<<
สิงหาคม 2551
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
29 สิงหาคม 2551

เข้าชั้นเรียนกับ Drucker (2)



ชั้นเรียนที่ Claremont

Bill Cohen ผู้เขียนและถ่ายทอดความทรงจำของตนกับคุณปู่ Drucker
เป็นศิษย์ปริญญาเอกรุ่นแรกของ Claremont Graduate School
ใช้ชีวิตในชั้นเรียนที่นี่ระหว่างปี 1975-1979 (พ.ศ. 2518-2522 )
ความสัมพันธ์ของบุคคลทั้งคู่
แม้จะไม่ลึกซึ้งถึงขนาด Mitch Albom กับคุณครู Morrie
ในหนังสือและหนังเรื่อง'ซึ้งเศร้า Tuesdays with Morrie
( ได้ดูกันหรือเปล่าเอ่ย ประโยคสำคัญที่พอจำได้
Once you know how to die, you know how to live)
แต่ Bill ก็คงสถานภาพศิษย์-ครู Mentor จวบจนวาระสุดท้ายของฝ่ายหลัง

ก่อนจะเข้าชั้นเรียนปริญญาเอกที่ Harper Hall อันเก่าแก่
มาทำความรู้จักโรงเรียนธุรกิจของเราสักเล็กน้อย

Claremont Graduate School เป็น Business School
สังกัด Claremont Colleges แห่งมลรัฐแคลิฟอร์เนีย
อันมีคุณปู่ Peter Drucker ผู้ตัดสินใจมุ่งตะวันตก
มาบุกเบิกตำนานเป็นปรมาจารย์ เมื่อปี 1971
อายุอานามขณะนั้นก็ประมาณ 60 ปีกว่าๆ
วัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นโรงเรียนบริหารธุรกิจสำหรับคนทำงาน (Practicing Manager)
อำนวยการสอนหลักสูตร MBA, Executive MBA และต่อมาขยายถึงระดับ PhD
ซึ่ง Bill Cohen เป็นหนูเอ๊ยศิษย์ทดลองรุ่นแรก

Claremont Graduate School ได้เปลี่ยนชื่อ เป็น
Peter F. Drucker and Masatoshi Ito Graduate School ในปี 1987
เพื่อยกย่องและให้เกียรติผู้บุกเบิกหลักสูตรคือคุณปู่ Drucker
และ Mr. Ito ผู้ให้เงินทุนสนับสนุนก่อตั้งแต่แรกเริ่ม
แน่นอน การเปลี่ยนชื่อก็ย่อมมีกุศโลบาย
เพื่อเรียกความสนใจจากตลาดการศึกษาด้วย
ไหนๆโปรเฟสเซอร์ชื่อดังสอนสถิตที่นี่
(และคิดว่าคงจะไม่ไปไหนอีกแล้ว)
ไฉนเลยจะไม่เอามาเป็นจุดขาย

คุณปู่ Drucker สอนจนถึงฤดูใบไม้ผลิปี 2002
ก่อนจะเลิกราไปเพราะปัญหาสุขภาพ
นั่นหมายความว่า
คุณปู่ขอปลดเกษียณหยุดสอนสิ้นเชิงตอนอายุ 93 ปี ว๊าว...

แล้ว Bill Cohen ล่ะเป็นใคร
ถึงยอมสมัครใจมาเป็น 1 ใน 10 ของหนูเอ๊ยศิษย์ทดลองรุ่นแรก
ทำคะแนนวิชาที่คุณปู่สอนได้ดีที่สุด ขณะที่วิชาอื่นก็งั้นๆ

จากบัณฑิตวิศวกรรมศาสตร์ที่ West Point ต่อ MBA ที่มหาวิทยาลัยชิคาโก
Bill Cohen มีโอกาสเปิดหูเปิดตาไปประจำการที่อิสราเอลพักหนึ่ง
แล้วก็กลับมาทำงานในหน่วยงานผลิตเครื่องชูชีพ
ให้กับกองทัพอากาศและสายการบินอเมริกัน
ในตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายวิจัยและพัฒนา
ที่วันๆหมกมุ่นอยู่ในแต่ห้องทดสอบระบบ
จนถึงวันหนึ่งเงยหน้าขึ้นมา
เอ้า...พรรคพวกหายไปไหนหมดแล้ว
กอปรกับตำแหน่งที่ใหญ่ขึ้น ปกครองดูแลลูกน้องมากหน้าหลายตา
จนชักจะเห็นว่า ออกแบบ แก้ไขแบบชิ้นส่วนสารพัด
อย่างไง้อย่างไงก็ไม่ยุ่งยากเหมือนแก้ไขปัญหาคน
ทำงานมาเป็นสิบๆปีรู้จักเครื่องยนต์กลไกพิศดารหมด
แต่ไม่เคยรู้ลึกถึงหัวใจคนทำงานเลย
คิดสะระตะได้ดั่งนี้แล้ว
เห็นทีจะต้องหาที่ฝึกปรือวิทยายุทธ์ใหม่นอกจากห้องทดลอง

นี่คือจุดเริ่มต้นของการเข้าชั้นเรียนกับคุณปู่ Drucker
ที่ Claremont Graduate School
ซึ่งเจ้าตัวต้องจำทนขับรถจากที่ทำงานตอนเย็นมาถึงบริเวณแคมปัสเป็นเวลา 2 ชั่วโมง
เข้าชั้นเรียนช่วงหัวค่ำจนดึกแล้วก็ขับกลับบ้านอีก 2 ชั่วโมง
เป็นเช่นนี้ทุกอาทิตย์ตลอดระยะเวลาที่เรียนที่นี่

แต่อะไรล่ะที่ทำให้ Bill ยอมขับรถไกลวันละ 4 ชั่วโมงเพื่อมาเรียนกับ Drucker
(ที่ชอบสอนเกินชั่วโมงเรียนอยู่เรื่อย คือ 4 ทุ่ม บางครั้งปาเข้าไปเกือบ 5 ทุ่ม
หรือสอนจนกว่าจะสิ้นสุดแม้จะถึงเที่ยงคืนก็ตาม )

แน่ล่ะ นอกเหนือจากได้มีโอกาสใกล้ชิด
กับนักปรัชญาธุรกิจคนดังผู้เขียนหนังสือมากมาย
หลักสูตรและวิธีการสอนของชั้นเรียนที่นี่ต่างหากที่ทำให้เขาคิดว่า..
ใช่เลย

ปกติชั้นเรียนปริญญาเอกทุกที่จะเน้นความเป็น Specialization
ผู้สมัครเข้ามาเรียนถึงระดับนี้
ก็มักจะเป็นอาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการของแขนงนั้นๆ
มาต่อยอดองค์ความรู้ของตัวเอง
ใครสนใจแขนงวิชาไหน ขุดกันให้ลึกลงไป
ถึงราก ถึงโคน ถึงต้นตระกูลเลยถ้าเป็นไปได้
ฉะนั้นไม่แปลกใจถ้าบรรดาด็อกเตอร์ทั้งหลายจะยืดอกพูดอย่างภูมิใจว่า
ยิ่งเรียนสูงเท่าไหร่ ยิ่งรู้น้อยลงเท่านั้น
ยิ่งรู้น้อย ยิ่งไม่กล้าพูด หรือตระหนี่ ระมัดระวังคำจำนรรจามากขึ้น
และเจ้าความรู้ในสิ่งที่น้อยคนรู้นี่แหละ
ทำให้เขากลายเป็นผู้เชี่ยวชาญพิเศษในเวลาต่อมา

โอ้..พระเจ้า

ท้ายสุด ก็มักจะจบบทบาทเป็นนักวิชาการ
ศาสตราจารย์ประจำมหาวิทยาลัย
(เอ..ถึงตอนนั้นแล้วต้องกล้ากล้าพูดแล้วกระมัง)

หากที่ Claremont หลักสูตรการสอนซึ่งคุณปู่ Drucker มีส่วนร่าง
มุ่งเจาะจง Practicing Manager / Practitioner มากกว่า
เริ่มตั้งแต่คุณสมบัติเบื้องต้น ผู้เรียนจะต้องทำงานด้านบริหารมาไม่น้อยกว่าเวลาที่กำหนด
ระหว่างเรียน (และทำงานไปด้วย)ก็ต้องทำวิจัย ค้นคว้า เขียนบทความ
นำเสนอผลงานในชั้นและพร้อมจะถูกวิจารณ์เป็นระยะๆ
ท้ายสุดของผลลัพธ์ก็เพื่อนำความรู้ไปปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานในฐานะผู้บริหารองค์กร
เนื้อหาทั้งหมดย้ำเน้นถึงหลักจัดการบริหารธุรกิจสมัยใหม่สำหรับองค์กรที่มีอยู่จริง
มากกว่าจะเน้นให้คนเรียนจบไปเป็นนักทฤษฎีผู้ริเริ่มโมเดลธุรกิจชวนทึ่ง
แต่ถ้าอยากหันเหชีวิตไปลับคมหอกวิชาการ ก็ไม่ผิดกติกาอะไร
อย่าง Bill เองในบั้นปลายชีวิตก็กลับมาเป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัย

ฉะนั้นเมื่อคุณจบ MBA มา คุณเป็นเป็ด
เมื่อจบที่ Claremont Graduate School คุณก็ยังเป็นเป็ดอยู่

เพียงแต่เป็ดพันธุ์ใหม่อาจจะรู้วิธีบินสูงเหิรฟ้าไกลกว่าเดิม
เวลาร่อนถลาก็นุ่มนวลกว่า
อาจจะรู้วิธีว่ายน้ำให้ไกลกว่าเดิม ดำน้ำได้อึดกว่า
แยกแยะจอกแหนออกจากสาหร่ายได้แม่นยำกว่า
สวมบทบาทความเข้าใจในมิติของสัตว์อื่นนอกเหนือจากเป็ด
เช่น สายตาเหยี่ยวที่มองฝูงลูกไก่แน่วนิ่ง
กับสายตาลูกไก่ที่ดีใจกะตู้วู้เพียงเมื่อเห็นหนอนตัวกะจิดริด

ตอนหน้า ไปรู้จัก คุณครู Drucker ผู้ไม่ธรรมดา




 

Create Date : 29 สิงหาคม 2551
4 comments
Last Update : 30 สิงหาคม 2551 11:19:41 น.
Counter : 975 Pageviews.

 

อรุณสวัสดิ์ยามเช้าค่ะ
มีความสุขนะค่ะ


ว้าวววววววววว
เราอยากเป็นเป็ดพันธ์ใหม่ค่ะ
อิๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ

 

โดย: catt.&.cattleya.. 30 สิงหาคม 2551 7:26:08 น.  

 

สวัสดีค่ะ
แวะมาทักทาย

ขอบคุณที่ไปเยี่ยมบล็อกนะคะ

 

โดย: ratta 30 สิงหาคม 2551 23:05:25 น.  

 

ค่ะจะรออ่านต่อ

Photobucket

Nirvana&Swan

 

โดย: Cheria (SwantiJareeCheri ) 1 กันยายน 2551 0:05:19 น.  

 

เคย ให้พี่กู (google) หาข้อมูลเกี่ยวกับ Claremont Graduate School แต่ ภาษาอังกฤษไม่ชำนาญ จึงไม่เข้าใจว่าทำไม ท่าน Peter จึงเลือกมาสอนที่นี้ แต่ ตอนนี้เข้าใจแล้ว

และ ไม่ทราบว่า MBA มี Concept การสอนอย่างไร เคยได้ยิน อาจารย์บางคน บ่นๆว่า พวกเธอนี้ มันนักศึกษาปรีญญาตรี ปี 5 และ หวังว่า คงไม่ไปเรียนต่อ ปริญญาตรี ปี 7 นะ

ฟังแล้วยังงงๆ มาอ่านบทความนี้ถึงรู้แล้ว ว่า "เป็ดป่า" "พญาเป็ด" และ "เป็ดย่าง" เฮ้ย "เป็ดบ้าน" เป็นอย่างไร ส่วน อินทรี นั้นคงต้องเป็นสถานที่ "กูรู" สอนแน่นอน

 

โดย: moonfleet 14 พฤศจิกายน 2551 23:07:44 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


รุ้งพลบ
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




ใช้ชีวิตแสวงหามาหลายปี ปัจจุบันก็ยังแสวงหาไม่รู้จักเสร็จ
บางอารมณ์เหนื่อยๆ ก็หยุดพัก แล้วตรองนิ่งเขียนบันทึกในสิ่งที่พบเห็น

บางอารมณ์ที่โมแรนติค ชอบดูสายรุ้งตอนโพล้เพล้
New Comments
[Add รุ้งพลบ's blog to your web]