คลังความรู้เรื่องวิศวกรรมและการเกษตร ที่คนทั่วไปก็สามารถเข้าใจได้

<<
ธันวาคม 2555
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
20 ธันวาคม 2555
 

สัตว์ศัตรูกล้วยไม้และการป้องกันกำจัด

หอยทากศัตรูกล้วยไม้

      หอยทากเป็น สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ร่างกายอ่อนนิ่ม เปลือกแข็งเกิดจากแคลเซียม ร่างที่นิ่มของหอยทากและทากมีเมือกหุ้ม เมื่อเคลื่อนที่ไปจะทิ้งเมือกเป็นรอยยาวมองเห็นได้ตามพื้นดิน ก้อนหิน เครื่องปลูก และลำต้นหรือใบกล้วยไม้ หอยทากมักอาศัยอยู่ในที่มีความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศที่เหมาะสมที่สุด คือสูงกว่า 60%

หอยทากศัตรูกล้วยไม้  จำแนกออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มตัวใหญ่และกลุ่มตัวเล็ก ซึ่งประกอบด้วย

หอยทากยักษ์อาฟริกา (Achatina fulica)
หอยดักดาน (Cryptozona simensis)
หอยสาริกา (Sarika)
หอยเจดีย์ใหญ่ (Prosopeas walkerie)
หอยเจดีย์เล็ก (Lamellaxis gracilis)
หอยซัคซิเนีย (Succinea)
หอยเลขหนึ่ง (Ovachlamys fulgens)
หอย (Cyclotropis bedaliensis 2mm.)
ทากฟ้า (Semperula)
ทาก (Parmarion martensi) 


หอยทากที่พบในสวนกล้วยไม้ในประเทศไทย

หอยทากยักษ์อาฟริกา (Achatina  fulica)

ลักษณะการทำลาย


หอยดักดาน (Cryptozona simensis)

หอยสาริกา (Sarika)

หอยเจดีย์ใหญ่ (Prosopeas walkerie)


หอยเจดีย์เล็ก (Lamellaxis gracilis)

หอยซัคซิเนีย (Succinea sp.Amber snail) เป็นหอยทากขนาดเล็ก เปลือกกว้าง 5-6 มิลลิเมตร สูง 8-9 มิลลิเมตร มีส่วนล่างกว้างแต่ยอดสุดท้ายมีขนาดเล็กมาก ลักษณะเปลือกบางใสเป็นเงาสีอำพันหรือน้ำตาลทอง ไม่มีฝาปิด ชอบอาศัยที่มีความชื้นสูง

หอยเลขหนึ่ง (Ovachlamys fulgens)

หอย  (Cyclotropis bedaliensis 2 mm.)

ทากฟ้า (Semperula simensis)

ลักษณะและการทำลาย 
      หอยทากที่พบในสวนกล้วยไม้ส่วนมากเป็นหอยทากบกขนาดเล็ก คือหอยทากซักซิเนีย ทำลายโดยกัดกินตาหน่อ  ตาดอกและช่อดอกโดยปล่อยเมือกไว้เป็นทางตามแนวเดินของหอยทาก เป็นสาเหตุให้เชื้อโรคหรือเชื้อราเข้าทำลายต่อได้
ช่วงเวลาระบาด
พบระบาดรุนแรงในช่วงฤดูฝน
การป้องกัน

เมื่อนำต้นใหม่เข้ามาในสวนหรือเปลี่ยนเครื่องปลูกใหม่ ควรอบหรือตากแห้งกาบมะพร้าวเสียก่อน หรือชุบกาบมะพร้าวหรือเครื่องปลูกกล้วยไม้ด้วยสารกำจัดหอยก่อนนำมาใช้ เพื่อ กำจัดลูกหอยหรือไข่หอยที่ติดมา  
ไม้ใหม่ที่นำเข้าสวนต้องแยกไว้ต่างหาก 
เมื่อพบหอยทากระบาดให้ใช้สารเคมีป้องกันกำจัดหอยทาก
การกำจัด
- ถ้า "กลุ่มหอยใหญ่" ให้เก็บออกหรือใช้เหยื่อพิษเมทับดีไฮด์วางโคนต้น ภายหลังให้น้ำกล้วยไม้แล้ว
ถ้า "กลุ่มหอยเล็ก" ระบาดทั่วสวนให้ใช้สารฆ่าหอยพ่น ให้ถูกตัวหอยมากที่สุดโดย

พ่นในเวลาเช้าซึ่งยังมีความชื้นเหลืออยู่

พ่นน้ำเปล่าก่อนพ่นสารฆ่าหอย

ให้หัวพ่นรูใหญ่ และแรงดันต่ำ

เดินพ่นสารช้ากว่าพ่นสารกำจัดวัชพืช

ถ้าพบหอยขึ้นอาศัยอยู่ในกาบมะพร้าวจึงพ่นสารที่โคนต้นและที่กาบมะพร้าว

หอยอาศัยอยู่ตามพื้นดินที่ชุ่มชื้น ต้องพ่นสารตามพื้นทางเดินระหว่างโต๊ะ

ควรงดให้น้ำกล้วยไม้หลังพ่นสารเคมี 1- 2 วัน

สารฆ่าหอย

  • นิโคลชาไมด์(ไบลสไซด์ 70% ผงสีเหลือง)            40 กรัม/น้ำ 20 ลิตร

    เมทัลดีไฮด์ (เดทมีล 80% ผงสีขาว)                     40 กรัม/น้ำ 20 ลิตร

    เมทิโอคาร์บ (เมซูโรล 50% ผงสีขาว)                    60 กรัม/น้ำ 20 ลิตร

    กาก เมล็ดชา (tea seed) มีสาร saponim สามารถทำได้โดยการแช่น้ำไว้หนึ่งคืน (กากชา:น้ำ = 1:10) กรองกากออกผสมน้ำ 200 มล. ต่อน้ำ 20 ลิตรพ่นฆ่าหอยซัคซิเนีย

    ** หอยทากจะตายภายหลัง 24 ชั่วโมง

    แหล่งที่มา :ข้อมูล: เอกสารวิชาการกล้วยไม้ กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
    ภาพ: เอกสารนำเสนอเรื่องโรคของกล้วยไม้และการป้องกันกำจัด โดยนิยมรัฐ ไตรศรึ กลุ่มวิชาการ สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร

    ขอขอบคุณแหล่งความรู้จาก

    ชอบกด Like & Share เป็นกำลังใจให้ด้วยน่ะจ๊ะ




Create Date : 20 ธันวาคม 2555
Last Update : 20 ธันวาคม 2555 10:06:44 น. 0 comments
Counter : 1444 Pageviews.  
 
Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

Mr.Evo_IV
 
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 17 คน [?]




[Add Mr.Evo_IV's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com