คลังความรู้เรื่องวิศวกรรมและการเกษตร ที่คนทั่วไปก็สามารถเข้าใจได้

<<
มีนาคม 2556
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
4 มีนาคม 2556
 

หน้าวัวตัดดอก ตอนที่3

การปลูก

การปลูกในกระถาง ใช้กระถางขนาด 8 นิ้ว สำหรับต้นพันธุ์ที่มีขนาด 20 - 25 ซม. และกระถางขนาด 12 นิ้ว สำหรับต้นพันธุ์ขนาด 30 - 40 ซม. หากต้นพันธุ์มีขนาดเล็กกว่านี้ก็ต้องใช้กระถางขนาดที่เล็กลง ใส่วัสดุปลูกสูงประมาณ 1/5 - 1/3 ของความสูงของกระถาง โดยวางต้นให้อยู่ตรงกลางกระถางและรากกระจายโดยรอบ ระวังอย่าให้รากหัก แล้วใส่วัสดุปลูกให้อยู่เสมอกับจุดเจริญบริเวณโคนต้น อย่าใส่วัสดุปลูกท่วมจุดเจริญ เพราะอาจจะทำให้ต้นเน่าตายได้ และหากใส่วัสดุปลูกต่ำกว่าจุดเจริญมาก ต้นจะล้มง่ายไม่สมบูรณ์ หากโรงเรือนตั้งอยู่ในที่มีสภาพอากาศค่อนข้างแห้งอาจใส่ใยมะพร้าวบนผิววัสดุ ปลูกเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้น

การปลูกในแปลง แปลงปลูกควรกว้าง 1.2 ม. ยกขอบสูง 30 ซม. อาจยกขอบแปลงโดยใช้อิฐบล๊อก หรือลวดกรงไก่ หรือตาข่ายพลาสติก เว้นทางเดิน 80 ซม. แปลงควรทำให้เป็นสันนูนคล้ายหลังเต่าเพื่อการระบายน้ำที่ดี หรือทำเป็นรูปตัววี แต่วิธีหลังนี้จะต้องใส่ท่อสำหรับระบายน้ำในร่องด้วย และแปลงต้องมีความลาดเอียงเพื่อให้ระบายน้ำสะดวก ซึ่งระดับความลาดเอียงไม่ควรเกิน 7% และควรใช้ผ้าพลาสติกปูพื้นเพื่อป้องกันไส้เดือนฝอย หรือเชื้อโรคในดินก่อนปูด้วยพลาสติก ต้องแน่ใจว่าผิวแปลงหลัวเต่านั้นเรียบร้อยไม่เป็นหลุม เป็นบ่อ ให้น้ำขังได้ วิธีที่ดีควรปรับผิวแปลงด้วยทรายก่อนปูด้วยพลาสติกจะทำให้ผิวแปลงเรียบได้ ง่ายวิธีอื่นๆ จากนั้นใส่เครื่องปลูกสูงประมาณ 20 ซม. ปลูก 4 แถวสลับฟันปลา โดยปกติใช้ระยะปลูก 30 x 30 ซม. จะทำให้ปลูกได้ราว 10,000 - 11,000 ต้นต่อไร่ หรือประมาณ 6 - 7 ต้นต่อตร.ม. แต่บางพันธุ์อาจปลูกระยะชิดกว่านี้ได้ ทั้งนี้ควรศึกษาระยะปลูกที่เหมาะสมของพันธุ์นั้นๆ ก่อน เช่น พันธุ์มิโดริ อาจจะใช้ระยะปลูก 15 x 15 ซม. ก็ได้ หลังปลูกควรใส่สารเคมีป้องกันรากเน่าที่เกิดจาก เชื้อไฟเทียม (Pythium spp.) และไฟทอปเทอร่า (Phytophthora sp.) เช่น เมตาแล็กซิล

       เมื่อวัสดุปลูกเริ่มยุบตัว ควรเติมวัสดุปลูก อย่าปล่อยให้วัสดุปลูกยุบตัวและระวังไม่ให้วัสดุปลูกกลบยอด ควรขึงลวด 2 ข้างแปลงเพื่อป้องกันไม่ให้ต้นล้ม เป็นอุปสรรคต่อการทำงาน

การให้น้ำ

       ปริมาณน้ำที่ให้หน้าวัวจะ ขึ้นอยู่กับ ชนิดของวัสดุ ฤดูกาล และ อายุของต้นหน้าวัว โดยเฉลี่ย การให้น้ำแบบสปริงเกอร์จะให้ 3 ลิตร/ตร.ม./วัน ส่วนการให้น้ำแบบหยอดจะให้ 2 ลิตร/ตร.ม./วัน (คิดพื้นที่รวมทางเดิน)

 ระบบการให้น้ำหน้าวัวอาจแบ่งออกเป็น 4 ระบบได้ดังนี้

 1. อาศัยฝน

       มักใช้กับการปลูกหน้าวัว ในโรงเรือนซาแรน ปริมาณน้ำจะขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำฝน ซึ่งเป็นวิธีที่ประหยัด แต่ปุ๋ยที่ใช้ราคาสูง ข้อเสียคือ ไม่สามารถควบคุมปริมาณน้ำได้ และหากฝนตกหนักปุ๋ยจะถูกชะล้างออกจากแปลง และอาจเกิดโรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย หากต้นหน้าวัวเปียกอยู่ตลอดฤดูฝน

2. การให้น้ำแบบสปริงเกอร์เหนือต้น

       ระบบนี้ใช้เมื่อมีฝนตกไม่ ต่อเนื่อง ดังนั้นในช่วงที่ฝนไม่ตกจะใช้สปริงเกอร์เหนือต้นวัว ข้อเสียคือต้นหน้าวัวยังคงเปียก ซึ่งเสี่ยงต่อการติดเชื้อแบคทีเรีย ไม่ควรรดน้ำวิธีนี้ หากแสงแดดจัดเพราะอาจทำให้ใบไหม้ได้ การใช้น้ำที่มีธาตุบางชนิดมาก เช่น แคลเซียม แมกนีเซียม หรือ คาร์บอร์เนต จะทำให้ใบและดอกเป็นคราบหรือเป็นจุด ซึ่งจะต้องเสียเวลาทำความสะอาดก่อนขาย และใบที่เป็นคราบจะได้รับแสงน้อย จึงทำให้มีการสังเคราะห์แสงลดลงด้วย

 3. การให้น้ำแบบสปิงเกอร์ระดับแปลง

       3.1 สายสปิงเกอร์ 1 สายต่อแปลง วางสายสปิงเกอร์แนวกลางแปลง ระยะห่างระหว่างหัว 75 ซม. (+ - ) ให้น้ำ 3 - 5 ลิตรต่อ ตร.ม. ต่อวัน โดยให้น้ำวันละ 4 ครั้ง ควรใช้หัวสปิงเกอร์แบบ 360 องศา เพื่อให้น้ำกระจายทั่วทั้งแปลง โดยเฉพาะบริเวณขอบแปลง การยกขอบแปลงเหนือวัสดุปลูกประมาณ 10 - 20 ซม. จะทำให้ขอบแปลงเปียกเพียงพอ และทางเดินไม่แฉะ

       3.2 สายสปิงเกอร์ 2 สายต่อแปลง โดยวางสายสปิงเกอร์ระหว่างหน้าวัวแถวที่ 1 และ 2   จำนวน 1 สาย     แถวที่ 3 และ 4   อีก 1 สาย แถวระยะห่างระหว่างหัว 75 ซม. (+ - ) วิธีนี้การกระจานยของน้ำจะดีกว่า เพราะน้ำที่ให้จะไม่ถูกกันด้วยต้นและใบ หรืออาจวางสายสปิงเกอร์ที่ขอบแปลง 2 ด้าน โดยใช้หัวสปิงเกอร์แบบ 180 องศา ซึ่งจะทำให้ทางเดินแห้ง และสามารถยกสายได้ง่ายเมื่อเติมวัสดุปลูก

4. การให้น้ำแบบหยดโดยใช้สาย 4 เส้นต่อแปลง

       ใช้สายน้ำหยดวางตามแนวแถวต้น หน้าวัว ระยะระหว่างรูน้ำหยด 25 ซม. วิธีนี้น้ำที่ใช้จะต้องผ่านการกรองอย่างดี เพราะรูน้ำจะอุดตันได้ง่ายจากปุ๋ย หรือตะไคร่ วิธีนี้เป็นการใช้น้ำอย่างประหยัดแต่ต้องให้ถี่ขึ้นถึง 5 ครั้งต่อวัน

คุณภาพน้ำ

       ควรใช้น้ำที่สะอาด เพราะหน้าวัวไม่ทนต่อความเค็ม ดังนั้นน้ำที่มีความเค็ม (มีค่า EC สูงกว่ากำหนด) จะมีผลทำให้ต้นหน้าวัวมีดอกเล็ก ผลผลิตต่ำและก้านสั้น และหากน้ำที่ใช้มีค่าไบคาร์บอเนตหรือค่าอัลดาลินิตีสูง เมื่อให้น้ำเหนือต้นจะทำให้ใบและดอก เป็นคราบหินปูน หรือเป็นจุดด่างขาวทำให้คุณภาพดอกต่ำลง หากมีค่าไบคาร์บอเนตสูงสามารถแก้ไขด้วยการให้น้ำที่โคนต้น หรือลดปริมาณไบคาร์บอเนตด้วยการใช้กรด (กรดไนตริก กรดกำมะถัน หรือ กรดฟอสฟอริก) ดังนั้นคุณภาพของน้ำที่จะใช้กับหน้าวัวจึงเป็นสิ่งสำคัญในการกำหนดคุณภาพของ หน้าวัว ซึ่งหากทราบคุณภาพของน้ำแล้วจะทำให้เกษตรกรสามารถตัดสินใจปลูกเลี้ยงหรือ ปรับสภาพน้ำก่อนการใช้ได้ถูกต้อง คุณภาพน้ำที่เหมาะสมในการผลิตหน้าวัวได้แสดงไว้ในตารางที่ 1

ตารางที่ 1 คุณภาพน้ำเพื่อการผลิตหน้าวัว

การให้ปุ๋ย

       ควรให้ปุ๋ยหน้าวัวทางราก ผ่านระบบน้ำ มากกว่าการฉีดพ่นปุ๋ยทางใบแนื่องจากใบหน้าวัวมีชั้นของแว๊กส์ที่หนา ทำให้ดูดซึมปุ๋ยได้ไม่ดี ดังนั้นระบบการให้ปุ๋ยที่ดีที่สุด คือ การให้ปุ๋ยร่วมกับระบบน้ำ หรือปุ๋ยท่อ (fertigation) โดยใช้เครื่องจ่ายปุ๋ย ซึ่งต้นหน้าวัวจะได้รับปุ๋ยในปริมาณที่ถูกต้องทุกครั้งที่ให้น้ำ สัดส่วนของธาตุอาหารที่หน้าวัวต้องการในการให้ปุ๋ยท่อ ดังนี้

ค่า pH ของน้ำผสมปุ๋ยควรเป็น 5.5 - 6 หากน้ำที่ใช้มี ไบคาร์บอเนต (HCO3) มากทำให้ pH สูง จะสามารถปรับลด pH ได้โดยใช้กรดไนตริก หรือกรดฟอสฟอริก ส่วนค่า EC ควรมีค่าประมาณ 1.2 mS / cm (โดยทั่วไปให้ปุ๋ย 1 กรัม / น้ำ 1 ลิตร) หากไม่สามารถให้ปุ๋ยท่อได้ อาจให้ปุ๋ยโดยการหว่านบนแปลงปลูก โดยชนิดของปุ๋ยที่ให้จะแบ่งให้ตามฤดูกาลดังตารางที่ 2

ตารางที่ 2

การตัดแต่ง

       เพื่อเป็นการเพิ่มผลผลิตและสะดวกในการจัดการ การปลูกหน้าวัว ควรทำการตัดแต่งต้นหน้าวัว โดยการตัดแต่งมี 2 แบบ คือ

การตัดแต่งหน่อ เมื่อปลูกหน้าวัวได้ระยะหนึ่งที่โคนต้นจะเกิดหน่อเล็กๆ เจริญขึ้นเป็นยอด จำนวนมากน้อยแล้วแต่สายพันธุ์ หากทิ้งหน่อไว้มากเกินไปจนกอแน่นจะทำให้ต้นและดอกไม่สมบูรณ์และเล็กลง เนื่องจากการแย่งอาหาร ในการเด็ดหน่อข้างนั้นให้พิจารณาจำนวนยอดต่อพื้นที่โรงเรือนให้มียอดเหลือ ประมาณ 15 ยอด / ตร.ม. ของพื้นที่โรงเรือน ดังนั้น นอกจากยอดของต้นเดิมแล้วเมื่อมีหน่อใหม่แตกออกมา การพิจารณาว่าจะเก็บหน่อใหม่ที่แข้งแรงนั้นไว้หรือไม่ จึงขึ้นอยู่กับความถี่ของระยะปลูก และหากต้องเด็ดหน่อออก ควรเด็ดยอดส่วนเกินเหล่านั้นตั้งแต่ยังอ่อนอยู่เพื่อให้กระทบกระเทือนต้น น้อยที่สุด

 การตัดแต่งใบ เมื่อต้นหน้าวัวเจริญได้ระยะหนึ่งจนใบของต้นข้างเคียงชนกัน ควรตัดใบให้เหลือใบไว้กับต้นเป็นใบแก่ ประมาณ 2 - 3 ใบ และใบอ่อน 1 ใบ เพื่อให้การถ่ายเทอากาศดี ป้องกันการระบาดของโรค และช่วยไม่ให้ต้นล้มหรือคดงอ ซึ่งจะทำให้ผลผลิตลดลงเนื่องจากไม่เห็นดอกที่ล้มไป การตัดใบควรเหลือโดนก้านใบติดอยู่กับต้นประมาณ 4 - 5 ซม. เพื่อให้รอยแผลห่างจากโดคต้น ป้องกันเชื้อโรคเข้าทำลาย การตัดใบไม่ควรตัดครั้งละมากๆ ในต้นเดียวกัน เนื่องจากจะทำให้ต้นชะงักการเจริญ และทำให้ระบบรากเสียหายได้ ดังนั้นควรทยอยตัดเป็นระยะๆ อย่งสม่ำเสมอ เช่น ทุกครั้งที่ตัดดอกจะตัดใบแก่ด้วย หรือแยกตัดใบอย่างเดียวทุก 2 สัปดาห์ นอกจากนี้ ใบที่ถูกตัดนั้นยังสามารถนำไปจำหน่ายเป็นไม้ตัดใบได้อีกด้วย และไม่ควรตัดใบที่มีดอกกำลังเจริญอยู่ เพราะจะทำให้อาหารไปเลี้ยงดอกลดลง

การรื้อแปลง

       เวลาในการรื้อแปลงและปลูก ใหม่นั้นจะขึ้นอยู่กับขนาดของต้น และสภาพการระบาดของโรคแมลง พันธุ์หน้าวัวที่ต้นไม่สูงมากและไม่เป็นโรค อาจรื้อแปลงทุก 5 - 6 ปี ส่วนพันธุ์หน้าวัวที่ต้นสูงล้มไปมายากแก่การจัดการและไม่ทนต่อโรคใบไหม้ อาจต้องรื้อแปลงทุก 4 ปี หรือเร็วกว่านั้น ปัจจุบันได้ศึกษาการยืดอายุการให้ผลผลิตของต้นหน้าวัวโดยการล้มต้นที่มีอายุ ประมาณ 6 ปี หรือต้นสูงเก้งก้าง ให้ต้นเอนในแนวราบ แล้วคลุมลำต้นโดยวัสดุปลูกเพื่อล่อให้เกิดรากและลำต้นมากขึ้น วิธีการนี้ต้นส่วนยอดจะตั้งขึ้นและเติบโตต่อเนื่อง วิธีนี้ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์พืชสวนกระบี่

ขอขอบคุณแหล่งความรู้จาก

  • มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • เอกสารเผยแพร่ : เศรษฐพงศ์ เลขะวัฒนะ ,โอฬาร พิทักษ์ , วารี เจริญผล สำนักส่งเสริมและฝึกอบรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • สำนักบริการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ชอบกด Like & Share เป็นกำลังใจให้ด้วยน่ะจ๊ะ




Create Date : 04 มีนาคม 2556
Last Update : 4 มีนาคม 2556 11:03:25 น. 0 comments
Counter : 2553 Pageviews.  
 
Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

Mr.Evo_IV
 
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 17 คน [?]




[Add Mr.Evo_IV's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com