กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
 
พฤศจิกายน 2564
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
space
space
22 พฤศจิกายน 2564
space
space
space

รู้เขา 2

ต่อ 

ปีที่ 1 ถึง ปีที่ 9 มูฮัมหมัดอยู่ในช่วงเผยแพร่อิสลาม  ยังไม่กล้าทำสงครามขยายศาสนา เพราะจำนวนผู้นับถือลัทธิอิสลามยังอยู่ในหลักร้อย ในปีที่ 9 ผู้คนยังรับอิสลามน้อยลง ถ้าถอยหลังลงมา 3 ปี จำนวนนักรบมุสลิมยังน้อยมาก ประมาณ 60 คน

ช่วงเวลานี้ มูฮัมหมัดใช้กุรอ่าน ซึ่งเป็นคัมภีร์ที่รวบรวมไว้อย่างสมบูรณ์แล้วตั้งแต่ปี ค.ศ.568 ก่อนที่มูฮัมหมัดจะรับโองการแรกหลายร้อยปี  เพราะช่วงเวลานี้ มูฮัมหมัดต้องการสร้างชื่อทางการเมือง และในปีที่ 6 ของการเผยแพร่ลัทธิอิสลามจึงทำให้มี "สนธิสัญญาฮุดัยบียะฮ์" ขึ้นมา เพื่อระงับและยุติการทำสงครามไปก่อน. เป็นไปตามความต้องการของมูฮัมหมัดเพื่อลดการสูญเสียของกองกำลังของฝ่ายตน

ปีที่ 11 เป็นต้นไปเพราะช่วงเวลานั้น คนรับอิสลามเยอะแล้ว มูฮัมหมัดพร้อมทำสงครามแย่งชิงดินแดน ซึ่งต่อมาเขาได้ชาวเมืองยาถที่รับอิสลามในหลักหมื่นคนมาช่วยในการรบ จึงทำให้ฝั่งอิสลามพร้อมขยายศาสนา และชาวเมืองยาถนั้น ก็บ้าคลั่งในเรื่องการทำศึกอยู่แล้ว จึงทำให้มูฮัมหมัดกล้าที่จะตอบรับในการทำสงครามกับเผ่ากุเรซ

ชาวเมืองยาถ (Yathrib) มีที่ตั้งอยู่ตอนเหนือของเมืองมักกะฮ์ ได้เชื้อเชิญมูฮัมหมัด ให้ไปอยู่ทำการค้าในเมืองนี้  เมื่อมูฮัมหมัดได้ไปตั้งชุมชนมุสลิมได้สําเร็จที่เมืองมาดินะฮ์แล้วได้อ้างโองการของพระเจ้า สร้างกองทัพญีฮาด นำทัพกลับมาเผยแพร่ศาสนาอิสลามยังเมืองมักกะฮ์ เมืองบ้านเกิดของตัวเอง ใช้เวลารบล้อมเมืองหลายปี จนในที่สุด หลังจากยึดมักกะห์จากเผ่ากุเรซได้สำเร็จแล้ว มูฮัมหมัดได้บังคับให้ชาวเมืองรับอิสลาม และกําหนดให้เอาวิหารกะบะฮ์ (Kabah) เป็นวิหารที่สําคัญของศาสนา และตั้งตัวเป็นศาสดา เผยแพร่ลัทธิด้วยการรบต่อไปอีก 23 ปี จนกระทั่งในที่สุดมูฮัมหมัด ถูกภรรยาคนหนึ่ง ชื่อว่า"ชัยหนับ" ซึ่งชาวยิววางยาพิษเสียชีวิตในปี 632 ก่อนได้ขึ้นเป็นเคาะห์รีฟ่ะห์

ต่อมาเกิดสงครามระหว่างซัสซาเนียน กับ ไบแซนไทน์ ผลของสงคราม ทั้งสองอาณาจักรอ่อนแอลงมาก ซัสซาเนียนเริ่มเกิดสงครามภายใน กลายเป็นโอกาสให้จักรวรรดิอิสลามเข้าโจมตี

อาบูบักร์ บินอะบีกุฮาฟะห์ ลูกเขยของมูฮัมหมัด ได้ตั้งตัวเป็นเคาะห์รีฟ่ะห์คนที่ 1 จักวรรดิอิสลามได้ขยายไปในซีเรีย เอเชียกลาง และไบแซน ไทน์ (โรมัน ตะวัน ออก) ซึ่งมีจักรพรรดิฮีราคลิอุส (Heraclius) ที่ตอนแรกเป็นมิตรที่ดีของมุสลิม  แต่ต่อมาได้ร่วมกับชาวอาหรับในซีเรียต่อต้านมุสลิม กองทัพของมุสลิมจึงต้องยกทัพไปปราบปราม จนได้เมืองดามัสกัส ใน ค.ศ. 633 อารยธรรมอิสลามแผ่ไปในไบแซนไทน์เปอร์เซีย (อิหร่าน) และอิรัก

ประมาณ ค.ศ. 640 พวกอาหรับได้ขึ้นไปทางเหนือ และสามารถยึดครองเมืองเยรูซาเล็มและดามัสกัสและครอบครองซีเรีย

หลังจากนั้น อาหรับได้พิชิตอาณาจักรเปอร์เซีย ซึ่งอ่อนแอจากการต่อสู้กับอาณาจักรไบแซนไทน์มาเป็นเวลานาน การยึดครองซัสซาเนียโดยอาหรับเป็นไปโดยง่าย เพราะประชาชนในซัสซาเนียเบื่อหน่ายจากการถูกเก็บภาษีอย่างหนักของผู้ปกครอง และมีการแตกแยกกันในเรื่องศาสนา ประชาชนในซัสซาเนียได้รับการปฏิบัติอย่างดีจากพวกมุสลิม

ใน ค.ศ.639 ทัพอาหรับจากปาเลสไตน์ ได้เข้าไปในอียิปต์ เหตุผลที่ยกทัพไปตีอียิปต์ เพราะอียิปต์เป็นจุดยุทธศาสตร์ และมีพื้นที่อุดมสมบูรณ์ ทําให้สามารถผลิตพืชผลได้มาก เมืองหลวงของอียิปต์ คือ อเล็กซานเดรีย ยังเป็นฐานทัพเรือของซีเรีย และเปรียบเสมือนประตูเปิดออกไปสู่แอฟริกาเหนือ จนใน ค.ศ. 640 อียิปต์ทั้งหมดตกเป็นของมุสลิม ในสมัยคอรีฟ่ะห์ และยึดครองสำเร็จปี ค.ศ. 651

ศาสนาโซโรอัสเตอร์ของเปอร์เซียถูกกลืนกิน กลายเป็นอิสลามซุนหนี่ การพิชิตเปอร์เซียและไบแซนไตน์มีผลต่อประวัติศาสตร์อิสลามเป็นอย่างมาก ชัยชนะของพวกมุสลิมที่มีต่อเปอร์เซีย คือ ชัยชนะของชนชาติเซเมติคที่มีต่อชาวอารยัน

การที่ยึดครองอาณาจักรไบแซนไทน์ ทําให้มุสลิมมีชายแดนเชื่อมถึงทะเลเมดิเตอร์เรเนียและทําให้มุสลิมเริ่มเห็นความสําคัญของกองทัพเรือ จึงได้เริ่มการตั้งกองทัพเรือขึ้นหลังจากชนะเปอร์เซียรวมทั้งไบแซนไทน์แล้ว

อาณาจักรของมุสลิมแผ่ขยายกว้างขวาง มีดินแดนที่อุดมสมบูรณ์ และสามารถทําการค้าในน่านน้ำทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และต่อมาได้ขยายอํานาจไปจนถึงบริเวณลุ่มแม่น้ำสินธุในอินเดีย

การติดต่อกับชาติที่กองทัพมุสลิมพิชิตได้ ทําให้อาหรับมุสลิมได้รับอารยธรรม และเรียนรู้เทคนิคทางทหารเช่น เทคนิคการรบทางเรือ นอกจากนี้อารยธรรมไบแซนไทน์ และอารยธรรมเปอร์เซีย ยังเป็นอาณาจักรที่มีอารยธรรมที่เจริญรุ่งเรืองมาก่อน ทําให้อาหรับมุสลิมได้สร้างความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับอารยธรรมเปอร์เซียและอารยธรรมเฮลเลนนิก

มุสลิมอาหรับในสมัยต่อมามีบทบาทสําคัญในการแสวงหาความรู้ และภูมิปัญญามารยาท และระเบียบทางสังคมตลอดจนขนบธรรมเนียม และวัฒนธรรมของชนที่เจริญแล้ว

ในขณะเดียวกัน ผลเสียต่อสังคมอาหรับที่ได้จากการพิชิตไบแซนไทน์และเปอร์เซีย คือ ได้มีการนําแบบอย่างการใช้ชีวิตอันหรูหราฟุ้งเฟ้อแทรกซึมเข้ามาในสังคมมุสลิม มีผลให้วิถีชีวิตแบบเรียบง่ายของชาวอาหรับ ต้องเปลี่ยนแปลงภายหลังศาสดามูฮัมหมัดสิ้นไปแล้ว อารยธรรมอิสลามได้ขยายออกไปอย่างกว้างขวาง และเกิดราชวงศ์ปกครอง คือราชวงศ์​อุ​มัย​ยะฮ์ (Ummayyad ค.ศ. 661-ค.ศ. 750)

 

กะอ์บะฮ์ หรือ กะอ์บะห์ เป็นคำภาษาอาหรับ แปลว่า ลูกบาศก์ กะอ์บะฮ์ตั้งอยู่ในใจกลางมัสยิดฮะรอม ในนครมักกะฮ์ เป็น กิบลัต (ชุมทิศ, จุดหมายในการผินหน้าไป) ของมุสลิมยามนมาซ และเป็นสถานที่ฏอวาฟ (เวียนรอบ) ในการประกอบพิธีอุมเราะฮ์และฮัจญ์

เคาะลีฟะฮ์ หรือ กาหลิบ (อาหรับ: خليفة‎ kalīfah) มาจากคำว่า "เคาะลีฟะฮ์ อัรเราะซูล" (ผู้แทนของท่านเราะซูล)

คือคำที่ใช้เรียกประมุขของอาณาจักรอิสลามต่าง ๆ เริ่มตั้งแต่หลังจากท่านนบีมุฮัมมัดเสียชีวิต จนถึงปลายอาณาจักรอุษมานียะหฺ   ประมุขสี่คนแรกเรียกว่า  อัลคุละฟาอ์  อัรรอชิดูน คือ อะบูบักรฺ อุมัร อิบนุลค่อฏฏอบ อุษมาน บินอัฟฟาน, และอะลีย์  บินอะบีฏอลิบ  ต่อมาเมื่ออำนาจของรัฐอิสลามตกภายใต้การปกครองของตระกูลอุมัยยะฮ์ ตระกูลอับบาซียะฮ์ และตระกูลอุษมาน ประมุขแต่ละคนก็ยังใช้คำนี้ เคาะลีฟะฮ์คนสุดท้ายคือ อับดุลมะญีด ที่ 2 เขตปกครองของเคาะลีฟะฮ์ เรียกว่า  รัฐเคาะลีฟะฮ์ (Caliphate)



Create Date : 22 พฤศจิกายน 2564
Last Update : 26 พฤศจิกายน 2564 8:14:51 น. 0 comments
Counter : 551 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space