โรคที่สำคัญและการป้องกันกำจัดสำหรับกล้วยไม้ ตอนที่1
กล้วยไม้เป็น ไม้ดอกที่สำคัญทางเศรษญกิจของประเทศไทย เพราะนอกจากจะจำหน่ายภายในประเทศแล้ว ยังส่งออกไปขายตลาดต่างประเทศได้ดีเป็นจำนวนมาก ตลาดต่างประเทศที่สำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น เยอรมัน ฮ่องกง ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา และเนเธอร์แลนด์ แหล่งปลูกกล้วยไม้จะอยู่รอบๆ กรุงเทพมหานคร เช่น บางแค หนองแขม บางขุนเทียน ภาษีเจริญ ตลิ่งชัน นครปญม สมุทรสาคร สพรรณบุรี กาญจนบุรี ราชบุรี ปทุมธานี นนทบุรี พระนครศรีอยุธยา นครราชสีมา นครสวรรค์ กำแพงเพชร และเชียงใหม่ จากการศึกษาโรคของกล้วยไม้จะมีลักษณะอาการคล้ายๆ กันในทุกแหล่งปลูก ดังนี้ โรคเน่าดำ หรือยอดเน่า หรือโรคเน่าเข้าไส้(Black rot)
โรคดอกสนิมหรือจุดสนิม
โรคเกสรดำหรือเส้าเกสรดอกไม้(Black anther or Column bllight)
โรคใบปื้นเหลือง (Yellow leaf spot)
โรคใบจุด หรือโรคใบขี้กลาก (Leaf spot)
โรคใบจุดดำ (Black spot)
โรคแอนแทรคโนส (Anthracnose)
โรคโคนเน่าแห้ง หรือโรคเหี่ยว (Fusarium foot rot, Wilt)
โรคเน่าเละ (Soft rot) โรคเน่าดำหรือยอดเน่าหรือโรคเน่าเข้าไส้ (Black) เป็น โรคที่สำคัญชนิดหนึ่ง เพราะสามารถเกิดกับกล้วยไม้หลายสกุล เช่น แวนดา ที เอ็ม เอ แวนดารอทไชเดียน่า อะแรนดาคริสติน อะแรนดานอรา แคทลียา มอคคารา และกล้วยไม้ลูกผสมสกุลหวาย สาเหตุ เชื้อรา Phytophthora palmivora (Butl) Butl. ลักษณะอาการ เกิดได้ทุกส่วนของกล้วยไม้ ตั้งแต่ ราก ใบ ยอด และดอก ถ้าเชื้อราเข้าทำลายทางราก จำทำให้รากเน่าแห้ง ซึ่งจะมีผลทำให้ใบเหลืองและร่วง ถ้าเข้าทำลายทางยอกจะทำให้ยอดเน่าเป็นสีน้ำตาลเมื่อจับจะหลุดติดมือออกมาได้ ง่าย ในระยะรุ่นแรงเชื้อราจะลุกลามเข้าไปในลำต้น เมื่อผ่าต้นดูจะเห็นเป็นสีดำหรือสำน้ำตาลเข้มตามแนวยาว ในบางครั้งจะอสดงอาการที่ใบโดยเป็นจุดกลมฉ่ำน้ำ สีน้ำตาลอ่อนจนถึงสีน้อตาลเข้ม และลุกลามเข้าไปในซอกใบ ส่วนอาการที่ดอกของกล้วยไม้สกุลหวาย ปากดอกและก้านดอกเหี่ยวเป็นสีน้ำตาล เมื่อเป็นรุนแรงดอกจะหลุดร่วงจากช่อดอก กลีบดอกเน่า ฉ่ำน้ำ และมีสีเลอะคล้ายโรคดอกสนิม
อาการที่ใบ เริ่ม แรกเป็นจุดใส ฉ่ำน้ำ สีเหลือง ต่อมาสีจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล แล้วเป็นสีดำในที่สุด แผลจะขยายใหญ่ลุกลามอย่างรวดเร็ว ในสภาพที่มีความชื้นสูงเชื้อราจะสร้างเส้นใยสีขาวใส ละเอียด บนแผลเน่าดำเท่านั้น สังเกตเห็นได้ชัดเจนตอนเข้ามืดก่อนมีแสงแดดจัด 
อาการที่ต้น เชื้อราเข้าทำลายได้ทั้งทางยอดและโคนต้น ทำให้ยอด เน่าดำ ถ้าทำลายโคนต้น ใบจะเหลืองและหลุดร่วงจนหมด เรียกว่า “โรคแก้ผ้า” อาการที่ดอก บนกลีบดอกเป็นจุดแผลสีน้ำตาล อาจมีสีเหลืองล้อมรอบแผลนั้น กรณีที่เป็นกับดอกตูมขนาดเล็กจะเน่าแล้วดอกจะหลุดจากก้านช่อ 
อาการที่ราก เป็นแผลสีดำ เน่า แห้ง ยุบตัวลง หรือรากเน่า แห้งแฟบ ต่อมาเชื้อจะลุกลามเข้าไปในต้น อาการที่ก้านช่อดอก เมื่อเชื้อเข้าทำลายตรงก้านช่อจะเห็นแผลเน่าดำ และลุกลาม ทำลายก้านช่อดอกจะหักพับในที่สุด การแพร่ระบาด เป็นโรคที่แพร่ระบาดจากต้นหนึ่งไปยังอีกต้น หนึ่งได้ง่ายโดยเฉพาะในฤดูฝน เมื่อสภาพในโรงงานเรือนมีความชื้นสัมพัทธ์สูง มากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ สปอร์ของเชื้อราจะกระเด็นไปกับน้ำฝนหรือระหว่างการรดน้ำกล้วย ไม้ การป้องกันกำจัด
ปรับสภาพโรงเรือนให้โปร่ง อย่าปลูกกล้วยไม้แน่นเกินไป
ถ้าพบโรคนี้ในระยะลูกไม้ (กล้า) ให้แยกกระถางที่เป็นโรคออกจากโรงเรือน และถ้าเป็นกับกล้วยไม้ที่โตแล้วให้นำไปเผาทำลาย
ควรตัดส่วนที่เป้นโรคออกจนถึงเนื้อดี แล้วใช้สารป้องกันกำจัดโรคพืชป้ายบริเวณที่เป็นแผล ไม่ควรให้น้ำกล้วยไม้ตอนเย็นใกล้ค่ำ โดยเฉพาะช่วงฤดูหนาวซึ่งแสงแดดน้อย กว่า 5 ชั่วโมงต่อวัน อุณหภูมิเฉลี่ย 25-28 องศาเซลเซียส เพราะจะทำให้เกิด สภาพอากาศเย็นความชื้นสัมพันธ์ในโรงเรือนสูงกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเหมาะต่อการเจริญเติบโตของเชื้อนี้ โรคจะระบาดเพิ่มขึ้นได้ง่ายและ รุนแรง
ไม่ควรขยายพันธ์จากต้นที่เป็นโรค แต่ควรเผาทำลายต้นที่เป็นโรคเพื่อตัดวงจรของเชื้อสาเหตุ
ช่วงฤดูฝนควรทำหลังคาพลาสติกในโรงเรือนกล้วยไม้ เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรค
สภาพ ดินเหนียว น้ำขัง เชื้อจะระบาดได้ดีเป็นพิเศษ ควรเตรียมแปลงปลูกโดยรองพื้น ด้วยขี้เถ้าแกลบก่อนปูด้วยกาบมะพร้าว เพื่อช่วยการระบายน้ำ นอกจากนั้นขี้ เถ้าแกลบยังมีความเป็นนด่างจะช่วยป้องกันไมม่ให้โรคนี้เข้าทำลายกล้วยไม้ สกุลแวนดา มอคคารา อะแรนดาในระยะแรกได้อีกด้วย
สารป้องกันกำจัดโรคพืชที่ใช้สำหรับโรคนี้มีอยู่หลายชนิดด้วยกัน คือ ฟอสฟอรัส เอซิด (Phosphorus acid) อัตรา 30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตรพ่นช่วงแดดไม่จัด สารนี้ใช้ได้ดีในแง่ของการป้องกัน
อีทริไดอะโซล (etridiazole) อัตรา 50 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร ใช้สำหรับป้องกันได้ผลดีเช่นกัน ข้อควรระมัดระวังของสารเคมี นี้ คือ ไม่ควรผสมกับปุ้ยและสารเคมีอื่น ๆ ทุกชนิด
เมทาแลกซิล (metalaxyl) อัตรา 20 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ใช้ได้ผลดีในกรณีการกำจัดเชื้อ แต่เพื่อไม่ ให้เชื้อดื้อสารเคมีเร็ว ต้องพ่นสลับกับสารเคมีชนิดอื่น เช่น แคปเท น (captan) หรือ โปรพิเนบ (propineb) เป็นต้น ข้อ ควรระวังของสารป้องกันกำจัดโรคพืชชนิดนี้คือ ถ้าหากใช้อัตราเข้มข้นสูงและ พ่นถี่มากเกินไปกล้วยไม้จะเกืดอาการต้นแคระแกร็น รากกุด ข้อถี่ ช่อดอก สั้น ผิดปกติ หรือเกษตรกรเรียกว่า “รัดราก”
ฟอสอีทิล-อะลูมิเนียม (fosetyl-Al) ใช้อัตรา 25-50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร อัตราต่ำใช้ป้องกันโรค อัตราสูงใช้เพื่อ กำจัดโรค สารชนิดนี้เป็นสารดูดซึม ดังนั้นในกรณีที่ใช้เพื่อป้องกันโรคให้ พ่นเดือนละ 1-2 ครั้งละเท่านั้น และไม่ควรผสมกับปุ้ยใดๆ สำหรับ การใช้สารประเภทดูดซึม มีข้อควรระมัดระวัง อย่าใช้ติดต่อกันเป็นเวลานานๆ จะ ทำให้เชื้อสาเหตุดื้อต่อสารเคมี ควรใช้สลับกับสารชนิดอื่น เช่น ใช้เมทาแลก ซิล (metalaxyl) สลับกับแคปเทน (Captan) หรือใช้สารที่ผสมสำเร็จรูป เช่น เมทาแลกซิล + แมนโคเซบ (metalaxyl + mancozeb) จะทำให้ประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัดได้ผลดียิ่งขึ้น โรคดอกสนิม หรือจุดสนิม (Flower rusty spot) เป็นโรคที่รู้จักกันดีในกลุ่มผู้ปลูกเลี้ยงกล้วยไม้เกษตรกรนิยมเรียกกันว่า “โรคดอกสนิม” และ เป็นปัญหาสำคัญทั้งในอดีตจนถึงปัจจุบันของการส่งออกกล้วยไม้ตัดดอกไปยังตลาด ต่างประเทศเพราะดอกกล้วยไม้อาจแสดงอาการในระหว่างการขนส่งได้ พบมากในกล้วยไม้ลูกผสมสกุลหวาย เช่น หวายขาว หวายชมพู พบครั้งแรกบนกลีบดอกหวายมาดามปอมปาดัวร์ และ หวายซีซาร์ โดยเฉพาะดอกสีขาวอ่อนแอต่อโรคนี้ สาเหตุ เกิดจากเชื้อรา Curvu laria eragrostidis (P. Henn.) A. Meyer  ลักษณะอาการ อาการจะปรากฎบนกลีบดอกกล้วยไม้ โดยเริ่มแรกเป็นจุดขนาดเล็ก สีเหลืองอมน้ำตาลและ ภายใน 2-3 วันจุดเหล่านี้ขยายโตขึ้น จุดเหล่านั้นจะมีสีเข้มคล้ายสีสนิม ลักษณะแผลค่อนข้างกลม มีขนาดแผลตั้งแต่ 0.1-0.3 มิลลิเมตร ตรงกลางแผลเป็นจุดสีน้ำตาลแดง 
การแพร่ระบาด ระบาด รุนแรงในช่วงฤดูฝน ถ้ามีฝนตกติดต่อกันเป็นเวลานานๆ หรือมีน้ำค้างลงมากโรคจะ แพร่ระบาดได้รวดเร็ว ทั่งทั้งสวนกล้วยไม้และบริเวณใกล้เคียง การป้องกันกำจัด
หมั่น ตรวจดูแลสวนกล้วยไม้ให้สะอาดอย่างสม่ำเสมอ อย่าปล่อยให้ดอกกล้วยไม้บานโรยคา ต้น เพราะจะเป็นแหล่งสะสมเชื้อราสาเหตุให้เข้าทำลายได้ง่าย
เก็บรวบรวมดอกที่เป็นโรคออกให้หมด แล้วนำไปเผาทำลายเพื่อไม่ให้เป็นแหล่งสะสมของเชื้อราสาเหตุ
หลังจากนั้นพ่นสารกลุ่ม โพรพิเนบ (Propineb) หรือ แคปเทน (Captan) หรือฟอลเพต (folpet)
ในช่วงฤดูฝนควรพ่นสารให้ถี่ขึ้นกว่าปกติ และเพื่อลดคราบสารเคมีที่จะเกิดขึ้นบนกลีบดอก ควรผสมสารเสรีประสิทธิภาพ (adjuvant)
พบว่าเชื้อราชนิดนี้อยู่ในน้ำที่กักขังไว้เพื่อใช้รดกล้วยไม้ด้วย จึงควรทำการ ฆ่าเชื้อเป็นครั้งคราว โดยใช้คลอรีนผงในอัตรา 5 กรัม ต่อน้ำ 20 ปิ๊บ (400 ลิตร) กวนให้ทั่วแล้วปล่อยทิ้งค้างคืน จนหมดกลิ่นคลอรีน แล้วจึงนำไปใช้
ข้อควรระวัง ควรใช้สารเสริมประสิทธิภาพผสมกับสารป้องกันกำจัดโรคพืชดังกล่าว ข้างต้น เพื่อป้องกันเปรอะเปื้อนสารเคมีบนดอกกล้วยไม้ แต่ถ้าใช้ในอัตราที่เข้มข้นมากเกินไปจะพบว่าในฤดูฝนทำให้กลีบดอกไม้เกิดการ ฉ่ำน้ำผิดปกติไป (เมื่อส่องดูด้วยแสงไฟ กลีบดอกกล้วยไม้ปกติจะทึบแสง แต่ดอก ที่ฉ่ำผิดปกติจะโปร่งแสง) ดอกไม่มีคุณภาพ ส่วนในหน้าแล้งทำให้กลีบดอกกล้วยไม้เป็นสีซีดขาว ดอกเสียหายเช่นกัน สารเสริมประสิทธภาพต้องมีคุณสมบัติเป็นสารช่วยกระจายตัว (spreader) ช่วย จับใบ (sticker) ช่วยให้ละลายเปียกน้ำ (wettingaction) การฟุ้ง กระจาย (dispersing) และหยดน้ำ (droplets) สม่ำเสมอ ลดแรงตึง ผิว (surfactant) ช่วยให้สารเคมีเกาะติดอยู่โดยจะไปละลายไขมันบนผิว ของพืชและเปิดทางให้สารเคมีเกาะติดหรือซึมเข้าสู่เซลล์ผิวพืชได้ดี ในท้อง ตลาดมีจำหน่ายหลายชนิดแต่คุณสมบัติ ดังกล่าวข้างต้น มีน้อย คุณภาพต่ำ ราคา ถูก เมื่อนำสารเสริมประสิทธิภาพเหล่านี้ไปใช้แล้ว ก่อให้เกิดความเสียหายต่อ สรีรวิทยาของพืช ฉะนั้นเกษตรกรควรคำนึงถึงสารเสริมประสิทธิภาพที่มี คุณสมบัติที่ดี ช่วยให้พืชที่ปลูกได้ผลผลิตที่มีคุณภาพมาตรฐานดีตามความต้อง การของตลาด ถึงแม้ว่าสารเสริมประสิทธิภาพชนิดนั้นจะมีราคาค่อนข้างแพง แต่ คุ้มค่ากับการลงทุน
นอกเหนือจาการใช้สารเคมีแล้ว การใช้ปุ๋ยให้ถูกสัดส่วนตามระยะการเจริญเติบโตของ พืช ก็มีส่วนช่วยแก้ไขปัญหาโรคนี้ได้เช่นกัน เนื่องจากสูตรปุ๋ยที่มีในโต รเจนสูง (สภาพแวดล้อมในฤดูฝน ซึ่งเป็นช่วงระบาดของโรคนี้ น้ำฝนจะเพิ่มธาตุ ไนโตรเจนให้สูงขึ้นตามธรรมชาติ) จะช่วยทำให้เกิดโรคนี้มากยิ่งขึ้น แต่ถ้า เพิ่มปุ๋ยที่มีธาตุโปตัสเซียมให้สูงขึ้น จะช่วยเพิ่มความต้านทานต่อโรค และ ลดความรุนแรงของโรคนี้ได้
***โปรดติดตามตอนต่อไป*** แหล่งที่มา :ข้อมูล: เอกสารวิชาการกล้วยไม้ กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ภาพ: เอกสารนำเสนอเรื่องโรคของกล้วยไม้และการป้องกันกำจัด โดยนิยมรัฐ ไตรศรึ กลุ่มวิชาการ สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร
ขอขอบคุณแหล่งความรู้จาก
 ชอบกด Like & Share เป็นกำลังใจให้ด้วยน่ะจ๊ะ
Create Date : 19 ธันวาคม 2555 |
Last Update : 19 ธันวาคม 2555 11:25:11 น. |
|
0 comments
|
Counter : 2228 Pageviews. |
|
 |
|