สวัสดีค่ะ ภาระหน้าที่ทำให้ต้องเดินทางไกลมาถึงบัวโนสไอเรส แต่ยังคิดถึงเพื่อนบล็อกทุกคนนะค่ะ

การออกกำลังกายสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน







โรคเบาหวาน เป็นภาวะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลสูงกว่าปกติ ที่พบบ่อยแบ่งเป็น

1. โรคเบาหวานชนิดที่ 1 (ชนิดพึ่งอินสุลิน)

2. โรคเบาหวานชนิดที่ 2 (ชนิดไม่พึ่งอินสุลิน)

ประโยชน์ของการออกกำลังกายในผู้ป่วยโรคเบาหวาน

1. ช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางกาย
2. ช่วยป้องกันหรือลดความอ้วนได้
3. ช่วยทำให้ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีขึ้น
4. ช่วยปรับระดับไขมันในเลือดให้เหมาะสม
5. ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบและอุดตัน
6. ช่วยในด้านอารมณ์ จิตใจ

การประเมินสุขภาพก่อนการออกกำลังกาย

- เพื่อตรวจหาข้อห้ามหรือข้อควรระวังในการออกกำลังกาย
- เป็นแนวทางให้แพทย์กำหนดระดับการออกกำลังกายให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัย ผู้ป่วยที่ควรต้องผ่านการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ขณะออกกำลังกาย (EST) ก่อน
- ผู้ป่วยเบาหวานที่มีอายุมากกว่า 35 ปี หรือเป็นเบาหวานมามากกว่า 25 ปี
- มีปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ต่อการเป็นโรคหัวใจ และ หลอดเลือด

ข้อห้ามในการออกกำลังกาย

- อาการเบาหวานขึ้นตากำเริบที่มีเลือดออกในจอรับภาพ, น้ำในช่องลูกตาหรือจอรับภาพแยกตัว
- ระดับน้ำตาลในเลือดสูงตั้งแต่ 250 มก./ดล. ขึ้นไป
- ภาวะเลือดเป็นกรดสูง (Ketoacidosis)
- ภาวะติดเชื้อ

รูปแบบการออกกำลังกาย

การออกกำลังกายที่เหมาะสม คือ การออกกำลังกายแบบแอโรบิค เช่น การเดิน การวิ่งเหยาะ ขี่จักรยาน ว่ายน้ำ กิจกรรมเข้าจังหวะ รำมวยจีน

การเลือกชนิดการออกกำลังกาย ขึ้นอยู่กับ

- อายุ
- ความรุนแรงของโรคเบาหวาน
- ความฟิตของร่างกาย
- เครื่องออกกำลังที่มีอยู่หรือหาได้สะดวก
- สถานที่ที่สะดวก
- ความสนใจ

วิธีการออกกำลังกาย

- การออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง ใช้เวลาอย่างน้อย 20 นาที ปฏิบัติสม่ำเสมอ อย่างน้อย 3 ครั้ง/สัปดาห์
- ควรเริ่มจากระดับเบา ๆ ก่อน แล้วค่อย ๆ เพิ่มให้มากขึ้นทีละน้อย

ขั้นตอนการออกกำลังกายมี 3 ระยะ

1. ระยะอุ่นเครื่องเพื่อเตรียมกล้ามเนื้อ
- ใช้เวลา 5 นาที
- ยืดเหยียดกล้ามเนื้อ และกายบริหารเบา ๆ

2. ระยะออกกำลังกาย
- ใช้เวลา 20-60 นาที
- ระดับความหนัก เป้าหมายคือ ชีพจรเต้นเพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า 60% ของอัตราชีพจรสูงสุด แต่ไม่เกิน 90%
- อัตราชีพจรสูงสุด = 220 – อายุ

ตัวอย่างผู้ป่วยอายุ 50 ปี
อัตราชีพจรสูงสุด = 220-50 = 170 ครั้ง/นาที
60% ของอัตราสูงสุด = 60*170 = 102 ครั้ง/นาที
90% ของอัตราสูงสุด = 90*170 = 153 ครั้ง/นาที

การวัดอัตราชีพจรระหว่างออกกำลังวิธีต่าง ๆ

- จับชีพจรที่ข้อมือดูเวลาจากนาฬิกา
- ใช้อุปกรณ์ตรวจวัดชีพจรชนิดต่าง ๆ เช่น คลิปหนีบหูวัดชีพจร แถบรัดหน้าอกและนาฬิกาวัดชีพจร

3. ระยะผ่อนคลาย
- ใช้เวลา 5 นาที
- ให้ผ่อนระดับการออกกำลังช้า ๆ จนหยุด

สำหรับผู้ป่วยเบาหวานประเภท 1

- ไม่ควรออกกำลังนานเกินไป (> 45 นาที)
- ควรกำลังในเวลาใกล้เคียงกันในแต่ละครั้ง
- แนะนำให้ออกกำลังในช่วงเช้าก่อนอาหารมื้อเช้า

สำหรับผู้ป่วยเบาหวานประเภท 2

- ควรเริ่มออกกำลังกายจากระดับความหนักน้อย ๆ ก่อน
- ระยะเวลาการออกกำลังควรใช้เวลานานขึ้น (ระหว่าง 20 นาที ถึง 45 นาที) เพื่อเผาผลาญไขมันได้มากขึ้น
- ควรจำกัดอาหารเพื่อลดน้ำหนักด้วย

แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการปรับยาและอาหาร

1. กรณีผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1
- ควรฉีดยาที่หน้าท้องแทนการฉีดยาที่แขนหรือขา
- หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายขณะยาออกฤทธิ์สูงสุด
- ควรตรวจระดับน้ำตาลในเลือดก่อนและหลังออกกำลังกายในระยะแรก
- ควรดูแลเท้าเป็นพิเศษไม่ให้เกิดแผลและการบาดเจ็บ ใส่รองเท้าที่เหมาะสม
- ควรพกป้ายหรือสื่อที่แสดงว่าเป็นเบาหวานติดตัวไว้หรือควรออกกำลังกายในขณะที่มีผู้อื่นอยู่ด้วย

2. กรณีผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2

- หลักปฏิบัติทั่ว ๆ ไป
- ตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดอย่างสม่ำเสมอเมื่ออกกำลังกายต่อเนื่องได้ระยะหนึ่งระดับน้ำตาลในเลือดจะลดลง แพทย์จะปรับขนาดยาให้เหมาะสมต่อไป

สมดุลระหว่างอาหารกับการออกกำลังกาย

- ผู้ป่วยทุกรายควรได้รับการตรวจระดับน้ำตาลก่อนการออกกำลังกาย
- ถ้าระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ระหว่าง 180 ถึง 240 มก./ดล. ไม่จำเป็นต้องรับประทานอาหารว่างก่อนออกกำลังกาย
- ถ้าระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ระหว่าง 100 ถึง 180 มก./ดล. ควรรับประทานอาหารว่างก่อนออกกำลังกายประมาณ 15 – 30 นาที ด้วย 10 – 15 กรัมของอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต
- ถ้าระดับน้ำตาลในเลือดน้อยกว่า 100 มก./ดล. ควรรับประทานอาหารว่างก่อนออกกำลังกายประมาณ 25 – 50 กรัมของอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต
- ถ้าออกกำลังกายยาวนาน ควรรับประทานอาหารว่างเพิ่มขึ้น 10 – 15 กรัม ทุก 30 นาที หรือเพิ่มปริมาณอาหารว่างก่อนออกกำลังกายให้มากขึ้นและควรตรวจระดับน้ำตาลในเลือดภายหลังการออกกำลังกายเพื่อประเมินความต้องการอาหารว่างของผู้ป่วยว่าจำเป็นต้องทานเพิ่มหรือไม่

ข้อควรระวังในการออกกำลังกายและการป้องกัน

1. การออกกำลังกายหนักเกินไป
- สภาวะเลือดมีฤทธิ์เป็นกรด
- ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
- เลือดออกในเรตินา
(ควรออกกำลังกายระดับเบาถึงปานกลาง)

2. ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำจากการออกกำลังกาย
อาการใจสั่น ตาลาย เหงื่อออก ตัวเย็น อาจถึงขั้นหมดสติได้ในขณะออกกำลังกาย ถ้ารู้สึกผิดปกติ เช่น เวียนศรีษะ หน้ามืด จุกแน่นหน้าอก เจ็บหน้าอก รู้สึกเหนื่อยผิดปกติ ให้หยุดพักทันที ตรวจหาน้ำตาลและของหวาน ๆ กิน

การป้องกันภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
- ปฏิบัติตัวให้สม่ำเสมอ
- หมั่นตรวจน้ำตาลในเลือดเพื่อนำมาปรับเปลี่ยน
- เพิ่มอาหารว่างก่อนออกกำลังกาย
- ฉีดอินสุลินที่หน้าท้องแทนที่แขน
- หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายขณะที่อินสุลินออกฤทธิ์สูงสุด
- ควรดื่มน้ำให้เพียงพอ
- เพิ่มอาหารว่างถ้าออกกำลังกายนาน
- เฝ้าระวังอาการและอาการแสดงของภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
- ขณะออกกำลังกายควรมีผู้อื่นอยู่ด้วย

3. ปัญหาเกี่ยวกับเท้า
มีการเสื่อมของหลอดเลือดและเส้นประสาท ทำให้เท้าชา ไม่รู้สึก เป็นแผลง่าย ติดเชื้อง่าย หายช้า

ควร
- สวมรองเท้าที่เหมาะสม (พอดี, ไม่หลวม, พื้นนุ่มถ่ายเทดี, สวมถุงเท้า) ในรายที่ฝ่าเท้าผิดรูปมาก ควรใส่รองเท้าที่ตัดขึ้นโดยเฉพาะ
- ทำความสะอาดเท้าอย่างทั่วถึง
- ทาครีมทาผิวบาง ๆ ถ้าผิวหนังแห้งเกินไป
- ตรวจเท้าอย่างละเอียดทุกวัน
- ซับเท้าให้แห้งด้วยผ้านุ่มโดยเฉพาะบริเวณซอกนิ้วเท้า
- ตัดเล็บให้ตรงโดยให้มุมเล็บยังคงยาวคลุมนิ้วเพื่อป้องกันเล็บขบ
- ไม่ควรประคบเท้าที่ชาด้วยของร้อน
- ไม่ควรแคะวัตถุแข็งแคะซอกเล็บ
- ควรตัดเล็บหลังล้างเท้าหรืออาบน้ำใหม่ ๆ เพราะเล็บจะอ่อนและตัดง่าย ไม่แช่เท้าก่อนตัดเล็บ
- ถ้าสายตามองเห็นไม่ชัด ควรให้ผู้อื่นตัดเล็บให้
- ถ้ามีผิวหลังที่หนาหรือเป็นตาปลา ควรได้รับการตัดให้บางทุก 6-8 สัปดาห์ โดยผู้ชำนาญ
- หมั่นบริหารเท้าเป็นกิจวัตรประจำวัน

4. การบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ, เอ็น และกระดูก
ควรเลือกการออกกำลังกายที่เหมาะสมเริ่มจากระดับเบา ๆ ก่อน แล้วจึงค่อย ๆ เพิ่มระดับความหนักขึ้นช้า ๆ มีการอุ่นเครื่องและการผ่อนหยุดเสมอ หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายหนักเกินไปหรือมากเกินไป

5. โรคเบาหวานที่มีภาวะแทรกซ้อน
ควรปรึกษาแพทย์ก่อนเสมอเพื่อให้ได้โปรแกรมการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับตน





ขอขอบคุณข้อมูลจาก //www.thairunning.com








 

Create Date : 28 มีนาคม 2552
0 comments
Last Update : 28 มีนาคม 2552 12:32:12 น.
Counter : 1135 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


kobnon
Location :
นนทบุรี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 92 คน [?]




.
สาระน่ารู้ประจำวัน
1.โรคข้อสันหลังอักเสบติดยึด
2. บุหรี่ ทำนมยาน หูตึง
3. Upside down pineapple cake


music
Group Blog
 
<<
มีนาคม 2552
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
28 มีนาคม 2552
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add kobnon's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.