|
| 1 | 2 |
3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 |
10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 |
17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 |
24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 |
|
|
|
|
|
|
|
พรายสึนามิ 1
พรายสึนามิ พร เมืองใต้ ๑.
พอขับรถเลยจากเขตของจังหวัดชุมพร เข้าสู่เขตจังหวัดระนองมาได้หน่อยเดียว ฟ้าที่กระจ่างอยู่ ก็พลันกลายเป็นมืดมัวฝนขึ้นมาทันที ฝนภาคใต้เนาะ ตกได้ทุกวี่ทุกวัน ไม่ต้องอาศัยฤดูกาล ธานิน วรินรักษ์ หนุ่มวัยสามสิบซึ่งขับรถโฟร์วีล มาตามถนนเพชรเกษมคนเดียวบ่นพลางถอนใจแรง และชะลอความเร็วของรถจากที่เคยขับอยู่ ๑๒๐ กิโลเมตรต่อชั่วโมง ลงเหลือ ๘๐ กิโลเมตรต่อชั่วโมง เมื่อถนนเริ่มคดโค้งและไต่ขึ้นเนินเขา มองไปข้างหน้าเห็นแต่บรรยากาศอันสลัวมัว ชายหนุ่มถอนสายตากลับมามองนาฬิกาที่แผงหน้ารถ ห้าโมงสิบแล้ว ไปถึงบ้านน้ำเค็มก่อนค่ำไม่ทันแล้วแน่ ๆ ฝนเจ้ากรรมทำเราผิดเวลานัดจนได้คืนนี้จะไปนอนที่ไหนดีวะ พอจะฝืนไปให้ถึงตะกั่วป่าได้หรือเปล่า เรายิ่งไม่ชอบขับรถกลางคืนอยู่ด้วยยิ่งฝนตกยิ่งไม่อยากเสี่ยง..... บรรยากาศที่มัวฝนทำให้ความมืดมาเยือนเร็วยิ่งขึ้น นึกโทษตนเองที่ขับรถออกมาจากบ้านเที่ยงวันกว่าแล้ว ด้วยเพราะคิดว่าจากอำเภอปะทิวถึงอำเภอตะกั่วป่า ระยะทางเพียงแค่ ๒๕๐ กว่ากิโลเมตร ขับรถราว ๓ ชั่วโมงก็ถึง แต่เขากลับนึกถึงฝน.....คือไม่คิดว่าฝนจะตก นพพรเพิ่งจะกลับจากขับรถไปเที่ยวภาคเหนือและภาคอีสานหลายจังหวัดมา เมื่อต้นเดือนและปลายเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา สัปดาห์แรกเขาไปที่อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก สัปดาห์ต่อมาไปที่จังหวัดศรีสะเกษ ทั้งสองจังหวัดอากาศหนาวในตอนกลางคืน และร้อนในตอนกลางวันแต่พอมาภาคใต้ชุมพร กลางวันอากาศอบอุ่น กลางคืนเย็นสบายและใต้ลงมามีฝนตก ราวกับว่าฟ้าที่ครอบคลุมประเทศอยู่เป็นคนละฟ้า เขาลดความเร็วของรถลงจนเหลือ ๑๐-๗๐ กิโลเมตรต่อชั่วโมง และเปิดไฟใหญ่แทนไฟหรี่เพราะฝนเริ่มหนาเม็ด และยังครุ่นคิดในเรื่องภาคใต้ต่อ ภาคใต้มีทั้งโชคดีและโชคร้าย โชคดี ที่แผ่นดินมีทะเลขนาบอยู่ทั้งสองด้าน ทำให้ได้รับลมทะเลจากสองฝั่ง ลมทะเลคอยผลัดเปลี่ยนถ่ายอากาศ ขับไล่ทั้งความร้อนและความหนาวเย็นให้เป็นภาคที่มีแต่ความอบอุ่นสบาย ขณะที่ภาคกลาง ภาคเหนือ และภาคอีสานต้นไม้เหี่ยวเฉา ทุ่งหญ้ามีหญ้าแห้งตาย แต่ภาคใต้ ต้นไม้และต้นหญ้ากลับเขียวขจี เท่านั้นยังไม่พอ...ภาคใต้ยังมีแหล่งอาหารที่อุดมสมบูรณ์ มีทั้งอาหารจากปลาทะเล จากเนื้อสัตว์ ทั้งสัตว์เลี้ยงและสัตว์ป่า อาหารจากพืชผักและผลไม้ ซึ่งเป็นทรัพยากรจากธรรมชาติ ที่คนในภาคใต้แทบไม่ต้องลงทุนลงแรง แต่ได้มาจากความอุดมสมบูรณ์ของแผ่นดิน เช่น ทุเรียน มังคุด เงาะ และผลไม้อีกหลายอย่าง ซึ่งเดิมทีเป็นป่าไม้ที่มีอยู่ในธรรมชาติ คืองอกขึ้นเองอยู่ในป่า และภูเขาของภาคใต้โดยที่คนไม่ต้องปลูก คนรุ่นต่อมาเพียงอนุรักษ์และพัฒนาสายพันธุ์ขึ้นใหม่ เช่น ทุเรียนพันธุ์ต่าง ๆ นอกจากนั้นภาคใต้ยังเป็นแหล่งพืชเศรษฐกิจ เช่น ยางพารา ความที่ภาคใต้มีพื้นดินเหมาะกับพืชชนิดนี้ เมล็ดยางพาราไปตกอยู่ที่ใดก็สามารถงอกขึ้นได้ ณ ที่นั้น ทำให้ยางพาราเป็นพืชประจำป่าเขาของภาคใต้มาแต่โบราณกาล จนชาวบ้านเรียกว่า ป่ายาง แทนที่จะเรียกว่า สวนยาง เพราะชาวบ้านเคยปลูกยางพาราแบบปลูกป่า คือ ไม่ต้องดูแล ใส่ปุ๋ยแต่อย่างใด นอกจากยางพารา ภาคใต้ยังเป็นแหล่งปลูกปาล์มน้ำมัน ปาล์มน้ำมันก็เป็นพืชอีกชนิดหนึ่งที่สามารถปลูกขึ้นได้ง่ายในภาคใต้ โดยไม่เลือกว่าจะเป็นที่ลุ่มมีน้ำขังเฉอะแฉะแบบที่นา ดินพรุ หรือดินเป็นเนินเขา ทำให้ภาคใต้ได้เปรียบภาคอื่น ๆ ผู้คนในภาคใต้ต่างมีเศรษฐกิจดี มีเงินในการจับจ่ายใช้สอยไม่ขาดแคลน และคนภาคใต้รุ่นพ่อรุ่นแม่ในสายตาของธานิน วรินรักษ์ ซึ่งเป็นคนรุ่นใหม่เขามองว่า คนภาคใต้มักจะเป็นคนที่ชอบอยู่แบบสงบ ๆ อยู่ง่ายกินง่าย อาศัยแค่คอยบริโภคแต่โภชผลที่เกิดจากความสมบูรณ์ของธรรมชาติ ก็อยู่มาได้หลายชั่วลูกหลาน และแทบไม่ต้องกระตือรือร้นในการแสวงหาความมั่งคั่งให้กับตนเอง นั่นเป็นเหตุทำให้คนจากต่างถิ่นหลั่งไหลเข้าไปลงทุนทำกิจการต่าง ๆ เพื่อแสวงหาความร่ำรวยจากความอุดมสมบูรณ์ของภาคใต้ อันมาจากความสวยงามของธรรมชาติ ทะเล ชายหาด ภูเขา น้ำตก และเกาะแก่งต่าง ๆ ในแต่ละเดือน ปี ภาคใต้จึงมีนักลงทุนและนักท่องเที่ยวหลังไหลกันไปซื้อที่ดินเพื่อลงทุนทำกิจการ ให้คนจากภาคอื่น ๆ และชาวต่างประเทศไปพักผ่อน นำเงินไปจับจ่ายใช้สอยและบริโภคความสุขความสวยงามจากธรรมชาติ ทำให้ภาคใต้ซึ่งแม้จะเป็นแผ่นดินเล็ก ๆ แต่มีรายได้เข้าประเทศในแต่ละเดือน ปี มีค่าเป็นหมื่น ๆ ล้าน มากกว่ารายได้ของภาคใด ๆ ในประเทศไทย
แต่ภาคใต้ก็มีโชคร้ายกว่าภาคอื่น ๆ อยู่เนือง ๆ เช่นเคยเกิดพายุโซนร้อนพัดถล่มที่แหลมตะลุมพุก อำเภอปากพนังจังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ.๒๕๐๕ ทำให้มีคนตายนับพัน ต่อมา ปี พ.ศ.๒๕๓๐ ก็เกิดอุทกภัยฝนตกหนักจนภูเขาถล่ม น้ำป่าพัดพาเอาดินโคลนเข้าทับถมหมู่บ้านและชีวิตของผู้คน ที่หมู่บ้านคีรีวงศ์ อำเภอลานสกา และบ้านพิปูน อำเภอกะทูน จนหมู่บ้านทั้งสองอำเภอ จมอยู่ใต้สายน้ำทำให้คนตายหลายร้อยคน ก่อนจะมาเกิดพายุใต้ฝุ่น เกย์ พัดกระหน่ำซ้ำ เมื่อปีพ.ศ.๒๕๓๒ ที่อำเภอปะทิว อำเภอเมือง ชุมพร(บางส่วน) และอำเภอท่าแซะ พอมาปี พ.ศ.๒๕๔๐ อำเภอเมืองชุมพร หรือตัวเมืองชุมพรทั้งเมือง ตึก บ้านสองชั้น ชั้นล่างจมอยู่ใต้สายน้ำ จนได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากองค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช พระราชทานเงินส่วนพระองค์ให้ขุดคลองหูวัง พนังตัก ระบายน้ำที่จะไหลไปท่วมเมืองให้ไหลออกไปนอกเมือง จากนั้นภัยพิบัติจากน้ำท่วมเมืองก็หายไป แต่โชคร้ายของภาคใต้ยังไม่จบเพราะ นอกจากภัยภิบัติธรรมชาติที่คอยซ้ำเติมภาคใต้อยู่เสมอเมืองเข้าฤดูฝน ภาคใต้ยังเพิ่งมีมนุษยภัยหรือโจรร้ายอันเป็นภัยจากมนุษย์ด้วยกัน เกิดขึ้นหลังจากมีการเปลี่ยนนายกรัฐมนตรีจากพรรคการเมืองใหม่ แทนนายกรัฐมนตรีจากพรรคการเมืองเดิมทีเคยครองพื้นที่ภาคใต้ เมื่อประมาณปลายปี พ.ศ.๒๕๔๖ ประเดิมเริ่มแรกด้วยการเผาโรงเรียนกว่าสิบโรงเรียนใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส การกระทำของกลุ่มโจร กระแสหนึ่งว่ามาจากผู้ไม่หวังดี ที่คิดจะแยกแผ่นดินสามสี่จังหวัดภาคใต้ให้ไปขึ้นกับประเทศมาเลเซีย โดยอ้างเหตุและปัจจัยความแตกต่างในด้านภาษาพูด การนับถือศาสนา และวัฒนธรรมประเพณีที่แตกต่างมาเป็นหลักปลุกระดม กระแสที่สองว่าเกิดจาก การสูญเสียอำนาจทางการเมือง ของพรรคการเมืองฝ่ายตรงข้าม ที่ต้องการสร้างสถานการณ์เพื่อล้มล้างรัฐบาล เพราะหากนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นหัวหน้ารัฐบาลปัจจุบันไม่สามารถที่จะรักษาสถานการณ์ หรือความสงบเรียบร้อยภายในประเทศไว้ได้ ก็สามารถที่จะนำมาเป็นเงื่อนไขบั่นทอนสมรรถภาพของรัฐบาลปัจจุบันได้ แต่ไม่ว่าจะมาจากกระแสใด การที่ผู้ไม่หวังดียึดเอาชีวิตของผู้คนใสสามสี่จังหวัดชายแดนภาคใต้ มาเป็นเครื่องเซ่นสังเวย โดยการลอบฆ่า วางระเบิด ในร้านอาหาร ห้างสรรพสินค้าและธานินควร มีการฆ่าครู และยิงรถนักเรียนจนเด็กนักเรียนได้รับบาดเจ็บ และการฆ่าคนผู้บริสุทธิ์ให้ล้มตายเป็นรายวันโดยตายไปแล้วกว่า ๕๐๐ คนนั้น นับเป็นภัยอันร้ายแรงไม่น้อยกว่าภัยอื่น ๆ แต่ขณะที่ภัยจากคนด้วยกันซึ่งทยอยฆ่าผู้คนภาคใต้เล่นอยู่ไม่เว้นวัน ใน ๖ จังหวัดภาคใต้อันมีสตูล ตรัง พังงา กระบี่ ภูเก็ต และระนอง ก็เกิดภัยธรรมชาติที่นับว่าร้ายแรงและโหดร้ายที่สุดยิ่งกว่าภัยใด ๆ ที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วทั้งหมดในช่วง ๑๐๐ ปี นั่นคือ ได้เกิดคลื่นยักษ์ที่เรียกว่า คลื่นสึนามิ(Tsunami) ๑๐ นาฬิกาของวันที่ ๒๖ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๗ ทำให้ธานิน วรินรักษ์ ต้องรีบเดินทางไปที่อำเภอตะกั่วป่า ทว่าเวลาที่ล่วงมาแล้วถึง ๓ เดือนนับจากวันที่เกิดเหตุ ฝนยังตกพรำ ๆ ขณะที่ธานิน วรินรักษ์ ขับรถผ่านตลาดคุระบุรี เวลาเพิ่งจะทุ่มกว่า ๆ แต่ตลาดกลับดูเงียบเหงา บ้านหลายหลังดับไฟมืด ราวกับเขากำลังขับรถเข้าไปในแดนสนธยา แสงไฟที่พุ่งเป็นลำไปข้างหน้าเห็นแต่พื้นถนนสีดำ ทำให้ต้องขับรถไปด้วยความเร็วไม่เกินหกสิบ ธานินนึกถึงวันที่พบกับนายทิน หินลาด การเกิดคลื่นยักษ์สึนามิ ทำให้เขามีโอกาสได้มาท่องเที่ยวตะกั่วป่า วันนั้นเขามากับเพื่อนซึ่งเป็นนักข่าว นักเขียน และคอลัมน์นิสต์ ของหนังสือพิมพ์ยักษ์ใหญ่ฉบับหนึ่ง เพื่อนมาทำข่าวเรื่องนายทุนกั้นรั้ว กันไม่ให้ชาวบ้านที่โดนคลื่นยักษ์สึนามิ กลับเข้าไปรื้อซากบ้าน เพื่อปลูกใหม่ และนายทุนได้ขับไล่ชาวบ้านให้ไปอยู่ที่อื่น อ้างว่าที่ผ่านมายินยอมให้อยู่เพราะเห็นว่ามีบ้าน มีสิ่งปลูกสร้าง แต่ตอนนี้ไม่มีแล้วจึงห้ามเข้า มีกำนันผู้ใหญ่บ้าน และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ในจังหวัดบางคน ถือหางนายทุนและออกหลักฐาน ส.ค.๑ ให้นายทุนมีชื่อเป็นผู้ครอบครองที่ดิน ทับที่ ๆ ชาวบ้านเคยอยู่ในที่ดินมานานเป็นสิบ ๆ ปี และชาวบ้านที่มีบ้านอยู่ในเขตคลื่นยักษ์สึนามิ นับร้อยรายไม่ได้รับเงินช่วยเหลือค่าบ้าน เพราะทางราชการอ้างว่าอาศัยอยู่ในที่ดินของบุคคลอื่น หลังวันเกิดคลื่นยักษ์ ๓ วัน ขณะที่เขากับเพื่อนนั่งกินข้าวกันอยู่ในร้านอาหารในตลาดบางม่วงโต๊ะใกล้ ๆ กันมีชายฉกรรจ์อายุ ๔๐-๕๐ ปี ห้าหกคน นั่งดื่มเหล้าเบียร์และกินอาหารกันอยู่ ชายในกลุ่มนั้นเข้าใจว่าเขากับเพื่อนเป็นนักธุรกิจ มาหาซื้อที่ดินบนเกาะและชายทะเล เพราะชาวบ้านที่เสียขวัญกำลังบอกขายที่ดิน ในราคาถูก ๆ เพื่อย้ายไปอยู่ที่อื่น ชายคนหนึ่งจึงบอกเขากับเพื่อนว่า มีที่ดินหลายแปลงที่ชายหาดและบนเกาะจะขายในราคาถูก ๆ ชายวัยสี่สิบท่าทางเป็นหัวหน้าของคนกลุ่มนั้น แนะนำตัวว่าชื่อทิน หินลาด มีที่ดินชายทะเลหลายแปลงอยากจะขาย ธานิน กำลังอยากจะได้ที่ดินบนเกาะ หรือชายทะเลสักแห่งเพื่อทำบ้านพักไว้มานอนพักผ่อน และเขาไม่กลัวคลื่นยักษ์ เพราะรู้ว่าถ้าคอยระวังไม่ไปสร้างอะไรที่อยู่ติดชายหาดเกินไป คลื่นยักษ์ก็ทำอะไรเขาไม่ได้ และเขาอยากซื้อในช่วงนี้ เพราะคิดว่าชาวบ้านกำลังอยากขาย แต่วันนั้นเขาไม่มีเวลาคุยหรือถามรายละเอียด หรือแม้แต่จะไปเดินดูที่ เพราะเพื่อนนักหนังสือพิมพ์จะต้องรีบขับรถกลับกรุงเทพ ฯ และเขาก็อาศัยรถเพื่อนมา เขาจึงให้เบอร์โทรศัพท์ไว้และจะนัดวันมาดูที่กันอีกครั้งหลังจากเขาว่าง แล้วนายทิน หินลาด ก็ได้โทร.ติดต่อไปอีก ธานินจึงได้เดินทางมาในวันนี้ แต่ต้องขับรถมาคนเดียวเพราะเพื่อนนักข่าวติดธุระมาด้วยไม่ได้ ธานินขับรถมาถึงชายหาดแห่งหนึ่ง ซึ่งเขาเดาว่าเป็นบ้านน้ำเค็ม ที่ ๆ นัดพบกับนายทิน หินลาด แต่ประหลาดใจที่บ้านทุกหลัง ซึ่งปลูกแบบเรือนโรงหลังหลังคามุงสังกะสี ที่เพิ่งผ่านการเก็บกู้หลังจากโดนคลื่นยักษ์สึนามิ ต่างปิดประตูดับไฟมืด มีเพียงหลังสองหลังที่ยังมีแสงไฟลอดออกมา ธานินจอดรถที่หน้าบ้านที่เขาเดาว่าเป็นร้านค้าหลังหนึ่ง ประตูร้านเปิดไว้เป็นช่องเล็ก ๆ ชายวัยกลางคนคนหนึ่งกำลังยืนลับ ๆ ล่อ ๆ อยู่ที่ประตู คุณน้าครับ บ้านคุณปั่น แหลมป้อม หลังไหนครับ คุณมาจากไหน ชายคนนั้นกลับถามย้อน ผมมาจากกรุงเทพฯ ที่นี่ไม่มีคนชื่อปั่น แหลมป้อม ทำไมคุณมาค่ำ ๆ มืด ๆ ชายคนนั้นถามอีกและมีท่าทางกลัว ๆ มีเหตุจำเป็นตอนขับรถมานิดหน่อยครับ ทำให้มาถึงช้า แล้วขอโทษ แล้วที่นี่ไม่ใช่บ้านน้ำเค็มหรือครับ ธานินถาม ไม่ใช่ บ้านน้ำเค็ม บ้านน้ำเค็มคุณเลยมาซอยหนึ่งครับ ที่นี่บางหยะ ชายคนนั้นตอบ เอ่อ ผมอยากพบผู้ใหญ่บ้าน บ้านผู้ใหญ่บ้านอยู่ตรงไหนครับ ธานินถาม คุณขับรถไปสุดซอยนี้ ไปกลับรถที่ริมเล บ้านของผู้ใหญ่เล้งอยู่ตรงนั้นพอดี เป็นบ้านแบบชั่วคราวมุงสังกะสี เหมือนบ้านทุกหลังแถวนี้ ขอบคุณนะครับ ธานินรีบขึ้นรถขับไปต่อ ถนนในตลาดบางหยะ หรือบางขยะ เป็นถนนแคบรถแทบจะสวนกันไม่ได้ แต่คืนนั้นบ้านทุกหลังเงียบราวกับไม่มีคนอยู่ จึงไม่มีรถใด ๆ แล่นสวน ธานินขับรถลึกเข้ามาประมาณสองร้อยเมตร ถนนก็มาสิ้นสุดที่ชายทะเล มีที่พอให้กลับรถได้ ธานินจึงกลับหัวรถและจอดรถไว้ ก่อนที่จะเดินไปที่กระท่อมหลังหนึ่ง ที่มีแสงไฟวับแวมส่องลอดรอยต่อของบานประตูออกมา กระท่อมหรือบ้านหลังดังกล่าว มุงและกั้นด้วยสังกะสียังใหม่ ๆ ประตูเป็นแผ่นไม้กระดานที่ต่อขึ้นหยาบ ๆ มีเสียงเด็กและผู้หญิงคุยกันเบา ๆ ฝนยังตกลงมาพรำ ๆ ขณะที่ธานินก้าวไปยืน เคาะประตูแล้วเรียก บ้านผู้ใหญ่ใช่ไหมครับ เสียงคุยกันเงียบไป แต่มีเสียงผู้หญิงตอบออกมา ใช่ค่า แต่พี่เล้งไม่อยู่ ไปข้างนอกตั้งแต่หัวค่ำ ใครมาธุระอะไร ประตูไม่เปิดมีแต่เสียงถาม ผมมาจากกรุงเทพ จะมาหาคุณทิน หินลาด รู้จักคุณทินไหมครับ ประตูกระท่อมเปิดออกทันที ผู้หญิงนุ่งผ้ากระโจมอก มือถือตะเกียงรั้ว แสงตะเกียงไม่ค่อยสว่างแต่ก็พอจะมองเห็นใบหน้าของหญิงเจ้าของบ้าน ว่ามีอายุประมาณสามสิบ มีเด็กหญิงวัยประมาณสี่ขวบ และสามขวบยืนเกาะขาอยู่ข้างหลัง ราวกับหวาดกลัวคลื่นสึนามิที่จะมารอบสอง รู้จักค่ะ พอดีที่เล้งทำงานอยู่กับคุณทิน แต่ตอนนี้พี่เล้ง สงสัยจะไปอยู่ที่บ้านคุณทิน ไม่ทราบคุณเล้งจะกลับมาบ้านตอนไหนครับ ธานินถามไปอย่างเก้อเขิน เมื่อสายตาของเขาเห็นผู้หญิงคนนั้นนุ่งกระโจมอก ก็ไม่แน่....อาจจะสามทุ่ม สี่ทุ่ม เที่ยงคืน หรืออาจจะกลับเอาเช้าเลยก็ได้ ตั้งแต่เกิดคลื่นยักษ์พี่เล้งกลับบ้านไม่ค่อยเป็นเวลา หญิงสาวตอบ ผมขอนั่งรอหน้าบ้านนี้ได้ไหมครับ ได้ค่ะ....เดี๋ยวจะยกเก้าอี้มาให้ ว่าแล้วหญิงสาวก็กลับเข้าไปยกเก้าอี้หัวโล้น แบบเก้าอี้ในร้านก๋วยเตี๋ยวมาวางให้ธานินนั่งที่หน้าบ้านซึ่งเป็นพื้นดินทราย และประตูบ้านเปิดไว้พอแง้ม ๆ ธานินนั่งรออยู่เป็นชั่วโมง ผู้ใหญ่เล้ง ก็ยังไม่กลับมา เขานึกเกรงใจสาวเจ้าของบ้าน ลูก ๆ ของนางคงหลับไปแล้วเพราะเสียงเงียบ และนางเองก็คงอยากจะพักผ่อน เพราะกลางวันเธอก็คงจะเหนื่อย หากว่าบ้านของเธอจะอยู่แถวนี้แล้วพังไป วัน ๆ เธอจะต้องรื้อต้องเก็บ ธานินเห็นท่าไม่เหมาะจึงคิดว่ากลับไปโรงแรมที่ย่านยาวหรือตะกั่วป่าพักผ่อนก่อนดีกว่า แล้วพรุ่งนี้ค่อยมาใหม่ จึงตัดสินใจบอกลาเจ้าของบ้าน
(ยังมีต่อครับ แต่ถ้าอยากอ่านจบเร็ว ๆ พรายสึนามิ วางตลาดแล้วครับ
Create Date : 14 มิถุนายน 2550 |
Last Update : 15 มิถุนายน 2550 19:40:08 น. |
|
1 comments
|
Counter : 1239 Pageviews. |
 |
|
|
โดย: lungboon (pantamuang ) วันที่: 19 มิถุนายน 2550 เวลา:15:24:19 น. |
|
|
|
|
|
|
|
ซึ่งได้กลายเป็นผลงานทางวิชาการอีกชิ้นหนึ่งที่ทำให้ พร เมืองใต้หรือ ไพบูลย์ พันธ์เมือง ได้ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งสูงสุดเท่าที่ครูสอนชั้นประถมคนหนึ่งจะก้าวขึ้นไปได้ คือ ตำแหน่งอาจารย์ ๓ ระดับ ๘
อ่านประวัติและปัญหาที่ไพบูลย์ พันธ์เมือง ต้องผจญและฟันฝ่าได้ใน "ถนนชีวิตราชการ" ในรวมเรื่องสั้น "ม่ายแน่...มานอาจจะลีก็ล่าย"
ไพบูลย์ พันธ์เมือง หรือ พันธุ์เมือง เป็นคน ๆ เดียวกัน นามสกุล พันธุ์เมือง คือ นามสกุลแท้ ๆ ที่ถูกต้อง แต่มักต้องเขียนเป็น พันธ์เมือง ธ ไม่มีสระ อุ เพราะเกิดการตกหล่นตอนย้ายโรงเรียนไปเรียนที่โน่นนี่ในวัยเด็ก ทำให้การจดบันทึกของเจ้าหน้าที่ทะเบียนราษฎร์คลาดเคลื่อน แต่ไพบูลย์ พันธุ์เมือง พยายามที่จะใช้นามสกุลนี้ เพราะถือว่าเป็นนามสกุลพ่อแม่ ปู่ ย่าที่แท้จริงของเขา แม้ว่าในทะเบียนราษฏร์ สระอุ ใต้ ธ ธง จะตกไป
ไพบูลย์ พันธุ์เมือง ยังมีนามปากกาอีกหลายนามแต่ปัจจุบัน ไม่ค่อยได้ใช้ เช่น ผกายฟ้า ประกาศิต พันธ์เมืองชุมพร และ เทียนส่องธรรม เป็นต้น แต่ที่สำนักพิมพ์(ประพันธ์สาส์น)อยากให้ใช้มากที่สุด คือ ชื่อไพบูลย์ พันธ์เมือง ทั้ง ๆ ที่ตัวไพบูลย์เอง ไม่อยากเปิดเผยตัวแต่ตอนนี้รู้กันทั่วแล้วจึงปล่อยเลยตามเลย