คลังความรู้เรื่องวิศวกรรมและการเกษตร ที่คนทั่วไปก็สามารถเข้าใจได้

<<
ธันวาคม 2555
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
13 ธันวาคม 2555
 

การขยายพันธุ์กล้วยไม้ แบบอาศัยเพศ

     การขยายพันธุ์พืช  คือ การเพิ่มปริมาณต้นพืชให้มีจำนวนมาก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อดำรงสายพันธุ์พืชต่างๆ ไว้มิให้สูญพันธุ์ไปจากโลก และมีการกระจายพันธุ์ที่ดี  เพื่อเพิ่มปริมาณผลผลิตรวมถึงการผลิตพืชพันธุ์ดีชนิดต่างๆ เพื่อเป็นการค้า ในอดีตการขยายพันธุ์พืชส่วนใหญ่มักจะใช้วิธีเพาะเมล็ดเป็น หลัก ซึ่งทำให้ได้พันธุ์ที่เกิดใหม่ มีลักษณะผันแปร ไม่เหมือนกับต้นแม่ ส่วนใหญ่จะได้ลักษณะที่เลวกว่าพันธุ์เดิม ซึ่งก็เป็นวิธีการปรับปรุงพันธุ์ พืช เพื่อให้ได้สายพันธุ์พืชใหม่ๆ การขยายพันธุ์พืชเพื่อให้สำเร็จได้นั้น ผู้ขยายพันธุ์พืชต้องมีความรู้ทาง ด้านวิทยาศาสตร์ของการขยายพันธุ์พืช กล่าวคือ รู้จักส่วนต่างๆและการเจริญเติบโตของพืช จึงต้องรู้วิชาที่เกี่ยวข้องกับพฤกษศาสตร์พืชสวน และพันธุ์ศาสตร์ เป็นต้น และต้องรู้จักชนิดของพืช วิธีการขยายพันธุ์พืช เฉพาะอย่างของพืชนั้นๆ รวมทั้งต้องมีศิลปะในการขยายพันธุ์พืช  การขยายพันธุ์พืชโดยเฉพาะกล้วยไม้  ทั้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และจากการผลิตเป็นการค้ามีอยู่ 2 วิธี คือ การขยายพันธุ์แบบอาศัยเพศ (Sexual propagation) และการขยายพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ (asexual  propagation) ซึ่งแต่ละวิธีก็มีจุดมุ่งหมายและผลที่ได้รับแตกต่างกัน 

การขยายพันธุ์แบบอาศัยเพศ (Sexual propagation)

ารขยายพันธุ์กล้วยไม้แบบอาศัยเพศเป็นการขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด ที่ได้จากการผสมเกสร (pollination)  จากนั้นส่วนของรังไข่ (overy) จะมีการเจริญและพัฒนาไปเป็นผล (fruit)ซึ่งเรียกว่า ติดฝัก (pot) แล้ว จึงนำเมล็ดภายในฝัก เพาะให้งอกเป็นต้นกล้วยไม้ต่อไป โดยปกติธรรมชาติกล้วยไม้ป่า ถ้าเจริญอยู่ในสภาพแวดล้อม  ความชื้นที่เหมาะสม เมล็ดสามารถงอกและเจริญเติบโตได้โดยอาศัยการเจริญร่วมกับเชื้อรา แต่พบว่าเปอร์เซ็นต์การงอกไม่ดีและค่อนข้างจำกัด จากการศึกษาของนักวิทยา ศาสตร์ทำให้ทราบว่าเมล็ดดังกล่าวงอกได้โดยได้รับอาหารจากเชื้อราไมคอไร ซา (mycorhiza)สกุลไรซ็อกโทเนีย (Rhizoctonia) ที่อยู่ตามรากกล้วยไม้  โดยราพวกนี้จะให้น้ำตาลและสารอินทรีย์ บางชนิดแก่คัพภะที่เริ่มงอก ได้มีการศึกษากันเรื่อยมาจนกระทั่ง สามารถเพาะเมล็ดและเพาะเลี้ยง เนื้อเยื่อกล้วยไม้ได้เป็นอย่างดี มากกว่า 80 สกุล

ย่าง ไรก็ตามผลของการเพาะเมล็ด นอกจากจะให้ปริมาณต้นกล้วยไม้เพิ่มขึ้นแล้ว ยังให้ลักษณะต่างๆ ที่ผิดเพี้ยนกันไปตามความบริสุทธิ์ของสายพันธุ์ของต้นพ่อ – แม่พันธุ์ กล้วยไม้ที่เกิดจากการเพาะเมล็ดนั้น อาจมีลักษณะผิดแปลกไปในทางดีเด่นกว่าเดิม หรือเลวกว่าเดิม หรือปะปนกันอยู่ ดังนั้นการขยายพันธุ์โดยวิธีนี้ ผู้ขยายพันธุ์มีความต้องการ 2 ประการ คือ 

ต้องการเพิ่มปริมาณของกล้วยไม้ให้มากขึ้น โดยไม่เน้นถึงคุณภาพของกล้วยไม้มากนัก และรวดเร็วกว่าการขยายพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ เพราะฝักกล้วยไม้หนึ่งๆนั้น มีจำนวนเมล็ดมากมายนับหมื่นนับแสนเมล็ด
ต้องการเปลี่ยนแปลงคุณลักษณะของกล้วยไม้ ให้แตกต่างจากเดิม เพื่อให้ได้ต้นและ ดอกที่มีลักษณะเด่นแปลกออกไป และเหมาะสมกับวัตถุประสงค์ในการใช้ เช่น เพื่อใช้ตัดดอก ใช้เป็นไม้กระถางประดับ หรือใช้ประกวด 

ในการผสมพันธุ์กล้วยไม้นั้นผู้ผสมพันธุ์ต้องทราบถึงข้อควรคำนึงต่างๆ  ดังนี้
กล้วย ไม้ที่จะนำมาผสมกันนั้น ต้องเป็นกล้วยไม้ที่เจริญเติบโตในแบบเดียวกัน  เช่นกล้วยไม้ที่มีการเจริญเตอบโตทางยอด (monopodial) ก็จะต้องนำมาผสมกับกล้วยไม้ที่มีการเจริญเติบโตทางยอดเช่นเดียวกัน
กล้วยไม้ที่อยู่ในสกุลเดียวกันจะผสมกันได้ง่ายกว่ากล้วยไม้ที่อยู่ต่างสกุลกัน
ในการผสมเกสรกล้วยไม้จะต้องเลือกต้นพ่อ – แม่พันธุ์ที่มีการเจริญเติบโตเต็มที่
ดอก กล้วยไม้จะต้องมีความสมบูรณ์ คือ ดอกบานเต็มที่แล้ว แต่ยังไม่โรย นอกจากนี้ควรคัดต้นที่มีลักษณะเด่นในการผสม เพื่อที่จะให้ได้ลูกที่มีลักษณะดี
ข้อจำกัดในการผสมพันธุ์อีกอย่างหนึ่ง คือ ดอกกล้วยไม้ที่จะนำมาเป็นต้นพ่อ – แม่ พันธุ์บานไม่พร้อมกัน
วิธีแก้ปัญหา
คือ การเลี้ยงต้นกล้วยไม้ไว้หลายๆต้น  และคัดเลือกเอาต้นที่มีการบานของดอกใกล้เคียงกันให้มากที่สุด  หรือสามารถเก็บกลุ่มเรณูไว้เพื่อผสมเกสรในระยะต่อมา เมื่อต้นแม่พันธุ์ที่ต้องการผสมด้วยออกดอก
วิธีเก็บรักษา
คือ แกะเอากลุ่มเรณูออกจากฝาครอบ นำไปใส่ในหลอดแคปซูลยา  ปิดให้แน่น เขียนรายละเอียดพันธุ์ และวันที่เก็บ บรรจุแคปซูลใส่ขวดที่ปิดฝาใส่ขวดดังกล่าวไว้ในตู้เย็นช่องแช่เย็นธรรมดา  ที่มีอุณหภูมิประมาณ 10 องศาเซลเซียส ซึ่งสามารถเก็บไว้ได้นานถึง 1 ปี โดยไม่เสียคุณสมบัติ
ถ้าดอกต้นแม่พันธุ์มีขนาดใหญ่ ส่วนดอกพ่อพันธุ์มีขนาดเล็ก ควรใช้กลุ่มเรณูจาก ต้นพ่อหลายๆ ดอก ใส่ในแอ่งยอดเกสรตัวเมีย เพื่อให้ได้ปริมาณฮอร์โมนจากกลุ่มเรณูมากพอในการกระตุ้นให้เจริญเติบโตและ พัฒนาไปเป็นฝักได้  และในกรณีตรงกันข้าม  หากดอกต้นพ่อมีขนาดใหญ่กว่าให้ผ่ากลุ่มเรณูด้วยใบมีดที่คมและสะอาด และใส่กลุ่มเรณูบางส่วนลงในแอ่งยอดเกสรตัวเมีย
ควรผสมพันธุ์ในช่วงอากาศไม่ร้อนจัด เช่น ตอนเช้า และวันที่ฝนไม่ตก

ารผสมเกสร
คือ การนำเอากลุ่มเรณู (pollinia) วางลงในแอ่งยอดเกสรตัวเมีย (stigma) (ภาพที่ 1 และ 2) โดยมีลำดับขั้นตอนดังนี้  คือ

เลือกต้นแม่พันธุ์ที่มีความสมบูรณ์เต็มที่ ดอกบานแล้ว 2-3 วันควรใช้ดอกที่เพิ่งบานเต็มที่
ใช้ไม้เล็กๆ เขี่ยกลุ่มเรณูของดอกที่จะใช้เป็นต้นแม่ออก เพื่อป้องกันการผสมตัวเองในภายหลัง (ภาพที่ 2 ก)
เลือกดอกที่จะใช้เป็นพ่อพันธุ์  เขี่ยกลุ่มเรณูให้ตกบนกระดาษสะอาดหรือฝามือฝาครอบกลุ่มเรณูจะหลุดติดมาด้วย
กล้วย ไม้ประเภทแตกกอ (sympodial) ให้ใช้ไม้เล็กๆ แตะน้ำเหนียวๆ ในแอ่งยอดเกสรตัวเมียของดอกที่ไม่ใช้ผสม นำมาแตะกลุ่มเรณู กลุ่มเรณูซึ่งไม่มีก้านและฐานจะหลุดร่วงออกจากฝาครอบมาติดกับไม้จิ้มฟันโดย ง่าย สำหรับกล้วยไม้ประเภทไม่แตกกอ (monopodial) หรือ ประเภทแวนดา กลุ่มเรณูจะมีก้านและฐานซึ่งเป็นเยื่อบางๆ มีความหนืด จึงติดไม้จิ้มฟันได้โดยไม่ต้องแตะน้ำเหนียวๆ
นำกลุ่มเรณูไปวางไว้บนแอ่งยอดเกสรตัวเมีย (ภาพที่ 2 ข)
ติดป้ายบอกวันที่ผสม และชื่อต้นพ่อ-แม่ พันธุ์ โดยคล้องลวดที่ก้านดอก
หลังจากผสมเกสรแล้วไม่กี่วัน กลีบดอกจะเริ่มเหี่ยว ควรตัดส่วนของดอกเหล่า นั้นทิ้งเพื่อไม่ให้เน่าและลามไปยังเส้าเกสร

1. กลีบชั้นนอกกลีบบน - dosal sepa   2. กลีบชั้นนอกคู่ล่าง - lateral sepal   3. กลีบชั้นใน - petal   4. ปาก - labelum

5. เส้าเกสร - column   6. หูกระเป๋า - side lobe   7. ปลายปาก - midlobe   8. ฐานเส้าเกสร - column foot

9. เดือยดอก - mentum   10. รังไข่ - ovary   11. ไข่อ่อน - ovule   12. ก้านดอก - pedicel   13. ก้อนเรณู - pollinia

ภาพที่ 1 โครงสร้างทั่วไปของดอกกล้วยไม้

   หลัง จากการผสมเกสรแล้วประมาณ 12 ชั่วโมง แอ่งของยอดเกสรตัวเมียจะขยายตัวขึ้นน้ำเหนียวๆ ในแอ่งจะข้นคล้ายแป้งเปียกและเพิ่มปริมาณขึ้น ไม่กี่วันสีของดอกจะซีดและกลีบดอกจะเหี่ยว ถ้าผสมไม่ติดดอกจะร่วงหลุดไป ถ้า ผสมติดก้านดอกส่วนที่เป็นรังไข่จะเปลี่ยนไปเป็นสีเขียว และขยายเจริญไปเป็นฝัก อายุของฝักกล้วยไม้ มีระยะเวลาเร็วช้าต่างกันตามชนิด ของกล้วยไม้ (ตารางที่ 1) ความสมบูรณ์ของต้น สภาพแวดล้อม การดูแลรักษา  เป็นต้น เมื่อฝักแก่ ผิวของฝักซึ่งเดิมเป็นสีเขียวจะค่อยๆเปลี่ยนเป็นสีเขียวอมเหลืองและเป็นลีน้ำตาลในที่สุด


แหล่งที่มา : เอกสารวิชาการกล้วยไม้ กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เอกสารวิชาการลำดับที่ 15/2547 ISBN 974-436-352-5

ขอขอบคุณแหล่งความรู้จาก

ชอบกด Like & Share เป็นกำลังใจให้ด้วยน่ะจ๊ะ




Create Date : 13 ธันวาคม 2555
Last Update : 13 ธันวาคม 2555 15:31:25 น. 0 comments
Counter : 2669 Pageviews.  
 
Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

Mr.Evo_IV
 
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 17 คน [?]




[Add Mr.Evo_IV's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com