หน้าวัวตัดดอก ตอนที่1
 หน้าวัว เป็นไม้ตัดดอกเมืองร้อนที่กำลังเป็นที่นิยม และมีบทบาทความสำคัญมากขึ้นในตลาดไม้ดอกโลก ในปี 2542 มีการซื้อขายดอกหน้าวัวผ่านตลาดประมูลในประเทศเนเธอร์แลนด์ประมาณ 49 ล้านดอก มูลค่า 1,179.8 ล้านบาท อยู่ในลำดับที่ 13 ของไม้ดอกที่มีการซื้อขายมากที่สุดในตลาดประมูล และมีมูลค่าเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 12 ของมูลค่าการซื้อขายในปี 2540 ประเทศที่ซื้อขายดอกหน้าวัวที่สำคัญนอกจากเนเธอร์แลนด์ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น เยอรมนี ฝรั่งเศษ และอิตาลี  ประเทศผู้ผลิตหน้าวัวที่ สำคัญของโลกในทวีปยุโรป ได้แก่ เนเธอร์แลนด์ ในทวีปอเมริกาเหนือ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา จาเมกา ตรินิแดด และโดมินิกา ในทวีปเอเชียได้แก่ ไต้หวัน จีน และฟิลิปินส์ ในทวีปแอฟริกา ได้แก่ มอริเชียส ปัจจุบันพื้นที่ปลูกดอกหน้าวัวในประเทศเนเธอร์แลนด์มีประมาณ 540 ไร่ เป็นการปลูกภายใต้โรงเรือน โดยใช้ลูกผสมพันธุ์ใหม่ๆ และเทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัยกว่าแหล่งผลิตอื่นๆ มลรัฐฮาวาย เป็นแหล่งผลิตหน้าวัวที่สำคัญที่สุดของประเทศสหรัฐอเมริกา มีพื้นที่ปลูกประมาณ 600 ไร่ ในปี 2543 สามารถผลิตดอกได้ประมาณ 13.3 ล้านดอก ประมาณว่าพื้นที่ปลูกหน้าวัวในแหล่งปลูกที่สำคัญของโลกในปัจจุบันมีรวมกัน ไม่น้อยกว่า 2,500 ไร่ หรือ 20 - 25 ล้านต้น ให้ผลผลิตปีละไม่น้อยกว่า 150 ล้านดอกต่อปี สีของดอกหน้าวัวที่ตลาดนิยมในแต่ละประเทศ จะแตกต่างกันไป เช่นในอิตาลีนิยมหน้าวัวสีส้ม และแดง-ส้ม มากที่สุด ขณะที่สัดส่วนของดอกในการจำหน่ายดอกหน้าวัวในตลาดประมูลเนเธอร์แลนด์มีดัง นี้ สีแดงร้อยละ 40 สีชมพูร้อยละ 15 สีขาวร้อยละ 13 สีส้ม ร้อยละ 12 โอบาเกะร้อยละ 8 ชมพูซัลมอนร้อยละ 5 สีครีมร้อยละ 3 สีอื่นๆ ร้อยละ 4 สำหรับในตลาดญี่ปุ่นนิยมดอกหน้าวัวสีแดง ชมพู และสีขาวตามลำดับ ประเทศไทยมีการนำพันธุ์ หน้าวัวเข้ามาปลูกครั้งแรกตั้งแต่ปี 2440 การปลูกเลี้ยงได้ขยายตัวเมื่อพระยาพจนปรีชา ได้สั่งพันธุ์หน้าวัวเข้ามาจากยุโรป ในปี 2446 ต่อมาได้มีการปรับปรุงพันธุ์หน้าวัวลูกผสมขึ้นในประเทศไทย และมีการปลูกเลี้ยงกันมากขึ้น แต่ก็ยังอยู่ในวงจำกัด เนื่องจากต้นทุนการปลูกเลี้ยงสูง ประกอบกับหน้าวัวมีอายุใช้งานนานจึงมักนำมา ใช้ในพิธีศพ และไม่นิยมใช้ประดับบ้านและในงานมลคล ทำให้ตลาดดอกหน้าวัวไม่ขยายตัว ต่อมาการปลูกเลี้ยงหน้าวัวก็น้อยลงเป็นลำดับ หลังจากมีน้ำท่วมใหญ่ในปี 2526 เหลือพันธุ์หน้าวัวที่ผลิตเป็นการค้าในประเทศเพียง 2 - 3 พันธุ์ และมีพื้นที่ปลูกเป็นการค้าประมาณ 20 ไร่ เท่านั้น แต่ตั้งแต่ปี 2537 เริ่มมีการนำเข้าหน้าวัวพันธุ์ลูกผสมจากต่างประเทศ ซึ่งมีสีสัน รูปทรงแปลกใหม่ มีความหลากหลาย ดอกทนทานต่อการขนส่ง ก้านดอกแข้งแรง และปลูกเลี้ยงได้ง่ายขึ้น เข้ามาปลูกกันไม่น้อยกว่า 80 พันธุ์ ประมาณว่าปัจจุบันประเทศไทยมีการปลูกหน้าวัวเป็นการค้าประมาณ 100 ไร่ ให้ผลิตแล้วประมาณ 70 ไร่ หรือ 560,000 ต้น ผลผลิตทั้งหมดประมาณ 3 ล้านดอกต่อปี ส่วนใหญ่เป็นผลผลิตจากหน้าวัวพันธุ์ลลูกผสมพันธุ์ใหม่ ที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่นำเข้าจากเนเธอร์แลนด์ และมลรัฐฮาวาย สหรัฐอเมริกา เนื่องจากหน้าวัวมีความหลากหลายของพันธุ์มากขึ้น คุณภาพดอกดีขึ้น เทคโนโลยีการปลูกเลี้ยงหน้าวัวในประเทศมีการพัฒนามากขึ้น และเป็นพืชที่สามารถปลูกได้ทั่วประเทศ ประกอบกับทัศนคติในการใช้ดอกหน้าวัวเปลี่ยนแปลงไป มีการนิยมนำดอกหน้าวัวไปใช้งานมงคลมากขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับดอกไม้อื่นๆ หน้าวัวมีราคาสูงกว่าดอกไม้หลายชนิด รวมทั้งแนงโน้นตลาดดอกหน้าวัวในตลาดโลกขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ทั้งหมดจึงเป็นปัจจัยสนับสนุนให้มีการปลูกหน้าวัวเป็นการค้ามากขึ้น ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ หน้าวัวมี ชื่อวิทยาศาสตร์ Anthurium x cultorum เป็นลูกผสมของสกุล Anthurium ชนิดต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็น A. andraeanum และมีชื่อสามัญหน้าวัว หรือ anthurium หน้าวัวอยู่ในวงศ์ Araceae และมีถิ่นกำเนิดแถบเขตร้อนของทวีปอเมริกาเหนือและใต้  ลำต้น หน้าวัวเป็นไม้อายุหลายปี อวบน้ำ(perennial herbaceous) ลำต้นตรงค่อนไปทางไม้เลื้อย ลำต้นอาจเจริญโดยมียอดเดียวหรือแตกกอได้ เมื่อยอดเจริญสูงขึ้นอาจพบรากบริเวณลำต้น รากเหล่านี้จะเจริญลงสู่เครื่องปลูกก็ต่อเมื่อโรงเรือนมีความชื้นพอ หน้าวัวเป็นพืชเมืองร้อนสามารถเจริญเติบโตได้บนต้นพืชหรือก้อนหิน เนื่องจากเป็นพืชที่มีระบบรากเป็นรากอากาศ(aeril root) สามารถดูดน้ำและความชื้นจากอากาศได้ ดังนั้นการเลือกใช้วัสดุปลูกควรเป็นวัสดุโปร่ง มีการระบายอากาศดี มิฉะนั้นจะทำใฟ้รากพืชเน่าได้ ใบ ใบ หน้าวัวเป็นใบเดี่ยว มีรูปร่างแตกต่างกัน เช่น รูปใบพายคล้ายใบของเขียวหมื่นปี รูปทรงคล้ายสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด แต่ส่วนมากมีลักษณะเป็นรูปหัวใจ ปลายใบแหลม แถบขอบขนาน กว้างประมาณ 12 ซฒ. ยาวประมาณ 20 ซม. ผิวเป็มัน การเรียงตัวของใบจะเรียงเป็นเกลียวรอบต้น พวกที่มีใบกว้างจะเรียงตัวคล้ายร่างแห ขณะที่พวกใบแคบเส้นใบจะเรียงตัวคล้ายเส้นขนาน แต่ทั้งสิ้นใบมักจะนูนขึ้นอย่างชัดเจน ดอก ดอก เกิดจากตาเหนือโคนแต่ละใบ ดอกของหน้าวัวประกอบด้วยจานรองดอก หรือใบประดับ(spathe) และโคนดอกหน้าวัวออกดอกเป็นช่อ ช่อดอกเป็นแท่งรูปทรงกระบอก มีดอกจำนวนมาก และดอกจริงขนาดเล็ก จำนวนหลายดอกเรียงกันอยู๋บนปลี(spadix) ดอกหน้าวัวเป็นดอกสมบูรณ์เพศ คือมีทั้งเกสรตัวผู้และตัวเมียในดอกเดียวกัน ลักษณะดอกเป็นช่อรูปสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด ดอกมี 4 กลีบ ดอกจะบานฟลังจากจานรองดอกคลี่ประมาณ 2 - 3 วัน ดอกจะเริ่มบานจากโคนปลีเป็นลำดับจนสุดปลี โดยเกสรตัวเมียจะแก่ก่อนเกสรตัวผู้ เมื่อบานเกสรตัวเมียจะโผล่ขึ้นจากดอกเห็นเป็นตุ่มขรุขระ เมื่อดอกพร้อมที่จะผสมจะมีเมือกเหนียวเป็นมันที่ปลายยอดในช่วงเวลา 08.00 - 10.30 น. หากไม่ได้รับการผสมก็จะแห้งไป หลังจากนั้นเกสรตัวผู้ 4 อัน ขนาดเล็กจะโผล่พ้นกลีบดอกและจะแตกออกเห็นเป็นละอองสีขาวคล้ายแป้งฝุ่นบริเวณ ผิวปลีซึ่งจะสังเกตเห็นเฉพาะเวลา 08.00 - 10.30 น. ของวันที่มีอากาศเย็น  ประเภทของดอกหน้าวัว ดอกหน้าวัวสามารถแบ่งได้ 3 ประเภท คือ 1. สแตนดาร์ด(standard) เป็นลูกผสมของ Anthurium andraeanum กับพืชสกุลหน้าวัวชนิดอื่นๆ เป็นหน้าวัวที่ดอกมีลักษณะปกติตามที่พบเห็นอยู่ทั่วๆ ไป ส่วนมากดอกมักมีสีเดียว 2. เปลวเทียน หรือ ทิวลิป(tulip-type) เป็นลูกผสมข้ามชนิด ในสกุลหน้าวัวที่มีลักษณะของหน้าวัวน้อยมาก โดยจานรองดอกของเปลวเทียนมีลักษณะตั้งขึ้นในแนวเดียวกับก้านช่อดอกและปลี 3. โอบาเกะ(obake) เป็นหน้าวัวที่ดอกมีขนาด สีและรูปทรงหลากหลายมาก จานรองดอกมักมี 2 สี คือ มีสีหลักอยู่ตรงกลางและมีสีเขียวที่ขอบ เช่น พันธุ์อะมีโก(Amigo) มีสีหลัก คือสีแดงและมีขอบสีเขียวบริเวณหูประดับ พันธุ์และการคัดเลือกพันธุ์ที่เหมาะสม พันธุ์ หน้าวัวในขณะนี้ สามารถแบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม ตามแหล่งพันธุ์ ดังนี้ 1. พันธุ์ไทย เป็นพันธุ์ที่พัฒนาขึ้นมาในประเทศไทย มีหลายพันธุ์ได้แก่ พันธุ์ดวงสมร(แดง) จักรพรรดิ์(แดงแสด) นครธร(แดงเข้ม) ผกามาศ(ส้ม) สุหรานากง(ส้ม) ประไหมสุหรี(ส้ม) และ ขาวนายหวาน(ขาว) เป็นต้น พันธุ์เหล่านี้เป็นพันธุ์เก่าที่ปัจจุบันหายาก และไม่นิยมปลูกเป็นการค้าแล้ว พันธุ์ไทยที่จะมีบทบาทสำคัญในการปลูกเป็นการค้าจะเป็นพันธุ์ไทยผสมใหม่ๆ ซึ่งปัจจุบันมีผู้อยู่ระหว่างการคัดเลือกความเหมาะสมของพันธุ์อยู่ 2. พันธุ์ฮาวาย เป็นพันธุ์จากมลรัฐฮาวาย ซึ่งเป็นแหล่งปลูกหน้าวัวมาเป็นเวลานานจึงมีการพัฒนาพันธุ์หน้าวัวใหม่ๆ เอง เพื่อให้ตรงกับลักษณะที่ต้องการ ส่วนใหญ่เป็นพันธุ์ ี่ต้านทานโรคแอนแทรคโนสที่ปลี พันธุ์หน้าวัวที่ปลูกในมลรัฐฮาวาย ได้แก่ พันธุ์โอซากิ(Ozaki : แดง), นิตตา(Nitta : ส้ม), มาเรียน ซืเฟอร์(Marian Seefurth : ชมพูเข้ม), บลั้ชชิ่ง ไปรด์(Blushing Bride : ขาวแต้มชมพู), อะนุยนุย(Anuenei : ชมพูขอบเขียว), โมนาเคีย(Mauna Kea : ขาวขอบเขียว), คาลิบโซ(Calypso : เปลวเทียนสีชมพู), และ ทรินีแดด(Trinidad : เปลวเทียนสีขาว) เป็นต้น 3. พันธุ์เนเธอร์แลนด์ เป็น พันธุ์จากประเทศเนเธอร์แลนด์ พันธุ์ที่ได้รับความนิยมในตลาดประมูลเนเธอร์แลนด์ 10 ลำดับแรกในปี 2542 ได้แก่ ทรอปิเคิล(Tropical : แดง), มิโดริ(Midori : เขียว), ช๊อคโค(Choco), คาซิโน(Casino : แดง), โซเนท(Sonata : ชมพู), ทรินิแดด(Trinidad : สองสี), สคอร์เปียน(Scorpion : ชมพู), เชียร์(Cheers : ซัลมอล) ส่วนพันธุ์ที่ได้นำเข้ามาทดลองปลูกในประเทศไทย และสามารถเจริญเติบโตได้ดีได้แก่ ทรอปิเคิล, แคนแคน, แครี่บิอังโก, คาร์นิวอล, โซเนท, เมอแรง, แฟนเทเซีย, โรซา, ราพิโด, พิสตาเช, แซมบา, แพชชั่น, ซัลตาล, และซาฟารี เป็นต้น  ลักษณะของหน้าวัวพันธุ์ดี ลักษณะที่สำคัญสำหรับการพิจารณาคัดเลือกหน้าวัวพันธุ์ดี มีดังนี้ 1. จานรองดอกกว้าง ด้านซ้านและขวาเท่ากันเป็นรูปหัวใจ จานรองดอกแตะกันหรือซ้อนกันเล็กน้อย หากหูจานรองดอกซ้อนกันมากหรือหูจานรองดอกตั้ง จะทำให้ดอกเสียหายได้ระหว่างขนส่ง 2. ปลีควรสั้นกว่าจานรองดอก และทำมุมประมาณ 45 องศากับแกนของก้านดอก เพื่อความสะดวกในการบรรจุเพื่อขนส่ง หน้าวัวสายพันธุ์ไทยส่วนใหญ่ปลีจะตั้งฉากกับแกนของก้านดอก ทำให้การบรรจุไม่สะดวก 3. สีจานรองดอกควรสดใส 4. ก้านดอกควรยาว ตรงและชูดอกเหนือใบ 5. ต้นควรมีข้อถี่หรือปล้องสั้น จะให้ต้นที่ไม่สูงเกินไป ไม่แตกหน่อมาก ง่ายต่อการดูแลรักษา 6. ผลผลิตอย่างน้อย 6.5 ดอก/ยอด/ปี 7. ควรต้านทานโรคแอนแทรคโนสและใบไหม้ 8. ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี ขอขอบคุณแหล่งความรู้จาก
- มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- เอกสารเผยแพร่ : เศรษฐพงศ์ เลขะวัฒนะ ,โอฬาร พิทักษ์ , วารี เจริญผล สำนักส่งเสริมและฝึกอบรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- สำนักบริการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ชอบกด Like & Share เป็นกำลังใจให้ด้วยน่ะจ๊ะ
Create Date : 04 มีนาคม 2556 |
Last Update : 4 มีนาคม 2556 10:47:10 น. |
|
0 comments
|
Counter : 1245 Pageviews. |
|
 |
|