A ........ Z
Group Blog
 
All blogs
 
Michael Clayton คนเหยียบยุติธรรมแล้วยังมาซ้ำเหยียบผมอีก

หลายครั้งที่พลาดหนังจากโรงภาพยนตร์สักเรื่อง ผมไม่เคยที่
จะโทษตัวเองเท่าไรนัก สิ่งหนึ่งที่ผมนำมาอ้างกับตัวเองเสมอ คือ ตลาดหนังในบ้านเรามักไม่มีพื้นที่ให้หนังดีๆหลายเรื่อง
ได้กำหนดฉาย บางเรื่องมาได้ไม่ถึงอาทิตย์อันต้องเกิดการลาโรงไปอยู่ไม่น้อย ส่วนที่ตั้งใจไปดู ปรกกฎว่ารอบที่จะได้ชมไปอยู่ในช่วงรอบดึก (แล้วมาเช้าออกอย่างนี้ใครมันจะรอห้า หกชั่วโมงฟะ
จึงจะได้ดู บ้านไม่ได้อยู่ใกล้โรงหนังนี้หว่า)ดังนั้นทางเลือกของผมอีกช่องทางหนึ่ง
คือ การรอในรูปแบบของแผ่นหนัง ส่วนจะซื้อหรือจะเช่าก็ตามแตองค์ประกอบหลายปัจจัย่ (ยิ่งเช่านี้ถือว่าเข้า้ทางเลย เพราะหนังส่วนใหญ่
เหล่านี้มักจะอยู่นอกเหนือกระแสตลาด จึงมักถูกโชว์อ้าซ่าโดยไม่มีใครเหลียวแล)





อย่างเรื่อง Michael Clayton (ตอนแรกฟังได้ยินว่า
Micheal Crichton นักเขียนแนววิทยาศาสตร์แฟนตาซี่เลื่องชื่อ อย่าง
Jurassic Park และ The Next เมื่อมันเป็นแค่การสะกดที่คล้ายคลึงกัน
ก็อย่าไปเอ่ยอะไรมาก) ด้วยความที่ Michael Clayton เป็นหนังที่
ได้รับคำวิจารณ์ที่ดีมาตั้งแต่ต้น ในอเมริกาด้วยตัวเลขเปิดตัวเป็นอันดับ 4 ในสัปดาห์แรก ซึ่งถือว่าเป็นภาพยนตร์ที่ทำรายได้เฉลี่ยต่อโรงสุงสุดและเป็นภาพยนตร์เพียงเรื่องเดียวที่ยิ่งฉายตัวเลขยิ่งแรง โดยปัจจุบันกวาดรายได้ไปแล้วกว่า 770 ล้านบาท ในการฉาย 20 วัน ซึ่งนอกจากจะประสบความสำเร็จด้านรายได้แล้ว Michael Clayton ยังสร้างปรากฏการณ์ใหม่ให้กับภาพยนตร์แนวทริลเลอร์อีกด้วย เสียงนกัวิจารณ์ก็ออกมาในเชิงที่ดี(ส่วนนี้หยิบยืมข้อมูลจาก filmpublicขอบคุณ ณ ที่นี้) ยิ่งเพิ่มท่านพี่ที่มาเขียนบท และกำกับ Tony Gilroy
หากใครที่ติดตามงานของ Bourne ช่วงแรกๆ คงไม่ยอมพลาดให้ฝีมือพี่ท่านนี้เป็นแน่ ประกอบกับนักแสดงที่โดดเด่นอีกคน คือ Tom Wilkinson กลับยิ่งที่ผมอดรู้สึกทึ่งในการแสดงเสียไม่ได้ จึงไม่แปลกที่เขามักจะถูกเสนอดารานักแสดงสมทบ (ืที่ตัวบทก็ส่งให้แสดงฝีมือเหลือเกิน)
จากหนังเรื่องนี้ในรางวัลใหญ่อย่าง Academy Award for Best Supporting Actor ,BAFTA Award for Best Actor in a Supporting Role,
Golden Globe Award for Best Supporting Actor - Motion Picture
ถึงแม้ว่าหนังจะมีการลำดับเรื่องแบบปะติดปะต่อในหลายช่วง อาจทำให้ความเข้าใจสับสนไปบ้าง
แต่หนังเรื่องนี้ก็สะท้อนชีวิตสังคมกฎหลักกฎหมายอเมริกันอยู่พอสมควร โดยMichael Clayton (ที่รับบทโดย George Clooney) คนที่อ้างตัวว่าเป็นนักเก็บกวาดในการทำคดีต่างๆ ถึงเขาจบกฎหมายแต่เขามักบอกซื่อๆกับลูกความที่ว่าจ้างไปว่า เขาไม่ใช่ทนาย เขาเป็นเพียงภารโรงจากทีมเครือข่ายว่าความกฎหมายที่มีลูกทีมกว่า
หกร้อยคน(สะท้อนสังคมกฎหมายอเมริกันที่มีทุกซอกซอยของตึกจริงๆ) เขาจะช่วยคัดเลือกตัวนักทนายความที่เหมาะสมตามแต่ละกรณี อาจเลือกคนในท้องถิ่น คนที่มีเส้นสายกับตำรวจ หรือคนที่เชียวชาญด้านกฎหมายนั้นๆ โดยเฉพาะ ดังนั้นกฎหมายของคนอเมริกาอาจจะถือเป็นการบริการหรือสินค้าประเภทหนึ่ง
ซึ่งต้องใช้ความชำนิชำนาญอย่างยิ่งยวด มันไม่เหมือนสินค้าหัตถกรรมที่จะประกอบ
ด้วยบุคลากรไม่กี่สิบคน


แต่มีอยู่คดีหนึ่งที่ลูกความฟ้องร้องบรรษัทพืชผลทางการเกษตรยักษ์ใหญ่
(agricultural products conglomerate) ที่มีนามว่า U-North มาเป็นว่ากว่าสิบปี เหตุการณ์ทำท่าว่าจะยืดเยื้อจนถึงศาลฎีกา แต่แล้วอยู่ๆ ก็มีการเจรจายอมความขึ้นเฉยๆ แต่เบื้องหลังนั้นเต็มไปด้วยเล่ห์กล ผลประโยชน์และการฆาตกรรม(น่าสนแล้วสิ)
Michael Clayton จึงไม่ใช่นักที่แน่การสืบสวนสอบสวนเป็นหลัก อย่างที่บอกเขาไม่ใช่ทนาย(แม้จบทนายจากมหาวิทยาลัยมีชื่อ)และภาพพจน์ของเขาก็ไม่ใช่นักผดุงความยุติธรรม เขาเพียงแต่ทำหน้าที่ที่เขาได้รับมอบหมายในฐานะส่วนหนึ่งของทีมทนายในองค์กรใหญ่ แม้โดยภูมิหลังชีวิตเขาจะต้องเผชิญปัญหาครอบครัวแตกแยก การติดพนันเรื้อรัง
และต้องรับผิดชอบลูกค้าที่มีอาการป่วยทางจิต(โดยที่เขามักอ้างว่าเป็นเพราะสารเคมีในสมองไม่สมดุล-ทุกอย่าง
ดูเหมือนจะอธิบายได้ในเชิงกฏหมาย) ทุกอย่างดูเหมือนทางจำเลยอย่างU-Northจะกุมชัยชนะได้ทางหมด
จากทางจำเลยที่มีจิตวิปริตแต่แท้จริงได้กำความลับในงานวิจัยที่สำคัญ ซึ่งนั้นจะมีผลต่อเงินก้อนโตค่าคดียอมก้อนโต เอาไว้


สิ่งที่Clayton ไม่ว่าจะเลือกสิ่งที่เห็นว่าดี หรือสิ่งที่ดีที่คนอื่นได้เห็น มันเป็นการสะท้อนแนวคิดมนุษยนิยม(Humanism)ทั่วไป Claytonเป็นผลผลิตส่วนหนึ่งทางสังคมและเป็นมนุษย์เงินเดือนที่หวังจะมีหน้ามีตาทางสังคม วัตถุประกอบเรื่องในหนัง ไม่ว่า โทรทัศน์มือถือรุ่นสุดหรู รถยนต์มอร์ซิเดส เบนท์ นาฬิกาเรือนหรู ล้วนเป็นอุดมคตินิยม (Ideolism) แบบวิถีอเมริกัน (ไม่พ้นบ้านเราด้วย) สภาวะที่เรียกว่า Dilemma นั้นคือ การที่ต้องเลือกระหว่างวิถีปฎิบัติทางสังคมกับมโนสำนึกพื้นฐาน คำตอบที่ทุกอย่างเรียกร้องให้มีความยุติธรรมในทุกสิ่ง แท้จริงมันไม่เคยมีอยู่จริง แต่เป็นสิ่งที่สังคมต้องมีให้เกิดขึ้น หนังเรื่องนี้ปลูกทางในการดำเนินกว่าค่อนเรื่อง ให้เราได้รู้สึกสะอิดสะเอียนวิถีเสรีชนนักกฎหมายแบบทุนนิยม (Capital lawyer) แต่เมื่อเหตุการณืบีบคั้นในยี่สิบนาทีสุดท้ายหนังหันกลับมาขยี้เสียบแทงวิถีจอมปลอมทั้งหมดที่
กล่าวมาแต่ต้นจนทำให้เรารู้สึกสะใจเต็มประดาว่าความจริงมันต้องมีช่องทางให้ได้เปิดเผย ในฉากที่รถถูกวางระเบิด แล้วคุณพี่Claytonโยนสมบัติทุกสิ่งทุกอย่างเข้าไปในกองเพลิงรถ สะท้อนสิ่งที่สำคัญที่สุดในชีวิต ก็คือ ชีวิต โดยที่ไม่คิดเสียดายสิ่งที่กว่าจะหา
มาได้หรือมันมีมูลค่ามากรวมเพียงใด (แม้ใจอยากตะโกนบอกไปว่า “พี่มันวางระเบิดแค่รถเท่านั้น ส่วนที่เหลือผมขอเถอะ”) และฉากจบสุดคลาสสิคที่สุดของหนังฮอลลีวู้ดเรื่องนี้ คือ การนั่งแท็กซี่ พร้อมควักเงิน 50ดอลลาร์ โดยบอกคนขับแท็กซี่ว่า “Just Drive” (ขับไปเถอะไอ้น้อง!) จากสีหน้าที่เคร่งเครียดหลังผ่านเหตุการณ์ที่เลวร้าย สีหน้าเหล่านั้นค่อยๆเปลี่ยนไป ทอดสายมองบรรยากาศในเมืองตามท้องถนนไม่กี่หน้าที่รอยยิ้มก็บังเกิด
ขึ้น พร้อมกับจากจบอย่างบริบูรณ์ จากอคติเดิมๆที่ผมมักเรียกร้องกับสังคมว่า “ทำดีแล้วได้อะไร” “ทำชั่วได้ดีมีตั้งเยอะ” มันจะไม่ใช่คำถามที่ผมจะมาตั้งหน้าบ้าถามกันอีกต่อไป Michael Clayton ได้ให้คำตอบแก่ชิวิตผมในสองที่ชั่วโมงที่ดูหนังจบเรียบร้อย สมสโลแกน -The Truth can be adjust






Create Date : 30 มีนาคม 2551
Last Update : 30 มีนาคม 2551 4:12:14 น. 1 comments
Counter : 3336 Pageviews.

 
เพิ่งดูเมื่อวานเหมือนกัน.. ยังงงว่า เอ๊ะ ตกลง พี่ มิชาเอล มิเชล ไม๊เกิ้น นี่ เป็นใครกันแน่


โดย: amoderndog (amoderndog ) วันที่: 2 เมษายน 2551 เวลา:12:57:42 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Mr.Chanpanakrit
Location :
สงขลา Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 28 คน [?]




Friends' blogs
[Add Mr.Chanpanakrit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.