คลังความรู้เรื่องวิศวกรรมและการเกษตร ที่คนทั่วไปก็สามารถเข้าใจได้

<<
พฤศจิกายน 2555
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
252627282930 
 
19 พฤศจิกายน 2555
 

การปลูกเบญจมาศ ตอนที่1

ชื่อวิทยาศาสตร์ Dendranthemum grandifflora

วงศ์ ASTERACEAE (วงศ์ทานตะวัน)

ชื่อสามัญ Chrysanthemum

ชื่ออื่น เก็กฮวย(จีน), เบญจมาศหนู(ภาคกลาง),ดอกขี้ไก่(แม่ฮ่องสอน)

เบญจมาศ เป็นไม้ตัดดอกที่มีการซื้อขายปริมาณมากเป็นอันดับ 2 ในตลาดประมูลอัลเมีย ประเทศผู้ผลิตรายใหญ่ของโลกได้แก่ เนเธอแลนด์ แอฟริกาใต้ สเปน อิสราเอล สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น สำหรับประเทศไทยปัจจุบันมีพื้นที่ปลูกเบญจมาศประมาณ 1,400 ไร่ นิยมปลูกเบญจมาศดอกช่อ มาก กว่าดอกเดี่ยว เนื่องจากการดูแลรักษาง่ายกว่าสามารถผลิตเบญจมาศได้คุณภาพดีในช่วงฤดูการผลิต คือ ตั้งแต่เดือนกันยายน ถึงมีนาคม การผลิตนอกฤดูมักจะปลูกบนที่สูง หากปลูกในที่ราบ จะให้ผลผลิต ที่มีคุณภาพต่ำ ผลผลิตไม่ต่อเนื่อง คุณภาพไม่สม่ำเสมอ เป็นผลให้มีการนำเข้าเบญจมาศจากประเทศ มาเลเซียในปริมาณมาก

            ประเทศไทย สามารถผลิตเบญจมาศเพื่อการค้าที่มีคุณภาพสูง หากแต่จะต้องผลิตในพื้นที่ที่ เหมาะสม การปลูกในที่ราบจะได้คุณภาพดีในช่วงฤดูหนาวเท่านั้น ดังนั้นการผลิตเบญจมาศมีแนวโน้ม เพิ่มพื้นที่การผลิตบนที่สูงมากขึ้น มีการพัฒนาทางด้านสายพันธุ์ใหม่ๆที่เหมาะสม และการผลิต ต้น พันธุ์ที่มีคุณภาพดี เพื่อให้ผลิตได้ต่อเนื่องตลอดปี

แหล่งผลิตที่สำคัญ

  ภาคเหนือ                                  : เชียงใหม่  เชียงราย

             ภาคกลาง                                  : นนทบุรี

             ภาคใต้                                     : สุราษฎร์ธานี สงขลา ยะลา

             ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ           :  อุบลราชธานี อุดรธานี ขอนแก่น หนองคาย นครราชสีมา

ประเภทของพันธุ์เบญจมาศ ที่จำแนกตามรูปทรง                                              

รูปทรงของเบญจมาศนั้นขึ้นอยู่กับลักษณะของกลีบดอก และการจัดเรียงตัวของกลีบดอก มีแบบต่างต่างๆดังนี้  

1. ซิงเกิ้ล (Singles) หรือดอกชั้นเดียวมีลักษณะคล้ายดอกเดซี่ ประกอบด้วยกลีบดอกชั้นนอก  1-2 ชั้น และกลีบดอกชั้นในแบนราบอยู่ส่วนกลางของดอก เช่น พันธุ์ เรแกน ไวท์ (Reagan White - สีขาว) โรสควีน (Rose Queen - ชมพู / ไส้เขียว) จูโน (Juno - สีชมพู ) โกลเด้น วา ลังเกน (Golden van Langan - สีเหลือง ) เป็นต้น

2.  อมีโมน (Anemones) ลักษณะคล้ายดอกชั้นเดียว แต่กลีบดอกชั้นในยาวกว่า โดยจะยืด ออก และมีลักษณะเป็นหลอดทำให้ส่วนกลางช่อดอกโป่งขึ้น บางครั้งกลีบดอกชั้น ในมีสีต่างไปจากกลีบดอก ชั้นนอก เช่น พันธุ์พูม่า (Puma - สีขาว) ซันนี่ พูม่า (Sunny Puma - สีเหลือง)

  3. สไปเดอร์ (Spiders) หรือแมงมุม ประกอบด้วยกลีบชั้นนอกเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งมีลักษณะ เรียว เล็ก  และปลายโค้งคล้ายขาแมงมุม  เช่น พันธุ์ เวสต์แลนด์วินเทอร์ (Westland Winter - ขาว) และเวส แลนด์รีเกิ้ล (Westland Regal - ชมพู) เป็นต้น

4. ปอมปอน (Pompon) มีลักษณะเป็นลูกกลมคล้ายลูกฟุตบอล ประกอบด้วยกลีบดอกชั้นนอก ที่มีขนาดเท่าๆกัน โดยไม่ปรากฎให้เห็นกลีบดอกชั้นใน เช่น พันธุ์ กรีนพี (Green Pea - สีเขียว) โกลด์พี (Gold Pea - สีเหลือง)

5. เดคเคอเรทีฟ (Decoratives) หรือดอกซ้อน มีลักษณะคล้ายปอมปอน เพราะประกอบด้วย กลีบดอกชั้นนอกเป็นส่วนใหญ่ แต่กลีบดอกชั้นนอกๆยาวกว่าชั้นใน ทำให้ดูแบนกว่า เช่น พันธุ์ ฟิจิไวท์ (Fiji White - สีขาว) ฟิจิ ดาร์ค (Fiji Dark - สีชมพู)

  6. พวกดอกใหญ่ (Large Floeered) ดอกที่บานแล้วจะมีขนาดใหญ่กว่า 4 นิ้ว ส่วนใหญ่แล้ว จะไม่เห็นกลีบดอกชั้นใน เช่น ไรวารี่ (Rivalry) ไข่ดาว (lnga) ปิงปอง (Ping pong)

ตัวอย่างพันธุ์เบญจมาศดอกช่อที่เกษตรกรปลูก มีดังนี้

  สีขาว          :  ไว้ท์ เรแกน (White Reagan) แอลเลน วาลังเกน (Ellen - van Langen) พูม่า (Puma) ฟินมาร์ค (Finmark)

สีเหลือง       :  เยลโล่ว์ เรแกน(Yellow Reagan) โกลเด้น วา ลังเกน (Golden van Langen) ซันนี่  พูม่า (Sunny Puma) รัช (Rush)

สีแดง          :  คลอนได้ค์ (Klondike) ไทเกอร์แรค (Tiger rang)

สีม่วง           :  ดาร์ค ลินิเคอ (Dark Lineker) เลอมัน (Lemans) สเปลนดิด เรแกน (Splendid Reagan)

สีชมพูอ่อน     :  ซัลมอล ลินิเคอ (Salmon Lineker) อิมพรูฟ เรแกน (Improved Reagan)

         สีแสด           :   ไทเกอร์ (Tiger)

ในปัจจุบันนิยมขยายพันธุ์เบญจมาศโดยการปักชำ จากต้นแม่พันธุ์ที่ปราศจากโรค และไวรัส โดยได้ต้นแม่พันธุ์จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ การปฏิบัติดังนี้จะทำให้ได้ต้นแม่พันธุ์ที่มีคุณภาพดี ปราศจากโรค

ขั้นตอนการขยายพันธุ์

1. ปลูกต้นแม่พันธุ์ที่ออกรากแล้วในแปลง โดยใช้ระยะปลูก 15x15 เซนติเมตร (ประมาณ 50 ต้น ต่อตารางเมตร) การให้แสงช่วงกลางคืนต้องให้ทันทีหลังปลูก และหลังจากปลูกแล้ว 5 -10 วัน จึงเด็ดยอดให้เหลือใบไว้กับต้นประมาณ 5 -6 ใบ

  2.  เก็บเกี่ยวกิ่งพันธุ์จากต้นแม่พันธุ์  การเด็ดยอดต้นแม่พันธุ์เพื่อเป็นกิ่งปักชำจะเริ่มได้ตั้งแต่สัปดาห์ที่ 4 หลังปลูก จนถึง สัปดาห์ที่ 20 หลังจากนั้น ควรรื้อและปลูกต้นแม่พันธุ์ใหม่ การเด็ดยอดจะเด็ด ให้ยอด เบญจมาศมี   ความยาวประมาณ 5.5 -6 เซนติเมตร (ประกอบด้วยใบใหญ่ 2 ใบ และใบเล็ก 2 ใบ) และให้เหลือใบ ที่กิ่งเดิมอย่างน้อย 2 ใบ เพื่อให้แตกกิ่งใหม่

              การเด็ดยอดควรทยอยเด็ดสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง แล้วนำไปเก็บในห้องเย็น เพื่อให้ได ้ปริมาณ พอสมควร จากนั้นจึงนำไปปักชำพร้อมกันทุก 1-2 สัปดาห์ ผลิตเฉลี่ยจะได้ประมาณ 1.5 กิ่งต่อสัปดาห์ ต่อต้นแม่พันธุ์ 1 ต้น

              โดยปกติจะปลูกต้นแม่พันธุ์ในแปลงเป็นเวลา 13-21 สัปดาห์ หากต้นแม่พันธุ์อยู่ในแปลง นานเกินไป  กิ่งที่นำไปปลูกจะมีโอกาสสร้างตาดอกในช่วงวันยาวได้ กิ่งที่ยาวเกินขนาดบนต้นแม่พันธุ์ ที่มีอายุ เกิน 13 สัปดาห์ มีโอกาสที่จะสร้างตาดอกก่อนเวลาถึงแม้ว่าจะอยู่ในช่วงวันยาวก็ตาม

3. การปฏิบัติการหลังการเก็บเกี่ยวกิ่งพันธุ์จากต้นแม่พันธุ์

              เมื่อเด็ดยอดแล้วให้นำเข้าที่ร่มโดยเร็วและจุ่มผงฮอร์โมน (IBA) ร้อยละ 0.4 + สารกันรา เรียงใส่ถุงพลาสติกและเก็บในห้องเย็นอุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียส สามารถเก็บได้นาน 3 สัปดาห์

4. การปักชำเพื่อผลิตกิ่งพันธุ์ดี

               แปลงปักชำควรมีความกว้างไม่เกิน 1.5 เมตร วัสดุปักชำควรมีคุณสมบัติอุ้ม ความชื้น ได้และ ระบายน้ำดี เช่น ถ่านแกลบ ทราย + ถ่าน หรือ ถ่านแกลบ + ทราย + ขุยมะพร้าว ในสัดส่วน ที่เท่ากัน เป็นต้น ระยะปักชำ 4 x4 เซนติเมตร

               เมื่อปักชำเป็นเวลา 14 วัน กิ่งชำจะมีรากสมบูรณ์ และพร้อมปลูก หากไม่ปลูกทันที อาจเก็บไว้ในห้องเย็น 8 องศาเซลเซียส ได้เป็นเวลาประมาณ 1 สัปดาห์ ไม่ควรปล่อยกิ่งชำไว้ ในกระ บะชำเกิน 14 วัน

 ขั้นตอนการปลูก

1. การเตรียมดิน

ขุดดินลึก 50 เซนติเมตร เพื่อระบายน้ำ เพิ่มความร่วนซุยในดินโดยผสมแกลบ และ ปุ๋ยหมัก (หรือปุ๋ยคอก) ในอัตราส่วนดังนี้

         ดิน : แกลบ  : ปุ๋ยคอก  (หรือปุ๋ยหมัก) 3  :  2  : 1  ผสมให้เข้ากันในระดับ 20 เซนติเมตร โดยใช้เครื่องพรวนดิน ตรวจวัดสภาพดิน ความเป็นกรดเป็นด่าง  (pH) 5.8 - 6.5 และปริมาณเกลือ ในดิน (EC) 0.8 - 1.0 mS/cm (มิลลิเซียมต่อเซนติเมตร) หากดินเค็มเกินไปให้ชะเกลือ ออกโดย      ใช้สปริงเกอร์ หลังจากนั้นปรับสภาพ ความเป็นกรดเป็นด่างด้วยโดโลไมล์ (หากดินเป็นกรด) หรือ กำมถันผง (หากดิน เป็นด่าง)

การปรับปรุงสภาพความเป็นกรดเป็นด่างของดิน

การปรับปรุงคุณภาพดินกรดก่อนปลูกพืชโดยโดโลไมท์ กำหนดค่าที่เหมาะสมในการ ปลูก ไม้ดอก pH =6.5 อัตราที่ใช้โดโลไมท์ 1.6 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร เพื่อให้ค่า pH เพิ่มขึ้น 0.5 หน่วย หรือใช้โดโลไมท์ อัตรา 32 กิโลกรัมต่อ 100 ตารางเมตร

2. การให้น้ำ

เบญจมาศต้องการน้ำประมาณ 35 -40 ลิตรต่อตารางเมตรต่อสัปดาห์ ในระยะแรก ที่ปลูกใหม่ควรให้น้ำเช้า - เย็น เมื่อต้นตั้งตัวได้แล้วให้รดน้ำวันละ 5 -6 ลิตรต่อตารางเมตร หรือทุก 3 วัน (15ลิตรต่อตารางเมตร) แล้วแต่สภาพของดิน ไม่ควรรดน้ำติดต่อกันจนแฉะ ควรเว้นให้ดินแห้งบ้าง เพื่อให้รากได้ปรับอากาศ การรดน้ำควรรดในช่วงเช้า เพื่อหลีกเลี่ยง ไม่ให้ใบเปียกช่วงกลางคืน เป็นการป้องกันการระบาดของเชื้อรา ควรรดน้ำจนโชกเพื่อให้   น้ำ ซึมไหลผ่านลงในดินให้มากพอ ไม่ควรรดน้ำให้ถูกใบเพื่อป้องกันโรคที่เกิดเชื้อรา (อาจ ทำได้โดยให้น้ำแบบน้ำหยด)

3.การปลูก   แบ่งออกได้เป็น 2 วิธี คือ

           1.การปลูกแบบเด็ดยอด โดยเกษตรกรจะเด็ดยอดอ่อนหลัง จากต้นกล้าตั้งตัว ได้แล้ว

           2. การปลูกแบบไม่เด็ดยอดหรือแบบต้นเดี่ยว จะใช้ระยะปลูกที่ถี่กว่า การปลูกแบบเด็ดยอด จึงต้องมีการลงทุนที่สูงกว่า เพราะใช้ต้นพันธุ์มากกว่า แต่การ ปลูกแบบนี้จะมีช่วงเวลาการเติบโตสั้นกว่าและคุณภาพดอกจะดีกว่าอีกด้วย ปัจจุบัน เกษตรกรนิยมปลูกด้วยวิธีนี้

ข้อควรปฏิบัติในการปลูกเบญจมาศ

           1. ควรปลูกเบญจมาศทันทีหลังจากได้รับต้นกล้าในแปลงที่เตรียมไว้ก่อนปลูก ใช้ตะแกรงเหล็กหรือตาข่ายเชือกไนล่อนที่มีขนาดช่องเท่ากับระยะปลูกมาวางบนแปลงที่ เตรียมไว้ เพื่อสะดวกในการวัดระยะปลูก จากนั้นนำต้นกล้ามาปลูกให้ลึก ประมาณ 3/4 นิ้ว ถ้ามีแสง มากเกินไปควรพลางแสงให้ต้นกล้า เพื่อไม่ให้ต้นกล้าเหี่ยว แต่ทั้งนี้จะต้องให้แสง ในช่วงเวลากลางคืนทันที เพื่อยับยั้งการสร้างดอก

           2. ปลูกให้ได้ระยะห่างที่เหมาะสม

           - การปลูกแบบเด็ดยอด ใช้ระยะปลูก 25x20 เซนติเมตร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับทรงพุ่ม ของสายพันธุ์ที่ใช้ด้วย

           - การปลูกแบบไม่เด็ดยอด ใช้ระยะปลูก 12.5x12.5 เซนติเมตร หลังจากปลูก แล้ว ให้ใช้ตาข่ายไนล่อนขนาดช่องเท่ากับระยะปลูก วางระดับพื้นดินเพื่อเป็นแนวในการ ปลูก จากนั้นให้ขับตาข่ายขึ้นประมาณครึ่งหนึ่งของความสูงของต้นทุกสัปดาห์

            3. หลังการปลูกเสร็จแล้ว ควรรดน้ำเช้า - เย็น จนเมื่อต้นตั้งตัวได้แล้วจึงรดน้ำใน ช่วงเช้า วันละครั้งหรือ 2 - 3 วันครั้ง แล้วแต่สภาพความชื้นของดิน

             4. ในการปลูกแบบเด็ดยอด หลังจากต้นตั้งตัวได้แล้ว (ประมาณ 10 - 15 วัน) จึง ทำการเด็ดยอดอ่อนให้เหลือใบไว้ประมาณ 6 ใบ และเมื่อกิ่งใหม่แตกควรเด็ดกิ่งที่ไม่ต้อง การทิ้ง ถ้าต้นเบญจมาศอยู่ที่ขอบแปลงให้เด็ดเหลือกิ่งที่แข็งแรงไว้ 3 กิ่ง แต่ถ้าต้นเบญจ มาศอยู่แถวในให้เด็ดกิ่งเหลือไว้ 2 กิ่ง

             5. เมื่อต้นเดี่ยวหรือกิ่งที่แตกใหม่จากการเด็ดยอดเจริญได้ความสูง 30 - 35 เซนติ เมตร (ประมาณ 4 - 6 สัปดาห์) จึงงดให้แสงในช่วงกลางคืน เพื่อกระตุ้นการออกดอก ถ้า ต้องการดอกแบบชนิดเดี่ยว คือ มี 1 ดอกต่อกิ่ง ควรเด็ดดอกข้างครั้งแรกประมาณ 4 สัป ดาห์ หลังการงดให้แสงไฟและเด็ดครั้งที่ 2 ในสัปดาห์ต่อไป การเด็ดดอกควรทำเมื่อดอกข้าง มีขนาดเท่ากับหัวไม้ขีดไฟ และเด็ดในตอนเช้า แต่ถ้าต้องการให้ได้ดอกช่อ ควรเด็ดดอกแรก ของช่อออกในขณะที่ดอกยังตูมอยู่

             6. ในระยะที่ดอกเริ่มเห็นสีนั้น ถ้ามีแสงมากเกินไปควรพรางแสงด้วยผ้าขาวบาง หรือซาเรนพรางแสง 30% เพื่อป้องกันไม่ให้ดอกไหม้

4.การให้ปุ๋ย

ก่อนปลูกควรคลุกเคล้าปุ๋ยรองพื้นในดิน โดยให้ทริปเปิลซุปเปอร์ฟอสเฟต (0 - 46 -0) และแมกนีเซียมซัลเฟต (MgSo)

การให้ปุ๋ยระหว่างปลูก

          ให้ปุ๋ย 15-15-15 แก่ต้นแม่พันธุ์ อัตรา 3 กิโลกรัม ต่อ100 ตาราง เมตร ทุกสัปดาห์

การปลูกภายใต้โรงเรือน  

การปลูกภายใต้โรงเรือนจะช่วยลดการเกิดโรคและความเสียหายอันเกิดจากความ ผิดปกติของธรรมชาติ อย่างไรก็ตามหากเป็นการปลูกในพื้นที่ที่มีระดับความสูงน้อยกว่า 1,000 เมตร ควรคำนึงถึงการระบายอากาศที่ดี เพื่อป้องกันการสะสมของความร้อนจาก การใช้หลังคาพลาสติกดังกล่าว โดยมีหลักกว้างๆว่ายิ่งอากาศร้อนเท่าใด โรงเรือนควร จะ สูงขึ้นมากเท่านั้นความสูงที่เหมาะสมจะประมาณ 4 เมตร และควรออกแบบให้โรงเรือน  มีช่องระบายความร้อน ควรเปลี่ยนพลาสติกใหม่เมื่อพลาสติกเดิมเสื่อมคุณภาพจนเกิด สีขุ่นมัว เพราะ จะทำให้ การสังเคราะห์แสงลดลงอย่างมาก

การให้แสงเบญจมาศ

  การควบคุมการออกดอกของเบญจมาศ

พันธุ์เบญจมาศที่ปลูกเป็นการค้าส่วนใหญ่เป็นพืชวันสั้นตามทฤษฎี หมายถึง เมื่อ กลางวันสั้นกว่า 14.5 ชั่วโมง เบญจมาศจะเริ่มสร้างตาดอก แต่ดอกจะพัฒนาเป็นดอกที่ สมบูรณ์ได้ต้องมีช่วงวันสั้นกว่า 13.4 ชั่งโมง ดังนั้นหากปลูกเบญจมาศในช่วงวันสั้น เบญจมาศจะออกดอกเร็ว หรือให้ดอกเมื่อต้นยังเล็กอยู่ ส่วนเมื่อกลางวันยาวกว่า 14.5 ชั่ว โมง เบญจมาศจะไม่สร้างดอกหรือให้ดอกที่ผิดปกติ (เกิดตาดอกแต่ดอกไม่พัฒนาต่อ หรือเรียกว่าดอกวันยาว) ดังนั้นเกษตรกรจึงใช้การบังคับช่วงวัน ให้เบญจมาศสร้างดอกเมื่อ ต้องการได้ตลอดทั้งปี 

การบังคับไม่ให้เบญจมาศสร้างดอก

ในทางปฏิบัติการบังคับไม่ให้เบญจมาศออกดอกก่อนกำหนด จะต้องให้แสงไฟช่วง กลางคืนหากกลางวันสั้นกว่า 16 ชั่วโมง แต่เนื่องจากประเทศไทยมีช่วงกลางวันสั้นกว่า 16 ชั่งโมง ตลอดทั้งปี จึงจำเป็นต้องให้แสง ช่วงกลางคืนแก่เบญจมาศตลอดทั้งปีระยะเวลา  การให้แสงยึดหลักให้มีช่วงมืดไม่เกิน 4 ชั่วโมง เช่น ช่วงที่มีแสงตั้งแต่ 6.00 ถึง18.00 นา     ฬิกา จะเริ่มให้แสงช่วงกลางคืน เวลา 22.00 ถึง 2.00 นาฬิกา เป็นต้น ปริมาณแสงที่ให้ 80 -100 ลักซ์ (LUX ) ที่ระดับแปลง โดยติดตั้งระบบหลอดไฟ 2 เมตร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสม่ำเสมอของกระแสไฟด้วย ดังนั้นจึงควรตรวจวัดความเข้มของแสงด้วยอุปกรณ์วัดแสงเพื่อให้มั่นใจว่าเบญจมาศได้ รับแสงอย่างถูกต้อง และไม่ออกดอกก่อนกำหนด

การบังคับให้เบญจมาศสร้างดอก

ในทางปฏิบัติการบังคับเบญจมาศสร้างและพัฒนาตาดอกที่สมบูรณ์ จะต้องให้ ช่วงวันสั้นกว่า 13 ชั่วโมง เป็นระยะเวลาที่ต้นสูง 30 เซนติเมตร ถึงระยะที่ดอกเริ่มเห็นสี (ประมาณ 5 สัปดาห์) ซึ่งช่วงวันสั้นนี้เริ่มจากปลายเดือนกันยายน ถึงต้นเดือนมีนาคม (ข้อมูลเฉพาะพื้นที่ สามารถสอบถาม ได้จาก กองพยากรณ์อากาศ กรมอุตุนิยมวิทยา) ดังนั้นในช่วงเดือนเหล่านี้จะสามารถบังคับให้เบญจมาศสร้างและพัฒนาดอกโดยธรรม ชาติโดยงดให้แสงไฟช่วงกลางคืน (การผลิตในฤดู) ส่วนการบังคับเบญจมาศสร้างและ พัฒนาตาดอกขณะที่ช่วงวันยาวกว่า 13 ชั่วโมง หรือช่วงฤดูร้อน (มีนาคม ถึง กันยายน) ทำโดยใช้ผ้าดำหรือพลาสติกดำคลุมแปลงปลูกเบญจมาศ ให้มีช่วงมืด 13 ชั่วโมง เช่น คลุมผ้าดำเวลา 18.00 นาฬิกา และเปิดผ้าดำเวลา 7.00นาฬิกา ปัญหาของการคลุมผ้า ดำคือการสะสมความร้อนระหว่างคลุมทำให้อุณหภูมิสูง ดอกที่ได้จะมีคุณภาพต่ำ และผ้า ดำที่ไม่มืดสนิทเนนื่องจากรอยรั่วหรือคุณภาพของวัสดุ ทำให้เบญจมาศสร้างดอกไม่สม่ำ เสมอ 

การเก็บเกี่ยวและการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว

    ระยะการเก็บเกี่ยว และการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยวที่เหหมาะสม จะทำให้รักษา คุณภาพเบญจมาศได้ดี มีอายุการปักแจกันทนทาน แต่ปัจจุบันเกษตรกรยังไม่ให้ความ สำ คัญกับการเก็บเกี่ยวและการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยวเท่าที่ควร ทำให้ผลผลิตมีคุณภาพต่ำ เมื่อเปรียบเทียบกับเบญจมาศจากต่างประเทศ

การเก็บเกี่ยว

การตัดดอกเบญจมาศจะตัดดอกเมื่อกลีบดอกบานเต็มที่ หรือประมาณร้อยละ 75 และก่อนที่เกษรตัวผู้ หรือกลีบดอกชั้นในจะบาน ควรตัดให้ช่อดอกยาว 70 -75 เซนติเมตร และทำให้เหลือตอไว้ 10 เซนติเมตร หากตัดต่ำกว่านี้ก้านจะแข็งเกินไป และดูดน้ำได้น้อย

หลักและการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว

1. กระตุ้นให้เบญจมาศดูดน้ำมากที่สุด

-เมื่อตัดดอกแล้วควรแช่น้ำให้เร็วที่สุดในที่ร่ม (ใช้น้ำสะอาดเท่านั้น) เป็นเวลา 2 ชั่วโมง

              - หากปลายก้านแข็งและไม่ดูดน้ำอาจจุ่มโคนก้าน (4 -5 เซนติเมตร) ในน้ำร้อน ประ มาณ 10 นาที

              - อาจปรับน้ำให้มีสภาพเป็นกรดด้วยกรดมะนาว (ซิติกแอซิด) ให้สภาพความ เป็น กรดเป็นด่าง เท่ากับ 3.5 (pH)          เนื่องจากน้ำที่เป็นกรดจะช่วยให้ก้านดูดน้ำได้ดีขึ้น

              - ผสมสารจับใบอัตรา 0.01%โดยปริมาตร จะช่วยดูดน้ำได้ดีขึ้น

    2.คัดขนาด เข้ากำ และห่อด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์  หรือสวมด้วยซองพลาสติก ตามที่ต้องการ

              3. ชลอการเจริญของดอกหลังตัด โดยการลดอุณหภูมิ (ลดการหายใจและการ คายน้ำ) โดยปฏิบัติดังนี้

- แช่เบญจมาศในน้ำสะอาด หรือสารละลายที่เตรียมไว้ในห้องเย็น อุณหภูมิ 4 -8 องศาเซลเซียส เป็นเวลาอย่างน้อย 4 ชั่งโมง ก่อนการขนส่ง

               - ผสมสารฟอกสี (โซเดียมไฮโปคลอไรท์) ชนิดซักผ้าขาว (6%) ในอัตรา 0.5 -1.5 มิลลิลิตร (ซีซี) ต่อน้ำ 10 ลิตร ผสมสารฆ่าเชื้อ         ป้องกันการเจริญของแบคทีเรียไม่ให้อุดตัน ท่อน้ำ

               - อาจผสมน้ำตาล อัตรา 15 กรัม ต่อลิตร เพื่อให้ดอกสีไม่ซีด (หากใส่น้ำตาลมาก กว่า 30 กรัม ต่อลิตร จะทำให้ใบเหลืองเร็ว)

  4. บรรจุกล่อง และขนส่ง

 ***โปรดติดตามตอนต่อไป***

ขอขอบคุณแหล่งความรู้จาก

  • มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่
  • ห้องสมุดความรู้การเกษตร
  • กรมส่งเสริมการเกษตร

ชอบกด Like & Share เป็นกำลังใจให้ด้วยน่ะจ๊ะ ==>




Create Date : 19 พฤศจิกายน 2555
Last Update : 19 พฤศจิกายน 2555 10:56:37 น. 0 comments
Counter : 1499 Pageviews.  
 
Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

Mr.Evo_IV
 
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 17 คน [?]




[Add Mr.Evo_IV's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com