มกราคม 2563

 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
All Blog
ศาสนาพุทธ กับ ศาสนาจักรวาล cosmic religion (ควอนตัม)

ควอนตัมคือ ความเป็นคู่ที่ใช่และไม่ใช่ความเป็นคู่ในสิ่งเดียวกันในเวลาเดียวกัน—-> สิ่งเดียวกันใช่และไม่ใช่สิ่งเดียวกันในเวลาเดียวกัน—->เวลาเดียวกันใช่และไม่ใช่เวลาเดียวกันในเวลาเดียวกัน และมีสมการสี่สมการคือ ใช่คือใช่ ไม่ใช่คือไม่ใช่ ใช่คือไม่ใช่และไม่ใช่คือใช่ ซึ่งทั้งหมดจะคงอยู่/ดำรงอยู่ตลอดไป แต่เป็นการคงอยู่/ดำรงอยู่ที่มีความแตกต่างออกไปโดยสิ้นเชิง ยกตัวอย่างเช่น ศาสนาพุทธ กับ ศาสนาจักรวาล cosmic religion ศาสนาในศตวรรษที่ 21 ที่มีทั้งความเหมือนและความแตกต่างกันทั้งทางด้านแนวทางการใช้ชีวิต วิธีคิด รู้สึกและปฏิบัติ

ศาสนาพุทธเหมาะสำหรับผู้ออกบวช ในขณะที่ศาสนาจักรวาลเหมาะสำหรับบุคคลทั่วไป

ศาสนาพุทธเป็นการค้นพบทางสายกลางที่อยู่ภายในและภายนอกความคิด-ความรู้สึก โดยมุ่งเน้นใช้ปัญญาและหลักทฤษฎีที่ว่าด้วยความสมดุลในการแก้ปัญหา โดยการไม่ยึดติดทั้งสองทางในขณะที่ศาสนาจักรวาลเป็นการค้นพบทางสายกลางที่อยู่ภายในและภายนอกความรู้สึก-ความคิด และความคิด-ความรู้สึก โดยมุ่งเน้นใช้ปัญญา (ความคิด) และไม่ใช้ปัญญา (ใช้ความรู้สึก) และใช้หลักทฤษฎีที่ว่าด้วยสถานะความสมดุลและไม่สมดุล สภาวะกึ่งสมดุลกึ่งไม่สมดุล (ความสมดุลคือความสมดุล ความไม่สมดุลคือความไม่สมดุล ความสมดุลคือความไม่สมดุล และความไม่สมดุลคือความสมดุล)ในการแก้ปัญหา โดยการยึดติดและไม่ยึดติดทั้งสองทาง

ความคิด-ความรู้สึก และความรู้สึก-ความคิด เป็นสิ่งที่แยกออกอย่างชัดเจนตามขนาดและปริมาณของเซลล์สมองและเซลล์ประสาทที่มีไม่เท่ากันภายในสมองทั้งสามส่วนและตามอวัยวะต่างๆทั่วร่างกาย แต่ภายใต้ความชัดเจนก็มีความไม่ชัดเจนที่ทำงานอยู่ภายใน-ภายนอก และอยู่ระหว่างตัวของความคิดและความรู้สึกเอง

ศาสนาพุทธเป็นการเข้าถึงธรรมชาติของความเป็นมนุษย์ โดยไม่ใช้ความเป็นวิทยาศาสตร์ในการละทิ้งความรัก โลก โกรธ หลง ในขณะที่ศาสนาจักรวาลเป็นการเข้าถึงธรรมชาติของความเป็นมนุษย์และไม่ใช่ความเป็นมนุษย์ (พลังงาน) โดยใช้และไม่ใช้ความเป็นวิทยาศาสตร์ในสิ่งเดียวกันในเวลาเดียวกันในการทำความเข้าใจกับความรัก โลก โกรธ หลง (แรงโน้มถ่วงและแรงดึงดูด + แรงไทดัล + ขั้วบวกขั้วลบ) โดยอัลเบิร์ด ไอน์สไตน์ กล่าวว่า แรงโน้มถ่วงเป็นแรงที่ตกอย่างอิสระ แต่ในระดับควอนตัมแรงโน้มถ่วงเป็นแรงที่ตกอย่างอิสระและไม่ได้ตกอย่างอิสระ การวัดค่าแรงโน้มถ่วงสามารถวัดได้สองทางคือ ความคิดและความรู้สึก ซึ่งค่าที่ได้จะเป็นค่าแรงโน้มถ่วงที่มีผลต่อการสร้างและทำลายเหมือนกัน แต่เป็นการสร้างและทำลายที่มีความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง

ศาสนาพุทธใช้หลักจริยธรรมและหลักสัจจธรรมเป็นทางเดินเข้าสู่การใช้ชีวิต ในขณะที่ศาสนาจักรวาลเป็นการใช้ส่วนที่แสดงและไม่แสดงอยู่ใน DNA and RNA + ส่วนที่แสดงและไม่แสดงอยู่ในสมองทั้งสามส่วนของแต่ละคนเป็นทางเดินเข้าสู่การใช้ชีวิต ในทางวิทยาศาสตร์กล่าวว่า ธรรมชาติไม่มีอยู่ และไม่มีค่าที่แน่นอน แต่ในระดับควอนตัม ธรรมชาติคือ สิ่งที่มีอยู่และไม่มีอยู่ ไม่มีอยู่และมีอยู่ และมีค่าที่ไม่แน่นอนและแน่นอน แน่นอนและไม่แน่นอนในสิ่งเดียวกันในเวลาเดียวกัน —-> สิ่งเดียวกันใช่และไม่ใช่สิ่งเดียวกันในเวลาเดียวกัน—->ในเวลาเดียวกันใช่และไม่ใช่เวลาเดียวกันในเวลาเดียวกัน

ศาสนาพุทธสอนว่าให้มีสติอยู่กับปัจจุบัน ในขณะที่ศาสนาจักรวาล ปัจจุบันจะมีสถานะมีอยู่และไม่มีอยู่ และมีสภาวะกึ่งมีอยู่กึ่งไม่มีอยู่ อดีตและอนาคตก็เช่นกัน ถ้าหากเราไม่นำพาความคิดและความรู้สึกของเราเข้าไปสังเกตและรับรู้ถึงการมีอยู่ของปัจจุบัน ปัจจุบันก็จะเป็นสิ่งที่ไม่มีอยู่สำหรับเรา การมองเห็นไม่ได้ทำให้เรามองเห็นจนกว่าเราจะนำพาความคิดและความรู้สึกของเราเข้าไปสังเกตและรับรู้ถึงการมองเห็น ดังนั้นการมองเห็นจะแยกออกเป็นสองส่วนคือ ส่วนที่สามารถเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติและไม่สามารถเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติในสิ่งเดียวกันในเวลาเดียวกัน —-> สิ่งเดียวกันใช่และไม่ใช่สิ่งเดียวกันในเวลาเดียวกัน—->ในเวลาเดียวกันใช่และไม่ใช่เวลาเดียวกันในเวลาเดียวกัน ในทุกๆเหตุการณ์ที่เราพบเจอณ.เวลาปัจจุบันจะมีทั้งส่วนที่แสดงออกและไม่แสดงออก (ซ้อนทับและพัวพันอยู่) อยู่สองส่วนคือ 1. ส่วนที่แสดงออกที่หมายถึง ปัจจุบัน และส่วนที่ไม่แสดงออก (ซ้อนทับและพัวพันอยู่) คือ House and cage ถ้าหากเราจัดให้ปัจจุบันแสดงความเป็น House เราก็จะได้ความเป็น House ซึ่งจะเท่ากับเป็นการนำเอาอนาคตมาไว้ในปัจจุบันในทันที (ปัจจุบัน-อนาคต) แต่ถ้าหากเราจัดให้ปัจจุบันแสดงความเป็น cage เราก็จะได้ความเป็น cage ซึ่งจะเท่ากับเป็นการนำเอาอดีตมาไว้ในปัจจุบันในทันที (ปัจจุบัน-อดีต) 2. ส่วนที่ไม่แสดงออก (ซ้อนทับและพัวพันอยู่) หมายถึง สถานะอดีตและอนาคต และสภาวะกึ่งอดีตกึ่งอนาคต ที่ซ้อนทับและพัวพันอยู่ในปัจจุบัน ถ้าหากเราจัดให้ส่วนที่ไม่แสดงออก (ซ้อนทับและพัวพันอยู่) แสดงความเป็นอดีต เราก็จะได้ความเป็น อดีต ซึ่งจะทำให้ปัจจุบันของเราก็จะเปลี่ยนไปทันที แต่ถ้าหากเราจัดให้ส่วนที่ไม่แสดงออก (ซ้อนทับและพัวพันอยู่) แสดงความเป็น อนาคต เราก็จะได้ความเป็น อนาคต ซึ่งจะทำให้ปัจจุบันของเราก็จะเปลี่ยนไปทันทีเช่นกัน ซึ่งคำว่า “จัด” ทั้งสองข้อจะหมายถึง การจัดการความคิด-ความรู้สึก และความรู้สึก-ความคิด ของเราเอง เมื่อเราสามารถจัดการกับความคิด-ความรู้สึก และความรู้สึก-ความคิด ของเราได้ ภาพสะท้อนที่เกิดจากความคิด-ความรู้สึก และความรู้สึก-ความคิด ก็จะเปลี่ยนไปทันทีโดยอัตโนมัติ

ศาสนาพุทธมีความเชื่อเกี่ยวกับสวรรค์ นรก บาปบุญคุณโทษ เวรกรรม และการเวียนว่ายตายเกิด หรือเราเกิดมาเพื่อชดใช้กรรมเก่า ในขณะที่ศาสนาจักรวาลจะเป็นการเปลี่ยนความเชื่อเป็นความรู้และเปลี่ยนความรู้เป็นการรู้ ความรู้ไม่มีที่สิ้นสุด แต่การรู้มีเพียงหนึ่งเดียว เราเกิดมาเพื่อเปลี่ยนแปลง DNA and RNA ของเราเอง ซึ่งการเปลี่ยนแปลง DNA and RNA ของเราจะทำให้ DNA and RNA ของโลกเกิดการเปลี่ยนแปลงทันที คำว่า “ทันที” จะหมายถึง ทันทีและไม่ทันทีในสิ่งเดียวกันในเวลาเดียวกัน ซึ่งหมายถึงความเป็นพลังงาน ข้อมูล และสสาร ที่สามารถเปลี่ยนรูปกลับไปกลับมาได้ แต่การสื่อสารระหว่างความเป็นพลังงาน ข้อมูล และสสาร เพื่อทำให้พลังงาน ข้อมูล และสสารเกิดการเปลี่ยนรูปจะมีข้อจำกัดภายในตัวของความเป็นพลังงาน ข้อมูล และสสาร เอง ซึ่งข้อจำกัดดังกล่าวสามารถทำให้หมดไปได้ด้วยการนำพาตัวเราเองเข้าไปเป็นตัวเชื่อมและเป็นสะพานในการยกระดับและขยายขอบเขตการเป็นตัวเชื่อมไปสู่การเป็นตัวนำยิ่งยวด (การรู้) ด้วยตัวของเราเอง ความละเอียดของข้อมูลจะแยกออกเป็นสองส่วนคือ ส่วนที่โลกสามารถรับรู้ได้ กับ ส่วนที่มนุษย์สามารถรับรู้ได้ เมื่อมีการรับรู้ก็จะเกิดมีการสะท้อนกลับของการรับรู้ และการสะท้อนกลับของการรับรู้จะดีหรือร้ายก็ขึ้นอยู่กับต้นกำเนิดที่เป็นตัวสร้างการรับรู้

พระพุทธเจ้าทรงกำหนดหลักทางสายกลางไว้อย่างชัดเจน คือ อริยมรรค มีองค์ 8 เมื่อย่นย่อแล้ว เรียก "ไตรสิกขา" ได้แก่ ศิล สมาธิ ปัญญา ในขณะที่ศาสนาจักรวาลจะใช้ความมีที่สิ้นสุดและไม่มีที่สิ้นสุด ซึ่งมีกระบวนการทำงานผ่านความเป็น 2in1 และ 1in2, 4in1 และ 1in4, 8in1 และ 1ini8 หรือ ธรรมชาติของความคิด-ความรู้สึก และความรู้สึก-ความคิด เมื่อมีการเคลื่อนที่ของความคิดจะส่งผลให้เกิดความรู้สึก และเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงความรู้สึกจะส่งผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางความคิดด้วย แต่ในทางกลับกันเมื่อมีการเคลื่อนที่ของความรู้สึกอาจไม่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางความคิด ถ้าหากเราต้องการทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางความคิด เราจำเป็นต้องเปลี่ยนความรู้สึกที่มีอยู่ให้กลายเป็นสิ่งที่ไม่มีอยู่ และนำสิ่งที่ไม่มีอยู่ (มีอยู่ในอนาคต) มาทำให้เป็นความรู้สึกในปัจจุบัน และนำความรู้สึกในปัจจุบันไปยกระดับและขยายกรอบความคิด

#change



Create Date : 22 มกราคม 2563
Last Update : 22 มกราคม 2563 14:01:13 น.
Counter : 658 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สมาชิกหมายเลข 3784113
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]



จุกมุ่งหมายคือ การรู้แจ้งเห็นจริงในฐานะมนุษย์ปุถุชนคนธรรมดาคนหนึ่ง

There is no way to happiness, happiness is the way.

การปิดทองหลังพระ ถ้าเราไม่หยุดปิด วันหนึ่งทองก็จะล้นมาด้านหน้าพระเอง

คำพูดที่ปราศจากการกระทำนั้นได้ตายไปแล้ว