สวัสดีค่ะ ภาระหน้าที่ทำให้ต้องเดินทางไกลมาถึงบัวโนสไอเรส แต่ยังคิดถึงเพื่อนบล็อกทุกคนนะค่ะ
เรื่องควรรู้ก่อนไปดำน้ำ

มนุษย์เป็นสัตว์บกที่อยู่บนบกมานานแสนนาน ร่างกายจึงวิวัฒนาการ
จนเหมาะที่จะอยู่บนบกมากกว่าในน้ำ แต่บางครั้งที่เกิดความรู้สึกอยากเปลี่ยนไปดูโลกใต้น้ำ ชมปะการัง ดูหอยดูปลา แต่ครั้นจะกระโดด
พรวดลงน้ำไปดื้อๆ ก็คงอยู่ในน้ำได้ไม่นาน ก็ต้องรีบโผล่หน้าขึ้นมา
หายใจ เพราะคนเราไม่สามารถกลั้นหายใจได้นานๆ และเราก็ไม่
สามารถหายใจในน้ำได้อย่างปลาด้วย แต่ความที่อยากอยู่ในน้ำ
ให้ได้นานๆ นี่เอง ทำให้มนุษย์ พยายามค้นคิดอุปกรณ์ขึ้นมา เพื่อ
ให้สามารถหายใจได้ ขณะที่อยู่ในน้ำ ซึ่งเจ้าอุปกรณ์ที่ว่านี้เขาเรียกว่า
เครื่องดำน้ำ


แม้จะมีอุปกรณ์ช่วยหายใจที่ทำให้คนเราแหวกว่าย อยู่ในน้ำได้นาน
แล้วก็ตาม แต่มนุษย์ก็ไม่ใช่กุ้ง หอย ปู ปลา ดังนั้นปัญหาทางด้าน
สุขภาพจึงเกิดขึ้นบ่อยๆ เนื่องมาจากการปรับตัวไม่ทัน จากการดำน้ำ
ที่ลึกไปกว่า ๖๐ ฟุต หรือแม้แต่การดำน้ำตื้นๆ ก็ประมาทไม่ได้


สิ่งที่ต้องรู้ก่อนไปดำน้ำ


ที่ระดับน้ำทะเลแรงกดของอากาศต่อตัวเรามีประมาณ ๑๔.๗ ปอนด์
ต่อ ๑ตารางนิ้ว ซึ่งแรงกด ขนาดนี้ถูกกำหนดไว้ว่าเป็นแรงกด ๑
บรรยากาศ เมื่อเราขึ้นไปอยู่ในที่สูง แรงกดจะค่อยๆ ลดลงตรงกันข้าม
ถ้าเราลงไปในน้ำ แรงกดจากน้ำจะเติม เข้ามาด้วย เพราะน้ำมีความ
หนาแน่นมากกว่าอากาศมากมาย ฉะนั้น เพียงดำน้ำลงไปแค่ ๓๓ ฟุต
ในน้ำทะเล หรือ ๓๔ ฟุต ในน้ำจืด แรงกดจะกลายเป็น ๒ เท่า ซึ่งจะ
เป็นสูตรตายตัวเลยว่า ทุกๆ ๓๓ ฟุตที่เราดำน้ำลึกลงไปแรงกดจะ
เพิ่มขึ้น ๑ บรรยากาศอาจจะเข้าใจยากสำหรับคนทั่วไป แต่สำหรับ
ผู้ที่อยากจะเป็นนัก ดำน้ำ ตัวเลขเหล่านี้เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องจดจำ


อันตรายที่อาจเกิดจากการดำน้ำ

๑. โรคแรงกดดันลด ยิ่งอยู่ในน้ำนาน หรือยิ่งดำน้ำลงลึกเท่าไหร่ ก๊าซไนโตรเจน ในอากาศที่เราหายใจก็จะละลายอยู่ในเลือด และเนื้อของเรามากขึ้นเท่านั้น พอขึ้นสู่ ผิวน้ำ แรงกดดันก็จะลดลงเรื่อยๆ ดังนั้นก๊าซไนโตรเจนก็จะละลายได้น้อยลง ส่วนที่ ละลายไปแล้ว มันก็จะแยกตัวกลับสภาพ มาเป็นก๊าซดังเดิม

ตัวอย่างที่เห็นชัดคือตอนเปิดขวดโซดาหรือน้ำอัดลมนั่นแหละพอเราเปิดฝาขวดปุ๊บแรงกดดันจากในขวดก็จะลดลงฮวบฮาบทันที แล้วก๊าซที่ละลายอยู่ภายใต้แรงอัดก็กลายสภาพมาเป็นก๊าซดังเดิม ซึ่งก็คือฟองอากาศที่เกิดขึ้นเต็มไปทั้งขวดนั่นเอง แต่ร่างกายคนไม่ใช่ขวดน้ำอัดลม ถ้าหากเกิดฟองแบบนั้นขึ้นในร่างกายเราคงแย่ เพราะฟองไนโตรเจนอาจไปขัดขวางการไหลเวียนของเลือด หรือไปกดเนื้อเยื่อโดยรอบ ทำให้เลือดไปเลี้ยงอวัยวะส่วนอื่นไม่เพียงพอ จึงเกิดอาการเจ็บปวดขึ้น

อาการของโรคแรงกดดันลดแสดงออกได้หลายลักษณะ เช่น

อาการปวดเฉยๆ ซึ่งพบได้บ่อยมากโดยนักดำน้ำจะปวดบริเวณแขน ขา หัวไหล่ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อศอก

อาการทางผิวหนัง เช่น คัน ออกผื่น หรือผิวลาย โดยเริ่มแรกมักจะ คันอย่างรุนแรง หรือรู้สึกร้อนผิวหนังบริเวณลำตัวและหัวไหล่ จากนั้นผิวหนังก็จะเปลี่ยนเป็นเขียวคล้ำและเป็นลาย

อาการทางปอด ผู้ป่วยอาจเจ็บหน้าอก ไอ หายใจลำบาก ซึ่งอาการ เจ็บหน้าอกและไอจะกำเริบมากขึ้นหากสูบบุหรี่ หรือหายใจเข้าลึกๆ อาการดังกล่าวที่ว่านี้หากทิ้งไว้ไม่รักษา ผู้ป่วยอาจช็อกหรือเสียชีวิตได้

อาการทางระบบประสาท (สมอง) และไขสันหลัง อาจทำให้เกิดอัมพาตได้ ซึ่งจะมีอาการอย่างอื่นร่วมด้วย เช่น ปัสสาวะไม่ออก กลั้นอุจจาระไม่ได้ และขาอ่อนแอ ส่วนอาการทางสมองที่พบได้บ่อยคืออาการปวดหัว บางรายอาจมีอาการตามัว อัมพาตครึ่งซีก

๒. อาการบาดเจ็บจากปอดขยายตัว โดยที่ก๊าซในปอดจะขยายตัวเมื่อแรงกดดันลดลง ขณะขึ้นสู่ผิวน้ำ จากความลึก ๓๓ ฟุต ซึ่งมีผลให้ ก๊าซในปอดเพิ่มปริมาณขึ้นถึงเท่าตัว ด้วยเหตุนี้เองนักดำน้ำจึงได้รับการ อบรมไม่ให้กลั้นหายใจขณะขึ้นสู่ผิวน้ำ แต่ให้หายใจตามปกติเพื่อเป็น การระบายอากาศที่เพิ่มขึ้นออกไปจากปอด

อาการที่น่าสังเกตว่ามีการบาดเจ็บที่ปอดเกิดขึ้นแล้ว คือ

มีลมแทรกอยู่ในทรวงอกหรือใต้ผิวหนังบริเวณรอบๆ คอ ซึ่งหากคลำผิวหนังบริเวณนั้นจะรู้สึกเหมือนมีลมอยู่ข้างใน ทำให้ผู้ป่วยรู้สึก อึดอัดบริเวณคอ กลืนลำบาก คอบวม และเสียงเปลี่ยนไป หรือลมที่รั่วมาจากถุงลมปอดแตก อาจไปกดหัวใจ ทำให้เจ็บหน้าอก หายใจ ลำบากหรือเป็นลมได้

ปอดแฟบ ซึ่งเกิดจากลมรั่วออกมาอยู่ในช่องเยื่อหุ้มปอด แล้วไปกด ปอดจนแฟบ ทำให้เกิดอาการหายใจไม่ออก เจ็บหน้าอก หายใจเร็ว และตื้น ผิวหนังเขียวคล้ำ และเล็บเขียว

ฟองอากาศไปขวางการไหลเวียนของเลือดในสมอง ทำให้เกิดอาการแบบอัมพาต หัวใจเต้นผิดจังหวะ หยุดเต้น หรืออาจหยุดหายใจ และ อาจมีฟองเลือดออกทางปากและจมูก

๓. อาการบาดเจ็บที่หูส่วนกลาง ในขณะที่ดำน้ำลึกลงไปเรื่อยๆแรงกดในรูหูจะเพิ่มขึ้นจนไปดันที่แก้วหู ถ้าร่างกายปรับตัวเองไม่ทัน แก้วหูก็จะถูกดันจนแตกได้ หรืออาจมีเลือดออกในหูส่วนกลางด้วย สังเกตได้จากอาการปวดหู หูอื้อ คลื่นไส้ และรู้สึกวิงเวียน

อย่างน้อยการได้รับรู้ในเรื่องอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการดำน้ำ ก็เป็นสิ่งที่ทำให้ผู้ฝึกต้องระมัดระวัง และเตรียมพร้อมเสมอในการทำกิจกรรมที่ต้องเสี่ยงมากกว่าภาวะปกติ



ขอบคุณข้อมูลจากหมอชาวบ้าน




Create Date : 13 มิถุนายน 2552
Last Update : 13 มิถุนายน 2552 16:09:06 น. 0 comments
Counter : 621 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

kobnon
Location :
นนทบุรี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 92 คน [?]




.
สาระน่ารู้ประจำวัน
1.โรคข้อสันหลังอักเสบติดยึด
2. บุหรี่ ทำนมยาน หูตึง
3. Upside down pineapple cake


music
Group Blog
 
<<
มิถุนายน 2552
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
 
13 มิถุนายน 2552
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add kobnon's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.