<<
กรกฏาคม 2555
 
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
1 กรกฏาคม 2555

ชีวิตที่คุ้มค่า : นุกูล ประจวบเหมาะ




บันทึกส่วนตัวของบุคคลหนึ่ง เมื่อปรากฏออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร
ก็เพื่อให้คนอ่านสาธารณชนรู้เรื่องราววีรกรรมของคนๆนั้น

แต่เมื่อบุคคลดังกล่าว
มีชีวิตการทำงานเกี่ยวข้องกับกับผู้คน การเมือง
และประวัติศาสตร์เสี้ยวหนึ่งของเศรษฐกิจไทย
ก็ยิ่งน่าศึกษาใหญ่ไม่ใช่หรือ

มาดูซิว่า เขาคนนี้มีกราฟชีวิตที่ผาดโผนขนาดไหน

เป็นรองอธิบดีกรมทางหลวง ที่ไม่ได้จบวิศวกรรมใดๆมาเลย
เป็นอธิบดีกรมธนารักษ์ บัญชีกลาง สรรพากร ด้วยความประจวบเหมาะทั้งนั้น

เป็นผู้ว่าแบงก์ชาติที่ถูกขอร้องให้รับตำแหน่งในสมัยหนึ่ง
แล้วก็ถูกปลดกลางอากาศอีกสมัยหนึ่ง

เป็นประธานบริษัทรถยนต์ที่เกือบจะล้มละลายด้วยหนี้สินล้นพ้น
เป็นรัฐมนตรีกระทรวงคมนาคมที่รื้อฟื้นสัญญาโทรศัพท์ 3 ล้านเลขหมายกับเจ้าสัวคนดัง

เป็นรัฐมนตรีกระทรวงเดิม สมัยที่ 2 ต้องสู้รบปรบมือกับจอมโปรเจ็คท์โฮปเวลล์
(ที่เหลือซากเสาให้เราดูเล่น และบางวันก็มีของหล่นลงมาให้ตื่นเต้น)

เป็นประธานสอบข้อเท็จจริงกรณีแบงก์ชาติที่นำประเทศเข้าสู่วิกฤต ต้มยำกุ้ง
ฯลฯ

อ้อ ต้องไม่ลืมอีกว่า เป็นพ่อตา ของ CEO แบ็งก์ไทยทีใหญ่ที่สุดด้วย
(ข้อนี้ไม่ได้บันทึกไว้ แต่มีรูปให้เห็น)

ชีวิตที่คุ้มค่า ของ อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย นุกูล ประจวบเหมาะ
จึงเป็นหนังสือบอกเล่าเส้นทางชีวิตของคนที่มีสีสันที่คนไทยรุ่นต่อมาควรรับรู้

แปลกมาก ตอนซื้อหนังสือเล่มนี้
แคชเชียร์ที่ร้าน บอกไม่รู้จัก ใครกันคะ ช่วยเล่าให้หน่อย เผื่อลูกค้ารายอื่นถามถึง

เลยเอามาเล่าต่อในที่นี้ให้คนรุ่นหลังๆได้รู้ว่า
ในบ้านเรามีคนพันธุ์นี้หลงเหลืออยู่ จริงๆนะ

บนเส้นทางที่ประจวบเหมาะ
นุกูล ประจวบเหมาะ หรือที่พวกเราแอบเรียกกันว่า ติงลี่
(ตัวละครเอกในหนังซีรีสโด่งดัง เจ้าพ่อเซี่ยงไฮ้
ทำไมถึงมีฉายาเช่นนี้ ค่อยเฉลยตอนหลัง)
เกิดและเติบโตในครอบครัวคหบดี แถบประจวบคีรีขันธ์
เข้ามาเรียนต่อที่เตรียมอุดม กรุงเทพ เข้า จุฬาได้
แต่อยากจะไปเรียนต่อต่างประเทศมากกว่า
เลือก ประเทศออสเตรเลีย เพราะค่าเล่าเรียนถูกกว่าอังกฤษและอเมริกา
“เพราะถ้าไปศึกษาต่อที่สหรัฐอเมริกา ต้องเสียค่าใช้จ่ายประมาณปีละ 50000 บาท
หากไปประเทศอังกฤษ ต้องเสียค่าใช้จ่ายปีล่ะ 500 ปอนด์หรือ 2 หมื่นบาท
ส่วนประเทศออสเตรเลียเสียค่าใช้จ่ายปีล่ะ 300 ปอนด์ หรือเพียง 1 หมื่นบาทเศษ”
ขณะนั้นคือปี พ.ศ. 2491 สงครามโลกครั้งที่สองเพิ่งผ่านพ้นไป
ขณะที่ภาวะข้าวยากหมากแพงยังปรากฏ
การไปเมืองนอกจึงเป็นเรื่องหรูสำหรับผู้มีอันจะกิน

นุกูลเข้าเรียนต่อมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น คณะเศรษฐศาสตร์
เมื่อแรกมาถึงแดนจิงโจ้ ก็ได้รับการต้อนรับจากครอบครัว Balls
ครอบครัวอุปถัมภ์ชาวอังกฤษที่เพิ่งย้ายไปออสเตรเลียไม่นาน
หัวหน้าครอบครัวเป็นนักบวช และมีลูกชาย 3 คน
ติงลี่ เอ๊ย นุกูล ได้อาศัยชายคาและขนมปังของครอบครัว Balls อยู่พักใหญ่
จนปรับตัวเคยชิน ภาษาอังกฤษคล่องขึ้น อีกทั้งประหยัดเงินในกระเป๋าไปอีกโข

ลองนึกภาพตามบันทึกของโรเจอร์ บอล ลูกชายคนหนึ่งที่กล่าวถึงนุกูล
เด็กหนุ่มผิวเหลือง หน้าจีนขณะนั้น

“วันหนึ่ง มีนักศึกษาอายุ 19 ปีคนหนึ่งมาปรากฏตัวที่หน้าบ้านของเรา
เขาทำให้ผมนึกถึงค็อกเกอร์สแปเนียลที่กำลังคอยฟังคำสั่ง
และกระตือรือร้นที่จะปฎิบัติตามเพื่อให้เจ้าของพอใจ

เขาชื่อนุกูล ประจวบเหมาะ กำลังเข้าศึกษาปริญญาตรี พาณิชยศาสตร์ที่มหาวิทยาลัย
การที่เขามาจากครอบครัวชาวสยามที่รำรวยและมีอิทธิพลนั้น
ไม่ได้มีความหมายต่อเราแม้แต่น้อย
เราอาจจะตอแยเขาอยู่เนืองๆ รบกวนการท่องหนังสือ
และความอดทนของเขาอย่างไม่มีเหตุผล
แต่เขาไม่เคยแสดงความรำคาญหรือหงุดหงิด
เราอาจจะสอนให้เขาเห็นว่าคนออสเตรเลียยสามารถยโส หยาบคาย
และทำเสียงหนวกหูได้ขนาดไหน
แต่เราก็ไม่สามารถรบกวนใจที่สงบเย็นของเขาได้

เขานำความสุขุมแบบชาวพุทธ
ปราศจากความตุงเครียดและการชิงดีชิงเด่นเข้ามาในชีวิตเรา
เขาเป็นสุภาพบุรุษในความหมายดั้งเดิมนั้นอย่างสมบูรณ์ บุรุษที่่สุภาพ
มันไม่เกี่ยวกับเงินทองหรือสถานะทางสังคมแต่หมายถึงคุณธรรม ความกรุณา
การคำนึงถึงผู้อื่น การเคารพตนเองและผู้อื่น

สุภาพบุุรุษที่แ่ท้ คือผู้ที่ไม่ต้องประดิษฐ์ความสูงส่งและความสุภาพเพื่อส่งเสริมตนเอง
ความสุภาพอ่อนโยนไม่ใช่ความอ่อนแอ
ตรงกันข้าม ความสุภาพมาจากคสวามเข้มแข็งภายในและความมีวินัย
และทำให้ชายที่ทะนงในความแกร่งกระด้างของเพศชายดูกะโปโลได้เลย

ต่อจากนั้นอีก 25 ปี นุกูลกลายเป็นผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย”

สายสัมพันธ์ของนุกูลและครอบครัว Balls รักษากันมายั่งยืน
แม้นุกูลจะเรียนจบจากออสเตรเลียมาเนิ่นนานแล้ว

ไมเคิล บอลล์ ลูกชายอีกคน ได้มีโอกาสแวะเยือนเมืองไทยเป็นประจำ
ด้วยตำแหน่งผู้บริหารบริษัทโฆษณายักษ์ใหญ่ โอกิลวี่ แอนด์เมเธอร์
ประจำภาคพื้นแปซิฟิค (นายเก่าของกูรูเอง แอะ แอะ)
ต่อมา ลาออกแล้วตั้งบริษัทของตัวเองคือ เดอะ บอลล์ พาร์ทเนอร์ชิป
ทั้งนุกูลและไมเคิล ยังคบหาสมาคมกันจนถึงทุกวันนี้
นุกูลเองก็มักจะกล่าวถึงความผูกพันกับตระกูลนี้ทุกครั้ง
ที่ให้สัมภาษณ์ถึงความประทับใจในอดีต

หลังจากที่ฝ่าฟันกับอุปสรรคด้านภาษาในปีแรกๆ
ด้วยสติปัญญา ความสามารถ
นุกูลเรียนจบได้ตามกำหนดแล้วก็เริ่มชีิวิตการทำงานทีืเมืองไทยในกระทรวงวายุภักษ์
ด้วยคำแนะนำของ ดร ป๋วย อึ้งภากรณ์

บ่มเพาะต้นกล้า...ข้าราชการ

เพื่อนๆหลายคนที่ผ่านพ้นวัยเริ่มต้นทำงานคงจำได้ดีว่า
การทำงาน(หาเงิน)ครั้งแรก
มีความสำคัญกับชะตาชีวิตของตัวเองในภายภาคหน้าอย่างไร

หากใครได้ที่ทำงานดี หัวหน้าดี เพื่อนร่วมงานดี (และเงินดี)
กอปรกับตัวเองก็มีฝีไม้ลายมือไม่น่าเกลียดจนเกินไป
(จะเก่งก็ยังไม่ใช่เพราะเพิ่งเข้ามา ประสบการณ์ยังวัยละอ่อนอยู่)
ถือว่า คุณเป็นเมล็ดพันธุ์พืชที่ตกในดินอันอุดมสมบูรณ์พร้อมจะงอกเงยต่อได้

หากโชคร้าย พื้นดินแล้งผาก น้ำ ปุ๋ย ก็ไม่มี ร่มเงาสักใบก็โกร๋นหมด
ถ้าไม่แคระแกร็นอับเฉาตายไปก่อน
ก็ต้องดิ้นรน กระเสือกกระสนร่อนเร่พเนจรไปโตที่อื่น(ซึ่งไม่รู้จะโตได้อีกหรือเปล่า)

ชีวิตเริ่มต้นวัยทำงานของนุกูล ประจวบเหมาะ
ไม่ผิดกับเมล็ดพันธุ์ที่ดี ไ้รับการบ่มเพาะ ปลูกฝังในสถานที่ที่ดี(พอควร)
มีเจ้านาย พี่เลี้ยงที่ใส่ใจ จึงปูทางให้เดินก้าวต่อๆไปได้อย่างมั่นคง

หลังจากเรียนสำเร็จปริญญาตรี จากออสเตรเลียได้
นุกูล ได้รับคำชักชวนจาก ดร.ป๋วย อึ้งภากรณ์
ซึ่ง ณ เวลานั้นดำรงตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญการคลัง
กำลังมองหาเด็กหนุ่มไฟแรงจบจากเมืองนอกมาร่วมงาน
นุกูล จึงเริ่มตำแหน่งงานแรกเป็นข้าราชการวิสามัญชั้นตรี กระทรวงการคลัง
เมื่ออายุ 23 ปี ด้วยเงินเดือน 1,200 บาท
ในปีต่อมา ก็ได้รับการฝึกงานที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ ณ กรุงวอชิงตัน
เป็นระยะเวลา 1 ปี จึงถือโอกาสขอเรียนต่อปริญญาโทไปเสียด้วยเลย
หลังจากนั้นก็ดำรงตำแหน่งผู้เชียวชาญพิเศษจากประเทศไทยประจำสถานทูตไทย กรุงวอชิงตัน
คอยทำงานประสานนโยบายการเงินการคลังกับทางเมืองไำทย
เมื่อกลับเมืองไทยก็ปฎิบัติงาน ณ กรมกองกระทรวงการคลังตามเดิม
ถือเป็นเทคโนแคร็ตรุ่นแรกๆทีเดียว

ในช่วงระหว่างนี้เองที่นุกูลได้มีโอกาสสัมผัสกับระบบการเงินการคลังของโลกอย่างใกล้ชิด
ไม่ว่าจะเป็นการฝึกงานที่ World Bank การฝึกอบรมที่ IMF
จึงเป็นการสานสายสัมพันธ์ในแวดวงนักการเงิน การธนาคารระดับนานาชาติ
และกลายเป็นเหตุต่อมา ทำให้ชายหนุ่มนักเศรษฐศาสตร์ประจำกระทรวงการคลัง
ต้องไปรับตำแหน่ง ณ กรมทางหลวงอันเป็นแหล่งสิงสถิตของบรรดาช่างๆทั้งหลาย
ที่ซึ่งใครๆก็ส่ายหน้า จะอยู่ไหวหรือ

ไหว ไม่ไหว ไม่รู้แหละ
แต่วีรกรรมที่เจ้าตัวสร้างไว้ก็คือ การหักดิบ คอร์รับชั่นในกรมทาง(ห)ลวง

ก่อนอื่นต้องขอเล่าเหตุสำคัญที่พระเอกของเราต้องไปถากถางทางชีวิตที่กรมนี้เสียก่อน

อันเนื่องมาจาก ยุคสมัยนั้น บ้านเมืองของเราจำเป็นต้องมีถนนขึ้นเหนือ
ล่องใต้ มุ่งอีสานเชื่อมต่อภาคกลาง
เพื่อรองรับการคมนาคมขนส่งซึ่งนับวันจะหนาแน่นขึ้น
แต่การสร้างทางกลับไม่รุดหน้าเท่าที่ควร
ผู้ให้เงินกู้ขณะนั้นก็คือ ธนาคารโลกรู้สึกอึดอัด เพราะยังไม่มาตกเบิกเอาเงิืนไปใช้เสียที
ทางกรมจึงต้องการใครสักคนเขามาช่วยจัดการการบริหารเงินทุนและสถานะการเงิน
ด้วยความเห็นพ้องของบรรดาผู้ใหญ่
นุกูล จึงเหมาะสมที่สุดที่จะสวมรับตำแหน่งรองอธิบดีกรมทางหลวงฝ่ายบริหาร

ณ ที่นี้ที่กลายเป็นจุดบ่มเพาะนิสัยที่เจ้าตัวว่า
“สันดานเสียๆของผม เห็นใครเอาเปรียบบ้านเมืองแล้วทนไม่ได้”
พูดง่ายๆก็คือ การสร้างทางแต่ล่ะเส้น
ล้วนมีผลประโยชน์ประมาณภูเขาลูกหนึ่งให้คอยกัดแทะ เซาะแซะจนล้มครืน
โดยไม่มีใครต้องมารับผิดชอบ หากงานล่าช้า ไม่ได้มาตรฐาน
หรือไปไม่ถึงไหน(แบบถนนสิบชั่วโคตร)

มาดูฤทธิ์เดชน้อยๆของติงลี่นุกูล ณ กรมทางหลวงหน่อยซิ เป็นฉันใดบ้าง

- เปลี่ยนโครงสร้างภายในของกรมทางหลวง ส่วนไหนที่ทำเองได้
ส่วนไหนที่ควรให้ประมูล ไม่ใช่ทำเองทุกอย่าง เลยไปไม่ถึงไหน เงินหายหมด
เพราะไม่เคยทำบัญชี เปลี่ยนใหม่ กรมฯทำหน้าที่ตรวจสอบดูแล
ส่วนงานก่อสร้างก็จ้างผู้รับเหมาเสีย
ประหยัดค่าใช้จ่าย งานก็เดินเร็วด้วย
เพราะผู้รับเหมาก็อยากจะให้งานเสร็จเร็วๆเพื่อรับเงิน

-รื้อระบบผู้รับเหมาทั้งหมด จะมาฮั๊วประมูลกันน่ะหรือ
เดี๋ยวเถอะ ตะแล็บแก็บเชิญพวกผู้รับเหมาต่างชาติเข้ามาแข่งด้วย ทั้งอิตาลี เยอรมัน
ไต้หวันหรือกระทั่งประเทศเล็กๆ(ตอนนั้น)อย่างเกาหลี ก็มีบริษัท ฮุนได มาร่วมประมูลด้วย


-รื้อสัญญาสร้างทางใหม่ ที่เรียกเงินก่อสร้างสูงๆ ให้วงเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำๆ
ก็สำรวจใหม่ได้ค่าก่อสร้างต่ำกว่า ถึงวงงินกู้ดอกเบี้ยจะสูง แต่เงินต้นที่ต่าำกว่า
ก็ยังประหยัดกว่าเงินก้อนเดิมหลายร้อยล้าน

-ยกเลิกเงินกู้จากธนาคารเพื่อการส่งออกของสหรัฐ
เพราะมากำหนดกฎเกณฑ์ว่า จะต้องให้ผู้รับเหมาบริษัทมะกันเท่านั้น
ขอติดต่อธนาคารโลกที่ตัวมีสายสัมพันธ์ก่อนหน้านี้แล้วแทน
แน่นอนทำให้ผู้ยิ่งใหญ่ในแดนพญาอินทรีเคืองมากถึงกับส่งคนมาล็อบบี้ผู้ยิ่งใหญ่ในแดนสยาม
แต่นุกูลและกรมทางหลวงก็ดิ้นหลุดเงื้อมเล็บพญาอินทรีออกมาได้

ข้าราชการในกรมเองที่มีแต่ช่างๆก็เริ่มมีขวัญกำลังใจ ดีขึ้น
หลัจากต่อต้านตอนแรกเสียนาน
นโยบายปลูกสร้างบุคลากรของกรมทางหลวงได้เริ่มต้น
ด้วยการส่งบรรดานายช่างไปเรียนต่อต่างประเทศ
เพื่อพัฒนาความรู้ด้านเทคโนโลยีการก่อสร้างคมนาคม

แน่นอน การหักดิบคอร์รัปชั่นของรองอธิบดีหน้าตี๋ๆนายนี้
ย่อมสร้างความขุ่นข้องหมองใจให้กับผู้เสียผลประโยชน์รายต่างๆ
ทั้งผู้รับเหมาที่สนิทชิดเชื้อกับนักการเมือง ผู้รับเหมาต่างประเทศขาผูกขาด
ผู้ใหญ่ภายในที่มีภูเขา(เงิน)คอยแอบพิงตลอด ตลอดจนผู้ใหญ่ตัวเล็กๆลำดับต่อมา

หลายงานที่มีเรื่องต้องเจรจาขึ้นโรงขึ้นศาล
เพราะนุกูลไม่ยอมจำนนต่อข้อเรียกร้องของบริษัทรับเหมาเหล่านั้น
มิใยที่ส่งผู้มีบารมี เอ๊ย ผู้มีอิทธิพลและสายสัมพันธ์แนบแน่นกับการเมืองมาหว่านล้อม
โอ้โลม เมื่อไม่สำเร็จก็กรรโชกขู่ ป้ายสีลงหนังสือพิมพ์
ติงลี่น้อยก้อไม่หวาดหวั่น

นุกูลรั้งตำแหน่งรองอธิบดี อยู่ที่กรมทางหลวงนานถึง 10 ปี
รองคนแรกที่ไม่ได้จบวิศวกรรมใดๆมาเลย

แต่ที่ขำไม่ออกก็คือ
การช่วยประหยัีดงบประมาณในกรมทางหลวงของเขาไม่เคยได้รับคำชื่นชมจากใครเลย

เจ้านายสูงสุด ขณะนั้นคือ พจน์ สารสิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาการ
ถึงกับเคยกล่าวว่า
“นุกูล การประหยัดเงินให้บ้านเมืองนั้นไม่มีใครได้ประโยชน์
จึงไม่มีใครเขามาขอบใจเราหรอก
เขาจะขอบใจเราก็ต่อเมื่อเราทำประโยชน์ให้เขาเท่านั้น

เศร้าจริงๆ ประเทศไทย



Create Date : 01 กรกฎาคม 2555
Last Update : 1 กรกฎาคม 2555 19:31:20 น. 4 comments
Counter : 3479 Pageviews.  

 
แวะเข้ามาทักทายครับคุณกูรู ตอนนี้กำลังอ่าน "ดวงใจ"อยู่ครับ


โดย: สามปอยหลวง วันที่: 2 กรกฎาคม 2555 เวลา:7:20:02 น.  

 
สวัสดีคุณสามปอยหลวง

ขอโทษที่ตอบช้า
หวังว่าอ่าน ดวงใจ จบแล้ว
รู้สึกเป็นอย่างไรบ้าง
เหมือนกูรูหรือเปล่าหนอ

ได้หวลรำลึกกลับไปถึงชีวิตตอนเรียนหนังสือเด็กๆ
ท่ามกลางพื่อนฝูงต่างฐานะและที่มา
แล้วก็เติบโตด้วยโลกทัศน์ของความบริสุทธิ์ในวัยเยาว์

แอะ แอะ แต่ทุกวันนี้ ไม่ค่อยจะสะอาดเท่าไหร่แล้วล่ะ


โดย: กูรูขอบสนาม วันที่: 5 กรกฎาคม 2555 เวลา:11:35:43 น.  

 
สวัสดีครับคุณกูรู
อ่านด้วยความประทับใจกับเนื้อเรื่องและสำนวนภาษามากครับ ทั้งที่ชื่อเรื่องนี้แสนจะ ธรรมดา มาก ถ้าดูผ่านๆแล้วไม่สะดุดตาเลยครับ และนักเขียนเอง ผมก็ไม่เคยได้ยินชื่อท่านมาก่อนเลย ไม่แน่ใจว่าคุณ ซิม วีระไวทยะ ได้เขียนนิยายเรื่องอื่นด้วยหรือเปล่า นอกจากดวงใจ ผมเห็นรวมสาส์นพิมพ์งานของท่านอยู่เพียงเรื่องเดียวเท่านั้น

อยากให้หลายๆคนได้อ่านเรื่องดีๆแบบนี้เช่นกันครับ


โดย: สามปอยหลวง วันที่: 10 กรกฎาคม 2555 เวลา:11:11:18 น.  

 
ขอเข้ามาอ่านบล็อกนี้ด้วยคน พรุ่งนี้จะไปทานข้าวเที่ยงกับน้าวิทย์ที่บ้านน้าวิทย์ครับ


โดย: yyswim วันที่: 13 กันยายน 2555 เวลา:12:06:38 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

รุ้งพลบ
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




ใช้ชีวิตแสวงหามาหลายปี ปัจจุบันก็ยังแสวงหาไม่รู้จักเสร็จ
บางอารมณ์เหนื่อยๆ ก็หยุดพัก แล้วตรองนิ่งเขียนบันทึกในสิ่งที่พบเห็น

บางอารมณ์ที่โมแรนติค ชอบดูสายรุ้งตอนโพล้เพล้
New Comments
[Add รุ้งพลบ's blog to your web]