พฤศจิกายน 2566

 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
 
 
All Blog
เทคนิคที่ใช้ในการวิเคราะห์
เทคนิคที่ใช้ในการวิเคราะห์ เช่น
•            การใช้ผังก้างปลา หาสิ่งที่เป็นเหตุและผล ให้หัวปลาเป็นชื่อของปัญหา ก้างใหญ่เป็นสาเหตุใหญ่ ก้างเล็กที่แยกจากก้างใหญ่เป็นสาเหตุย่อยของสาเหตุใหญ่แต่ละด้าน การคิดหาสาเหตุให้ฝึกคิดว่า ทำไม ๆ แตกแยกออกไปเหมือนก้างปลา ปลายสุดคือต้นตอของสาเหตุของปัญหา
ขั้นตอนการทำผังก้างปลา
1)          กำหนดปัญหา
2)          วาดหัวปลาหัวโต ๆ หันไปทางซ้าย
3)          เขียนปัญหาที่จะแก้ ลงในช่องของหัวปลา
4)          ลากเส้นขนานกับพื้น ก้างใหญ่ที่สุด
5)          เขียนก้างซี่โครงปลา 4 ก้าง และเขียนสาเหตุใหญ่ของปัญหา
6)          เขียนก้างเล็กที่แยกออกไป เป็นสาเหตุย่อยของปัญหา
 
•            การใช้ผังรากไม้ หรือผังต้นไม้  หาสาเหตุที่เกิดจากแต่ละด้าน เช่น กิ่งไม้ 4 กิ่ง  สาเหตุที่เกิดปัญหา เช่น ปัญหามาจากคน  เงิน วิธีการ  อุปกรณ์  ผังนี้จะคิดวิเคราะห์หาความผิดพลาดของปัญหา คิดหาความน่าจะเป็นของแต่ละต้นตอสาเหตุ  ทำให้ทราบลำดับ ความสำคัญของปัญหาได้ด้วย  เช่น  ปัญหา ทำไมหาเหตุผลไม่ได้ เป็นโคนต้นไม้  รากต้นไม้รากแก้วแตกแขนงไป เช่น  ไม่เคยคิดมาก่อน ไม่เข้าใจในปัญหา  ส่วนรากฝอยแตกแขนงจากรากแก้ว หาสาเหตุของปัญหา เช่น ไม่เคยคิดมาก่อนเพราะไม่เป็นคนใฝ่รู้ใฝ่เรียน ไม่เคยค้นคว้าเพิ่มเติมในห้องสมุด ไม่เคยค้นในอินเทอร์เนต
•            การใช้แผนภูมิ ทำไมและอย่างไร  เอาปัญหาเป็นตัวตั้ง  แล้วใช้ลูกศรโยงไปยังสาเหตุ  เช่น ฝนตก แตกลูกศรไปยังสาเหตุว่าทำไมฝนตก ปลายหัวลูกศรเป็นสาเหตุและฝนตกอย่างไร หัวลูกศรคือลักษณะที่เกิดขึ้นเป็นอย่างไร หรืออาจโยงไปยังผลที่เกิดตามมาตามลำดับ จะมองเห็นความต่อเนื่องของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
•            การใช้ผังความคิด (Mind Mapping) 
การใช้ลูกศรทางเดียว               แสดงถึงส่งผลต่อ ถ้าลูกศร 2 ทาง              แสดงถึงต้นตอสาเหตุที่โยงใยกลับไปกลับมา จากเหตุเป็นผลแล้วย้อนกลับมาเป็นเหตุได้อีกครั้ง เป็นการ ย้อนกลับไปกลับมา ตรงกับคำว่า ก็ต่อเมื่อ ลูกศรที่เขียนจึงมีความหมาย ผังความคิดจะแสดงภาพรวมในเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากที่สุดและมองเห็นสิ่งที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันทั้งทางตรงและสิ่งที่อาจย้อนกลับมาได้
•            การใช้เทคนิคการวิเคราะห์ความล้มเหลวและผลกระทบที่ตามมาเพราะความล้มเหลวนั้น (FMEA Failure Mode and Effects Analysis)
•            การวิเคราะห์อดีต   ใช้ความคิดขั้นพื้นฐาน 2 อย่าง คือคิดเชื่อมโยงและคิดเปรียบเทียบ เพื่อนำมาสร้างทางเลือก สำหรับการป้องกันและแก้ไขปัญหาต่าง ๆ
ขั้นตอนการฝึก
•            เล่าเรื่องประวัติศาสตร์ให้สมาชิกในกลุ่มฟัง ไม่ให้แสดงความคิดเห็นประกอบ
•            วิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหาจากประวัติศาสตร์ที่เล่า อาจใช้เครื่องมืออื่น ๆ เช่น การใช้ผังก้างปลา การใช้ผังรากไม้ การใช้ผังความคิด
•            นำประวัติศาสตร์ตอนนี้เปรียบเทียบกับปัญหาในปัจจุบันที่กำลังจะแก้ไข หาความเหมือน ความแตกต่าง
•            การใช้เครื่องมือทางสถิติ ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลมีหลายระดับ เช่น ในระดับพื้นฐาน ใช้ค่าเฉลี่ยวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง ค่า mean mode median แล้วแสดงด้วยกราฟวงกลม กราฟแท่ง การใช้สถิติกับตัวแปรตามตัวเดียวหาค่าการทำนายจากตัวแปรต้นหลายตัว เช่น multiple regression การดูแนวโน้มหรือการทำนายใช้ Trend Analysis ถ้าตัวแปรต้นหลายตัวตัวแปรตามหลายตัวใช้ multivariate analysis อาจเป็น  canonical เป็นต้น
สถิติมักใช้เพื่อหาค่าความแตกต่างหรือหาค่าความสัมพันธ์ของข้อมูล ให้เลือกใช้ให้เหมาะกับจุดประสงค์

การวิเคราะห์แบ่งได้ 3 ประเภท
2.           การวิเคราะห์ความสำคัญ ค้นหาเนื้อหา มูลเหตุ ต้นกำเนิด สาเหตุ ผลลัพธ์ และความสำคัญของเรื่องราวต่าง ๆ ว่ามีอะไรสำคัญที่สุด ส่วนใดเกิดจากการอนุมาน หรือส่วนใดเป็นสมมติฐาน ส่วนใดเป็นการสรุปผลหรืออ้างอิง ส่วนใดเป็นการสนับสนุน แต่ละส่วนมีวัตถุประสงค์สำคัญอย่างไร
3.           การวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ ให้ค้นหาความสำคัญย่อย ๆ ของแต่ละส่วน แต่ละส่วนนั้นเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันในรูปแบบใด    ใช้สมมติฐานใด แต่ละตอนสอดคล้องหรือขัดแย้งกัน ใช้เหตุผลอะไรในการวิเคราะห์ เหตุและผลที่กล่าวอ้างนั้นสัมพันธ์กันหรือไม่
4.           การวิเคราะห์หาหลักการ เกิดจากการจับเค้าเงื่อนหรือหลักการได้ ว่าใช้เทคนิค หลักวิชาใดในการเรียบเรียง มีโครงสร้างอย่างไร การวิเคราะห์หาหลักการได้ต้องผ่านกระบวนการวิเคราะห์ความสำคัญ และการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์มาก่อน จะทำให้ได้ข้อเท็จจริงทั้งหมด   
 

 



Create Date : 25 พฤศจิกายน 2566
Last Update : 25 พฤศจิกายน 2566 8:53:03 น.
Counter : 90 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

สมาชิกหมายเลข 4665919
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed

 ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]



ดร.พรรณี เกษกมล นักเขียน ข้าราชการบำนาญ ครูซี 9 แนะแนว
New Comments