ตุลาคม 2562

 
 
1
2
3
4
6
7
8
9
10
11
14
15
16
17
18
19
20
21
22
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
All Blog
โลก (มนุษย์) กับ สถานะสงครามควอนตัมที่ไม่มีวันสิ้นสุด (must read)
โลกเป็นอย่างไรมนุษย์เป็นอย่างนั้นและไม่ได้เป็นอย่างนั้นในสิ่งเดียวกันในเวลาเดียวกัน โลกอยู่ในสถานะสงครามควอนตัมที่มีวันสิ้นสุดและไม่มีวันสิ้นสุดมนุษย์ก็เช่นเดียวกัน สงครามควอนตัม หรือ สงครามการสลับขั้วแม่เหล็กโลกคือ ความพยายามในการรักษาและคงไว้ซึ่งสถานะที่ตัวเองมีอยู่และเป็นอยู่ การสลับขั้วแม่เหล็กโลกไม่ได้หมายถึงการสลับขั้วสนามแม่เหล็กขั้วเหนือกับขั้วใต้เพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึงการสลับขั้วสนามแรงโน้มถ่วงและแรงดึงดูดอีกด้วย การสลับขั้วสนามแม่เหล็กขั้วเหนือกับขั้วใต้สามารถเกิดขึ้นได้สองทางคือ 1. จากใหญ่ไปสู่เล็ก (top-down) เกิดจากการหมุนเวียนพลังงานระหว่างขั้วเหนือกับขั้วใต้ของโลกเอง ซึ่งนำไปสู่การสลับขั้วแรงโน้มถ่วงและแรงดึงดูดขั้วเหนือกับขั้วใต้ที่อยู่สลับขั้วกันภายในแม่เหล็กขั้วคู่ของโลก 2. จากเล็กไปสู่ใหญ่ (bottom-up) เกิดจากการหมุนเวียนพลังงานระหว่างขั้วบวกกับขั้วลบของมนุษย์ ซึ่งนำไปสู่การสลับขั้วแรงโน้มถ่วงและแรงดึงดูดขั้วเหนือกับขั้วใต้ที่อยู่สลับขั้วกันภายในแม่เหล็กขั้วคู่ของโลก และนำไปสู่การสลับขั้วสนามแม่เหล็กขั้วเหนือกับขั้วใต้

โลกและมนุษย์คือ สิ่งเดียวกันที่ใช่และไม่ใช่สิ่งเดียวกันในเวลาเดียวกัน โลกมีแม่เหล็กขั้วคู่ที่ทำให้โลกมีสถานะและสภาวะที่ซ้อนทับและพัวพันกันอยู่สองสถานะสองสภาวะ มนุษย์มีสมองใหญ่และสมองน้อยที่ทำให้มนุษย์มีสถานะและสภาวะที่ซ้อนทับและพัวพันกันอยู่สองสถานะสองสภาวะคือ สถานะของสมองใหญ่และสมองน้อย และสภาวะกึ่งความคิดกึ่งความรู้สึก กับ สภาวะกึ่งความรู้สึกกึ่งความคิด ซึ่งมาจากขนาด ปริมาณ และจำนวนของเซลล์เส้นประสาทและเซลล์สมองที่มีอยู่ไม่เท่ากันภายในสมองใหญ่และสมองน้อย และทำให้ภายในสมองใหญ่มีสถานะการทำงานทางความคิดมากกว่าความรู้สึก และมีสภาวะกึ่งความคิดกึ่งความรู้สึก และทำให้ภายในสมองน้อยมีสถานะการทำงานทางความรู้สึกมากกว่าความคิด และมีสภาวะกึ่งความรู้สึกกึ่งความคิด

การมีเซลล์เส้นประสาทและเซลล์สมองเหมือนกัน แต่มีขนาด ปริมาณ และจำนวนของเซลล์เส้นประสาทและเซลล์สมองที่แตกต่างกัน (ไม่เท่ากัน) ภายในสมองใหญ่และสมองน้อยทำให้การเข้าถึงความคิดและความรู้สึกเป็นสิ่งที่มีทั้งความยากและง่ายอยู่ในสิ่งเดียวกันในเวลาเดียวกัน (ตัวเอง) สาเหตุที่ยากก็เพราะเซลล์เส้นประสาทและเซลล์สมองอยู่ในตัวเรา และสาเหตุที่ง่ายก็เพราะเซลล์เส้นประสาทและเซลล์สมองอยู่ในตัวเรา ดังนั้นเหตุผลหรือสาเหตุที่ทำให้ทุกสิ่งทุกอย่างในชีวิตของคนเราเป็นสิ่งที่ยากหรือง่ายจึงมาจากเหตุผลหรือสาเหตุเดียวกัน/สิ่งเดียวกันที่ใช่และไม่ใช่สิ่งเดียวกันในเวลาเดียวกัน และเวลาเดียวกันที่ใช่และไม่ใช่เวลาเดียวกันในเวลาเดียวกันคือ เซลล์เส้นประสาทและเซลล์สมองจะมีกระบวนการทำงานที่ไปในทิศทางเดียวกันและไม่ได้ไปในในทิศทางเดียวกันในสิ่งเดียวกันในเวลาเดียวกัน หรือที่เรียกกันว่า ปฏิทรรศน์ (paradox) ความขัดแย้งภายในตัวเองในทางฟิสิกส์จะแยกออกเป็นสองทางคือ การเดินเข้าและการเดินออก ยกตัวอย่างเช่น 1. คุณประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่สร้างปฏิทรรศน์ (paradox) ความขัดแย้งขึ้นภายในความคิดและความรู้สึกตัวเอง ถ้าหากคุณประยุทธ์สามารถนำพาตัวเองก้าวข้ามผ่านความขัดแย้งที่เกิดขึ้นภายในของตัวเองได้คุณประยุทธ์ก็จะสามารถนำพาตัวเองเดินออกจากกับดักที่คุณประยุทธ์เป็นผู้วางให้กับตัวเองได้
2. คุณธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ที่กำลังนำพาตัวเองเดินเข้าสู่กับดักทางความคิดและความรู้สึกที่คุณธนาธรเป็นผู้วางให้กับตัวเองโดยไม่รู้ตัว เนื่องจากคุณธนาธรใช้ความสะดวกสบายและความเคยชินเก่าๆของตัวเองเป็นเครื่องนำทาง จึงทำให้การเดินเข้าเป็นไปอย่างง่ายดาย แต่ความสะดวกสบายและความเคยชินเก่าๆของตัวเองนั้นไม่ได้สร้างเฉพาะความง่ายเท่านั้น แต่ยังสร้างความยากลำบากให้กับตัวคุณธนาธรเองอีกด้วย ถ้าหากคุณธนาธรสามารถนำพาตัวเองก้าวข้ามผ่านความขัดแย้งที่เกิดขึ้นภายในความคิดและความรู้สึกของตัวเองได้คุณธนาธรก็จะสามารถนำพาตัวเองเดินออกจากกับดักที่คุณธนาธรเป็นผู้วางให้กับตัวเองได้
สงครามควอนตัมคือ สงครามที่เกิดขึ้นเพื่อรักษาและดำรงไว้ซึ่ง 1. ขั้วแม่เหล็กเหนือ-ใต้ 2. จุดยืนทางความคิด หรือ จุดยืนทางความรู้สึกของเราเอง ซึ่งภายในความคิดมีความรู้สึก และภายในความรู้สึกก็มีความคิด ภายในความเหมือนมีความต่าง และภายในความต่างมีความเหมือนนี่คือ เหตุผลที่ไอส์ไตน์ยอมละทิ้งสามัญสำนึก/จุดยืนทางความรู้สึกของตัวเองและยอมรับความพ่ายแพ้ให้กับหลักความไม่แน่นอน (uncertainty principle) ของ Heisenberg เพื่อรักษาและดำรงไว้ซึ่งจุดยืนทางความคิดของตัวไอส์ไตน์เองที่กล่าวว่า ไม่มีอะไรเดินทางเร็วกว่าแสง

หลักความไม่แน่นอน (uncertainty principle) ของ Heisenberg แถลงว่า เราไม่สามารถวัดตำแหน่งและโมเมนตัมของอนุภาคใดๆ ได้อย่างแม่นยำในเวลาเดียวกัน ข้อจำกัดนี้มิได้เกิดจากการไร้ความสามารถของมนุษย์ แต่การที่เป็นเช่นนี้เพราะก่อนที่นักทดลองจะลงมือวัดค่าโมเมนตัม หรือตำแหน่งของอิเล็กตรอน อิเล็กตรอนมิได้มีโมเมนตัม และตำแหน่งที่มีค่าแน่นอน แต่มันมีโมเมนตัมได้นานาค่าและสามารถอยู่ได้ทุกหนแห่งรอบอะตอมในเวลาเดียวกัน
ความเป็นจริงคือ การที่เราไม่สามารถวัดตำแหน่งและโมเมนตัมของอนุภาคใดๆได้อย่างแม่นยำในเวลาเดียวกัน เนื่องจากข้อจำกัดของขนาด ปริมาณและจำนวนของเซลล์สมองและเซลล์เส้นประสาทที่อยู่ภายในสมองใหญ่และสมองน้อย ซึ่งทำให้มนุษย์ไม่สามารถวัดตำแหน่งและโมเมนตัมของอนุภาคใดๆได้อย่างแม่นยำในเวลาเดียวกัน ซึ่งสาเหตุหลักๆก็มาจากการที่คนเราสามารถยืนอยู่บนจุดยืนทางความคิดหรือจุดยืนทางความรู้สึกได้เพียงจุดใดจุดหนึ่งเท่านั้นในชั่วขณะหนึ่ง ดังนั้นเราจึงมีความจำเป็นต้องเลือกจุดยืนใดจุดยืนหนึ่ง เมื่อเราเลือกยืนอยู่บนจุดยืนทางความคิด จุดยืนทางความรู้สึกก็จะหายไปโดยอัตโนมัติ ซึ่งการหายไปของจุดยืนทางความรู้สึกไม่ได้ทำให้ความรู้สึกนั้นหายไปด้วย แต่ความรู้สึกนั้นยังคงมีอยู่ภายในสมองใหญ่และสมองน้อย แต่มีอยู่ไม่เท่ากัน (มีแตกต่างกัน) และในขณะเดียวกันและหรือในทางกลับกันเมื่อเราเลือกยืนอยู่บนจุดยืนทางความรู้สึก จุดยืนทางความคิดก็จะหายไปโดยอัตโนมัติ ซึ่งการหายไปของจุดยืนทางความคิดไม่ได้ทำให้ความคิดนั้นหายไปด้วย แต่ความคิดนั้นยังคงมีอยู่ภายในสมองใหญ่และสมองน้อย แต่มีอยู่ไม่เท่ากัน (มีแตกต่างกัน) และนี่คือสาเหตุที่ว่า
-ก่อนจะทำการวัดใดๆ อนุภาคยังไม่มีโมเมนตัมค่าหนึ่งค่าใด หรืออยู่ที่ตำแหน่งใดโดยเฉพาะ ตำแหน่งหรือโมเมนตัมของอนุภาคเกิดขึ้นหลังการวัด หรืออีกนัยหนึ่งคือ จุดยืนทางความคิดหรือจุดยืนทางความรู้สึกจะเกิดขึ้นหลังจากที่เราตัดสินใจเลือกที่จะยืนอยู่บนจุดยืนใดจุดยืนหนึ่งเท่านั้น แต่ก่อนหน้านั้นความคิดและความรู้สึกจะอยู่ในทุกส่วนของร่างกายโดยเฉพาะในความคิดและความรู้สึก (สมองใหญ่) หรือในความรู้สึกและความคิด (สมองน้อย)
-หลักความไม่แน่นอน (uncertainty principle) ของ Heisenberg เป็นการทดลองทางความคิดที่เกิดขึ้นสองส่วนคือ ภายในและภายนอก ภายในจะเกิดขึ้นในสมองส่วนกลาง/ช่องว่างและเวลา ซึ่งได้รับข้อมูลมาจากสมองใหญ่และสมองน้อย และทำให้เกิดสถานะและสภาวะของความไม่แน่นอนระหว่างสถานะสมองใหญ่หรือสมองน้อย และหรือ สภาวะกึ่งความคิดกึ่งความรู้สึก กับ สภาวะกึ่งความรู้สึกกึ่งความคิด ซึ่งสถานะของความไม่แน่นอนมีสถานะของความแน่นอนซ่อนอยู่ และจะมีสภาวะกึ่งไม่แน่นอนกึ่งแน่นอนของข้อมูลที่มาจากสมองใหญ่หรือสมองน้อยเองที่อยู่ภายในสมองส่วนกลาง/ช่องว่างและเวลา และมาจากภายในสมองใหญ่และสมองน้อยที่ถึงแม้จะส่งข้อมูลไปให้กับสมองส่วนกลางแล้ว แต่ข้อมูลภายในสมองใหญ่และสมองน้อยก็ยังไม่ได้หายไปไหนยังคงมีอยู่เหมือนเดิม แต่การมีอยู่จะมีสถานะและสภาวะสองทางคือ มีอยู่และไม่มีอยู่ในสิ่งเดียวกันในเวลาเดียวกัน และอยู่ในสภาวะกึ่งมีอยู่กึ่งไม่มีอยู่ หรือ กึ่งสมองใหญ่กึ่งสมองกลาง และ กึ่งสมองน้อยกึ่งสมองกลาง ซึ่งเท่ากับภายในสมองส่วนกลางจะมีวงกลมของสมองใหญ่และวงกลมของสมองน้อยซ้อนทับและพัวพันกันอยู่ เมื่อเราเลือกที่จะยืนอยู่บนความคิดการมีอยู่ทางความรู้สึกก็จะอันตรธานหายไปและไม่ได้หายไป (ยังมีข้อมูลอยู่ในสมองน้อย) และในขณะเดียวกันและหรือในทางกลับกันเมื่อเราเลือกยืนอยู่บนความรู้สึกการมีอยู่ทางความคืดก็จะอันตรธานหายไปและไม่ได้หายไป (ยังมีข้อมูลอยู่ในสมองใหญ่)

ข้อจำกัดของขนาดปริมาณและจำนวนของเซลล์สมองและเซลล์เส้นประสาทเราสามารถทำให้มีเพิมขึ้นหรือลดลงได้ด้วยการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของความคิดและความรู้สึก ซึ่งการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของความคิดและความรู้สึกจะไปทำให้เกิดผลสองทางคือ 1. การเพิ่มขึ้นหรือลดลงของขนาดปริมาณและจำนวนของเซลล์สมองและเซลล์เส้นประสาทจะส่งผลต่อขนาดปริมาณและจำนวน (ตำแหน่งและโมเมนตัม) ภายในของสมองใหญ่และสมองน้อย 2. การเพิ่มขึ้นหรือลดลงของขนาดปริมาณและจำนวนของเซลล์สมองและเซลล์เส้นประสาทไม่ได้ส่งผลต่อขนาดปริมาณและจำนวน (ตำแหน่งและโมเมนตัม) ภายนอกของสมองใหญ่และสมองน้อย (สมองใหญ่และสมองน้อยยังอยู่ที่เดิม) แต่ส่งผลต่อการสลับขั้วบวกขั้วลบระหว่างและภายในสมองใหญ่และสมองน้อย



Create Date : 23 ตุลาคม 2562
Last Update : 23 ตุลาคม 2562 13:58:56 น.
Counter : 596 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สมาชิกหมายเลข 3784113
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]



จุกมุ่งหมายคือ การรู้แจ้งเห็นจริงในฐานะมนุษย์ปุถุชนคนธรรมดาคนหนึ่ง

There is no way to happiness, happiness is the way.

การปิดทองหลังพระ ถ้าเราไม่หยุดปิด วันหนึ่งทองก็จะล้นมาด้านหน้าพระเอง

คำพูดที่ปราศจากการกระทำนั้นได้ตายไปแล้ว