Group Blog
All Blog
|
บทความน่าสนใจเรื่อง "มุมมองของคุณเป็นอย่างไรในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ?" วันก่อน ผมได้อ่านหนังสือภาษาอังกฤษเล่มหนึ่งชื่อ Strategies for Success: A Practical Guide to Learning English แต่งโดย H.Douglas Brown เห็นว่ามีบางบทเขียนถึงการเรียนรู้ภาษาอังกฤษได้อย่างน่าสนใจเลยนำมาเล่าให้อ่านกันดังต่อไปนี้ครับ (ขออนุญาตแปลแบบของผมเองให้ได้อรรถรสเพิ่มขึ้นนะครับ) เมื่อตอนคุณอายุ 5 ขวบ คุณใช้ภาษาไทยตลอดเวลา ลองนึกดูนะครับ (อาจนึกไม่ออกเพราะย้อนไปนาน?!?) ว่าตอนนั้นเคยคิดถึงหลักภาษาไทยหรือไม่ คุณวิตกกังวลเกี่ยวกับการออกเสียงคำต่างๆ, อักษรสูง กลาง ต่ำ หรือการผันวรรณยุกต์อย่างถูกต้องหรือไม่ แน่นอนคำตอบคือ ไม่ ถ้าใครเรียนรู้ภาษาอังกฤษตั้งแต่เด็กๆ เช่นเดียวกับภาษาไทยคือไม่คิดถึงกฎต่างๆ ทางหลักภาษาหรือไวยากรณ์ (grammar) ถือว่าคุณโชคดีครับที่เรียนมาด้วยวิธีธรรมชาติ (ผมคิดว่าคนไทยน้อยคนที่ได้เรียนเช่นนี้) ซึ่งป่านนี้คุณคงพูดภาษาอังกฤษได้ไฟแลบแล้วหล่ะครับ ลองกลับมาดูตอนคุณเป็นผู้ใหญ่ดูบ้าง คุณวิเคราะห์ภาษาอังกฤษบ่อยครั้ง บางทีคุณก็ท่องศัพท์มากมาย, เรียนรู้กฎไวยากรณ์อีกพันแปด, เปิดดิคฯ หาคำศัพท์กันจนดิคฯ เปื่อย, หรือแปลจากอังกฤษเป็นไทยจนเหนื่อยใจ ถ้าเป็นเช่นนี้คุณคงรู้เกี่ยวกับกฎไวยากรณ์ต่างๆ (ถ้ายังจำได้) มากกว่ารู้ว่าจะพูดหรืออ่านอย่างไรให้คล่องและคุณจะคิดมากเกินไปเกี่ยวกับรายละเอียดของหลักภาษาหรือการออกเสียง ซึ่งบางทีคุณควรทำตัวกลับเป็นเด็กอีกครั้งเวลาที่คุณจะใช้ภาษาอังกฤษ การเรียนรู้ของคุณนึกถึงอะไร การเรียนรู้ด้านภาษาก็เปรียบเสมือนการใช้กล้องถ่ายรูปที่ปรับเลนส์ได้ นั่นคือคุณสามารถปรับเลนส์ให้ซูมเข้าเพื่อที่จะมองลึกลงไปในรายละเอียดของภาษาอังกฤษ เช่น แต่ละคำมีความหมายว่าอะไร, กฎไวยากรณ์หรือข้อยกเว้นต่างๆ ถูกนำมาใช้อย่างไร และคุณก็สามารถใช้เลนส์แบบมุมกว้างหรือซูมออกเพื่อให้รู้ความหมายโดยรวมของบางสิ่งบางอย่าง เช่น รู้ว่าผู้พูดหรือผู้เขียนต้องการจะสื่ออะไรให้เรารู้ เป็นต้น ![]() โดยส่วนใหญ่แล้ว ผู้ใหญ่มักจะใช้การซูมเข้าเพื่อเจาะลึกถึงรายละเอียดมากเกินไปเวลาที่เรียนภาษา แต่เด็กๆ มักจะมองภาพมุมกว้างเพื่อเห็นภาพรวมตอนที่พวกเค้าเรียนภาษาด้วยวิธีธรรมชาติ อย่างไรก็ตาม ในฐานะที่เป็นผู้ใหญ่ซึ่งได้เปรียบเด็กตรงที่คุณจะสามารถบังคับตัวเองให้ใช้การซูมออกให้เห็นภาพรวมตลอดเวลา มีเพียงบางครั้งบางคราวถึงจะซูมเข้าไปที่คำบางคำหรือหลักไวยากรณ์บางอย่างที่คุณสนใจ ว่าแต่คำถามคือ คุณควรจะหยุดศึกษาถึงหลักไวยากรณ์, การออกเสียง และคำศัพท์ต่างๆ หรือไม่? คำตอบคือ ไม่ การเจาะลึกดูรายละเอียดของภาษาอังกฤษก็ยังสำคัญและมีประโยชน์อยู่ครับ มันจะช่วยให้คุณมองเห็นสิ่งที่คุณไม่อาจเห็นได้เวลาดูจากมุมกว้าง (ซูมออก) นั่นเอง ถ้าคุณยังเรียนรู้ภาษาอังกฤษอยู่ มันจะเป็นประโยชน์อย่างมากถ้าคุณมีความสามารถในการซูมเข้าทันทีที่เห็นคำศัพท์ยากหรือหลักไวยากรณ์บางอย่าง หลังจากนั้นก็ซูมออกกลับสู่สภาวะปกติ นี่หล่ะครับที่ทำให้ผู้ใหญ่ได้เปรียบเด็ก เด็กๆ เค้าจะมีแต่การมองด้วยมุมกว้าง ไม่ได้เจาะลึก ซึ่งเป็นการเรียนจากจิตใต้สำนึก แต่ผู้ใหญ่สามารถทำได้ทั้งสองแบบคือใช้ได้ทั้งจิตสำนึก (ซูมเข้า) และจิตใต้สำนึก (ซูมออก) จากการวิจัยการเรียนรู้ทั้งสองแบบนั้นสำคัญต่อความสำเร็จ คุณจะต้องทำตัวเป็นเด็กในบางครั้งเพื่อผ่อนคลายกับภาษาและไม่วิตกกังวลมากเกินไปในรายละเอียด และบางทีคุณก็อาจต้องการวิเคราะห์ตัวภาษาด้วยการซูมเข้าไปยังรายละเอียดเพื่อพัฒนาภาษาอังกฤษของคุณ เราลองมาดูตัวอย่างของการมองจากมุมที่แตกต่าง เวลาคุณเห็นภาพด้านล่างครั้งแรก คุณเห็นอะไร? ลองใช้เวลาสักครู่ดูให้ดีสิครับก่อนที่จะอ่านต่อไปนะครับ ![]() คุณเห็นรูปทรงเรขาคณิตแปลกๆ วางต่อกัน หรือ คุณเห็นตัวหนังสือ ? เห็นแล้วหรือยังครับ? คุณควรจะมองช่องว่างสีขาวระหว่างรูปทรงสีดำแล้วจะเห็นตัวอักษร 3 ตัว คือ เอฟ, แอล และวาย รวมกันเป็นฟลาย ครั้งแรกคุณอาจจะมองดูที่รูปทรงสีดำก่อนเพราะว่าคุณจะคุ้นเคยกับตัวหนังสือสีดำบนกระดาษขาวมาตั้งแต่เริ่มอ่านบทความนี้ตั้งแต่ต้น นี่คือตัวอย่างว่าคุณอาจจะใช้การซูมผิดแบบก็ได้ถ้าคุณไม่มีการมองแบบมุมกว้าง ถ้าคุณมองภาพดังกล่าวใกล้เกินไป คุณก็จะเห็นแต่รายละเอียดของมัน ในทางกลับกันถ้าเปลี่ยนมุมมองเป็นแบบมุมกว้าง มองภาพรวมคุณก็จะเข้าใจในที่สุด ซึ่งภาษาก็เป็นเช่นนี้เหมือนกันครับ แล้วคุณเชื่อหรือไม่ว่า การใช้มุมมองแบบซูมเข้าหรือซูมออกดังกล่าวนั้นสัมพันธ์กับการใช้สมองซีกซ้ายและขวาของคุณ (รออ่านต่อตอนหน้านะครับ) พี่ได้รับของรางวัลแล้วคะ
ขอบคุณมากๆคะ โดย: พี่ฝน IP: 125.27.201.213 วันที่: 14 มกราคม 2551 เวลา:22:29:19 น.
สวัสดีค่ะครูเฟียต ..คิดถึงครูจังเลย
![]() โดย: ลูกศิษย์ครูเฟียต IP: 58.9.46.142 วันที่: 16 มกราคม 2551 เวลา:19:38:15 น.
ขอบคุณค่ะจะลองดู
![]() โดย: ตาตั้ม IP: 203.131.208.115 วันที่: 5 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:13:53:05 น.
|
KruFiat
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ครูเฟียต ธีรเจต บุญพยุง "หากคุณพูดภาษาไทยได้ คุณก็ควรจะพูดภาษาอังกฤษได้ด้วยเช่นกัน เพราะเป็นการเรียนรู้ภาษาด้วยวิธีธรรมชาติเหมือนกัน" Friends Blog Link |
เยอะไปเดี่ยวว่าโม้....