตนประสบนั้นไม่เหมือนกับสิ่งที่ตนเคยได้พบมาก่อน  ก็เกิดความหวาดกลัว  เมื่อเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ เลยมีความกลัวเกิดขึ้นในใจตลอดเวลา

ทุกคนที่นั่งอยู่ในที่นี้  ย่อมมีความกลัวในเรื่องต่างๆ ไม่เหมือนกัน บางคนกลัวไม่เข้าเรื่อง เช่น กลัวผี บางคนไม่กล้าอยู่คนเดียว   ตอนกลางคืนไม่กล้าเดินไปไหนๆ  เพราะมีความกลัวผีเป็นพื้นฐานอยู่ในจิตใจ แล้วก็ยังมีความกลัวอะไรต่างๆ ซึ่งมีอยู่ในที่ทั่วๆ ไป

   มนุษย์ในสมัยโบราณยังไม่มีการศึกษา ยังไม่มีความก้าวหน้าในทางอารยธรรม เขามีความกลัวเป็นพื้นฐานอยู่ในจิตใจ และมีอะไรเกิดขึ้นอันเป็นปรากฏการณ์ของธรรมชาติ เช่น ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด ลมพายุใหญ่ ฝนตกใหญ่ น้ำท่วมบ้าน ท่วมเมือง อะไรต่อมิอะไรต่างๆ ซึ่งเป็นเรื่องของธรรมชาติ

คนเหล่านั้นไม่รู้ว่า  สิ่งเหล่านั้นมันมาอย่างไร ไปอย่างไร เมื่อมันเกิดขึ้นก็เป็นที่ตั้งแห่งความหวาดกลัวอย่างเหลือเกิน เขากลัวเสียงฟ้าร้อง เสียงฟ้าผ่า  กลัวลมพายุใหญ่  กลัวภูเขาไฟที่ระเบิดทำให้พวกเขาตาย  ป่าใหญ่ๆ  ก็เป็นที่ตั้งแห่งความกลัว  ภูเขาใหญ่ๆ  หินก้อนใหญ่ๆ ก็เป็นที่ตั้งแห่งความกลัว   เมื่อมีความกลัวในสิ่งใด   ก็คิดว่าควรจะเข้าไปใกล้สิ่งนั้น  ไปกราบไหว้วิงวอน ขอร้องอย่าให้ทำอันตรายแก่ตน  คนเรา เป็นอย่างนั้นแหละ  เมื่อมีความกลัวก็มักจะเข้าไปหา ไปประจบประแจง เพื่อให้สิ่งนั้นสงสารตนหน่อย แล้วจะได้ไม่กลัวมากเกินไป

   มนุษย์ในสมัยโบราณไม่รู้เรื่องธรรมชาติ ไม่ได้ศึกษาภูมิศาสตร์ว่าอะไร มันอย่างไร ก็เกิดความกลัวในสิ่งเหล่านั้น และเมื่อมีความกลัวก็เข้าไปกราบไหว้บูชา

เราจะเห็นในเวลาที่เราสวดในตอนหลังทำวัตร เช่น สวดว่า พะหุง เว สะระณัง ยันติ ปัพพะตานิ วะนานิ จะ อารามะรุกขะเจตยานิ มะนุสสา ภะยะตัชชิตา ฯลฯ หมายความว่า มนุษย์เป็นอันมาก เมื่อเกิดมีภัยคุกคามแล้ว ก็ถือเอาภูเขาบ้าง ป่าไม้บ้าง อารามและรุกขเจดีย์บ้าง เป็นสรณะ คือเมื่อมีความกลัวก็เข้าไปไหว้ภูเขา ไหว้แม่น้ำ ไหว้ต้นไม้ หินก้อนไหนมันใหญ่ๆ น่ากลัวก็เข้าไปไหว้การเข้าไปไหว้นั้น เป็นการประจบประแจงว่าสงสารลูกช้างเถอะ อย่าทำอันตราย กับ ลูกช้างเลย อะไรต่อมิอะไรในรูปอย่างนั้น  สิ่งบางอย่าง คนไม่รู้ว่ามันอย่างไร ก็เข้าไปกราบไหว้บูชาสักการะ
 


Create Date : 19 ธันวาคม 2564
Last Update : 20 ธันวาคม 2564 6:50:10 น. 0 comments
Counter : 371 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space