Group Blog
All Blog
|
พูดภาษาอังกฤษสำเนียงไทย ทำยังไงถึงจะปรับสำเนียงให้เป็นฝรั่ง? (1/2) สำเนียงส่อภาษา กิริยาส่อสกุล คิดว่าคุณคงเคยได้ยินสุภาษิตดังกล่าวกันมาบ้าง เด็กสมัยนี้อาจจะไม่ค่อยได้ยินแล้ว ผมเคยได้ยินก็ตอนเด็กๆ เท่านั้นเอง เด็กสมัยนี้คงเคยได้ยินแต่ รักนะเด็กโง่! ได้ยินครั้งแรกก็งงว่าตกลงมันจะชมหรือด่ากันแน่? จะรักก็รักสิทำไมต้องด่ากันว่าโง่ด้วย? (แถมคิดในใจว่า แกฉลาดนักหรือไง? ถึงกล้าดีมาว่าฉันโง่เนี่ย) รู้สึกจะไปกันใหญ่ จริงๆ คนพูดคงพูดด้วยความเอ็นดู เหมือนคนแก่กว่าพูดให้กับเด็กอะไรทำนองนี้ คงไม่ได้หมายความตามที่พูดจริงๆ ใช่มั๊ย? (คิดเข้าข้างตัวเอง) โดยความคิดเห็นส่วนตัวแล้ว ผมก็ไม่ได้มีอคติอะไรกับภาษาวัยรุ่นสมัยนี้ มันคงไม่ได้ทำให้ภาษาไทยเราแย่ลงหรอกครับ เพราะอายุของมันสั้น แป๊บเดียวก็มีคำใหม่ๆ มาแทนที่ สู้สุภาษิตสมัยก่อนไม่ได้ซึ่งมันเป็นจริงตลอดกาลและสอนคนได้อีกด้วย (คุณต้องคิดในใจว่า ผมต้องเป็นพวก conservative หัวโบราณอยู่แน่ๆ) สำเนียงย่อมส่อภาษาดังสุภาษิตกล่าวไว้ คือเวลาฟังชาวต่างชาติพูด สำเนียงของเค้าจะทำให้คุณทราบว่าเป็นภาษาใด ถ้าคุณมีประสบการณ์ของภาษานั้น คือเคยได้ยินเจ้าของภาษาเค้าพูดกันนั่นเอง เราลองวิเคราะห์ดูภาษาไทยบ้างสิครับ ภาษาไทยเองก็มีหลายสำเนียง ไม่ว่าจะเป็นสำเนียงคนสุพรรณฯ, คนภาคใต้, คนภาคเหนือ, คนภาคอีสาน หรือจะเป็นคนภาคกลางที่พวกเราใช้กันอยู่ (อย่างเป็นทางการ) การพูดสำเนียงของคนภาคกลางไม่ยากใช่มั๊ยครับเพราะแค่พูดให้ตรงตามวรรณยุกต์ที่มันกำกับอยู่นั่นเอง ด้วยความชาญฉลาดของคนยุคก่อนที่คิดค้นภาษาไทยขึ้นมาให้มีวรรณยุกต์ทำให้คน 10 คนมาอ่านประโยคเดียวกันก็จะได้สำเนียงออกมาเหมือนๆ กันถ้าอ่านถูกต้องตามวรรณยุกต์ที่กำกับไว้ นี่แหละครับที่เป็นความน่าทึ่งของภาษาไทยที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้ พอมองกลับมาที่ภาษาอังกฤษ ในภาษาอังกฤษจะไม่มีวรรณยุกต์กำกับเหมือนกับภาษาไทย นั่นคือคุณอยากใส่วรรณยุกต์อะไรลงไป เชิญตามสบายเลยครับ เช่นคำว่า I ที่แปลว่า ฉัน คุณอยากจะพูด ไอ ไอ่ ไอ้ ไอ๊ ไอ๋ ผันวรรณยุกต์ไปกี่ทีก็ยังเป็น I ที่แปลว่า ฉัน อยู่ดี แต่พอมาพูดภาษาไทย คำว่า เสือ, เสื่อ, เสื้อ วรรณยุกต์ต่างกัน ความหมายก็ต่างกันไปตามวรรณยุกต์ที่กำกับ นี่หล่ะคือความยากสุดๆ ของภาษาไทยในสายตาชาวต่างชาติเพราะฝรั่งเค้าจะผันวรรณยุกต์ไม่เป็น อย่างเช่น กา ก่า ก้า ก๊า ก๋า เค้าทำไม่ได้นะครับ (ไม่เชื่อคุณลองแกล้งให้เค้าลองพูดดูสิ) นอกจากนั้นแล้ว เค้ายังไม่สามารถแยกแยะถึงความแตกต่างของเสียงวรรณยุกต์ในภาษาไทยได้ถ้าไม่ได้รับการฝึกฝนมาก่อน โดยส่วนตัวผมจะนับถือพวกฝรั่งที่สามารถพูดภาษาไทยได้ชัดถ้อยชัดคำ เช่น คุณแอนดรูว์ บิ๊กส์, คุณโจนัส, คุณคริสตี้ โดยเฉพาะ 2 รายหลังเนี่ย นอกจากพูดภาษาไทยได้จนวัยรุ่นสมัยนี้ต้องอายแล้ว ยังร้องเพลงลูกทุ่งและหมอลำได้ชนิดที่ผมเห็นครั้งแรกถึงกับตะลึงอ้าปากค้างเลยทีเดียว ขนาดคนไทยเองให้ทำอย่างนั้นยังยากเลย น่านับถือจริงๆ แต่ผมเชื่อมั่นว่าบุคคลที่น่านับถือเหล่านี้ต้องผ่านการฝึกฝนมาอย่างแสนสาหัสกว่าจะทำให้เค้าพูดได้ชัดถ้อยชัดคำขนาดนี้ คุณเห็นหรือยังครับว่าคนเราขอให้พยายามทำอะไรสักอย่าง มนุษย์เราน่าจะทำได้ทั้งนั้น ลองมองย้อนกลับมาหาคนไทยดูบ้าง ผมว่าคนไทยเรียนพูดภาษาอังกฤษนั้นง่ายกว่าฝรั่งที่เรียนพูดไทยตั้งเยอะ มิน่าหล่ะ คุณแอนดรูว์ บิ๊กส์ ถึงได้มีวลีติดปากว่า ภาษาอังกฤษง่ายนิดเดียว แต่ก็ยังมีคนไทยอุตริไปต่อท้ายอีกว่า ภาษาอังกฤษง่ายนิดเดียวแต่ยากเยอะหล่ะสิ คนไทยส่วนใหญ่คิดว่ายากเพราะว่าเรียนมานานแล้วก็ยังพูดไม่ได้สักทีนั่นเอง อย่างไรก็ตาม ผมก็เห็นด้วยกับคุณแอนดรูว์ บิ๊กส์ ที่ว่าภาษาอังกฤษง่ายนิดเดียว จริงๆ มันอาจจะไม่ง่ายนิดเดียวหรอกแต่ผมอยากให้คนไทยทุกคนคิดว่ามันง่ายไว้ก่อนเพราะมันจะได้มีกำลังใจในการฝึกฝนไงครับ ถ้าคุณคิดว่ามันยากตั้งแต่ยังไม่เริ่มต้นฝึกฝน ความรู้สึกนี้มันจะทำให้คุณไม่อยากฝึกฝนและล้มเหลวในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษในที่สุดนั่นเอง ยังไงก็ทำใจว่ามันง่ายไว้ก่อนแล้วกัน (แม้จะเป็นการหลอกตัวเองก็ตาม) ที่จริงแล้วสำหรับคนที่พูดภาษาอื่นที่ไม่ใช่ภาษาไทยและภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ ถ้าให้มาเรียนทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ผมคิดว่าเค้าจะต้องคิดว่าภาษาอังกฤษง่ายกว่าภาษาไทยอยู่ดี ดังนั้นคุณคิดดูแล้วกันว่าภาษาไทยที่ยากกว่าภาษาอังกฤษ คุณยังพูดได้เลยแล้วภาษาอังกฤษมันจะไปยากอะไร! กลับมาที่เรื่องสำเนียงกันดีกว่า สำเนียงเกิดจาการเลียนแบบ ทำไมคนไทยภาคเหนือถึงพูดภาษาไทยสำเนียงของคนเหนือได้? คุณอาจจะนึกว่าก็เพราะเค้าเป็นคนเหนือเค้าก็ต้องพูดได้สิ คิดอย่างนี้เหมือนสำเนียงจะถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ แต่ทำไมมีคนเหนือที่มาโตที่กรุงเทพฯ และไม่สามารถพูดสำเนียงคนเหนือได้หล่ะ? เพราะเค้าไม่มีต้นแบบนั่นเอง มีแต่ต้นแบบภาษาไทยของคนภาคกลางจึงทำให้พูดภาษาไทยได้แบบคนกรุงเทพฯ ไง เห็นหรือยังครับว่าสำเนียงของภาษาเกิดจากการเลียนแบบ (ไม่ใช่กรรมพันธุ์) ย้อนกลับมาที่ภาษาอังกฤษ ตัวภาษาอังกฤษเองก็มีหลายสำเนียงเช่นกัน ที่เห็นอย่างชัดเจนและแพร่หลายมากที่สุด ก็มี 2 สำเนียงหลักๆ คือสำเนียงแบบคนอเมริกัน และสำเนียงแบบคนอังกฤษ (ภาษาอังกฤษสำเนียงไทยแพร่หลายมากที่สุดเฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น เลยไม่ติดอันดับสำเนียงที่แพร่หลายมากที่สุดในโลก!) ต้องขอบอกก่อนว่าไม่มีถูกหรือผิดนะครับ ไม่ว่าคุณจะพูดด้วยสำเนียงใดๆ ก็ตาม แต่ละชาติก็มักจะพูดภาษาอังกฤษด้วยสำเนียงที่คล้ายกับภาษาหลักของชาตินั้นๆ เพราะเราพูดภาษาแม่มาตั้งแต่เกิด ดังนั้นจึงไม่แปลกที่การพูดภาษาอังกฤษของเราจะมีสำเนียงของภาษาแม่เจือปนอยู่ อย่างไรก็ตาม ผมก็ยังอยากจะเสนอให้พูดภาษาอังกฤษด้วยสำเนียงใกล้เคียงกับเจ้าของภาษามากที่สุดอยู่ดี เพื่อการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น คือเราพูดไปเค้าจะเข้าใจได้เลยโดยที่ไม่ต้องมานั่งปวดหัวกับสำเนียงแปลกๆ แล้วพาลทำให้ฟังไม่รู้เรื่อง ส่วนประโยชน์ทางอ้อมที่สำคัญมากเมื่อคุณสามารถปรับสำเนียงเป็นฝรั่งได้คือ คุณจะฟังภาษาอังกฤษได้เข้าใจมากขึ้นเพราะคุ้นเคยกับสำเนียงเจ้าของภาษานั่นเอง จากประสบการณ์ของผมเองมันเป็นอย่างนี้จริงๆ ครับ เมื่อก่อนผมฟังภาษาอังกฤษแทบจะไม่ออกเลย เชื่อมั๊ยครับตอนเรียนอยู่ปริญญาตรี ผมลงวิชา Listening เพื่อฝึกทักษะการฟังภาษาอังกฤษให้ออก เค้าก็จะให้เราเข้าห้อง Sound Lab เพื่อไปทำข้อสอบ TOEFL ในส่วนของการฟัง ต้องทำอย่างนี้ทุกสัปดาห์ ปรากฏว่าคะแนนที่ออกมาเกือบตก (50% กว่าๆ) ทุกครั้งไป ในขณะที่เพื่อนร่วมชั้นบางคนได้คะแนนเกือบเต็มทุกครั้งเลย ทำให้ผมคิดว่ามันมีหูทิพย์หรือไง? ทำไมมันฟังออก แต่ฉันฟังเท่าไหร่ก็ไม่ออก แต่พอผมฝึกฝนจนกระทั่งปรับสำเนียงตัวเองให้ดีขึ้นได้ คราวนี้การฟังภาษาอังกฤษของผมก็พัฒนาขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเจน จากเดิมที่ฟังไม่ออกก็ฟังออกเองเกือบหมด ที่กล่าวมาผมต้องการให้เห็นความสำคัญของการปรับสำเนียงของตนเอง คือเมื่อไหร่ที่สำเนียงคุณเหมือนฝรั่ง เมื่อนั้นคุณก็จะฟังภาษาอังกฤษออกเองมากขึ้น ดังนั้นเคล็ดลับของการฟังออกก็คือปรับสำเนียงในการพูดของคุณก่อนนั่นเอง จริงๆ แล้วคนไทยโชคดีนะครับเพราะภาษาไทยเราเอื้อต่อการฝึกภาษาอื่นๆ ผมเคยได้ยินว่า คนไทยเนี่ยแหละลิ้นอ่อนที่สุดในโลกแล้ว (ไม่รู้ว่าใช้อะไรเป็นมาตรฐานการวัดความอ่อน-แข็งของลิ้นนะครับ) แต่ผมเองก็เชื่อว่าคนไทยลิ้นอ่อนเหมาะแก่การพูดภาษาอื่นๆ อยู่ไม่น้อย เพราะภาษาไทยมีวรรณยุกต์ให้เล่นเสียงต่างๆ มากมาย, สระก็มีให้เลือกทั้งเสียงสั้น เสียงยาว อย่างเช่น อะ, อา, อิ, อี, อึ, อือ ฯลฯ หรือแม้กระทั่ง ร.เรือ ที่เราต้องกระดกลิ้น เรายังทำได้เลย คุณลองดูคนญี่ปุ่นส่วนใหญ่ที่พูดภาษาอังกฤษสำเนียงญี่ปุ่นสิครับ ฟังดูสระมันจะกุดไปหมดซึ่งยากแก่การเข้าใจมาก เพราะภาษาอังกฤษต้องมีทั้งเสียงสั้นและเสียงยาวสลับกันไป ไม่ใช่เสียงสั้นหมดหรือเสียงยาวหมด ดังนั้นถ้าผมเจอคนญี่ปุ่นที่พูดภาษาอังกฤษได้เหมือนเจ้าของภาษาจะรู้สึกทึ่งมากเลยที่เค้าสามารถละทิ้งความเคยชินกับการออกเสียงของภาษาญี่ปุ่นออกไปได้ ซึ่งมันน่าจะฝึกยากมาก...โปรดติดตามต่อ ตอน 2 ครับ อ่านแล้วมีความรู้มากเลยค่ะ จะทำตามนะค่ะ
โดย: ann IP: 69.122.146.54 วันที่: 15 ธันวาคม 2550 เวลา:7:37:15 น.
ไปเรียนภาษาอื่นแล้วจะรู้สึกรักภาษาไทยมากกว่าเดิมนะคะและจะภูมิใจในภาษาไทยค่ะ เนี่ยแหละพื้นฐานที่ดีเพื่อเรียนภาษาอื่นของพวกเรา
โดย: ธัญญากะมาม่า IP: 217.121.50.147 วันที่: 15 ธันวาคม 2550 เวลา:9:47:17 น.
ช่วยมาที่นี้หน่อยนะครับ
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=blt-horror&date=16-12-2007&group=60&gblog=17 เพราะผมรู้สึกว่า... ความคิดผมแย้งกับคุณ (เล็กน้อย - ปานกลาง) ![]() โดย: ท่าน Inw_BlT (BlT_HorroR
![]() ยินดีรับคำเชิญครับ
ผม post ความเห็นไว้แล้วที่ https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=blt-horror&date=16-12-2007&group=60&gblog=16 ขอบคุณที่ comment นะครับ โดย: KruFiat (KruFiat
![]() บอกตรงๆว่าไม่มีปัญหาเรื่องนี้เลย
จะว่าดัดจริตก้อว่าได้ เพราะความคุ้นเคยและกล้ามากกว่า พูดเรื่อยๆก้อเคยชิน ที่สำคัญการเน้นเสียงสูงต่ำช่วยได้มาก ว่าเป็นคำถามหรือบอกเล่า บังเอิญโชคดีมี..นาย..เป็นเนทีฟ..(อังกฤษ)สำเนียงเลยระรื่นหู...555+ โดย: .... IP: 58.10.128.100 วันที่: 19 ธันวาคม 2550 เวลา:20:33:55 น.
ภาษาอาหรับไง ที่มีการกระดกลิ้นแบบ ร.เรือ ออ...ภาษาฮิบรูอีกภาษา ภาษาเตอร์กิช ภาษาเคิร์ดด้วย ภาษาตระกูลเดียวกะภาษาอาหรับจะมีการออกเสียงแบบ ร.เรือ แต่แตกต่างกันนิดเดียว เช่น คำว่า การ ภาษาไทยจะอ่านว่า กาน แต่ถ้าเป็นภาษาอาหรับจะอ่านว่า การ...รรรรรร กระดกลิ้นตรงท้ายคำอ่ะ ยากนะตรงนี้ เวลาให้คนอาหรับ หรือคนตุรกีพูด สวัสดีครับ เค้าก้อจะออกเสียงคำว่า ครับ ชัดแจ๋ว ผิดกับเด็กไทยสมัยนี้ ที่พูดว่า หวัดดีคับ
โดย: bebek
![]() ครูเฟียต คะ
เวลาฝึกเลียนเสียงรู้สึกมันไม่ค่อยเหมือนเจ้าของภาษาสักเท่าไร กังวลนะเนี่ยว่าจะเปลี่ยนสำเร็จอ่ะปล่าว กลุ้ม โดย: นุช IP: 125.25.154.243 วันที่: 19 มกราคม 2551 เวลา:18:54:06 น.
ลืมบอกไปค่ะ ฝึกได้วันเดียวเอง ค่ะ
![]() โดย: อยู่ข้างบน IP: 125.25.154.243 วันที่: 19 มกราคม 2551 เวลา:21:04:19 น.
เขียนได้ดี เนื้อหาน่าสนใจมากค่ะ
แต่อ่านยากไปนิดนึง เพราะตัวหนังสือติดกัน มีย่อหน้าน้อย ทำให้ลายตา สีเขียวสวยค่ะ แต่ทำให้ปวดตา อยากอ่านให้จบค่ะ แต่ปวดตาซะก่อน ที่ญี่ปุ่นเค้าจะเน้นมากเกี่ยวกัน สุขภาพของผู้อ่าน อ่านง่ายมั้ย สบายตาหรือเปล่าประมาณนี้น่ะค่ะ เลยติดมาบอก โดย: นก IP: 118.155.141.14 วันที่: 3 สิงหาคม 2553 เวลา:22:12:09 น.
|
KruFiat
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ครูเฟียต ธีรเจต บุญพยุง "หากคุณพูดภาษาไทยได้ คุณก็ควรจะพูดภาษาอังกฤษได้ด้วยเช่นกัน เพราะเป็นการเรียนรู้ภาษาด้วยวิธีธรรมชาติเหมือนกัน" Friends Blog Link |