|
| 1 | 2 | 3 | 4 |
5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 |
12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 |
19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 |
26 | 27 | 28 | 29 | 30 | 31 | |
|
|
|
|
|
|
|
บทละครสอนเด็ก
ตอนที่ข้าพเจ้ายังเป็นครูสอนนักเรียน งานหลักของข้าพเจ้าคืองานครู
(แต่ไม่ค่อยได้สอนเต็มที่หรอก เพราะพวกงานธุรการและการเงินเข้าไปแย่งเวลาสอนเสียแทบหมด-ปัจจุบันนี้หลังจากมีการร้องเรียนกันมาก เรื่องครูทิ้งเด็กไปทำการเงิน การพัสดุ พิมพ์หนังสือโต้ตอบ ทำให้มีการจ้างบุคลากรที่ไม่ใช่ครูเข้าไปทำงานนี้แทน แต่บรรจุหรือยังยังไม่ทราบ)

ทำให้แม้จะได้เลื่อนเป็นครูซีแปดคนแรกของอำเภอ คนที่ห้าของจังหวัด แต่พอได้รับเงินตกเบิกตำแหน่งย้อนหลังมาประมาณหนึ่งแสนห้าหมื่นบาท ในปี พ.ศ.๒๕๔๐ ข้าพเจ้าก็โบกมือลา)
ในตอนที่เป็นครูนั้น เมื่อถูก ผอ.มอบแต่งานๆๆๆๆธุรการให้ ข้าพเจ้ามีวิธีทำให้เด็ก ๆ ใช้เวลาให้เป็นประโยชน์คือ
ตั้งชมรม "จิตรกรน้อย" ให้เด็กวาดรูปเป็นเรื่องราวประกอบหนังสือที่เด็กเขียนเอง
กับตั้งชมรม "เยาวชนนักเขียน" ให้เด็กเขียนเรื่องต่าง ๆ ตามความคิดของเด็ก เพื่อทำเป็นหนังสือ หรือไม่ก็ให้เขียนกลอน เขียนเยอะ ๆ มาส่งทีหลัง
แต่มักมีครูคนอื่นเข้าไปขัดจังหวะ แถมนินทาข้าพเจ้าว่า "อย่าบ้าตามครู..."(ข้าพเจ้า)
ผลงานดังกล่าวทำให้ข้าพเจ้าได้เลื่อนเป็นครูซีแปด ซึ่งครู ๆในแวดวงตอนแรก ไม่เห็นความสำคัญ แต่โน่น... อาจารย์ผู้ตรวจผลงานครูที่สำนักงาน กค. ท่านไปอบรมครูทำซีที่ชุมพร (ตอนข้าพเจ้าถูกบังคับให้ไปอบรมทำซี ๗ เพราะว่าอายุมาก และเพื่อเปิดทางให้พวกหน.ปอ.ได้เลื่อนจากซี ๖ ขึ้นไปเป็น ซี ๗)- (ถ้ามีลูกน้องเป็นซี ๗ อะไรประมาณนี้)
วิทยากรจากสำนักงาน กค.ท่านนั้นรู้จักดีว่าข้าพเจ้ามีความสามารถอะไร และกำลังทำอะไรอยู่ เพราะผลงานเขียนปรากฏตามสื่อ ท่านไล่ข้าพเจ้ากลับโรงเรียน บอกว่า
"อาจารย์ไม่ต้องทำซี ๗ แต่ต้องทำซี ๘" (ตอนนั้นยังเรียกครูว่าอาจารย์)
เราจึงคุยกันในรายละเอียด โดยท่านชี้แนะให้หมด เช่นการเขียนรายงาน ส่วนผลงานที่เด็ก ๆ ที่ข้าพสอนได้รางวัลประกวดเรื่องแต่ง หรือหนังสือประกอบภาพมีทุกปี คือเด็กของข้าพเจ้าทำได้ แม้แต่การเขียนกลอนตลกลงในการ์ตูนขายหัวเราะ ส่วนเรื่องสั้น ๆ ก็ลงตีพิมพ์ในคอลัมน์นักเขียนน้อย กรุงเทพธุรกิจฉบับวันอาทิตย์ แต่ครู ๆ โรงเรียนเดียวกันหรือกระทั่งครุอำเภอ จังหวัด...จะไม่ยอมเชื่อและหาว่าข้าพเจ้าวาด-เขียนเรื่องให้เด็ก
ข้าพเจ้าจึงเป็นครูแกะดำ คือเข้าหมู่กลุ่มไม่ได้มาตลอด...
แต่ในกลุ่มนักเขียน ข้าพเจ้ามีมิตรแท้อยู่แทบทุกจังหวัด ที่สามารถไปกิน ไปนอนบ้านเขาได้โดยแม้ไม่เคยรู้จักหรือเห็นหน้ากัน อย่างเช่น "คนแซ่หว่อง" เจ้าของนิยายโทรทัศน์ "โค่นมังกร" ช่อง๓ หรือธารดาวในปัจจุบัน
วันนี้จากข่าวสารผ่านสื่อต่าง ๆ ระบุว่า ภาษาและวัฒนธรรมไทย เช่นการเขียนกลอนอ่อนลงมาก เด็กปัจจุบันไม่รู้จักกลอน ไม่รู้จักเรื่องสั้น เด็กเขียนแบบจินตนาการไม่เป็น เด็กไม่รู้จักคำว่า "วรรณกรรม" เพราะติดคำว่า "หนังสืออ่านเล่น" มาแต่ครั้งบรรพบุรุษจึงเป็นหน้าที่ของกระทรวงวัฒนธรรมที่กำลังทำเรื่องนี้
อีกเรื่องหนึ่งที่ข้าพเจ้าสังเกต ไม่ว่าจะมีงานใด ๆ เกี่ยวกับโรงเรียน ตำบล อำเภอ จังหวัด และหมู่บ้าน กิจกรรมการแสดงมักมีแต่ "เปิดเทปแล้วให้เด็กเต้น" ข้าพเจ้าเรียก "เต้นแร้งเต้นกา" ประโยชน์มีแต่ได้ออกกำลังกายอย่างเดียว ซึ่งเด็กรุ่นใหม่ชอบมาก แต่ข้าพเจ้าไม่...
และไม่เคยคิดเหมือนใคร
"ทำไมเราไม่ให้เด็กแสดงออกในสิ่งที่ใกล้เคียงกับวิถีชีวิตประจำวันบ้าง"
ตอนอยู่โรงเรียนไม่ว่าจะวันเด็ก วันผู้ใหญ่ วันขึ้นปีใหม่ วันสงกรานต์ หรืองานในหมู่บ้าน... ข้าพเจ้าจะให้เด็กแสดงละคร มีการฝึกซ้อมกันเป็นสัปดาห์ เด็ก ๆ สนุกมาก ได้อ่านบท ท่องบท จดจำบท ซึ่งล้วนแต่ส่งเสริมจินตนาการทั้งสิ้น ครั้งหนึ่งข้าพเจ้านำนิทานอีสป เรื่องชาวสวนสอนลูก มาให้เด็กแสดงละคร แต่ตั้งชื่อใหม่ว่า
ขุมทรัพย์ของพ่อ
ลองอ่านดูครับ วันนี้เล่นยาวหน่อย
ฉากที่ 1 พ่อนอนอ่านหนังสือพิมพ์อยู่ในห้องรับแขก ลูก ๆ 3 คนเดินเข้ามา ลูกชาย : พ่อ ขอตังค์ 500 (พูดพร้อมกับแบมือไปที่พ่อ) พ่อ : (ลุกขึ้นนั่งตัวตรง) หา ! อะไรวะ ! ขอทำไมตั้ง 500 (ทำสีหน้าไม่พอใจ) ลูกชาย : จะพาน้อง ๆ ไปกินไอติมพ่อ วันนี้วันเด็ก พ่อ : (ควักเงินให้คนละ 2 บาทพูดว่า) อะไรกัน แค่จะกินไอติม ตั้ง 500 บาท เอาไปคนละ 2 บาทแล้วกัน ลูกชาย : โธ่ พ่อนี่ซื่อบื้อไม่ทันโลกเสียเลย วัน ๆ เอาแต่นอนอ่านหนังสือพิมพ์ ไม่รู้อ่านให้มัน ได้อะไร ขึ้นมา ไอติมตามร้านนะพ่อรู้ไหม ถ้วยละเท่าไหร่ 150 บาทเชียวนะพ่อพ่อ อย่าโยกโย้น่า วันนี้วันเด็กเอามา 500

พ่อ : อุ๊บ๊ะ ไม่ให้โว้ย ขู่กันนี่หว่า เอะอะก็เอาวันเด็กมาอ้าง ทีวันพ่อไม่เห็นพวกเอ็งมาทำ อะไรให้ข้าบ้างเลย ข้าไม่ใช่ธนาคาร รู้จักประหยัดกันบ้าง ลูกชาย : ดี พ่อไม่รักลูกให้มันรู้ไป ขอเงินไปกินสิ่งที่ดี ๆ พ่อไม่ให้ งั้นพวกเราไปดมกาว ดมทินเนอร์ให้มันตาย ๆ ไปเลย อยู่ในบ้านก็ไม่อบอุ่น ไปเว้ย พ่อไม่รักพวกเรา พ่อ : (ลุกขึ้นยืน) เฮ้ย ! เดี๋ยวก่อน ไอ้บอย นังแต๋น นังต๋อย มานี่ก่อน ลูกชาย/ลูกสาว : ทำไมพ่อ พ่อเปลี่ยนใจแล้วใช่ไหม พ่อ : เออว่ะ พวกเอ็งเอาเงินไปกินไอติมก็ดี ดีกว่าไปซื้อยาเสพติดว่ะ ว่าแต่รู้จักประหยัด กันมั่งนะเว้ย ข้าไม่ค่อยมีเงินแล้ว (พูดพลางควักเงินส่งให้ลูกชาย)
ผู้บรรยาย : หลังจากลูก ๆ ทั้ง 3 คนพากันออกไปแล้ว พ่อก็ลุกขึ้นเดินไปเดินมา รำพึงกับตนเอง
พ่อ : เฮ้อ เรามีลูกอยู่แค่ 3 คน ไม่รักมันก็ไม่รู้จะไปรักหมาที่ไหน แม่ของมันก็ดันมาถูก ระเบิดตาย ตอนถูกหลอกให้ไปร่วมชุมนุม... เราจึงต้องตามใจลูก แต่พวกมันก็ใช้ จ่ายกันฟุ่มเฟือยเหลือเกิน เราจะสอนมันอย่างไรดี (พูดไม่ทันจบลูกสาวคนพี่ก็เข้ามา)

ลูกสาวคนพี่ : พ่อ ขอตังค์ สี่หมื่น พ่อ : หา ! ว้าย เอ็งว่าอะไรนะ (ยกมือป้องหู) ลูกสาวคนพี่ : ขอตังค์พ่อสี่หมื่น พ่อ : เอ็งจะเอาไปทำอะไรตั้งสี่หมื่น จะซื้อรถเครื่องใหม่หรือไง คันที่เอ็งใช้อยู่นั่นข้าก็ กลุ้มใจจะตายอยู่แล้ว จะซื้อไปไหนอีก ลูกสาวพี่ : ไม่ได้ซื้อรถพ่อ จะเอาไปซื้อมือถือ พ่อ : โทรศัพท์มือถือใช่ไหม ลูกสาวคนพี่ : ใช่พ่อ พ่อ : เอ็งจะซื้อมาทามมายวะ มันจำเป็นอะไร เอ็งจะเป็นนักธุรกิจหรือไง? ลูกสาวคนพี่ : เอาไว้โทรถามการบ้านเพื่อน เวลาทำการบ้านไม่ถูกไงพ่อ พ่อ : ข้าว่ามันไม่หนักไปหน่อยเรอะนังแต๋น อย่างนี้มันเข้าขั้นฟุ่มเฟือยเกินไปแล้วโว้ย ลูกสาวคนพี่ : ไม่หนักหรอกพ่อ มันจำเป็นน่ะ พ่ออยากให้ลูกเรียนเก่ง ๆ ไม่ใช่หรือ ถ้าไม่ได้เดี๋ยว ลูกจะไปติดยานะ ครอบครัวไม่อบอุ่น พ่อ : วะ ! เอะ อะ ๆ ก็จะไปติดยาเดี๋ยวปล่อยให้ติดจริง ๆ เสียหรอก เอาก็เอา เอ้า เอาไปสี่พัน ลูกสาวคนพี่ : สี่หมื่นนะพ่อไม่ใช่สี่พัน พ่อ : เออ ๆ
ผู้บรรยาย : ลูกสาวคนพี่ออกไป ลูกสาวคนน้องก็เข้ามา ลูกสาวคนน้อง : พ่อ ขอตังค์สองพัน พ่อ : ว่ะ เอาอีกแล้ว จะไปซื้ออะไรอีกล่ะ ลูกสาวคนน้อง : หนูจะซื้อกางเกงยีนส์ พ่อ : ซื้อทำไมวะ กางเกงยีนส์ตัวละตั้งสองพัน ซื้อกางเกงผ้าชาวนาตัวละร้อยบาทก็พอ ลูกสาวคนน้อง : ไม่เอา ใส่แล้วมันไม่เท่พ่อ พ่อ : เอ็งเท่ แต่ข้ากำลังจะเท่งทึงรู้เป่า... ลูกสาวน้อง : วันนี้วันเด็กนะพ่อ เพื่อความสุขของลูก พ่อต้องตามใจลูก ถ้าไม่ได้หนูจะไปติดยา พ่อ : ว่ะ เอะอะ ๆ ก็อ้างติดยา ๆ คงเป็นสูตรสำเร็จของพวกเอ็งละซี เอ้า เอาไป ได้เงิน แล้วก็รีบไป ๆ ซะ ข้าจะได้นั่งกลุ้มใจต่อ
ผู้บรรยาย : หลังจากลูก ๆ พากันหลบหน้าไปแล้ว พ่อก็ลุกขึ้นเดินรำพึง พ่อ : เฮ้อ โบราณว่า มีลูก 3 คนจะต้องจนไป 21 ปี นี่มันตั้ง 50 กว่า ปี แล้วข้าก็ยังจน ข้า จะต้องจนไปอีกกี่ปีนี่ แล้วตอนนี้ถ้าข้าเกิดเป็นอะไรไปพวกมันจะเอาเงินที่ไหนใช้ เห็นทีจะต้องเขียนลายแทงขุมทรัพย์ทิ้งไว้ให้มัน แล้วไปบวชเป็นพระสมภารที่วัด ไหนสักแห่งดีกว่า ผู้บรรยาย : ว่าแล้วพ่อก็หากระดาษมาเขียนลายแทงขุมทรัพย์ไว้ใบหนึ่ง จากนั้นก็หนีออกจากบ้าน ไป เพราะไม่อาจจะทนอยู่ให้ลูกขูดรีดต่อไปได้ ลูกชาย : นังแต๋นเอ็งเหลือเงินเท่าไหร่ ลูกสาวคนพี่ : เหลือสิบบาทพี่ ลูกชาย : ตุ๋ยล่ะ เหลือเท่าไหร่ ลูกสาวคนน้อง : เหลือแปดบาทพี่ ลูกชาย : งั้น เราก็มีเงินไม่พอจะไปเที่ยวงานวันเด็กที่โรงเรียนหน้าอำเภอนะซี งานนี้สนุกมาก เสียด้วย ได้ข่าวว่าชั้น ป.5 จะแสดงละคร ฉันอยากไปดู ลูกสาวทั้งสองคน : ฉันก็อยากไปพี่ แต่เงินเราหมดแล้วจะไปกันยังไง ลูกชาย : ก็ไปขอพ่อซี พ่อขายที่ชายทะเลได้เงินมาเป็นล้าน เราเพิ่งผลาญไปได้ไม่ถึงครึ่ง ลูกสาวทั้งสองคน : งั้นเราไปขอตังค์พ่อกันเถอะ
ผู้บรรยาย : เมื่อลูก ๆ ทั้งสามคนเข้ามาในบ้าน ปรากฏว่าพ่อหนีไปเสียแล้ว และพบจดหมายฉบับ หนึ่งวางอยู่ ลูกชาย : พ่อหนีไปแล้ว แต่พ่อเขียนอะไรไว้นี่ พ่อเขียนว่า พ่อได้ฝังเงินไว้ในสวนรอบ ๆ ต้นไม้ทุกต้น อยากได้ให้ไปขุดหาเอา แต่ห้ามขุดต้นไม้ ถ้าขุดต้นไม้ออกจะไม่ได้ อะไรเลย น้องสาวทั้งสองคน : งั้นจะช้าอยู่ทำไม รีบไปขุดกันเร็ว ๆ
ผู้บรรยาย : ลูก ๆ ทั้งสามคนจึงพาจอบไปขุดรอบ ๆ ต้นไม้ในสวนทุกต้น (เปิดเพลงราชาเงินผ่อนให้ต้นไม้และคนขุด รำไปขุดไปรอบๆ ต้นไม้ทุกต้น) น้องสาวทั้งสองคน : เฮ้อขุดหาจนทั่วแล้ว ยังไม่เห็นเงินสักบาท สงสัยพ่อหลอกเราแน่ ๆ ลูกชาย : พ่อเป็นคนถือศีล มีธรรมะธัมโม พ่อไม่พูดปดหรอก พ่อต้องฝังเงินไว้แน่ ๆ เราต้อง ขุดหาดูใหม่ ขุดให้ละเอียดทุกตารางนิ้ว แต่ตอนนี้พักเหนื่อยกันก่อน พรุ่งนี้ค่อยมาขุดต่อ
ผู้บรรยาย : หลังจากพี่น้องทั้ง 3 คนขุดฟื้นดินในสวนทุกวัน 3 เดือนต่อมา ต้นไม้ในสวนทุกต้น ก็ออกดอกออกผลมากมาย แถมมีผลโตและสีสวย พ่อค้าผลไม้ทราบว่าในสวนของ 3 พี่น้องมีผลไม้จึงพากันมาขอซื้อไปขาย
ผู้บรรยาย : พวกพ่อค้าพากันแบกเข่งใส่ผลไม้ไปเก็บผลไม้จากต้นด้วยตนเอง โดย 3 พี่น้องคอยแต่ นั่งรับเงินพี่น้องทั้ง 3 คนจึงได้เงินมากมาย
ลูกทั้งสามคน : ต่อไปนี้เราไม่จนอีกแล้ว พ่อฝังเงินฝังทองไว้ในสวนของเราจริง ๆ กินใช้ไม่รู้จักหมด ถ้าเราขยันขุด ดูซีร่างกายของพวกเราก็แข็งแรงเพราะได้ออกกำลังกาย เพื่อน ๆ อย่า หัดเป็นคนขี้เกียจนะครับ เราต้องช่วยพ่อแม่ขุดดิน ถางหญ้าในสวน ต้นไม้จะได้งอก งามมีผลขายให้เราได้เงินเยอะ ๆ สวัสดีครับ. (ทุกคนพนมมือไหว้ผู้ชม)

หมายเหตุ นิตยสารบางกอกรายสัปดาห์ เคยตีพิมพ์เป็นเรื่องสั้น แต่ว่า ชิ้นนั้นข้าพเจ้าได้ดัดแปลงตอนท้ายของเรื่อง
Create Date : 29 กรกฎาคม 2552 |
Last Update : 29 กรกฎาคม 2552 14:45:00 น. |
|
32 comments
|
Counter : 38040 Pageviews. |
 |
|
|
โดย: นักล่าน้ำตก IP: 58.8.89.129 วันที่: 29 กรกฎาคม 2552 เวลา:15:13:55 น. |
|
|
|
โดย: ธารดาว IP: 119.31.126.79 วันที่: 29 กรกฎาคม 2552 เวลา:18:59:35 น. |
|
|
|
โดย: ลุงบูลย์ IP: 118.173.117.175 วันที่: 29 กรกฎาคม 2552 เวลา:19:16:23 น. |
|
|
|
โดย: ลุงบูลย์ IP: 118.173.117.175 วันที่: 29 กรกฎาคม 2552 เวลา:19:34:43 น. |
|
|
|
โดย: นักล่าน้ำตก วันที่: 30 กรกฎาคม 2552 เวลา:16:22:15 น. |
|
|
|
โดย: แม่น้องนิก IP: 75.51.89.110 วันที่: 31 กรกฎาคม 2552 เวลา:0:01:42 น. |
|
|
|
โดย: ลุงบูลย์ (pantamuang ) วันที่: 31 กรกฎาคม 2552 เวลา:12:27:46 น. |
|
|
|
โดย: นักล่าน้ำตก วันที่: 31 กรกฎาคม 2552 เวลา:17:09:02 น. |
|
|
|
โดย: แม่น้องนิก IP: 75.51.85.21 วันที่: 1 สิงหาคม 2552 เวลา:0:24:34 น. |
|
|
|
โดย: ปลายแปรง วันที่: 1 สิงหาคม 2552 เวลา:16:29:59 น. |
|
|
|
โดย: ธารดาว IP: 119.31.121.76 วันที่: 1 สิงหาคม 2552 เวลา:20:14:48 น. |
|
|
|
โดย: lungboon (pantamuang ) วันที่: 2 สิงหาคม 2552 เวลา:14:36:36 น. |
|
|
|
โดย: แม่น้องนิก IP: 76.196.57.15 วันที่: 3 สิงหาคม 2552 เวลา:1:57:30 น. |
|
|
|
โดย: ลุงบูลย์ IP: 118.173.120.154 วันที่: 3 สิงหาคม 2552 เวลา:13:51:34 น. |
|
|
|
โดย: นักล่าน้ำตก วันที่: 3 สิงหาคม 2552 เวลา:17:34:39 น. |
|
|
|
โดย: แม่น้องนิก IP: 98.149.155.212 วันที่: 3 สิงหาคม 2552 เวลา:23:49:00 น. |
|
|
|
โดย: นักล่าน้ำตก IP: 58.8.97.250 วันที่: 5 สิงหาคม 2552 เวลา:16:20:08 น. |
|
|
|
โดย: ปลายแปรง วันที่: 7 สิงหาคม 2552 เวลา:10:40:17 น. |
|
|
|
โดย: ปรายรุ้ง IP: 118.173.0.102 วันที่: 29 พฤศจิกายน 2552 เวลา:12:33:09 น. |
|
|
|
โดย: มะปราง IP: 192.168.1.120, 61.7.177.214 วันที่: 9 ธันวาคม 2552 เวลา:20:46:59 น. |
|
|
|
โดย: woonsennarak IP: 58.8.47.191 วันที่: 14 กันยายน 2553 เวลา:22:33:58 น. |
|
|
|
โดย: คิมหันต์วิษุวัติ IP: 119.46.227.2 วันที่: 25 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา:10:39:13 น. |
|
|
|
โดย: สุชญา IP: 125.24.40.230 วันที่: 30 เมษายน 2554 เวลา:15:44:26 น. |
|
|
|
โดย: ครูบ๊วยเค็ม IP: 110.49.225.12 วันที่: 3 มกราคม 2555 เวลา:16:37:22 น. |
|
|
|
โดย: น้อยหน่า IP: 125.25.196.237 วันที่: 1 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา:12:38:21 น. |
|
|
|
โดย: 12 IP: 27.55.144.169 วันที่: 20 สิงหาคม 2556 เวลา:18:47:37 น. |
|
|
|
โดย: หนิงhttp://www.bloggang.com/emo/emo3.gif IP: 27.55.144.169 วันที่: 20 สิงหาคม 2556 เวลา:18:49:27 น. |
|
|
|
โดย: สุรวัฒน์ IP: 1.179.175.114 วันที่: 1 มกราคม 2558 เวลา:15:54:21 น. |
|
|
|
โดย: Basssoundjees IP: 182.52.124.69 วันที่: 8 กันยายน 2564 เวลา:12:00:18 น. |
|
|
|
|
|
|
|
เพราะเด๋วจะออกไปข้างนอกค่ะ
อื่นๆ ค่อยมาเมนต์ ทีละนิดละหน่อย เพราะกะว่าบล็อกนี้ดองยาวใช่มั้ยคะ
....
อ่านแล้วเข้าใจเลยว่าครูแกะดำเป็นยังไง
เพราะตัวเองก็เคยเป็นค่ะ...เคยเป็นครูอัตราจ้างสอนวิชาสังคม ภาษาไทยอยู่เทอมนึงในรร.ตจว.
เข้ากะใครเขาไม่ได้
ครบเทอม ครูคนอื่นเขายังจ้างต่อ ส่วนเรา เขาเลิกจ้าง...
โชคดีของโรงเรียน แต่โชคร้ายของเด็กที่จะขาดครูเก่งๆอย่างเราไป ฮ่าๆ..
.........
อ่านเรื่องลุงบูลย์แล้ว คิดว่า นี่แหละค่ะ ครูที่เด็กต้องการ
ครูมี่สอนสนุก มีความสามารถที่เด็กสัมผัสได้จริง
วาดรูปก็ได้ เขียนเรื่องก็ได้ มีศิลปะครบเครื่อง
ตอนเป็นเด็กก็จะชอบครูแบบนี้ ไม่ใช่ครูที่ดีแต่ท่องตำราให้ฟัง
ครูแบบลุง น่าจะเป็นแรงบันดาลใจให้เด็กๆได้ดี
เด็กได้แสดงออก ได้เล่นละคร...มันสนุกน่ะค่ะ
เชื่อว่ามีนักเรียนหลายคน จดจำครูไพบูลย์มิรู้ลืม
...............
เรื่องท่อนหลังๆ..ค่อยมาเมนต์ต่อค่า...