คลังความรู้เรื่องวิศวกรรมและการเกษตร ที่คนทั่วไปก็สามารถเข้าใจได้

<<
ธันวาคม 2555
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
17 ธันวาคม 2555
 

ตัวอย่างโครงสร้างโรงเรือน

โรงเรือนเสาคอนกรีตอัดแรง
ใช้ เสาคอนกรีตขนาด 3x3 นิ้ว ฝังลงในดินลึก 50 เซนติเมตร ห่างกัน 6x6 เมตรแล้วขึงสายสลิงขนาด 3 หุน ระหว่างหัวเสาเพื่อรองรับซาแรน เป็นโรงเรือนที่แข็งแรงใช้เสาน้อยวัสดุหาง่ายราคาถูก แต่ยุ่งยากในการก่อสร้าง

โรงเรือนเสาไม้
ใช้ ไม่ขนาด 1.5x1.5 นิ้วต่อขึ้นจากขาโต๊ะวางกล้วยไม้ ระยะของเสาห่างกัน 2x6 เมตร คานที่รองรับซาแรนเป็นไม้หรือสายสลิงเป็นรูปแบบที่ก่อสร้างง่าย แต่อายุใช้งานสั้นและปัจจุบันไม้ที่มีคุณภาพดี หาได้ยากและราคาแพง

โรงเรือนเสาเหล็ก
ใช้ ท่อเหล็กขนาดไม่ต่ำกว่า 6 หุน ฝังดินลึก 1-1.20 เมตร โดยส่วนที่ฝังจะหล่อซีเมนต์หุ้มเพื่อป้องกันสนิม วางห่างกัน 6x6 เมตรหรือ 4x4 เมตร ใช้สายสลิง 3 หุนหรือใช้ท่อเหล็กขนาด 2-2.5 หุนเป็นคาน โรงเรือนแบบนี้แข็งแรง วัสดุหาซื้อง่าย แต่ก่อสร้างยาก

ใช้สายสลิง 3 หุน เป็นคาน

ใช้ท่อเหล็กขนาด 2-2.5 หุนเป็นคาน

โรงเรือนเสาผสมผสาน
ใช้ วัสดุที่แข็งแรงมากในส่วนที่จำเป็น โดยเฉพาะบริเวณรอบนอก ส่วนด้านในซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้วัสดุที่แข็งแรงมากนักก็เปลี่ยนไปใช้วัสดุ อื่น เพื่อให้มีค่าก่อสร้างต่ำลงเช่น รอบนอกใช้เสาไม้ขนาด 3x3นิ้วด้านในเป็นเสาเหล็กขนาด 2.5-3 หุนหรือรอบนอกใช้เสาคอนกรีตภายในเป็นเสาไม้

สมอบก
เป็น สิ่งจำเป็นที่จะช่วยเพิ่มความแช็งแรงและความทนทานให้กับโรงเรือน ซึ่งการทำสมอบกนั้นควรทำทุกด้านของโรงเรือน โดยใช้ไม้เนื้อแข็งขนาด 1.5x3นิ้ว ยาวประมาณ 1.50 เมตรหรือใช้วัสดุอื่นก็ได้ฝังลงในดินลึกประมาณ 1 เมตรหรืออาจลึกกว่านั้น ส่วนของปลายไม้ที่อยู่เหนือดินผูกติดกับสลิงหรือสายโทรศัพท์ที่ขึงต่อจากคาน รับซาแรน

ปัญหาของการใช้สลิงเป็นคานรับซาแรน
เกษตรกร ส่วนใหญ่นิยมใช้สายสลิง เพราะราคาถูกและทำได้ง่าย แต่จะเกิดปัญหาเนื่องจากสลิงมีความคม เมื่อลมกระพือซาแรนเสียดสีบ่อยๆ จะทำให้ซาแรนขาดง่าย ควรใช้ท่อเหล็กกลมเป็นคานและขึงซาแรนให้ตึงยึดซาแรนให้แน่น จะยืดอายุการใช้งานซาแรนได้

ตัวอย่างการแก้ปัญหาการใช้สลิงเป็นคานรับซาแรน

 ใช้ซาแรนเก่ามาม้วนหุ้มสายสลิงไว้แล้วรัดด้วยลวดสายไฟ เพื่อป้องกันการเสียดสีกับซาแรน

นำสายยางที่ใช้สำหรับฉีดปุ๋ยหรือยาที่เลิกใช้แล้ว มาหุ้มสายสลิง

หลังคาโรงเรือน
ปัจจุบัน นิยมใช้ซาแรนแทนไม้ระแนงหรือไม้ไผ่ เพราะมีราคาถูก หาซื้อได้ง่าย มีน้ำหนักเบาง่ายในการขึงและรื้อเปลี่ยนใหม่ ที่สำคัญคือ แสงแดดที่ผ่านมีความเข้มเท่ากันทุกจุด แต่มีข้อเสียคือ หากการถ่ายเทอากาศไม่ดี อุณหภูมิภายในโรงเรือนจะสูงกว่าภายนอกและหากมมีลมพายุพัดอาจทำให้โรงเรือน ล้มพังลงได้ง่าย ถ้าโครงสร้างของโรงเรือนไม้แข็งแรง

การเลือกซาแรน
ซาแรนมี อายุใช้งานเฉลี่ยประมาณ 5 ปี ปัจจุบันยังไม่มีการควบคุมการผลิตให้มีมาตรฐานเดียวกันทำให้ซาแรนจากแต่ละ บริษัทมีความทนทานไม่เท่ากัน ดังนั้นในการหาซื้อควารพิจารณาคุณภาพของซาแรนด้วย สำหรับความกว้างของซาแรนที่ขายในท้องตลาดมี 2 ขนาดคือ กว้าง 1 เมตรและ 2 เมตร ส่วนความยาวแต่ละม้วนยาว 100 เมตร สีของซาแรนที่ใช้ควรเป็นชนิดสีดำ หากใช้ซาแรนสีเขียวแสงแดดจะผ่านได้มากกว่าทำให้อากาศภายในร้อนอบอ้าวกว่า

ทิศทางการขึงซาแรน
ขึงขวาง การขึ้นลงของดวงอาทิตย์ เพื่อให้แสงแดดที่ลอดผ่านช่องว่างระหว่างแผ่นซาแรนไม่อยู่นิ่งตรงบริเวณ หนึ่งตลอด และยังช่วยให้โรงเรือนมีการระบายอากาศดีขึ้น

วิธีการขึงซาแรน

เย็บติดเป็นผืนเดียวกัน
เป็น วิธีที่ปฏิบัติง่ายลดต้นทุนสายสลิงเหมาะกับโรงเรือนขนาดเล็กไม่เกิน 5 ไร่ หากใช้กับโรงเรือนขนาดใหญ่จะต้องมีพื้นที่ในแนวเหนือใต้กว้างไม่เกิน 100 เมตร ถ้ากว้างเกินกว่านี้จะทำให้การระบายอากาศไม่ดี ภายในร้อนอบอ้าว อีกทั้งหากมีลมแรงจะพัดซาแรนขึ้นไปทั้งผืน

ขึงแต่ละผืนห่างกันเล็กน้อย
ให้มีช่องว่างเพื่อช่วยในการระบายอากาศภายในโรงเรือน ควรเว้นช่องว่างระหว่างผืนซาแรน ดังนี้

ซาแรนหน้ากว้าง 1 เมตร เว้นช่องว่าง 5-6 เซนติเมตร
ซาแรนหน้ากว้าง 2 เมตร เว้นช่องว่าง 7-10 เซนติเมตร

เป็น วิธีที่ยุ่งยากมากขึ้นและเพิ่มต้นทุนค่าสายโทรศัพท์หรือสลิง แต่สามารถช่วยให้การระบายอากาศภายในโรงเรือนดีขึ้นและลดการกระพือเมื่อมีลม แรง

ขึงแต่ละผืนต่างระดับสลับสูงต่ำ
ให้ ระดับห่างกัน 10-20 เซนติเมตรเหมาะสำหรับโรงเรือนขนาดใหญ่ จะช่วยแก้ปัญหาการระบายอากาศภายในโรงเรือนทำให้ไม่ร้อนอบอ้าว และเมื่อมีลมพัดแรงความเสียหายที่จะเกิดขึ้นเนื่องจากถูกลมยกไปน้อยกว่าแบบ เย็บติดเป็นผืนเดียว แต่มีข้อเสียคือเป็นวิธีการที่ยุ่งยากต้องเพิ่มต้นทุนค่าคานและสลิง

ตัวอย่างการแก้ปัญหาการระบายอากาศภายในโรงเรือน

สวน นี้มีพื้นที่ 20 ไร่ ขึงซาแรนแบบเย็บติดเป็นผืนเดียวกัน แต่ทุกระยะความกว้างของซาแรน 20 เมตร จะเว้นช่องว่างไว้ 6 เมตร เพื่อให้มีการถ่ายเทอากาศภายในโรงเรือน(สวนบริษัท ออร์คิเม็กซ์ จ.นครปฐม)

พื้นที่ สวนประมาณ 60 ไร่ ขึงซาแรนแบบเย็บติดเป็นผืนเดียวกัน โดยขึงเป็นผืนยาว 22 เมตร ทุกๆระยะทางเดินจะยกเป็นเพิงหมาแหงนสูงขึ้น 50 เซนติเมตร เพื่อให้ลมพัดลงมาเข้าภายในสวน (สวนคุณพรศักดิ์ สุนทรเอกจิต จ.พระนครศรีอยุธยา)

สวน มีพื้นที่ประมาณ 13 ไร่และมีความยาวในแนวเหนือใต้เกิน 100 เมตร มีการขึงซาแรนแบบเย็บติดเป็นผืนเดียวกันและทุกๆ ระยะทางเดินจะยกระดับหลังคาสูงขึ้น 30 เซนติเมตร (สวนคุณสุวิทชัย แสงเทียน จ.ราชบุรี)

โต๊ะวางกล้วยไม้
โต๊ะ กว้าง 1 เมตร และยาว 20-25 เมตร กล้วยไม้สกุลหวายและสกุลออนซิเดียมปลูกบนโต๊ะสูง 70 เซนติเมตร ส่วนกล้วยไม้สกุลม็อคคาร่าโต๊ะจะสูง 50-70 เซนติเมตร และมีคานขวางโต๊ะทุกๆระยะ 75 เซนติเมตร

ลักษณะโต๊ะวางกล้วยไม้แบบต่างๆ

ขาโต๊ะเป็นไม้ระแนง มีส่วนที่ฝังลงในดินลึก 30 เซนติเมตร มีคานยึดขาโต๊ะทั้งสองด้านเข้าด้วยกัน

ขาโต๊ะเป็นแท่งคอนกรีตอัดแรงฝังลงในดินลึก 30 เซนติเมตร แต่ละเสาห่างกัน 1 เมตร มีความคงทนและรับน้ำหนักได้มากกว่าไม้

พื้น โต๊ะทำด้วยไม้ระแนง ตีตามแนวยาวของโต๊ะ จำนวน 8 แถว แต่ะละแถวห่างกันประมาณ 15 เซนติเมตร สามารถรับน้ำหนักของวัสดุปลูกและต้นกล้วยไม้ได้มากแต่อาจมีปัญหาโค้งงอทำให้ ช่องห่างแต่ละแถวไม่เท่ากัน

พื้น โต๊ะที่ขอบทั้ง 4 ด้านเป็นไม้ระแนงส่วนด้านในขึงสายโทรศัพท์ 8 แถว แต่ละสายห่างกัน 15 เซนติเมตร เป็นการใช้สายโทรศัพท์ซึ่งมีราคาถูกแทนไม้ระแนงที่มีราคาสูงขึ้นมากใน ปัจจุบัน

พื้นโต๊ะทำด้วยสายโทรศัพท์ ขึงตามความยาวของโต๊ะจำนวน 10 แถว ควรขึงให้ตึงและผูกไว้กับหัวโต๊ะให้แน่น เพื่อไม่ให้สายโทรศัพท์หย่อน

พื้นโต๊ะทำด้วยสายพลาสติกรัดกล่องอย่างหนา ช่วงหัวโต๊ะซึ่งต้องเสียดสีกับคานควรใช้สายพลาสติก 2 เส้นซ้อนกัน

พื้น โต๊ะที่ขอบทั้ง 4 ด้าน เป็นท่อพีวีซีมีคานไม้ระแนงรองรับทุกๆระยะห่างกันประมาณ 30 เซนติเมตร ส่วนด้านในขึงพลาสติกรัดกล่อง 3 แถว แล้วใช้ซาแรนปูเป็นวัสดุปลูก

ทางเดินในโรงเรือน

ระยะห่างระหว่างโต๊ะ เว้นทางเดินกว้าง 1 เมตร เพื่อสะดวกในการปฏิบัติ

ในโรงเรือนขนาดใหญ่ควรมีถนนให้รถวิ่งเข้า-ออก เพื่อสะดวกในการขนย้ายวัสดุเข้าไปในสวน หรือขนผลผลิตออกจากสวน

พื้น ทางเดินระหว่างโต๊ะที่แฉะจะก่อให้เกิดปัญหาอุปสรรคในเรื่องของการปฏิบัติงาน ในสวนกล้วยไม้ เช่น การเก็บเกี่ยว การฉีดสารเคมีให้ปุ๋ยจะทำได้ช้าลง ทำให้เปลืองแรงงานในการจัดการ

พื้น ทางเดินที่เทปูนหรือวางด้วยแผ่นคอนกรีตสำเร็จรูป จะช่วยให้ประหยัดเวลา และสะดวกรวดเร็วในการปฏิบัติงานในสวนกล้วยไม้ และประหยัดแรงงาน แต่การเทปูนหรือวางแผ่นคอนกรึตสำเร็จรูปจะลงทุนสูง และมีราคาแพง ซึ่งชาวสวนทั่วไปอาจจะใช้ดินลูกรังอัดแน่นแทนการใช้แผ่นคอนกรีตบนทางเดิน ระหว่างโต๊ะกล้วยไม้
เทปูนบนพื้นทางเดิน วางแผ่นคอนกรีตสำเร็จรูปบนพื้นทางเดิน

แหล่งที่มา : คู่มือการปฏิบัติปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ กลุ่มไม้ดอกไม้ประดับ กองส่งเสริมพืชสวน กรมส่งเสริมการเกษตร

ขอขอบคุณแหล่งความรู้จาก

ชอบกด Like & Share เป็นกำลังใจให้ด้วยน่ะจ๊ะ




Create Date : 17 ธันวาคม 2555
Last Update : 17 ธันวาคม 2555 17:02:02 น. 0 comments
Counter : 5719 Pageviews.  
 
Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

Mr.Evo_IV
 
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 17 คน [?]




[Add Mr.Evo_IV's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com