พฤศจิกายน 2562

 
 
 
 
 
2
3
4
5
6
7
8
10
11
12
14
15
16
17
18
19
20
22
25
26
28
30
 
All Blog
ทำความเข้าใจกับ space time (everything) 2019 ในระดับควอนตัม
ทุกสรรพสิ่ง (มนุษย์ โลก) กำลังใช้ชีวิตอยู่ภายในช่องว่างระหว่างสรรพสิ่งและเวลา space time (everything) ดังนั้นการเรียนรู้วิธีการใช้ช่องว่างระหว่างสรรพสิ่งและเวลา space time (everything) จะสามารถทำให้เราลอยตัวอยู่เหนือสิ่งที่เราคิดและเข้าใจว่าคือ ปัญหา ความหมายของคำว่า ลอยตัวอยู่เหนือปัญหา หมายถึง ความสามารถในการนำหลักการเติมเต็ม (complementarity principle) มาใช้ ยกตัวอย่างเช่น
1. การใช้ช่องว่างระหว่างสรรพสิ่งและเวลา space time (everything) เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้อื่น ยกตัวอย่างเช่น การขับรถบนถนนในเวลาที่เราต้องการเปลี่ยนช่องทางเราจะต้องมองหาช่องว่างเพื่อทำการเปลี่ยนช่องทาง ซึ่งจะมีทั้งสถานะและสภาวะคือ มีช่องว่างและไม่มีช่องว่าง หรือ กึ่งมีช่องว่างกึ่งไม่มีช่องว่าง ถ้าหากมีช่องว่างเราก็สามารถเปิดไฟขอทางและเข้าไปใช้ทางได้อย่างสะดวกปลอดภัย แต่ถ้าไม่มีช่องว่างเราก็มีความจำเป็นต้องเปิดไฟขอทางเพื่อขอแทรกเข้าไป การขอแทรกเข้าไปใช้ทางร่วมกับผู้ที่อยู่บนทางนั้นอยู่ก่อนแล้วเราควรจะแสดงความรู้สึกขอโทษและขอบคุณผู้ที่ให้ทางกับเรา ในกรณีที่ผู้ที่อยู่บนทางนั้นอยู่ก่อนแล้วแสดงท่าที่ไม่ยินยอมให้เราแทรกเข้าไป เราก็ไม่ควรดึงดันแทรกเข้าไปเนื่องจากความดึงดันของเราอาจเป็นบ่อเกิดของการเกิดมีอารมณ์ร้อนซึ่งอาจนำไปสู่การใช้ความรุนแรงของตัวเองและผู้อื่นได้ ตามหลัการทางควอนตัมการดึงดันที่จะแทรกเข้าไปในขณะที่ผู้ที่อยู่บนทางนั้นอยู่ก่อนแล้วแสดงท่าที่ไม่ยินยอมให้เราแทรกเข้าไปนั้นจะทำให้สถานะของเราเคลื่อนที่ออกจากการใช้ความคิดเข้าสู่การใช้ความรู้สึกทันที ซึ่งการอยู่ในสถานะของความรู้สึกจะทำให้ความมีเหตุผลของเราลดลงและใช้อารมณ์มากขึ้น เมื่อเราใช้อารมณ์มากขึ้นก็เท่ากับเราเพิ่มโอกาสให้กับการเข้าสู่การใช้ความรุนแรงมากขึ้นตามไปด้วย
2. การใช้ช่องว่างระหว่างสรรพสิ่งและเวลา space time (everything) เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้อื่น ยกตัวอย่างเช่น การใช้ช่องว่างระหว่างกฏหมายในการเอาตัวรอดจากการตกเป็นผู้ต้องหา การใช้ช่องว่างระหว่างการถือครองลิขสิทธิ์ทั้งของตัวเองและของผู้อื่นในการหาเงินเข้ากระเป๋าตัวเอง การใช้ช่องว่างระหว่างความใจดีมีน้ำใจของผู้อื่นเพื่อกอบโกยผลประโยชน์เข้าหาตัวเอง การใช้ช่องว่างระหว่างความไว้ใจเชื่อใจกันระหว่างความเป็นพ่อแม่ญาติพี่น้องเพื่อนฝูงหรือคนรักในการทำร้ายทำลายกัน การใช้ช่องว่างระหว่างสถานการณ์ที่เกิดขึ้นเพื่อโยนความรับผิดชอบให้ผู้อื่นเป็นผู้แสดงความรับผิดชชอบแต่ผู้เดียว โดยบอกกับตัวเองว่าเราคือผู้เสียหายหรือคนอื่นคือคนผิดไม่ใช่เรา ซึ่งในความเป็นจริงแล้วการเกิดขึ้นของสถานการณ์ใดก็ตามผู้ที่เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องทุกคนจะต้องแสดงความรับผิดชอบในส่วนของตัวเองด้วยกันทั้งสิ้น การแสดงความรับผิดชอบในส่วนของตัวเองหมายถึงการแสดงความรับผิดชอบในส่วนที่ตัวเองเป็นผู้กระทำและส่งผลทำให้ผู้อื่นได้รับความเสียหาย และหรือการแสดงความรับผิดชอบในส่วนของผู้ถูกกระทำที่มีส่วนร่วมในการเกิดขึ้นของเหตุการณ์หรือสถานการณ์ ซึ่งจะทำให้สถานการณ์เกิดมีความคลี่คลายโดยอัตโนมัติ แต่การโยนความรับผิดชอบไปให้ผู้อื่นโดยปฏิเสธที่จะแสดงความรับผิดชอบในส่วนของตัวเองอาจนำไปสู่สถานการณ์ที่บานปลายและมีความรุนแรงขึ้น เป็นต้น

ซึ่งการเปิดเผยถึงสถานะของตัวเองและของคนอื่นทั้งสองตัวอย่างคือ การเปิดเผยสถานะที่จะนำไปสู่การเปิดเผยสภาวะของตัวเองและของคนอื่นในเวลาถัดมา ซึ่งการทดลองที่เกี่ยวกับแมวของชโรดิงเจอร์มีบทสรุปที่ว่า ก่อนที่เราจะทำการสังเกตหรือเปิดออกดูทุกสิ่งทุกอย่างจะอยู่ในสภาวะกึ่งเป็นกึ่งตาย แต่เมื่อเราเปิดออกดูเราจะเห็นว่า แมวเป็นหรือตาย การทดลองนี้เป็นการทดลองทางความคิด-ความรู้สึกที่เกิดขึ้นภายในช่องว่างระหว่างสรรพสิ่งและเวลา space time (everything) ทั้งภายใน (สมองส่วนกลาง) และภายนอก (โลก) ตัวเอง ซึ่งการสังเกตและรับรู้ได้ถึงสถานะและสภาวะภายในและภายนอกในระดับควอนตัมสามารถขยายขอบเขตและยกระดับ (สูงขึ้นและลงลึก) ไปได้มากกว่านั้นอีกคือ การคิดและรู้สึกนอกกรอบ/การคิดและรู้สึกภายนอกช่องว่างระหว่างสรรพสิ่งและเวลา space time (everything) ซึ่งสามารถปฏิบัติได้สองทางคือ ภายในและภายนอก
- ภายนอกโดยการเข้าไปทำการสังเกตและรับรู้ถึงสถานะและสภาวะในส่วนที่อยู่นอกขอบเขตของช่องว่างระหว่างสรรพสิ่งและเวลา space time (everything) ที่เป็นแหล่งที่มาของการซ้อนทับและพัวพันกันของโลก ซึ่งการเข้าไปในส่วนดังกล่าวอาจต้องใช้เวลาและทรัพยากรมากมายในการประดิษฐ์คิดค้นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพและมีความสามารถเพียงพอที่จะเข้าไปทำการสังเกตและรับรู้ ซึ่งยังไม่ใช่เวลานี้ตอนนี้
- ภายในซึ่งเป็นวิธีที่ง่ายกว่าเร็วกว่าและใช้ทรัพยากรที่มีอยู่แล้วโดยการเข้าไปทำการสังเกตและรับรู้ถึงสถานะและสภาวะในส่วนของสมองส่วนหน้าและสมองส่วนท้ายก่อนที่พลังงาน/ข้อมูลนั้นจะถูกส่งต่อไปที่สมองส่วนกลาง ซึ่งการกระทำดังกล่าวจะทำให้ความสามารถในการรับรู้และเข้าถึงแหล่งที่มาของพลังงาน/ข้อมูลมีความเล็ก (ลึก) และมีความละเอียดมากยิ่งขึ้น การเข้าถึงแหล่งที่มาของพลังงาน/ข้อมูลที่มีความเล็ก (ลึก) และมีความละเอียดมากยิ่งขึ้นจะเท่ากับเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการคิดและรู้สึกให้กับตัวเราเองและทำให้เรามีความรู้ความเข้าใจในเหตุการณ์หรือสถานการณ์เกิดขึ้นแล้วและหรือที่กำลังจะเกิดขึ้นได้กระจ่างชัดมากขึ้น ซึ่งจะช่วยทำให้เราสามารถรับมือกับเหตุการณ์หรือสถานการณ์ที่กำลังจะเกิดขึ้นได้ทันท่วงทีและหรือมีประสิทธิภาพมากขึ้นและช่วยลดการเกิดขึ้นของความคิด-ความรู้สึก และหรือความรู้สึก-ความคิดที่คลาดเคลื่อนที่อาจนำไปสู่การใช้อารมณ์และความรุนแรงในท้ายที่สุด ซึ่งการฝึกฝนเรียนรู้และเข้าไปทำการการสังเกตและรับรู้ถึงสถานะและสภาวะภายในส่วนของสมองส่วนหน้าและสมองส่วนท้ายก่อนที่พลังงาน/ข้อมูลนั้นจะถูกส่งต่อไปที่สมองส่วนกลางนี้อาจเป็นข้อมูลใหม่และมีวิธีการทำงานที่ซับซ้อนมากขึ้น แต่การปฏิบัติที่มีวิธีการที่ซับซ้อนมากขึ้นก็คือ วิธีแก้ไขความซับซ้อนและความพัวพันที่เกิดขึ้นจากการซ้อนทับและพัวพันกันระหว่างพลังงานกับพลังงานที่ดีที่สุด (การทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย) ทุกสรรพสิ่งในโลกนี้จะมีแหล่งกำเนิดหรือมีแหล่งที่มาของพลังงานและข้อมูลอยู่สองแหล่งด้วยกันภายในตัวเองและภายในกันและกัน คำว่า ตัวเองและกันและกัน จะมีความหมายสองทางคือ ตัวเองและกันและกันที่อยู่ภายในและภายนอกตัวเราสามารถแยกออกเป็นดังนี้คือ
1. ตัวเองและกันและกันที่อยู่ภายนอกตัวเราหมายถึง ตัวเราและผู้อื่น/สิ่งอื่น (โลก) คือ คนเดียวกัน/สิ่งเดียวกันที่ใช่และไม่ใช่คนเดียวกัน/สิ่งเดียวกันในเวลาเดียวกัน—-> เวลาเดียวกันใช่และไม่ใช่เวลาเดียวกันในเวลาเดียวกัน
2. ตัวเองและกันและกันที่อยู่ภายในตัวเราหมายถึง สมองใหญ่และสมองน้อย คือ คนเดียวกัน/สิ่งเดียวกันที่ใช่และไม่ใช่คนเดียวกัน/สิ่งเดียวกันในเวลาเดียวกัน—-> เวลาเดียวกันใช่และไม่ใช่เวลาเดียวกันในเวลาเดียวกัน

ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นทั้งภายในและภายนอกตัวเราล้วนเป็นผลที่เกิดขึ้นจากการสะท้อนกลับไปกลับมาระหว่างพลังงานกับพลังงานด้วยกันที่ซ้อนทับและพัวพันอยู่ภายในตัวเองและภายในกันและกัน ซึ่งการสะท้อนกลับไปกลับมา=การเปลี่ยนรูปกลับไปกลับมาระหว่างพลังงานบวกหรือพลังงานลบที่ซ้อนทับและพัวพันอยู่ภายในตัวเองและภายในกันและกัน+การหมุนรอบตัวเองและการหมุนรอบกันและกันที่มีการหมุนไปในทิศทางเดียวกันและไปในทิศทางตรงกันข้ามกัน/กลับด้านกันทำให้เกิดช่องว่างระหว่างสถานะและสภาวะของความใช่และไม่ใช่ หรือ กึ่งใช่กึ่งไม่ใช่ ความมี/เป็น/อยู่และไม่มี/ไม่เป็น/ไม่อยู่ หรือ กึ่งมีกึ่งไม่มี กึ่งเป็นกึ่งไม่เป็น กึ่งอยู่กึ่งไม่อยู่ และอื่นๆอีกมากมาย ซึ่งทั้งหมดล้วนเป็นแหล่งที่มาของสถานะและสภาวะของกระบวนการสร้างและทำลายภายในตัวเองและภายในของกันและกัน ซึ่งรวมถึงแรงดึงดูดและแรงโน้มถ่วงที่อยู่ในแรงพื้นฐานธรรมชาติทั้ง 4+4(ซ้อนทับ)= 8 และแรงหรือกฏทางฟิสิกส์ คณิตศาสตร์ ปรัชญาและอื่นๆทั้งหมด ทุกสิ่งทุกอย่างมีส่วนร่วมกันทำให้เกิดปรากฏการณ์ในทางฟิสิกส์เรียกว่า ปรากฎการณ์/กระบวนการสปาเกตตี้ ที่เปรียบเสมือนกับ การเล่นเกมงูกินหาง/การเล่นเกมซ่อนหา กับตัวเองและผู้อื่น/สิ่งอื่น (โลก)



Create Date : 09 พฤศจิกายน 2562
Last Update : 13 พฤศจิกายน 2562 14:38:36 น.
Counter : 711 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

สมาชิกหมายเลข 3784113
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]



จุกมุ่งหมายคือ การรู้แจ้งเห็นจริงในฐานะมนุษย์ปุถุชนคนธรรมดาคนหนึ่ง

There is no way to happiness, happiness is the way.

การปิดทองหลังพระ ถ้าเราไม่หยุดปิด วันหนึ่งทองก็จะล้นมาด้านหน้าพระเอง

คำพูดที่ปราศจากการกระทำนั้นได้ตายไปแล้ว