คลังความรู้เรื่องวิศวกรรมและการเกษตร ที่คนทั่วไปก็สามารถเข้าใจได้

<<
พฤศจิกายน 2555
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
252627282930 
 
12 พฤศจิกายน 2555
 

กล้วยไม้ (ความรู้พื้นฐาน) ตอนที่ 1

         อุตสาหกรรมกล้วยไม้ของประเทศได้เจริญก้าวหน้าอย่างมาก และทำรายได้เข้าสู่ประเทศเป็นอับดับหนึ่งในจำนวนไม้ดอกไม้ประดับทั้งหมดที่มีการส่งออก ซึ่งการส่งออกดอกกล้วยไม้ และต้นกล้วยไม้มีปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นโดยตลอด ในปี 2535 กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์รายงานปริมาณการส่งดอกกล้วยไม้ 11,142 ตัน เป็นมูลค่า 701.3 ล้านบาท และส่งออกต้นกล้วยไม้ปริมาณ 939 ตัน มูลค่า 86.5 ล้านบาทสำหรับพื้นที่ปลูกกล้วยไม้ทั่วประเทศตั้งแต่ปี 2530-31 จนถึงปัจจุบันค่อนข้างคงที่โดยมีพื้นที่ปลูกประมาณ 12,000 ไร่ ส่วนใหญ่อยู่ในเขตกรุงเทพฯ และจังหวัดใกล้เคียง ได้แก่ นครปฐม, สมุทรสาคร, ราชบุรี ปทุมธานี และพระนครศรีอยุธยา เนื่องจากสภาพภูมิอากาศเหมาะกับการเจริญเติบโตของกล้ว ยไม้ ใกล้แหล่งน้ำ ตลาด และมีการคมนาคมขนส่งที่สะดวก และปัจจุบันพื้นที่ปลูกกล้วยไม้มีแนวโน้มที่จะย้ายจากกรุงเทพฯ ไปจังหวัดใกล้เคียงมากขึ้น เนื่องจาก ที่ดินมีราคาสูงและมีปัญหามลภาวะของน้ำและอากาศ ซึ่งมีผลต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพของกล้วยไม้

               กล้วยไม้เป็นพืชที่มีรากกึ่งอากาศ ลำต้นที่เห็นโผล่พ้นจากเครื่องปลูกแยกได้เป็น 2 ประเภท คือ ลำต้นแท้จริง มีข้อ ปล้อง เหมือนพืชทั่ว ๆ ไป ที ่ข้อมีตาซึ่ง สามารถเจริญเป็นหน่อใหม่หรือช่อดอก กล้วยไม้ประเภทนี้ได้แก่ สกุลแวนด้า แมลงปอ อีกประเภทหนึ่งเป็นลำต้นเทียม เรียกว่า ลำลูกกล้วย (pseudobulbs) ทำหน้าที่สะสมอาหาร ตาที่อยู่ตามข้อบน ๆ ของลำลูกกล้วยสามารถแตกเป็นหน่อหรือช่อดอกได้ ลำต้นที่แท้จริงของกล้วยไม้ป ระเภทนี้ คือ เหง้า (rhizome) ซึ่งเจริญในแนวนอนไปตามผิวของเครื่องปลูก ลักษณะของเหง้ามีข้อและปล้องถี่ กล้วยไม้ในกลุ่มนี้ได้แก่ สกุลหวาย ใบกล้วยไม้มีหลายลักษ ณะ ได้แก่ ใบ แบน, ใบกลม และใบร่อง สำหรับดอกกล้วยไม้ประกอบด้วย กลีบดอก 6 กลีบ โดยเป็นกลีบดอกชั้นนอก 3 กลีบ และกลีบดอกชั้นใน 3 กลีบ กลีบชั้นนอก 2 กลีบที่อยู่ด้านข้างหรือด้านล่าง มีลักษณะเหมือนกันอีก 1 กลีบ อยู่ด้านบน อาจมีลักษณะแตกต่างออกไป ส่วนกลีบชั้นในที่อยู่ด้านข้าง 2 กลีบ มีลักษณะ เหมือนกันอีก 1 กลีบ ที่อยู่ด้านล่างมีลักษณะแตกต่างไปเรียกว่าปากหรือกระเป๋า (lip) ซึ่งมีประโยชน์สำหรับล่อเมลงเพื่อช่วยผสมพันธุ์ ดอก กล้วยไม้เป็นดอก สมบูรณ์เพศ มีส่วนของก้านเกสรตัวผู้ ก้านและยอดเกสรตัวเมียรวมเป็นอวัยวะเดียวกันเรียกว่า เส้าเกสร โดยอับเกสรตัวผู้อยู่ที่ส่วนปลายเส้าเกสรและยอด เกสรตัวเมียอยู่ใต้อับเรณู ลักษณะเป็นแอ่งตื้น ๆ ภายในมีเมือกเหนียวเพื่อช่วยในการผสมพันธุ์ สำหรับรังไข่ของดอกกล้วยไม้อยู่ตรงส่ว นของก้านดอก

1. กลีบชั้นนอกกลีบบน - dosal sepa    2. กลีบชั้นนอกคู่ล่าง - lateral sepal   3. กลีบชั้นใน - petal     4. ปาก - labelum
5. เส้าเกสร - column     6. หูกระเป๋า - side lobe   7. ปลายปาก - midlobe     8. ฐานเส้าเกสร - column foot
9. เดือยดอก - mentum     10. รังไข่ - ovary  11. ไข่อ่อน - ovule     12. ก้านดอก - pedicel    13. ก้อนเรณู - pollinia

         แบ่งตามลักษณะการเจริญเติบโตได้ 2 ประเภทคือ

1. ประเภทแตกกอ (Sympodial) ได้แก่ กล้วยไม้ในสกุลหวาย แคทลียา และรองเท้านารี กล้วยไม้ประเภทนี้มีส่วนของเหง้าเจริญ ไปตามแนวนอนของ เครื่องปลูก และที่โคนลำลูกกล้วยติดกับเหง้าจะมีตาที่สมบูรณ์ 2 ตา เมื่อลำลูกกล้วยเจริญจนสุดลำตาที่โคนตาหนึ่งจะแตกออกมาเป็น ลำใหม่ ส่วนตาอีกข้างหนึ่งพักตัว ลำที่เกิดก่อนซึ่งเป็นลำที่มีอายุมากเรียกว่าลำหลัง ส่วนลำที่แตกใหม่มีอายุน้อยกว่าเรียกว่าลำหน้า สำหรับตาที่อยู่บนลำที่เจริญเต็มที่ก็จะเปลี่ยนเป็นตาดอก


2. ประเภทแวนด้า (Monopodial) เป็นกล้วยไม้ที่มีการเจริญเติบโตขึ้นไปทางส่วนยอด คือ ตาที่ยอดจะแตกใบใหม่เจริญขึ้นเรื่อย ๆ ส่วนโคนต้นจะออก รากไล่ตามยอดขึ้นไป ได้แก่ กล้วยไม้สกุลแวนด้า ช้าง กุหลาบ เข็ม และแมลงปอ

         กล้วยไม้ที่เหมาะสำหรับปลูกเป็นไม้ตัดดอกควรมีจุดเด่นทั้งในด้านดอกและการเจริญเติบโต คือ เป็นต้นที่ปลูกเลี้ยงง่าย ต้านทานโรค เจริญเติบโตเร็ว รูปทรง ต้นแข็งแรง ให้ดอกดก ดอกขนาดใหญ่ สีสด กลีบดอกหนา รูปทรงดอกสมบูรณ์ ก้านช่อแข็งแรง ก้านยาวตรง ดอกเรียงบนช่อได้ระเบียบสวยงามและบานได้ทน

 พันธุ์กล้วยไม้ที่นิยมปลูกเป็นการค้า ได้แก่
    สกุลหวาย (Dendrobium sp.) :
    สีม่วง - พันธุ์มาดามปอมปาดัวร์
    สีขาว - พันธุ์วอลเตอร์โอมาย, แจกเกอลีนโทมัส
    สีชมพู - พันธุ์อินทุวงศ์, แพนด้า, ซีซาร์ และซอนเนีย
    สีเหลือง - พันธิ์เกษมโกลด์
    สกุลอะแรนด้า (Aranda sp.) : พันธุ์คริสติน
    สกุลอะแรนเธอรา (Aranthera sp.) : พันธุ์เจมส์สตอริไอ
    สกุลอะแรคนิส (Arachnis sp.) : พันธุ์แม็กกี้อุย
    สกุลออนซิเดียม (Oncidium sp.) : พันธุ์โกลเด้นโชว์เวอร์, โกรเวอร์แรมเซย์
    สกุลแวนด้า (Vanda sp.) :พันธุ์รอทไซล์เดียนา, แซนเดอรานา, วิรัตน์
    สกุลม็อคคาร่า (Mokara sp.) : พันธุ์จักก๊วน, พรรณี
    สกุลซิมบิเดียม (Cymbidium sp.) : พันธุ์ Valley Knight “Vanessa”, Floripink ‘Feline’

 ก. การขยายพันธุ์กล้วยไม้ประเภทแตกกอ (Sympodial) ทำได้หลายวิธี คือ
    1. การตัดแยกลำหลัง กล้วยไม้ที่จะตัดแยกควรมีลำลูกกล้วยอย่างน้อย 4 ลำ ใช้มีดหรือกรรไกรตัดกิ่งชนิดใบบางสอดเข้าไประหว่างลำลูกกล้วยตัดให้ ขาด และใช้ปูนแดงทาแผนให้ทั่ว ลำหลังที่ถูกตัดขาดจะแตกหน่อเป็นลำใหม่ขึ้น เมื่อลำใหม่นี้เริ่มมีรากโผล่ก็ยกออกปลูกได้
    2. การตัดชำ ใช้กับกล้วยไม้สกุลหวายที่ตาที่โคนลำแห้งตายไปแล้ว โดยนำลำหลังของหวายที่ตัดใบ ตัดรากออกหมดมาปักชำให้โคนลำฝังไปในทรายหยาบประมาณ 2-3 ซม. ห่างกัน 4-5 ซม. เก็บในที่มีแสงแดดค่อนข้างจัด รดน้ำให้โชก ตาที่อยู่ใกล้ปลายลำจะแตกเป็นลำใหม่ เรียกว่า ตะเกียง เมื่อลำ ตะเกียงเริ่มเกิดรากก็ตัดเอาไปปลูกได้
    3. การตัดแยกลำหน้า ใช้มีดหรือกรรไกรตัดแยกลำหน้า 2 ลำติดกันแล้วนำไปปลูกได้เลย ซึ่งต่างจากการตัดแยกลำหลังที่ต้องปล่อยทิ้งไว้ให้แตกหน่อใหม่ จึงจะนำไปปลูกได้ ระยะเวลาที่เหมาะสำหรับตัดแยกลำหน้า คือ เมื่อลำหน้าสุดเริ่มมีรากและรากยาวไม่เกิน 1 ซม.
    ข. การขยายพันธุ์กล้วยไม้ประเภทแวนด้า (Monopodial)
    1. การตัดยอด ถ้าเป็นพวกปล้องถี่ เช่น แอสโคเซนด้า, แวนด้าใบแบนยอดที่ตัดต้องมีรากติดมาอย่างน้อย 1 ราก ส่วนพวกข้อห่าง เช่น แมลงปอ อะแรนดา ควรให้รากติดมา 2 ราก และตอที่เหลือต้องมีใบติดอยู่เพื่อให้สามารถแตกยอดใหม่ได้
    2. การตัดแยกแขนง กล้วยไม้ประเภทนี้สามารถแตกหน่อหรือแขนงที่กลางต้นได้ จะตัดแยกเมื่อหน่อหรือแขนงมีใบ 2-3 คู่ และมีรากโดยตัดให้ชิดต้นแม่
    นอกจากนี้แล้วชาวสวนยังนิยมใช้ต้นกล้วยไม้ที่ขยายพันธุ์โดยวิธีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เพราะการขยายพันธุ์วิธีนี้ ทำให้ได้ต้นที่มีลักษณะเหมือนต้นแม่ ในปริมาณมากโดยใช้ระยะเวลาที่สั้น และเป็นต้นที่ปลอดโรค

      การเลือกทำเลปลูกเลี้ยงกล้วยไม้เพื่อตัดดอกขายนั้นควรใกล้แหล่งน้ำที่สะอาด pH ของน้ำประมาณ 5.2 มีสภาพอากาศดี การคมนาคมสะดวกเพื่อความรวดเร็วในการขนส่งดอกกล้วยไม้ ซึ่งเสียหายได้ง่าย การปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ให้ได้ดอกที่มีคุณภาพดีนั้นนอกจากต้องมี การดูแลที่ดีมีการให้ปุ๋ย ฉีดยาป้องกันโรค และแมลงในระยะที่เหมาะสมแล้วยังจำเป็นต้องมีโรงเรือน

         การสร้างโรงเรือนมีจุดประสงค์เพื่อปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะกับการเจริญเติบโตและการออกดอกของกล้วยไม้ และเพื่อจัดวาง ต้นกล้วยไม้ให้เป็นระเบียบ สะดวกแก่การทำงาน โดยสร้างหลังคาโรงเรือนเพื่อพรางแสงให้เหลือ 50-70% ตามความต้องการของกล้วยไม้แต่ละชนิด (ตารางที่ 1) โครงสร้างของโรงเรือนควรแข็งแรง มีอายุการใช้งานมากกว่า 3 ปีขึ้นไป       ในปัจจุบันนิยมสร้างโรงเรือน 2 แบบคือ

1. สร้างโรงเรือนหลังใหญ่แล้วสร้างโต๊ะวางกล้วยไม้หรือราวแขวนไว้ภายใน

2. สร้างโต๊ะวางกล้วยไม้ และใช้ไม้ต่อจากโต๊ะขึ้นไปเพื่อทำหลังคาโครงสร้างของโรงเรือนควรเป็นเสาคอนกรีตหรือแป๊ปน้ำ ฝังลึกในดิน 50 ซม. โรงเรือนสูง 2-3 เมตร ใช้ตาข่ายไนล่อนหรือซาแรนคลุมหลังคา เนื่องจากมีน้ำหนักเบาใช้ได้ง่าย และมีราคาถูกโดยขึงให้ตึงและยึดติดกับลวดให้เรียบร้อย

         พื้นที่โรงเรือนควรปูทรายและใช้แผ่นซีเมนต์ปูทางเดินเพื่อไม่ให้น้ำขังและสะดวกต่อการปฏิบัติงาน ส่วนโต๊ะวางกล้วยไม้ ควรมีขนาดกว้าง 1 เมตร ยาว 15-20 เมตร แล้วแต่ขนาดของโรงเรือนและเว้นทางเดินกว้าง 1-1.2 เมตร ราวแขวนซึ่งใช้กับกล้วยไม้ประเภทรากอากาศ เช่น แวนด้าอยู่ในระดับสูงจากพื้นประมาณ 2.5 เมตร แต่ละราวห่างกัน 40-50 ซม. และทุก ๆ 4 ราวควรเว้นทางเดินกว้างประมาณ 1 เมตรวัสดุปลูกกล้วยไม้ที่มีระบบรากกึ่งอากาศ เช่น หวาย ออนซีเดียม และ Cattleya ต้องใช้เครื่องปลูกที่ระบายน้ำได้ดีและไม่อุ้มน้ำจนแฉะ หาได้ง่าย ราคาถูก และมีอายุใช้งานได้ไม่น้อยกว่า 3 ปี เช่น กาบมะพร้าว หรือ แท่งอัดกาบมะพร้าว โดยนำต้นกล้วยไม้ผูกติดกับไม้ไผ่ปักบนเครื่องปลูก หรืออาจใช้วิธีขึงลวดตามความยาวโต๊ะๆ ละ 4 ราว แล้วผูกต้นติดกับราว เพื่อยึดไม่ให้ต้นล้มและให้รากเกาะติดเครื่องปลูกได้เร็ว ไม่ควรปลูกอัดกันแน่นไปและทำให้ช่อดอก กล้วยไม้ที่ได้มีดอกลดลงด้วย ตลอดจนเป็นแหล่งสะสมโรคแมลง

         สำหรับกล้วยไม้ประเภทรากอากาศ เช่น แวนด้า ช้าง กุหลาบ เครื่องปลูกที่ใช้ควรมีความทนทานไม่ผุเร็ว เป็นวัสดุที่หาง่ายมีราคาถูกและมีสภาพเหมาะกับการเจริญและแผ่ขยายของระบบราก วัสดุที่นิยมใช้ได้แก่ อิฐ กระถางแตก และถ่าน แล้วปลูกในกระเช้าไม้สักหรือกระถางดินเผาเจาะรูด้านข้างขนาด 5-6 นิ้ว โดยวางต้นกล้วยไม้ลงกึ่งกลางของภาชนะปลูกให้โคนต้นอยู่เหนือกระถาง 2-3 ซม. ใส่วัสดุปลูกจนเต็มภาชนะปลูกใช้ลวดเกี่ยวภาชนะแขวนในโรงเรือน

การย้ายต้นกล้วยไม้ที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อลงปลูกในภาชนะ

เมื่อกล้วยไม้ในขวดมีรากและใบสมบูรณ์จึงนำออกจากขวดล้างวุ้นออกด้วยน้ำสะอาด แล้วปลูกลงในกระถางขนาดปากกว้าง 3.5-4.5 นิ้ว กระถางละ 25-40 ต้น เรียกว่ากระถางหมู่ โดยใช้ถ่านและออสมันด้าเป็นเครื่องปลูก เนื่องจากขณะลูกกล้วยไม้อยู่ในขวดจะได้รับสภาพที่มีความชื้นสูงมาก เมื่อนำออกจากขวดในระยะแรกจึงต้องปลูกเลี้ยงในสภาพที่มีความชื้นสูงและอับลม เช่น ตู้ที่คลุมด้วยพลาสติกใส รดน้ำให้ชุ่มปิดไว้ 2 วัน หลังจากนั้นจึงปิดฝาเฉพาะกลางวัน เปิดกลางคืนอีก 2 วัน แล้วเปิดฝาออกเลย 3 วัน จึงนำออกจากตู้พลาสติก วางไว้ในเรือนกล้วยไม้จนเจริญเติบโตได้ขนาด คือ ถ้าเป็นกล้วยไม้ประเภทแวนด้า ควรมีใบยาว 5-7 ซม. ส่วนกล้วยไม้ประเภทแตกกอควรมีลำลูกกล้วยสูง 5-7 ซม. จึงย้ายลงสู่ภาชนะที่มีขนาดใหญ่ขึ้น

         การให้น้ำ น้ำที่ใช้รดกล้วยไม้ต้องเป็นน้ำที่มีคุณภาพดี มีปริมาณเกลือแร่ไม่สูงเกินไป เพราะจะเป็นพิษต่อระบบรากทำให้ต้นชะงักการเจริญเติบโต ควรรดใน เวลาเช้าหรือบ่าย โดยใช้สายยางต่อกับหัวฉีดแบบฝอยละเอียด ลดการกระแทกที่ทำให้ดอก ใบช้ำ แต่ในช่วงที่ฝนตกหนักควรงดการให้ น้ำ 2-3 วัน รอจนกระทั่งเครื่องปลูกเริ่มแห้งจึงให้น้ำใหม่ ถ้าเป็นฤดูร้อนหรือฤดูหนาวควรรดน้ำให้บ่อยขึ้น

การให้ปุ๋ย ให้ปุ๋ยทุก ๆ 7 วัน โดยใช้ปุ๋ยละลายน้ำ สูตรสูง เช่น สูตร 20-20-20 ในระยะเริ่มปลูกควรให้ปุ๋ยที่มีไนโตรเจนสูง เพื ่อช่วยการเจริญเติบโตทางลำต้น และใบเมื่อต้นกล้วยไม้เจริญถึงระยะให้ดอกหรือต้องการเร่งให้ออกดอก ควรใช้ปุ๋ยสูตรที่มีธาตุฟอสฟอรัสสูงไม่ควรฉีดพ่น ปุ๋ยในช่วงที่มีแดดจัด เพราะจะทำให้น้ำที่ละลายปุ๋ยระเหยไปอย่างรวดเร็วทำให้กล้วยไม้ไม่สามารถดูดปุ๋ยไปใช้ได้ และยังทำให้ความเข้มข้นของปุ๋ยสูงขึ้น อาจทำให้ใบไหม้หลังจากให้ปุ๋ยแล้ว ในวันรุ่งขึ้นต้องรดน้ำให้มากกว่าปกติ เพื่อชะล้างเกลือแร่ของปุ๋ยที่ตกค้างอยู่บนเครื่องปลูกและรากออกนอกจากการให้ปุ๋ยแล้ว ผู้ปลูกเลี้ยงต้องฉีดพ่นยาฆ่าแมลงและยาป้องกันโรคอย่างสม่ำเสมออาจให้พร้อม ๆ กับการรดน้ำหรือให้ปุ๋ย หากมีการระบาดของโรค และแมลงก็ต้องเลือกใช้ยาที่เหมาะสมกับโรคและแมลงชนิดนั้น ๆ

            การเก็บเกี่ยว เพื่อให้ได้ดอกที่มีคุณภาพดี ผู้ปลูกต้องกำหนดวันตัดดอกให้แน่นอน แล้วจัดตารางใส่ปุ๋ย -ยาฆ่าแมลงให้เหมาะสม หากให้ปุ๋ยก่อนตัดดอก 1-2 วัน จะทำให้คุณภาพดอกและอายุการปักแจกันลดลง ช่วงเวลาตัดดอกควรตัดในช่วงเข้ามืดโดยใช้มือหักกดลงที่โคนก้านช่อหรือตัดด้วยกรรไกร โดยต้องทำ ความสะอาดกรรไกรทุกครั้ง เพื่อป้องกันการระบาดของโรคโดยเฉพาะจากเชื้อไวรัส ลักษณะของช่อดอกที่สามารถตัดได้ในกล้วยไม้สกุลหวาย ดอกต้องบาน 3/4 ของช่อดอก, ออนซิเดียมตัดในระยะเหลือดอกตูมที่ปลายช่อ 1-2 ดอก แวนด้า และแอสโคเซนด้า ตัดดอกเมื่อดอกบานหมดช่อ ส่วนอะแรนด้า, ม๊อคคาร่า ตัดดอกเมื่อดอกบานเกือบหมดช่อหรือหมดช่อ

*** โปรดติดตามตอนต่อไปค่ะ***

ขอขอบคุณแหล่งความรู้จาก

  • มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ห้องสมุดความรู้การเกษตร
  • กรมส่งเสริมการเกษตร

ชอบกด Like & Share เป็นกำลังใจให้ด้วยน่ะจ๊ะ ==>




Create Date : 12 พฤศจิกายน 2555
Last Update : 12 พฤศจิกายน 2555 14:22:38 น. 0 comments
Counter : 1978 Pageviews.  
 
Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

Mr.Evo_IV
 
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 17 คน [?]




[Add Mr.Evo_IV's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com