<<
กันยายน 2551
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
15 กันยายน 2551

อำนาจแห่งความว่าง ความว่างแห่งอำนาจ





O Fortuna - Carl Orff

เมื่อวันศุกร์ที่แล้ว ( 12 กันยายน) มีโอกาสไปฟังปาฐกถาเกียรติยศ
ชุด "พุทธธรรมนำไทยพ้นวิกฤต" ณ หอประชุมมหิศร ธ.ไทยพาณิชย์
สำนักงานใหญ่ รัชโยธิน
ในงาน “ เปิดประตู... สวนโมกข์กรุงเทพ”
เป็นการประกาศกิจกรรมของมูลนิธิหอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ
อันเป็นมูลนิธิที่รับผิดชอบในการสร้างหอจดหมายเหตุของท่านพุทธทาส
ประหนึ่งเป็นการนำแก่นสวนโมกข์จากไชยามาอยู่ใจกลางกรุงเทพฯ
เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้พุทธศาสนาและเก็บผลงานของท่านพุทธทาสให้ศึกษา
สถานที่ตั้งคือภายในสวนรถไฟ วิภาวดี
เพิ่งตอกเสาเข็มเสร็จ เมื่อวันก่อนหน้านี้
คาดว่าจะสมบูรณ์ปี 2553


งานจัดแต่เช้า กูรูค่อยๆย่องเข้าไป
เจอแต่คนใหญ่คนโตเต็มไปหมด
โน่นก็หมอเกษม วัฒนชัย ผู้อำนวยการจัดงานฯ
คุณหญิงชฎา วัฒนศิริธรรม ประธานฝ่ายหาทุน
แม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุต อดีตนายกอานันท์ ปันยารชุน
ราษฎรอาวุโส นายแพทย์ประเวศ วะสี
โน่นก็นายใหญ่ ปตท. นายใหญ่ยูนิลีเวอร์ นายใหญ่ไทยออล์
(เหล่านี้คือผู้บริจาคเงินทุนประเดิม)
นายใหญ่อิตัลไทย ( เป็นผู้รับเหมาก่อสร้างหอสมุดแห่งนี้)
กูรูเลยเดินตัวลีบๆจับจองที่นั่ง ซึ่งมีคนเต็มแน่นหอประชุม

Hi Light ของงานก็คือ เดี่ยวไมโครโฟนของผู้ยิ่งใหญ่ 3 ท่าน
หรือพูดเพราะๆก็คือ ปาฐกถาขององค์ปาฐก 2 ท่าน 1 รูป
นั่นก็คือ ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์ ดร.เสกสรรค์ ประเสริฐกุล
และ พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี หรือที่รู้จักกันในนามว่า ว.วชิรเมธี

เป็นครั้งแรกที่กูรูได้ฟังคำปาฐกถาสดๆซึ่งๆหน้าจากทั้ง 3 ท่าน
เออ..ก็พอจะกระตุ้นต่อมความคิดให้นำพาภาษาสาระของปาฐกถา
ไปคิดต่อเนื่องในช่วงเสาร์ อาทิตย์ได้บ้าง
พอตกตะกอนเสร็จสรรพ ก็จะเอามาถ่ายทอดให้เพื่อนๆฟัง

แต่ที่ไหนได้ ตะกอนความคิดยังลอยล่อง
ไม่สามารถเกาะตัวถ่วงน้ำหนักลงก้นบึ้งแห่งปัญญาได้ลงตัว
โดยเฉพาะปาฐกถาของอาจารย์เสกสรรค์ ประเสริฐกุล
ในหัวข้อ “อำนาจแห่งความว่าง ความว่างแห่งอำนาจ”
เป็นครั้งแรกที่ฟังคนพูดแล้วจดอะไรไม่ได้เลย
เพราะมัวแต่ตะลึงกับพจนสุนทรที่อาจารย์อ่านออกมา
หันไปดูคนอื่น ก็ไม่มีใครจดได้เหมือนกัน
พออาจารย์พูดเสร็จ มีคนวิ่งไปขอแผ่นกระดาษกันจมเลย
สงสัยจะเป็นนักข่าว
ก็เลยขออนุญาตนำข้อความจากรายงานหนังสือพิมพ์
ที่ลงถ้อยปาฐกมาให้เพื่อนๆอ่านเป็นบางตอน

ปกติเวลาเล่าเรื่องที่ไปเที่ยวหรือไปฟังอะไรมา
กูรูจะหลีกเลี่ยงไม่เอาข้อความของคนอื่นมาลงทั้งดุ้น
จะสรุปในภาษา ความเข้าใจและสไตล์(ไร้สาระ)ของตัวเอง
แต่ครั้งนี้ ขอยอมแพ้ครับ




Create Date : 15 กันยายน 2551
Last Update : 17 พฤศจิกายน 2551 21:52:13 น. 7 comments
Counter : 952 Pageviews.  

 
ขออนุญาตคัดย่อมาจากเวปหนังสือพิมพ์ 2 ฉบับ
เพื่อนๆสามารถอ่านฉบับเต็มได้ที่
//www.posttoday.com/politics.php?id=6634 และ
//www.thairath.co.th/news.php?section=hotnews02&content=104127

ความว่าง หรือ สุญญตา
หมายถึงสภาพของความจริงที่ดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง
เปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ ตามเหตุปัจจัย
และหมายถึงความจริงแบบองค์รวมมากมากกว่าความจริงแบบแยกส่วน
ซึ่งความว่างคือหัวใจสำคัญของคำสอนของท่านพระพุทธทาส
ที่สอนไว้การเมืองต้องไม่แยกจากธรรมะ

“ในเมื่ออำนาจเป็นปรากฏการณ์แห่งความว่าง
ผู้กุมอำนาจก็ควรหยั่งถึงความว่างในดวงจิต
ใครก็ตามที่นำอัตตาตัวตน ผลประโยชน์ส่วนตัว
และยืนยันผลประโยชน์ของตนเองเป็นเอกขึ้นสู่เวทีอำนาจ
ไม่ว่าจะลาภ ยศ หรือสรรเสริญ ท้ายที่สุดจะไปไม่รอดทั้งสิ้น
เพราะกฎแห่งอำนาจ เป็นกฎเดียวกับ อิทัปปัจจยตา
ใครก็ตามที่คิดจะตั้งศูนย์อำนาจใหม่ หรือต่อต้านอำนาจเก่า
ควรจะต้องรู้ว่า อำนาจเป็นความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์
และอิงอาศัยนานาปัจจัย
อำนาจไม่ได้บรรจุอยู่ในอาคารสถานที่
การยึดอำนาจรัฐไม่ได้เกิดจากการยึดตัวอาคาร
หากจะต้องยึดครองที่ หัวใจคน”

วิกฤตการเมืองไทยในขณะนี้เพราะต่างฝ่ายต่างอยู่ใน “ทวิภาวะ”
กล่าวคือ การสร้างทฤษฎี อคติ หรือ ทิฐิโจมตีใส่ฝ่ายตรงข้าม
ดังนั้นจุด เริ่มต้นที่ดีคือ คู่ขัดแย้งฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะต้องหยุดพูด
เพื่อจะนำไปสู่ก้าวแรกของการหลุดพ้นจากทวิภาวะ ยกตัวอย่างเช่น
ในเวลานี้พี่น้องชาวไทยเราจำนวนหนึ่ง
กำลังถูกพัดพาให้ไปยึดถือบัญญัติว่า อะไรเป็นประชาธิปไตย อะไรไม่ใช่ประชาธิปไตย
แล้วเถียงกันเอาเป็นเอาตาย โดยลืมไปว่าทั้งหมดเป็นแค่สมมติสัจจะ
เป็นความจริงสัมพันธ์ที่ขึ้นต่อนานาปัจจัย
และไม่มีอันใดเที่ยงแท้ถาวร อย่างที่เรียกว่า ติดกับอยู่ในทวิภาวะ

“การที่คนเรามองไม่เห็นเห็นสุญญตา
ทำให้ชอบแบ่งโลกออกเป็นคู่ขัดแย้งต่างๆ
ชอบบัญญัติลงไปว่าสิ่งนั้นดีสิ่งนี้ชั่ว สิ่งนี้สวยสิ่งนั้นอัปลักษณ์ สิ่งนี้มีมลทิน ฯลฯ
การมองโลกแบบทวิภาวะเช่นนี้ แท้จริงแล้ว มักผูกโยงอยู่กับอัตตา
ซึ่งนำไปสู่การปะทะกันขัดแย้งอยู่เนืองๆ
เพราะต่างฝ่าย ต่างอยากกำหนดความเป็นไปของโลก ด้วยปัจจัยเดียว
คือ ตัวเอง และโทษ ผู้อื่นเป็นต้นเหตุแบบไม่มีที่มาที่ไป”


โดย: กูรูขอบสนาม วันที่: 15 กันยายน 2551 เวลา:21:51:08 น.  

 
ความจริงโลก คือ ภาวะแยกเป็นคู่ๆ แบบขาวล้วน ดำล้วนนั้น
เป็นแค่เรื่องสมมติ เป็นบัญญัติทางโลกที่อาจทำได้กระทั่งมีประโยชน์
หากอยู่ในระดับพอเหมาะพอสม ไม่ยึดติด อีกทั้งรู้เท่าทันมัน
แต่ถ้าใครก็ตามพาทัศนะเช่นนี้เตลิดไปอย่างไร้ขอบเขต
สุดท้ายย่อมติดกับอยู่กับความขัดแย้งชนิดหาทางออกไม่ได้
ทั้งขัดแย้งในตัวเอง และกับผู้อื่น

แพ้ชนะถึงที่สุดแล้วก็เป็นสุญญตา ไม่มีความจริงรองรับ
มีแต่เราเองไปบัญญัติมันขึ้นมา

อำนาจเป็นสิ่งที่จะต้องมีเงื่อนไข
คือ ผู้นำจะต้องได้รับมอบและอนุมัติอำนาจจากคนส่วนใหญ่ที่อยู่ใต้อำนาจ
2.อำนาจมีไว้เพื่อการแก้ไขปัญหา และ
3.ตำแหน่งของผู้นำเป็นเพียงสิ่งสมมติขึ้นมาเท่านั้น
ดังนั้นการได้มาซึ่งอำนาจและการรักษาอำนาจ
จะต้องคำนึงถึง 3 เงื่อนไขดังกล่าว

ซึ่งหลักรัฐศาสตร์ อำนาจนั้นเปลี่ยนมือได้เสมอ
ถ้าผู้ปกครองไม่สามารถแก้ปัญหาให้ผู้ใต้การปกครองได้
แต่เปลี่ยนแล้วจะดีขึ้นหรือไม่ ยังไม่ใช่สูตรสำเร็จ
ขึ้นอยู่กับผู้นำการเปลี่ยนแปลงว่ามีปัญญาญาณมากน้อยเพียงใด
คนในสังคมเห็นพ้องต้องกันในทิศทางของการเปลี่ยนแปลงแค่ไหน
หากสังคมยังไม่เห็นพ้องต้องกันในทิศทางเปลี่ยนแปลง
การล้มลงของระบอบเก่า หรือ อำนาจเก่า
ก็รังแต่จะนำไปสู่สภาพกลียุค และ อนาธิปไตย

บางครั้งอำนาจใหม่กลับฆ่าคนเสียยิ่งกว่าอำนาจเก่าที่ล่มสลาย
เนื่องจากทิฐิที่ยึดติดในการเปลี่ยนแปลง
และไม่ต้องการรอคอยให้ผู้คนเห็นด้วย

เรื่องเช่นนี้เคยเกิดมาแล้วในหลายๆประเทศ ซึ่งควรถือเป็นบทเรียน
ดังนั้นในทัศนะของท่านอาจารย์พุทธทาส ระบอบการเมืองแบบไหน
ยังไม่สำคัญเท่ากับว่ามีธรรมะหรือไม่
เพราะถ้าไม่มีธรรมะ ถึงอย่างไรก็สร้างสันติสุขให้บังเกิดมิได้
และท่านถือว่าภาวะไร้สันติภาพเป็นปัญหาร้ายแรงที่สุดของมนุษย์

การไม่ได้อยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขนับเป็นเคราะห์กรรมอย่างยิ่งของแผ่นดิน
ด้วยเหตุนี้ความพยายามที่จะรักษาระบอบการเมืองก็ดี
ความพยายามที่จะปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงระบอบการเมืองก็ดี
จึงไม่อาจสำเร็จได้ด้วยความชัง
ไม่อาจใช้โลภะ โทสะ โมหะ มาขับเคลื่อน
เราจะสร้างสังคมที่สันติสุขได้อย่างไร
หากวิธีการขัดแย้งกับจุดหมายเสียตั้งแต่ต้น
สำหรับชาวพุทธแล้วมรรควิถีมีค่าเท่ากับจุดหมายปลายทาง

ความรักบ้านรักเมืองไม่จำเป็นต้องแสดงออกด้วยชัยชนะเหนือคู่แข่งอย่างเดียว
บางครั้งการยอมแพ้กลับเป็นการเสียสละที่ยิ่งใหญ่
แสดงความรักบ้านรักเมืองได้มากกว่า
เหมือนมารดายกบุตรให้ผู้อื่น ในยามที่ตัวเองดูแลปกป้องไม่ได้ .......


เป็นอย่างไรบ้างครับ
ท้ายสุด อาจารย์เสกสรรค์ยังออกตัวบอกว่า
ตัวเองไม่ใช่ผู้เก่งกาจอาจหาญด้านพุทธปรัชญา
เป็นเพียงผู้เรียงร้อยถ้อยวจีของคำสอน
เอามาถักทอรจนาเป็นผืนผ้าให้คนฟังเกิดมนสิการ

เราจะพูดภาษาแบบนี้ได้มั้ยเนี่ย


โดย: กูรูขอบสนาม วันที่: 15 กันยายน 2551 เวลา:21:52:56 น.  

 
แวะมาราตรีสวัสค่ะท่านกูรู..ผู้รอบรู้เสมอ
น่าอิจฉาจังเลยค่ะได้ไปฟังอะไรที่...ดีจังค่ะ
อยากไปเสวนารับฟังผู้มากด้วยความรู้เช่นท่านได้รับมามังจัง




จิต ความคิดหรือตัณหา มันเป็นไปตามอำนาจของเวทนา
ถ้าเป็นไปในทางผิดมันก็ผิด ไปหาความทุกข์
ถ้าเราเป็นนายเหนือเวทนาได้
โลกทั้งโลกไม่ทำอะไรเราได้

ความยึดมั่นถือมั่นนั้นแหละเจ็บปวด
ยึดมั่นในสิ่งใด ก็มีความทุกข์ในสิ่งนั้น
โง่เขลาต่อสิ่งใด มันก็ไปยึดมั่นในสิ่งนั้น
มันก็ถูกสิ่งนั้นกัดเอา คือทำให้เกิดทุกข์

การเป็นอยู่ด้วยความว่างเปล่า หรือ สุญญตาวิหาร
เราควรจะมีของเราบ้าง
พอหมดกิเลส ตัณหา
ก็จะมีความสันโดดพอใจ ยินดีที่มีอยู่




คุณแคทชอบบ้างนะค่ะสำหรับบางภาษาพูทธศาสนาที่รู้น้อยจัง
ชอบค่ะเนื้อหาของท่าน พุทธทาสภิกขุ


ดูจะคนละแนวเดียวกันไม่นิ
แต่ที่แน่แน่อยากให้สงบเร็วๆๆจังเลยค่ะ


เราจะรอดถึงวันที่ฟ้าใสไหมนิ
คิดแล้วเหนื่อยกับการเมืองจัง


สู้ๆๆนะค่ะท่านอาจารย์
นอนหลับฝันดีเพื่อรอวันใหม่ที่ฟ้าใสค่ะ




โดย: catt.&.cattleya.. วันที่: 15 กันยายน 2551 เวลา:22:55:24 น.  

 
ลืมชมค่ะภาพประกอบสวยจังค่ะ


อยากไปนั่งเล่นในเรือจังค่ะดุเงียบๆๆดีเนอะ


โดย: catt.&.cattleya.. วันที่: 15 กันยายน 2551 เวลา:22:57:22 น.  

 
thank for posting. It's a great speech everyone should listen. Sorry that I didn't attend myself.


โดย: pavinee IP: 124.121.253.224 วันที่: 17 กันยายน 2551 เวลา:7:24:02 น.  

 
สวัสดีตอนดึก คุณ Catt
ไม่ทราบที่บ้านน้ำท่วมหรือยังเอ่ย

กระทู้นี้งงหน่อย ต้องอ่านหลายเที่ยว
ไปกระทู้หน้าร้องเพลงให้สบายใจฉ่ำฝนดีกว่า


โดย: กูรูขอบสนาม วันที่: 17 กันยายน 2551 เวลา:21:58:21 น.  

 
จะขอผ่านไปก่อน จะดีไหมเอ่ย ?

การเมืองไทย เป็นยิ่งกว่า ประชาธิปไตย บนเส้นขนาน
และ ช่องว่างของเส้นทั้งสองเส้นนั้นมัน กว้างใหญ่ เสียเหลือเกิน

ขณะนี้กำลังอ่านหนังสือเกี่ยวกับการเมืองคือ

1. สัญญาประชาคม ของ รุสโซ่
2. เส้นทางสู่เสรีภาพ ของ รัสเซล
3. ความเรียงว่าด้วย เสรีภาพ ของ จอห์น สจ๊วต มิลล์

ผมเชื่อว่า ถึงแม้ว่าผมอ่านจบแล้ว ผมก็ไม่สามารถนำมาใช้ในการอธิบายเกี่ยวกับการเมืองไทยได้

ได้แต่หวังว่า บทสรุป
คงไม่ต้องกลับไปอ่านอีกเล่ม คือ การต่อสู้ของข้าพเจ้า โดย อด๊อฟ ฮิตเลอร์ นะครับ


โดย: moonfleet วันที่: 15 พฤศจิกายน 2551 เวลา:23:47:33 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

รุ้งพลบ
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




ใช้ชีวิตแสวงหามาหลายปี ปัจจุบันก็ยังแสวงหาไม่รู้จักเสร็จ
บางอารมณ์เหนื่อยๆ ก็หยุดพัก แล้วตรองนิ่งเขียนบันทึกในสิ่งที่พบเห็น

บางอารมณ์ที่โมแรนติค ชอบดูสายรุ้งตอนโพล้เพล้
New Comments
[Add รุ้งพลบ's blog to your web]