bloggang.com mainmenu search



( ภาพผม ขณะฝึกพูด ในสโมสรฝึกการพูดกำแพงเพชร )


อจ.สันติ อภัยราช ได้แนะนำว่า ผู้พูด ควรรู้จักการใช้ไมโครโฟน เพราะ ไมโครโฟน เปรียบเหมือน อาวุธ ของ นักพูด ... ผมเลยลองหาในเนต และ นำมาฝาก  ..


การใช้ไมโครโฟน

//nonixx.exteen.com/20080510/entry

· การใช้ไมโครโฟน ที่มีขาตั้ง เมื่อเดินไปถึงตำแหน่งที่ตั้งไมโครโฟนให้สังเกตอย่างรวดเร็วเกี่ยวกับระดับความสูงต่ำของไมโครโฟน ว่าอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมแล้วหรือยัง ถ้าสูงไปจนบังใบหน้าหรือต่ำจนต้องค้อมตัวลงไปหา ให้จับที่ข้อต่อหมุนขยับ ปรับระดับให้สูงหรือต่ำแล้วหมุนเกลียวกลับให้แน่นเหมือนเดิม หากต้องนั่งพูดใช้ไมโครโฟนตั้ง ปัญหาความสูง – ต่ำมักไม่มี เพียงแต่ขยับตัวนั่งให้เหมาะเจาะเท่านั้น

· อย่าเอามือจับไมโครโฟนตลอดเวลา

· ถ้าไม่จำเป็นไม่ควรจับหรือเล่นสายไมโครโฟนเพราะผู้ฟังจะหันความสนใจไปดูสิ่งที่เคลื่อนไหว

· ไม่เคาะไม่เป่าไมโครโฟนหรือทดลองเสียงด้วยวิธีอื่นๆ ให้ระยะห่างระหว่างปากกับไมโครโฟน ห่างกันประมาณ 5-8 นิ้ว แต่ทั้งนี้ก็จะต้องขึ้นอยู่กับความไวในการรับเสียงของไมโครโฟนด้วย

· ถ้าขณะพูดจะเดินไปอธิบายไปซึ่งตัวอาจจะอยู่ห่างจากไมโครโฟน ควรถอดไมโครโฟนถือไปด้วย

· หากการพูดต้องใช้มือถือไมโครโฟนข้อศอกข้างที่ถือไมโครโฟนให้แนบข้างลำตัว

· เมื่อพูดไม่ควรใช้มือที่ถือไมโครโฟนแสดงท่าทางประกอบเพราะจะทำให้เสียงที่พูดไม่ ชัดเจนและเสียงจะขาดๆ หายๆ หรือขาดตอนตลอด

· ระวังอย่างให้เสียงอื่นๆที่เกิดจากผู้พูดเข้าสู่ไมโครโฟน เช่น เสียงไอ กระแอมหากออกไปโดยไม่รู้ตัวต้องรีบขออภัยผู้ฟัง

· อย่าจ้องไมโครโฟน ให้มองผู้ฟัง

· หากเกิดเสียงหวีดของไมโครโฟนอันเกิดจาก “การย้อนกลับของสัญญาณ” การแก้ไข ควรใช้ฝ่ามือค่อยๆวางบนไมโครโฟน หากยังมีเสียงหวีดอีกต้องปรับเครื่องขยายเสียง อย่าพูดไปทั้งๆ ที่มีเสียงหวีด

· บางครั้งจำเป็นต้องถือไมโครโฟนอย่าถือทั้งขาตั้ง ให้ถอดตัวไมโครโฟนออกจากขาตั้งเสียก่อน เวลาถืออย่ากำไมโครโฟนแน่นหรือให้กำหลวมๆ ถือให้ห่างจากปากพอสมควร ถ้าควบคุมการหายใจได้อาจถือในระยะใกล้ได้อย่าถือต่ำหรือยกแบบตั้งฉาก

· หากเป็นการพูดจากการอ่านจากต้นฉบับการถือต้นฉบับไม่ควรที่จะถืออ้อมไมโครโฟนควรถือให้อยู่ระหว่างผู้พูดกับไมโครโฟนและอย่ายกกระดาษร่างขึ้นสูงจนบังใบหน้าหรืออยู่ชิดไมโครโฟนเกินไปขณะที่พลิกกระดาษเสียงจะดังเข้าไมโครโฟน

· กรณีที่ใช้โมโครโฟนแบบตั้งโต๊ะเวลาพูดเสร็จและต้องการเลื่อนไปให้ผู้ร่วมอภิปรายคนต่อไปอย่าลากไมโครโฟน ให้ยกไปวาง เพราะการลากไมโครโฟนจะทำให้เกิดเสียงดังมาก

(เอกสารเผยแพร่โดยสวท.ตราด)


เทคนิคเล็กๆน้อยๆเกี่ยวกับการใช้ไมโครโฟน

//www.oknation.net/blog/Reggae/2010/11/18/entry-1

1. ควรไปถึงก่อนสถานที่มีงานหรือกิจกรรมก่อนเวลาสัก 1 ชั่วโมงแล้วลองพูดผ่านไมโครโฟนดูว่าเสียงเป็นอย่างไร ชัดเจนแค่ไหน ตามปกติจะมีตำราว่าการใช้ไมค์โครโฟนให้ห่างจากปากประมาณ 10 นิ้ว แต่ไมค์โครโฟนสมัยนี้มีหลายแบบ หลายรุ่น บางรุ่นอยู่ห่างจากปากพูดเบาๆๆก็ได้ยินบางรุ่นต้องจ่อไว้เกือบติดปากจึงจะชัดเจน

2. ขณะที่พูดควรสังเกตเสียงจากไมค์โครโฟนด้วยว่าชัดเจนแค่ไหนท่านต้องปรับระยะการใช้ไมค์โครโฟนให้เหมาะสมเสมอบางทีพูดๆไปเสียงลมจากการเปิดปากพูด หรือเสียงลมหายใจจะออกมาชัดเจนต้องใช้วิธีดึงไมค์โครโฟนออกห่างจากปากสักหน่อยแล้วพูดหรือถ้าเป็นไมค์ลอยลักษณะการถือมักจะต้องจับไมค์โครโฟนเกือบขนานกับพื้นเสียงจึงจะออกมาชัดเจน

3. ต้องสังเกตว่าสวิชท์เปิด ปิดไมค์โครโฟนอยู่ตรงไหนก่อนพูดต้องเปิดให้เรียบร้อยและพูดจบต้องปิดให้เรียบร้อยเพื่อป้องกันเสียงอื่นๆแทรกขณะไม่ได้ใช้ไมค์โครโฟนนอกจากนี้ขาตั้งไมค์จะมีหลายแบบท่านต้องศึกษาจากผู้ควบคุมเสียงว่าจะเลื่อนขึ้นลงอย่างไร บางรุ่นจะใช้วิธีหมุนเกลียว บริเวณขาไมค์บางรุ่นจะใช้วิธียกที่ข้อต่อ

4. เมื่อเริ่มต้นพูดอย่าทดลองเสียงด้วยคำว่า “ฮัลโหล...ฮัลโหล” เคาะ หรือ เป่าลมใส่ไมค์โครโฟนเป็นอันขาด ควรพูดออกไปเลยว่า “สวัสดีคะ(ครับ)”และนี่คือเหตุผลทำไมท่านจะต้องไปถึงงานก่อนเวลาเริ่มงานเพื่อทดสอบความพร้อมของไมค์โครโฟน นั่นเอง

5. เมื่อพูดจบแต่ละช่วงหากท่านจำเป็นต้องยืนอยู่บนเวทีและต้องถือไมโครโฟนไว้ ควรถือไว้ระดับเอว อย่ายืนถือแบบตามสบายโดยแนบข้างลำตัวเพราะจะทำให้ดูบุคลิกภาพไม่ดี

<<<<span lang="TH">ขอขอบคุณหนังสือคู่มือการพัฒนาตนเองโดยสำนักงานเสริมสร้างความเข้มแข็งชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย; เทคนิค การเป็นพิธีกร โดยวรรณภา วรรณศรี หัวหน้าหน่วยศึกษานิเทศก์สำนักการศึกษา เมืองพัทยา

Create Date :21 เมษายน 2556 Last Update :21 เมษายน 2556 13:48:51 น. Counter : 11875 Pageviews. Comments :0