bloggang.com mainmenu search




slideประกอบการบรรยาย "ทำอย่างไรดีเมื่อแพทย์โดนฟ้อง"
สำหรับเพื่อนแพทย์ทุกท่าน
ขอบคุณความรู้จากท่านผู้พิพากษา ท่านอัยการ และเพื่อนนักกฎหมาย
แต่ไม่ว่าอย่างไรดี การไม่ถูกฟ้องคือสุดยอดปรารถนา

รศ.นพ.เมธี วงศ์ศิริสุวรรณ

สรุปการบรรยาย "ทำอย่างไรดีเมื่อแพทย์โดนฟ้อง"
https://www.facebook.com/methee.wong.7/posts/6175808509113328

ไฟล์ดาวโหลด
https://drive.google.com/file/d/12JQnIFAqBGXWIfhNrzlbr23an18sRkf5/view?fbclid=IwAR2ThNeoWDtzMyryyegaUYPT8CZMw6vVsiGdz9akjq7O23hEkeaqULFM31U

..........................................

สำหรับเพื่อนแพทย์ทุกท่าน
คงไม่มีใครอยากโดนฟ้อง

คนที่โดนฟ้อง...มักเป็นคนที่ไม่คิดว่าจะโดนฟ้อง...และมักเป็นคนที่ไม่สนใจเรื่องนี้มาก่อนเลย !!!

ถ้าท่านคิดว่าท่านเป็นฝ่ายผิด...ดีที่สุดคือ "ไกล่เกลี่ย"
หากท่านมั่นใจว่าเป็นฝ่ายถูก...การต่อสู้คดี เป็นทางออกหนึ่งที่จะพิสูจน์ความจริงต่อสาธารณชน และรักษาเกียรติศักดิ์ของท่าน...แต่ต้องอดทนและต้องต่อสู้โดยมีเข็มทิศที่ถูกต้องนำทาง



(๑) การที่คดีแพทย์ถูกจัดให้เป็นคดีผู้บริโภค ทำให้เกิดภาระหนักตกอยู่ที่แพทย์ เพราะ “แพทย์มีหน้าที่ต้องพิสูจน์” + “พิสูจน์ว่าตนเองไม่ได้ประมาทตามที่โจทก์กล่าวอ้าง”



(๒) สิ่งสำคัญที่สุดเมื่อโดนฟ้องคือ “สติ”

ท่านจะต้องมีสติ และอาจไม่มีเวลาสำหรับ “ทำใจ” เท่าใดนัก เพราะตามกฎหมายแล้วจะมีเงื่อนเวลาหลายอย่างที่แพทย์ต้องรีบทำให้ทันภายในกำหนด โดยเฉพาะ “การทำคำให้การแก้ฟ้อง” ดังนั้นคนที่จะช่วยท่านได้ คือ ทีมแพทย์พยาบาลที่เกี่ยวข้องในคดีและที่สำคัญที่สุดคือ “ทีมนักกฎหมาย” ไม่วาจะเป็น อัยการ ทนายความ หรือนิติกร ...ท่านต้องรีบหาทีมAvengersเหล่านี้มาช่วยเหลือท่าน โดยเฉพาะประเด็นเรื่องข้อกฎหมายและระเบียบวิธีการปฏิบัติตามกฎหมาย ซึ่งเป็นสิ่งที่ท่านไม่อาจรู้ได้เอง


(๓) ตรวจสอบ Checklists ที่ต้องเตรียมตัวในการต่อสู้คดี (เมื่อท่านมั่นใจว่าท่านมิได้กระทำผิดตามคำกล่าวฟ้องของโจกท์)
- สรุปเรื่องราว ... และควรทำเป็น TimeLine ให้ชัดเจนสำหรับคนนอกที่ไม่ใช่แพทย์จะได้ลำดับเหตุการณ์ได้ง่ายและถูกต้อง....ประเด็นคำฟ้อง ทุนทรัพย์ มาตราที่ใช้ฟ้อง
- ตรวจสอบเบื้องต้น .. วันครบกำหนดยื่นคำให้การ อายุความ อำนาจฟ้อง ฟ้องผิดตัว ฟ้องไม่ครบคน
- ตรวจสอบโดยละเอียด .. ข้อเท็จจริงในคำฟ้องคลาดเคลื่อนหรือไม่ พยานหลักฐาน พยานบุคคล พยานเอกสาร
- พยาน .. พยานบุคคลที่เป็นกลาง มีความน่าเชื่อถือพร้อมแสดงให้ศาลเห็นว่าทำไมพยานเราจึงน่าเชื่อกว่าพยานโจทก์ พยานเอกสารมีความสอดคล้องกันหรือไม่ พยานที่ศาลไม่อาจปฏิเสธการรับฟัง เช่น ภาพถ่าย คลิปVDO
- การต่อสู้คดี ...ต้องร่วมมือกับทนายหรืออัยการ อย่าปล่อยให้เขาสู้คดีตามลำพัง ทำลายความน่าเชื่อถือพยานที่โจทก์นำมาทั้งพยานบุคคลและพยานเอกสารด้วยพยานฝ่ายเรา (ซึ่งควรเตรียมพยานเอกสาร ตำราวิชาการไว้ด้วย)



(๔) ประเด็นสำคัญที่สุดต่อการแพ้ชนะในคดี ที่ท่านต้องต่อสู้(ชี้แจง)ให้ศาลเห็นด้วยกับท่าน คือ

(๑) มาตรฐานวิชาชีพ และมาตรฐานวิชาการ เข่นภาวะวิสัยพฤติการณ์ ประสบการณ์ สถานที่ทำงาน ว่าเป็นอย่างไร (ท่านมีประสบการณ์มากี่ปี ท่านเป็นผู้เชี่ยวชาญหรือแพทย์จบใหม่ รพ.มีข้อจำกัดอะไร ภาระงานที่ท่านมีคืออะไร หรือ ณ วันเวลาที่เกิดเหตุการณ์ มีสถานการณ์พิเศษอะไรเช่น คนไข้เทกระจาดมาพร้อมกัน ท่านเป็นแพทย์เวรเพียงคนเดียวแต่ต้องรับมือผู้ป่วยพร้อมกันหลายคน เป็นต้น) ท่านอดหลับอดนอนมาเท่าไร ท่านอยู่เวรปฏิบัติงานในช่วงเวลาดังกล่าวมากน้อยเพียงใด ..ทั้งนี้เพื่อให้ศาลเห็นว่าท่านมีข้อจำกัดอะไร ....เพราะโจทก์มักบรรยายฟ้องเสมือนว่าท่านเป็นแพทย์ที่เลอเลิศ เป็นแพทย์ที่มีประสบการณ์สูง วัน ๆ ท่านไม่ทำอะไร ท่านมีภาระงานไม่มาก หรือคิดเอาเองว่ารพ.ที่ท่านทำงานมีความพร้อมเหมือนกับ รร.แพทย์...

ประเด็นต่าง ๆเหล่านี้ศาลมิอาจรู้ได้เอง...ท่านต้องบรรยายให้ศาลทราบถึงข้อจำกัดเหล่านี้
หากมีเอกสารต้องเตรียมไปให้เรียบร้อยพร้อมแปลเป็นไทยให้ศาลเข้าใจ

(๒) ข้อยกเว้นความรับผิดทางละเมิด เช่นการให้ความยินยอม เหตุสุดวิสัย และความสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผล




(๕) ไม่ว่าท่านมั่นใจว่าจะชนะคดีมากแค่ไหนก็ตาม

ในคำแก้ฟ้อง และในการต่อสู้ในชั้นศาล ...ท่านต้องต่อสู้ในประเด็นนี้ด้วยเสมอ

ไม่อย่างงั้น...หากท่านแพ้คดี... ท่านอาจต้องจ่ายสินไหมในฐานกระทำละเมิดมากกว่าที่ควรจะต้องเสีย



(๖) ระมัดระวังเรื่อง “ค่าเสียหายเชิงลงโทษ (Punitive damage)” ซึ่งศาลอาจสั่งให้ท่านจ่ายหากเห็นว่าท่านกระทำการเข้าข่าย เช่น เจตนา ประมาทเลินเล่อร้ายแรง เอาเปรียบผู้ป่วยโดยไม่เป็นธรรม ไม่นำพาต่อความเสียหายที่เกิดแก่ผู้ป่วย .....ถ้าท่านมีพฤติการณ์เหล่านี้...ศาลอาจมีคำพิพากษาเกินคำขอได้



(๗) slideนี้ เป็นขั้นตอนมาตรฐานที่ "ต้อง" เกิดขึ้น และ "ต้อง" เป็นไปตามนี้ หากท่านปฏิบัติงาน ณ รพ.ของรัฐ และท่านเป็นพนักงานของรัฐ (ข้าราชการ/ลูกจ้างประจำ) และคดีที่เกิดขึ้นเกิดเนื่องจากการปฏิบัติงานในหน้าที่รัฐ

หากนิติกร หรือทีมที่รับผิดชอบในรพ.ที่ท่านปฏิบัติงานอยู่ไม่ทำตามขั้นตอนนี้...ท่านอาจแพ้คดีแบบ Technical KnockOutได้ (แพ้แบบไม่ควรแพ้)

แต่แม้ท่านปฏิบัติงานในภาคเอกชน ก็สามารถนำไปปรับใช้ได้ โดยตัดส่วนราชการที่ไม่เกี่ยวข้องออก และเปลี่ยนจากอัยการที่จะทำคดี เป็นทนายความแทน

และ "อย่า"ปล่อยให้การต่อสู้คดีเป็นหน้าที่ของนักกฎหมาย โดยที่ท่านปล่อยปละละเลยไม่ติดตามรายละเอียด ...แม้จะมี พรบ.ความรับผิดทางละเมิด คุ้มครองท่านอยู่ในกรณีที่ท่านทำงานในรพ.รัฐก็ตาม (อย่าลืมว่า หากแพ้คดี ก็ยังมีสิทธิโดนไล่เบี้ย !!ได้)


..................................................


🎯หัวข้อ
“ทำอย่างไรดีเมื่อแพทย์โดนฟ้อง” และ
“practical point in drug allergy for physicians”
.
📅วันศุกร์ที่ 14 ตุลาคม 2565⏰
เวลา 13.00 น. - 16.00น.
รับชมผ่าน Facebook live เพจแพทยสภา ที่
https://www.facebook.com/thaimedcouncil
...........................................
กำหนดการ
⏰13.00 - 13.10 น. :
กล่าวความเป็นมาการประชุมวิชาการ ครั้งที่ 5
โดย พล.อ.ท.นพ.อิทธพร คณะเจริญ
เลขาธิการแพทยสภา
⏰13.10 - 13.20 น. :
กล่าวเปิดการบรรยาย
โดย ศ.เกียรติคุณ พญ.สมศรี เผ่าสวัสดิ์
นายกแพทยสภา
⏰13.20 - 13.40 น. :
ความรู้สำหรับ แพทย์โดนฟ้องร้อง ในมุมมองจากแพทยสภา
โดย พล.อ.ท.นพ.อิทธพร คณะเจริญ
เลขาธิการแพทยสภา
⏰13.40 - 14.10 น. :
ความรู้สำหรับ แพทย์เมื่อโดนฟ้องร้อง ในมุมมองจากอัยการ
โดย นาย อังคาร เพชรอาวุธ
อัยการประจำสำนักงานอัยการสูงสุด
⏰14.10 - 15.00 น. :
เสวนา ความรู้ทางกฎหมาย สำหรับที่แพทย์ต้องทราบ
โดย นาย อังคาร เพชรอาวุธ อัยการประจำสำนักงานอัยการสูงสุด รศ.นพ.วิสูตร ฟองศิริไพบูลย์ รองเลขาธิการแพทยสภา
รศ.นพ.เมธี วงศ์ศิริสุวรรณ ผู้ช่วยเลขาธิการแพทยสภา
ผศ.นพ.ต่อพล วัฒนา ผู้ช่วยเลขาธิการแพทยสภา
⏰15.00 - 15.10 น. :
ช่วงถาม - ตอบ Q&A
⏰15.15 - 15.45 น. :
practical point in drug allergy for physicians
โดย รศ.นพ.เจตทะนง แกล้วสงคราม
ผู้แทนสมาคมโรคภูมิแพ้ โรคหืดและวิทยาภูมิคุ้มกันแห่งประเทศไทย
ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
⏰15.45 - 16.00 น. :
กล่าวปิดการบรรยาย
โดย พล.อ.ท.นพ.อิทธพร คณะเจริญ
เลขาธิการแพทยสภา
.
ดำเนินรายการโดย นายแพทย์ภาสกร วันชัยจิระบุญ ผู้ช่วยเลขาธิการแพทยสภา
...................................................
แพทยสภาขอขอบพระคุณทุกท่าน
ที่เข้าร่วมสนับสนุนกิจกรรมของแพทยสภามาโดยตลอด



 
Create Date :17 ตุลาคม 2565 Last Update :17 ตุลาคม 2565 14:41:26 น. Counter : 1405 Pageviews. Comments :0