พฤศจิกายน 2566

 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
 
 
All Blog
วิธีการฝึกทักษะการสร้างสรรค์
วิธีการฝึกทักษะการสร้างสรรค์
q           การสร้างสรรค์หรือ Creativity แปลว่า สร้างหรือทำให้เกิด สมองจะคิดและสร้างสิ่งใหม่ขึ้นมาได้อย่างหลากหลายและแปลกใหม่จนเกิดเป็นนวตกรรม เช่น งานเทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ศิลปะ ดนตรี สิ่งประดิษฐ์ วรรณกรรม สถาปัตยกรรม โดยสิ่งนั้นไม่เคยมีมาก่อน ผู้คิดจะคิดขึ้นมาได้เองโดยตัวของเขาในรูปแบบวิธีดำเนินการหรือผลผลิตที่เกิดขึ้น อาจแตกต่างจากของเดิมบ้างเล็กน้อยเป็นการพัฒนาต่อยอดจากสิ่งที่มีอยู่เดิม หรือคิดขึ้นมาใหม่ทั้งหมด
ปัจจุบันผลงานด้านเทคโนโลยีเจริญรุดหน้าแบบก้าวกระโดดชนิดที่คนรุ่นก่อนคาดไม่ถึง ความรู้พื้นฐานจากวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ พัฒนาจนเกิดเป็นคอมพิวเตอร์ และอีเล็กทรอนิคส์ เกิดการเปลี่ยนแปลงนวตกรรมในรูปของบริษัทข้ามชาติเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ผู้คนทั่วโลกได้ใช้ติดต่อสื่อสารกันและนำความมั่งคั่งมาสู่เจ้าของบริษัทและผู้เกี่ยวข้องอย่างมหาศาล
 
q           การสร้างสรรค์จะต้องทำให้เกิดความคิดใหม่ ๆ ไม่ว่าจะเป็นแนวทางปฏิบัติ การมองปัญหา วิธีการแก้ไข การรู้จักตั้งคำถามในสิ่งที่สงสัยว่าทำไมเราจึงคิดไม่เหมือนคนอื่น และพยายามหาคำตอบว่า สิ่งที่เราคิดนั้นสามารถเป็นจริงได้จริง ๆ  จะช่วยให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ได้ ถ้ามองผลงานคนอื่นแล้วได้แต่ชื่นชมโดยไม่คิดว่าตนน่าจะทำได้ดีกว่าแล้วคงจะยากที่จะเกิดผลงานใหม่ที่ดีกว่าเดิม นักคิดแนวนี้คงต้องเป็นคนช่างติที่รู้ว่าควรจะติส่วนใดและจะทำให้ดีขึ้นได้อย่างไรด้วย
บางคนสร้างสรรค์ผลงานจากการอ่านสิ่งที่คนอื่นเขียน จากการฟังคนอื่นสิ่งที่คนอื่นพูด แล้วคิดว่าตนน่าจะทำได้ดีกว่า เพราะมุมมองต่อปัญหาต่างกัน เพราะประสบการณ์ที่ไม่เหมือนกัน เริ่มเขียนและพูดในรูปแบบของตนจากเค้าความคิดเดิมของผู้อื่น ทำให้เกิดผลงานใหม่ได้ เรื่องง่าย ๆ แค่นี้เป็นจุดเริ่มต้นที่จะสร้างสรรค์ผลงานของตนเอง
 
q           การสร้างสรรค์จะเกิดได้ด้วยการระดมความคิดจากคนหลายคนและพูดคุยกันอย่างเปิดอกถึงแนวทางที่น่าจะเป็นไปได้ จากความคิดแรกส่งต่อให้เกิดความคิดของคนต่อไป การจุดประกายความคิดเกิดขึ้นได้ด้วยกระบวนการกลุ่ม ที่ทำให้ทุกคนอยากเข้ามามีส่วนร่วมและนำเสนอความคิดที่
การหาโอกาสเข้าร่วมประชุมสัมมนาที่มีผู้จัดในวาระต่าง ๆ ในหัวข้อใด ๆ ก็ตามทั้งที่สนใจหรืออยู่นอกเรื่องที่เคยเรียนรู้ก็ดี ทั้งที่ฟังฟรีหรือเสียเงินก็ตามจะช่วยเปิดโลกทัศน์ของเราให้กว้างขึ้น ได้รับฟังมุมมองของคนที่ประสบความสำเร็จมาแล้วเขาจึงมีโอกาสมาพูดให้เราฟัง แต่ถ้าไม่มีโอกาสได้เข้าร่วมสัมมนา อย่างน้อยหาโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับคนอื่นบ้างทั้งที่สนิทสนมกันมาเป็นอย่างดีหรือไม่เคยคุ้นหน้าคุ้นตาเลย เข้าไปพูดคุยกับเขาแล้วเราจะอัศจรรย์ว่าทำไมร้อยพ่อพันแม่ในความคิดได้มากมายเช่นนี้ จะได้เป็นจุดเริ่มต้นให้เราได้คิดสร้างสรรค์ในมุมมองที่แปลกแตกต่างไปจากเดิมบ้าง
 
q           การสร้างสรรค์อาจเกิดได้โดยบังเอิญที่ผุดขึ้นมากลางใจอย่างกะทันหัน จากการครุ่นคิดถึงสิ่งที่กำลังทำอยู่เพื่อค้นหาคำตอบที่ยังค้างคาใจ ในยามสมองปลอดโปร่งคำตอบนี้จะเกิดขึ้นได้เอง เช่น ในยามเช้าตรู่ก่อนลุกจากที่นอน หรือในยามค่ำช่วงที่ใกล้จะผล็อยหลับ เป็นช่วงที่สมองได้หยุดพักผ่อนสบาย ๆ สิ่งที่คิดค้างอยู่จะโผล่ขึ้นมาเอง
เวลาที่ดีที่สุดที่สมองปลอดโปร่งและแก้ปัญหาให้เราได้ สมองจะสร้างจุดเชื่อมต่อใหม่ ๆ ระหว่าง 2 ซีก สมองจะแยกประเภทและเก็บประสบการณ์ที่ได้ในแต่ละวัน การผ่อนคลายด้วยการเคลื่อนไหวในท่าบริหารสมอง (Brain Gym) ฟังเพลงจังหวะเบา ๆ ช้า ๆ ออกกำลังกายเบา ๆ การพูดคุย ร้องเพลง ยิ้ม นั่งสมาธิ การเรียนรู้จากภาพ และการพักช่วงสั้น ๆ ระหว่างการทำกิจกรรม จะช่วยให้สมองจัดระบบได้เรียบร้อยดียิ่งขึ้น
 
q           การสร้างสรรค์ต้องมีปัจจัยเกื้อหนุนในเรื่องของการมีอิสระที่จะคิดและทำงาน มีความเป็นตัวของตัวเอง มีสิทธิและอำนาจที่จะปรับปรุงสิ่งต่าง ๆ ให้ดีขึ้นหรือก้าวไปสู่ความเป็นเลิศ และสำคัญต้องมีความตั้งใจจริงที่จะสร้างสรรค์ผลงานของตน ต้องเข้าใจว่า ความสามารถในการจินตนาการหรือสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ไม่ได้เริ่มต้นจากสุญญากาศ แต่จากการผสมผสาน เปลี่ยนแปลง หรือการนำกลับมาใช้ใหม่
ความคิดสร้างสรรค์บางเรื่องอาจน่าทึ่งและยอดเยี่ยมมาก บางเรื่องอาจจะธรรมดาจนคนส่วนใหญ่มองข้าม ความจริงทุกคนมีความคิดสร้างสรรค์ตั้งแต่วัยเด็ก แต่เมื่ออายุมากขึ้น มักถูกครอบงำด้วยกระบวนการศึกษาและผู้คนรอบข้าง แต่สามารถปลุกให้ตื่นได้ เพียงแต่ต้องตั้งใจที่จะรื้อฟื้นขึ้นมาใหม่และให้เวลา การฝึกมองและคิดสิ่งรอบตัวว่าน่าจะลองเปลี่ยนอะไรดูบ้าง เช่น ชอคโกแลตไม่จำเป็นต้องเคลือบด้วยสตอร์เบอรี่เสมอไป อาจจะเคลือบด้วยถั่วลิสงหรือผลไม้ชนิดอื่นได้
 
q           ความคิดสร้างสรรค์ที่เยี่ยมยอดไม่ใช่ว่าเกิดจากการคิดเพียงครั้งเดียวหรือจากกิจกรรมเดียว แต่คิดตลอดเวลาว่าจะต้องปรับปรุงให้ดีขึ้น อาจจะค่อย ๆ เรียนรู้ความคิดใหม่ ๆ ฝึกคิดให้หลากหลาย หาแนวทางแก้ปัญหาใหม่ ๆ รู้จักการผสมผสาน การสังเคราะห์แนวคิดให้กลายเป็นความคิดใหม่ ปรับเปลี่ยนวิธีการใหม่ ปรับมุมมองเรื่องเก่า ด้วยมุมมองใหม่หรือมองแบบนอกกรอบ ปรับเปลี่ยนทิศทางการมองปัญหาด้วยวิธีการที่หลากหลาย
 



Create Date : 27 พฤศจิกายน 2566
Last Update : 27 พฤศจิกายน 2566 15:24:34 น.
Counter : 184 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

สมาชิกหมายเลข 4665919
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed

 ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]



ดร.พรรณี เกษกมล นักเขียน ข้าราชการบำนาญ ครูซี 9 แนะแนว
New Comments