bloggang.com mainmenu search
ไวรัส Wuhan


ไวรัสอู่ฮั่น Wuhan virus นำมาฝาก (ไม่ได้เขียนเอง ^_^)

คัดลอกภาพและข้อความจากเฟส One Slide ID   20มกราคม2563
https://www.facebook.com/oneslideid/posts/1037497843280009

จาก SARS ถึง MERS
จาก MERS ถึง Wuhan virus


สรุปคำแนะนำจากกรมควบคุมโรคเพื่อรับมือไวรัสที่กำลังระบาดในเมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน

1. ผู้เดินทางที่จะเดินทางไปเมืองอู่ฮั่นหรือใกล้เคียง
a. หลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่แออัด
b. ไม่อยู่ใกล้ชิดผู้ป่วยไอจาม หากจำเป็นให้สวมใส่หน้ากากอนามัยเมื่ออยู่ในที่ชุมชน
c. หลีกเลี่ยงการเข้าไปตลาดค้าสัตว์ และไม่สัมผัสหรืออยู่ใกล้ชิดกับสัตว์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสัตว์ที่ป่วย หรือตาย
d. หมั่นล้างมือให้สะอาดอยู่เสมอด้วยน้ำและสบู่ หรือ แอลกอฮอล์เจลล้างมือ

2. ภายใน 14 วัน หลังเดินทางกลับจากพื้นที่เสี่ยง หากมีไข้ ร่วมกับอาการทางเดินหายใจ ได้แก่ ไอ เจ็บคอ มีน้ำมูก หายใจเหนื่อยหอบ ควรรีบพบแพทย์ทันที พร้อมทั้งแจ้งประวัติการเดินทางไปเมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน
....
Wuhan virus เป็นเพียงชื่อเล่นของ virus ที่กำลังระบาดในเมืองอู่ฮั่นประเทศจีน ซึ่งทราบแล้วว่าเป็น coronavirus (CoV) คำว่า corona แปลว่ามงกุฎในภาษาละติน คำนี้กลายเป็นชื่อไวรัสเพราะรูปร่างของมันคล้ายมงกุฎ หากมองด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องผ่าน (transmission electron microscpy)

Coronavirus ถูกค้นพบตั้งแต่ยุค 1960s เป็น positive sense RNA virus มีสายพันธุ์จำนวนมาก แต่ละสายพันธุ์ก่อโรคในสัตว์ต่างชนิดกัน เราสามารถรู้ host หรือแหล่งที่มาของ coronavirus ได้จากชื่อ เช่น ถ้าเป็น coronavirus ของคนก็เรียก Human coronavirus (HCoV) Rhinolophus bat coronavirus HKU2 พบในค้างคาว (Rhinolophus sinicus หรือ Chinese horseshoe bats) เป็นต้น

มีรายงานการติดเชื้อ coronavirus ทั้งในสัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมนานาชนิด เช่น สุนัข แมว สุกร คน ปศุสัตว์ ไม่เว้นแม้ วาฬเบลูก้า (Beluga whale coronavirus SW1)

Coronavirus จัดอยู่ใน order Nidovirales, family Coronaviridae, subfamily Coronavirinae ซึ่งแบ่งเป็น 4 genera (genus)

1. Alphacoronavirus เช่น HCoV-229, HCoV-NL63
2. Betacoronavirus เช่น SARS-CoV, MERS-CoV, Bat coronavirus หลายชนิด, Murine coronavirus
3. Gammacoronavirus เช่น Avian coronavirus, Beluga whale coronavirus
4. Deltacoronavirus เช่น Munia coronavirus, Bulbul coronavirus

สัตว์บางชนิดสามารถติดเชื้อ coronavirus ได้มากกว่า 1 สายพันธุ์ จึงมีโอกาสสูงที่ไวรัสต่างสายพันธุ์จะบังเอิญติดเชื้อในสัตว์ตัวเดียวกัน เกิดการแลกเปลี่ยนสารพันธุกรรม (genetic recombination) จนเกิดเป็น coronavirus สายพันธุ์ใหม่และแพร่ระบาดในที่สุด

บทความนี้เรียก coronavirus ที่ก่อโรค respiratory tract infection ทั่วไปและพบมานานแล้วว่า CAR-HCoV (community acquired respiratory HCoV) แยกจาก coronavirus สายพันธุ์ใหม่ ๆ ได้แก่ MERS-CoV, SAR-CoV และ สายพันธุ์ล่าสุดที่ระบาดในเมืองอู่ฮั่น

coronavirus มักก่ออาการคล้ายคลึงกันคือเริ่มต้นที่อาการของ respiratory tract infection เหมือนไข้หวัดและอาจรุนแรงมากขึ้นเป็น pneumonia หรือ respiratory failure ได้

CAR-HCoV เป็นไวรัสสำคัญชนิดหนึ่งที่ก่อโรค common cold หรือไข้หวัด สายพันธุ์ที่พบในผู้ใหญ่ ได้แก่ HCoV-229, HCoV-HKU1และ OC43 ส่วน HCoV-NL63 มักพบในเด็ก

Coronavirus ที่กำลังระบาดในเมืองอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ยนี้ website ของ WHO เปิดเผยว่าทางการจีนรายงานการระบาดตั้งแต่ 31 ธ.ค. 2019 และพบว่าสัมพันธ์กับการเข้าไปในตลาดอาหารทะเลหัวหนาน เมืองอู่ฮั่น

CNN รายงานว่านอกจากอาหารทะเลแล้ว ยังมีสัตว์อื่น ๆ หลายชนิด เช่น นก งู กระต่าย ฯลฯ ตลาดนี้ถูกสั่งปิดเมื่อ 1 ม.ค. 2020

วันที่ 7 ม.ค. 2020 ทางการจีนสามารถแยกเชื้อ coronavirus สายพันธุ์ใหม่ได้จากผู้ป่วย ขณะนี้เรียกว่า 2019-nCoV (2019 novel coronavirus) เมื่อวิเคราะห์ลำดับเบสใน RNA ของไวรัส พบว่าใกล้เคียงกับ Bat SARS like coronavirus มากที่สุด จัดอยู่ใน genus Betacoronavirus

นับแต่เริ่มการระบาดจนถึง 12 ม.ค. ทางการจีนรายงานว่ามีผู้ป่วยทั้งสิ้น 41 ราย ในเมืองอู่ฮั่น

เมื่อ 18 ม.ค. 2020 จำนวนผู้ป่วยเพิ่มเป็น 62 ราย

ล่าสุด 19 ม.ค. 2020 ทางการจีนรายงานว่า มีผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มอีก 139 ราย โดย 136 รายวินิจฉัยในเมืองอู่ฮั่น (อาการไม่รุนแรง 100 ราย, รุนแรง 33 ราย และ วิกฤต 3 ราย) 2 ราย พบในกรุงปักกิ่ง และอีก 1 รายในเมืองเซินเจิ้น มีผู้เสียชีวิตเพิ่ม 1 ราย

ช่วงนี้คนจีนเดินทางไปทั่วประเทศเพราะใกล้ตรุษจีนแล้ว 2019 Novel coronavirus ก็อาจแพร่กระจายไปด้วย
ตามตัวเลขที่รายงานนี้ รวมผู้ป่วยในจีนเท่ากับ 201 ราย

สถาบัน MRC center for global infectious disease analysis ของมหาวิทยาลัย Imperial Collage London คาดการณ์ว่าจำนวนผู้ติดเชื้อจริงอาจมากถึง 1723 ราย สำนักข่าวต่าง ๆ ติดตามเรื่องจำนวนผู้ป่วยอย่างใกล้ชิดซึ่งยังรายงานเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ

ถึงตอนนี้มีผู้เสียชีวิตทั้งหมดรวม 3 ราย

ผู้ป่วยรายแรกที่เสียชีวิตเป็นชาวจีน อายุ 61 ปี มีโรคประจำตัวหลายอย่างและเกิด severe pneumonia เสียชีวิตเมื่อ 9 ม.ค. 2020

ผู้ป่วยที่เสียชีวิตเป็นรายที่สอง คือ ชายชาวจีน อายุ 69 ปี เริ่มป่วยเมื่อ 31 ธ.ค. 2019 แล้วอาการแย่ลงเรื่อย ๆ CNN รายงานว่าผู้ป่วยรายนี้มี myocarditis ร่วมด้วยและ CT chest พบลักษณะที่สงสัยวัณโรค เสียชีวิตเมื่อ 15 ม.ค. 2020 ที่ผ่านมา

รายที่สามยังไม่ทราบข้อมูล

ประเทศแรกที่พบผู้ป่วย 2019-nCoV นอกประเทศจีน คือประเทศไทย

ผู้ป่วยเป็นหญิงชาวจีนอายุ 61 ปี เริ่มมีอาการ ไข้ หนาวสั่น เจ็บคอ และปวดศีรษะ เมื่อ 5 มค. 2020 เธอเดินทางมาประเทศไทยพร้อมคณะทัวร์อีก 16 คนเมื่อ 8 ม.ค. 2020 โชคดีที่เครื่องตรวจจับอุณหภูมิของสนามบินสุวรรณภูมิสามารถตรวจพบไข้ในผู้ป่วยคนนี้ และเจ้าหน้าที่จึงดำเนินการตรวจเพิ่มทางห้องปฏิบัติการพบ 2019-nCoV และส่งรักษาต่อที่สถาบันบำราศนราดูร ผู้ป่วยอาศัยในเมืองอู่ฮั่น มีประวัติไปตลาดสดในเมื่องอู่ฮั่นเมื่อ 5 ม.ค. 2020 แต่ไม่ได้ไปตลาดอาหารทะเลหัวหนาน จึงน่าสงสัยว่าผู้ป่วยรับเชื้อจากที่ใด ขณะนี้ผู้ป่วยหายดีแล้ว ส่วนคณะทัวร์อีก 16 คนตรวจไม่พบเชื้อ

ผู้ป่วยรายที่สองในไทยเป็น หญิงชาวจีน อายุ 74 ปีเดินทางมาไทยเมื่อ 13 ม.ค. 2020 ที่ผ่านมา ผู้ป่วยคนนี้ไม่มีความสัมพันธ์กับผู้ป่วยคนแรกเลย การตรวจเพิ่มเติมในผู้สัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วยคนที่ 2 จำนวน 20 คน ไม่พบ 2019-nCoV

ประเทศที่สองคือ ญี่ปุ่น ผู้ป่วยมีอาการระหว่างอยู่ในเมืองอู่ฮั่น แต่ไม่ได้ไปตลาดอาหารทะเลที่คิดว่าเป็นแหล่งแพร่เชื้อ เขาอาจติดเชื้อจากการใกล้ชิดกับผู้ป่วยคนอื่น ซึ่งทำให้สงสัยว่า 2019-nCoV อาจมี human to human transmission

#โดยสรุป Wuhan pneumonia นี้เกิดจากการติดเชื้อ Human coronavirus สายพันใหม่ขณะนี้เรียกว่า novel coronavirus (2019-nCoV) ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีประวัติเดินทางไปตลาดอาหารทะเลหัวหนาน เมืองอู่ฮั่น คาดว่าติดเชื้อจากการสัมผัสสัตว์ แต่ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าสัตว์ชนิดใดเป็นรังโรค (reservoir) ยังไม่มีการยืนยันการติดต่อจากคนสู่คน สามารถก่อโรคปอดติดเชื้อรุนแรงโดยเฉพาะผู้ป่วยสูงอายุหรือมีโรคประจำตัว ขณะนี้มีผู้ป่วยเสียชีวิต 3 ราย จากผู้ป่วยทั้งหมด 200 กว่าราย

จะมีคนไทยติดเชื้อหรือไม่?

2019-nCoV นับเป็นโรคระบาดแรกที่สร้างความตระหนกแก่โลกในปี 2020 และยังคงต้องติดตามสถานการณ์ต่อไป แต่นี่ยังนับว่าน่ากลัวน้อยหากเทียบกับเหตุการณ์ที่ coronavirus รุ่นพี่อย่าง SAR-coronavirus และ MERS-coronavirus เคยระบาดก่อนหน้านี้

ย้อนกลับไปเมื่อปี 2002 เคยมีเหตุการณ์ลักษณะคล้ายกันเกิดขึ้นที่กวางตุ้ง (Guangdong) ตอนใต้ของประเทศจีน เกิดการระบาดของโรคปอดบวมที่ไม่ทราบสาเหตุเมื่อ พ.ย. 2002 ก่อนจะระบาดไปในหลายประเทศเมื่อ มี.ค. 2003 เราเรียกโรคในขณะนั้นว่า SARS ต่อมาจึงรู้ว่าเชื้อก่อโรคคือ coronavirus เรียกสายพันธุ์นั้นว่า severe acute respiratory syndrome coronavirus (SARS-CoV) ซึ่งติดต่อจากคนสู่คนผ่านทาง droplet หรือ contact transmission

ในการระบาดครั้งนั้น มีผู้ติดเชื้อ 8096 รายจาก 29 ประเทศ เสียชีวิตถึง 774 ราย คิดเป็นอัตราตาย (case fatality rate)เกือบ 10% ผู้ป่วยที่อายุมากกว่า 65 ปีมีอัตราตายสูงถึง 50% คาดว่าเริ่มแรกนั้นคนติดเชื้อจากการสัมผัสสัตว์ คือ masked palm civets (Paguma larvata) และ raccoon dog (Nyctereutes procyonoides) จากตลาดขายสัตว์เมืองเซินเจิ้น (Shenzhen) แต่สัตว์ทั้งสองน่าจะเป็นเพียง incidental host เพราะไม่พบ SARS-coronavirus ในสัตว์ดังกล่าวที่อยู่ในธรรมชาติหรือโรงเลี้ยง สัตว์ที่เป็น reservoir แท้จริงของ SARS-coronavirus คือ ค้างคาว

การระบาดครั้งนี้มีบุคลากรทางการแพทย์ติดเชื้อจนเสียชีวิตด้วย มนุษย์นับว่ารอดจากภัยพิบัติเมื่อการระบาดสิ้นสุดลงและผู้ป่วยรายสุดท้ายถูกพบเมื่อปี 2004

ต่อมาในปี 2012 เริ่มเกิดการระบาดของ Middle East respiratory syndrome (MERS) ใน ซาอุดิอาระเบีย การตรวจเสมหะพบว่าเชื้อก่อโรคคือ betacoronavirus มีพันธุกรรมใกล้เคียงกับ Bat CoVs HKU4 และ HKU5 เรียกไวรัสชนิดใหม่ว่า MERS-CoV มีการรายงานผู้ป่วยจำนวนจากหลายประเทศในตะวันออกกลาง แต่ก็มีการติดเชื้อแพร่กระจายไปยังภูมิภาคอื่นอีกหลายประเทศ นับตั้งแต่ปี 2012 ถึง พ.ย. 2019 WHO รายงานว่ามีผู้ป่วยทั้งหมด 2494 ราย จาก 27 ประเทศทั่วโลก โดยจำนวนผู้ป่วยรายใหม่เกิดน้อยลงเรื่อย ๆ มีผู้เสียชีวิต 858 ราย คิดเป็น 34%

MERS-CoV ก็เป็นไวรัสที่ติดต่อจากสัตว์สู่คนเช่นกัน ผู้ป่วยจำนวนมากในตะวันออกกลางมีประวัติสัมผัสอูฐหนอกเดียว (dromedary camel) ทั้งโดยตรงและโดยอ้อม เช่น สัมผัสสิ่งแวดล้อมที่ปนเปื้อนด้วยสารคัดหลั่งจากอูฐ นักวิทยาศาสตร์สามารถแยกเชื้อ MERS-CoV จากอูฐเป็นการยืนยันว่าอูฐสามารถนำโรค แต่จากการวิเคราะห์ base sequence ของ MERS-CoV พบว่าคล้ายกับ Bat SARS like coronavirus มาก จึงคาดว่าค้างคาวเป็น reservoir ในธรรมชาติ ส่งผ่านเชื้อไวรัสมายังอูฐหนอกเดียว ก่อนอูฐผู้รับใช้มนุษยชาติอย่างอดทนจะนำโรคสู่คนในที่สุด

โรคระบาดร้ายแรงหลายโรคเป็นโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน หลายครั้งเกิดจากคนไปสัมผัสกับสัตว์อย่างผิดธรรมชาติ เช่น จับสัตว์ป่ามาขายหรือบริโภค รุกล้ำแหล่งที่อยู่ของสัตว์ป่า ฯลฯ

หลายคนมองว่าเป็นการล้างแค้นมนุษย์ของธรรมชาติ เราทั้งหลายไม่รู้ว่าเป็นจริงหรือไม่ และไม่รู้ว่าสัตว์ทั้งหลายรู้สึกเช่นไรต่อการล้มตายของมนุษย์ มันอาจโศกเศร้า หรือไม่รู้สึกนึกคิดอะไร หรืออาจจะสาแก่ใจอยู่ก็เป็นได้


*****************************************



Infographic Thailand   22ม.ค.2563
https://www.facebook.com/infographic.thailand/photos/a.451893141520663/2777389708970983/?type=3&theater
 
จำนวนผู้ป่วยและเสียชีวิตจากไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ เพิ่มจำนวนสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
.
- 12 ธ.ค. 2019 จีนพบผู้ป่วยจากไวรัสโคโรน่า
- 13 ม.ค. พบผู้ป่วยชาวจีนในไทยเป็นรายแรก
- 17 ม.ค. พบผู้ป่วยชาวจีนในไทยรายที่ 2
ซึ่งในสัปดาห์เดียวกัน ไทยก็ยังพบผู้ป่วยชาวไทยและชาวจีนอย่างละ 1 ราย
.
20 ม.ค. 2563 จีนยืนยันว่า ไวรัสสามารถติดต่อจากคนสู่คนได้
22 ม.ค จีนเผยยอดเสียชีวิตเพิ่มเป็น 9 ราย พบติดเชื้อเกิน 400 คน
.
และปัจุบันพบผู้ป่วยในเกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ไต้หวัน และ สหรัฐอีกด้วย
.
ซึ่งองค์การอนามัยกำลังโลกเตรียมพิจารณาประกาศให้การระบาดนี้ เป็นภาวะฉุกเฉินโลก
.
ดังนั้นสำหรับใครที่จะต้องเดินทาง หรืออยู่ในที่ๆมีคนพลุกพล่าน โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลต่างๆก็ขอให้ป้องกันตัวเองกันด้วยนะครับ
#InfographicThailand #NewsUpdate
.
ขอบคุณแหล่งที่มา:
https://www.bbc.com/thai/thailand-51089461
https://www.thairath.co.th/


******************************************

แนวทางการประสานงานเมื่อพบผู้ป่วยเข้าเกณฑ์สอบสวน Novel coronavirus 2019 (Patient under investigation: PUI)

https://pidst.net/A791.html?fbclid=IwAR2oS0b1ou-5oWK-TPi5rAKl4vBnXbaTnPszU3I_G9HoScAUN-7WhbiWfbI
 
 

กรณีกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

1. เมื่อพบผู้ป่วยเข้านิยาม PUI ให้เจ้าหน้าที่สถานพยาบาลต่างๆ หรือ เจ้าหน้าที่ด่านควบคุมโรคฯ ณ  สนามบิน รายงานไปยัง SAT กรมควบคุมโรค (SAT DDC) ที่เบอร์โทรศัพท์ 061-6639101   


2. เมื่อ SAT DDC รับแจ้งผู้ป่วย จะดำเนินการสอบถามข้อมูลผู้ป่วยและประวัติเสี่ยง เพื่อตรวจสอบ ยืนยันว่าเข้าเกณฑ์ผู้ป่วย PUI หรือไม่ หากเข้าตามเกณฑ์ SAT DDC จะดำเนินการ ดังนี้
 

➢ กรณีรับแจ้งจากด่านควบคุมโรค ฯ สนามบิน

     2.1. SAT DDC โทรประสานศูนย์ refer ของสถาบันบำราศนราดูร (เบอร์โทรศัพท์ 02-5903487) เพื่อให้ศูนย์ referฯ ประสานกลับไปยังด่านฯ (ด่านสวภ. 02-134-0140/ด่านดอนเมือง 02535-4211) เตรียมการส่งต่อผู้ป่วย ทั้งนี้ หลังจากด่านฯ โทรแจ้ง SAT DDC ภายใน 30 นาที หากไม่มีใคร ติดต่อกลับให้ด่าน ฯ โทรหาสถาบันบำราศนราดูรได้โดยตรง

     2.2. SAT DDC โทรแจ้ง Operation DDC (Ops) กรมควบคุมโรค เพื่อเตรียมทีม สอบสวน และให้ สป.คม.หรือ สคร.ที่เกี่ยวข้องติดตามผู้สัมผัส (High risk) หากพบว่าเป็นผู้ป่วยยืนยัน (confirmed case) ในภายหลัง

     2.3. SAT DDC ออกรหัสผู้ป่วย* (Code case) และเลขที่หนังสือนำส่งให้แก่ทีม สอบสวนโรค (Ops)

     2.4. SAT DDC โทรแจ้ง ER ของสถาบันบำราศนราดูร (เบอร์โทรศัพท์ 025903433) หลังจากทีม Ops ประสานการส่งตัวอย่างสิ่งส่งตรวจ 
 

➢ กรณีรับแจ้งจากสถานพยาบาลต่าง ๆ หรือสสจ.

     - ดำเนินเหมือนกับกรณีของต่างจังหวัด  
 


กรณีต่างจังหวัด

1. เมื่อพบผู้ป่วยเข้านิยาม PUI ให้เจ้าหน้าที่สถานพยาบาลต่าง ๆ หรือ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด หรือ เจ้าหน้าที่ด่านควบคุมโรคฯ ณ สนามบิน (ตามแนวทางภายในจังหวัด) รายงานไปยัง SAT กรมควบคุมโรค (SAT DDC) ที่เบอร์โทรศัพท์ 061-6639101   


2. เมื่อ SAT DDC รับแจ้งผู้ป่วย จะดำเนินการสอบถามข้อมูลผู้ป่วยและประวัติเสี่ยง เพื่อตรวจสอบ ยืนยันว่าเข้าเกณฑ์ผู้ป่วย PUI หรือไม่ หากเข้าตามเกณฑ์ SAT DDC จะดำเนินการ ดังนี้

     2.1 SAT DDC ออกรหัสผู้ป่วย (Code case) ให้แก่เจ้าหน้าที่ที่โทรมาแจ้ง PUI ทันที

     2.2 SAT DDC โทรแจ้ง สคร. และ Ops DDC กรมควบคุมโรค 


3. เจ้าหน้าที่สถานพยาบาลต่าง ๆ ให้ดำเนินการ ดังนี้

     3.1 สัมภาษณ์ผู้ป่วย PUI ด้วยแบบฟอร์มสอบสวน Novel Coronavirus 1   

     3.2 ถ่ายรูปภาพถ่ายรังสีทรวงอก   

     3.3 เก็บตัวอย่างสิ่งส่งตรวจตามแนวทางการเก็บตัวอย่าง และเขียนใบนำส่ง โดยให้ระบุรหัส ผู้ป่วย (Code case) แทนการเขียนชื่อและนามสกุล

     3.4 ให้ใส่ใบนำส่งตัวอย่างมาในกล่องตัวอย่างด้วย พร้อมแบบฟอร์มสอบสวน Novel Coronavirus 1   

     3.5 ก่อนการส่งตัวอย่างต้องแจ้ง สคร.ทราบทุกครั้ง เพื่อขอเลขที่หนังสือนำส่งตัวอย่าง และส่ง แบบฟอร์ม Novel Coronavirus 1 พร้อมภาพถ่ายรังสีทรวงอก (ถ้ามี) ทาง E-mail: viralpneumoniasat@ddc.mail.go.th


4. สคร. เมื่อได้รับแจ้งผู้ป่วย PUI จาก SAT DDC ให้ติดต่อกลับไปยังเจ้าหน้าที่ผู้แจ้ง PUI เพื่อประสาน การลงพื้นที่สอบสวน เก็บตัวอย่างสิ่งส่งตรวจ และการนำส่งตัวอย่าง โดยสามารถบริหารจัดการตามระบบภายใน พื้นที่   

     4.1 แจ้งเลขที่หนังสือนำส่งตัวอย่างให้แก่เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลหรือสำนักงานสาธารณสุข จังหวัดที่เป็นผู้นำส่งตัวอย่าง 

     4.2 แจ้ง SAT DDC เมื่อมีการส่งตัวอย่างออกจากพื้นที่ เพื่อให้ SAT DDC แจ้งแก่ห้องปฏิบัติการ สถาบันบำราศนราดูรเพื่อเตรียมการรับตัวอย่างต่อไป


5. ทีม Ops DDC เมื่อได้รับแจ้งจาก SAT DDC ให้พิจารณาดำเนินการลงพื้นที่สอบสวนโรคตามเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ 

     5.1 เป็นผู้ป่วยอาการรุนแรง ได้แก่ ปอดบวม ปอดอักเสบ 

     5.2 หาเชื้อสาเหตุไม่ได้ หรือ ให้ผลลบแก่เชื้อไวรัส Rp33 ร่วมกับผล CBC เข้าได้กับเชื้อไวรัส 

     5.3 เป็นกลุ่มผู้สัมผัส (High risk + Low risk) ของผู้ป่วยเข้าข่ายหรือผู้ป่วยยืนยัน ที่มีอาการเข้า ได้กับนิยามผู้ป่วย PUI ในช่วง 14 วันหลังสัมผัสผู้ป่วยยืนยันครั้งสุดท้าย 

     5.4 กรณีที่เข้ารับการรักษาในสถาบันบำราศนราดูรทุกราย  
 


หมายเหตุ
รหัสผู้ป่วย* (Code case) หรอืรหัสผู้สัมผัส (Code contact) ใช้แทนชื่อผู้ป่วย PUI หรือผู้สัมผัสที่ถูกเก็บ ตัวอย่างส่งตรวจ ลักษณะเป็นตัวอักษรภาษาอังกฤษผสมตัวเลข จำนวน 9-10 หลัก  


กรณีต้องการปรึกษา ติดต่อ 

เรื่อง การแจ้งผู้ป่วย PUI, ส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการของผู้ป่วย PUI  ติดต่อ  SAT DDC 

     ❑  เบอร์กลาง 061-663-9101

     ❑  หน.กลุ่มภารกิจฯโทร 061-549-5938 เรื่อง การสอบสวนโรค, การติดตามผู้สัมผัส, และ การส่งตัวอย่างผู้สัมผัส ติดต่อ Operations DDC 

     ❑  เบอร์กลาง 061-663-9232  เรื่อง การดูแลรักษาผู้ป่วย ติดต่อ Case Management 

     ❑  ผู้ป่วยผู้ใหญ่  นพ.วีรวัฒน์ มโนสุทธิ 064-586-5111

     ❑ ผู้ป่วยเด็ก  พญ. จุไร วงศ์สวัสดิ์  081-826-2661

 

 

ดาวน์โหลดเอกสาร (GoogleDrive)

 

ไฟล์แนบบทความ
 Download [239 kb]

**********************************************





📌อาการและวิธีป้องกันเชื้อไวรัสโคโรนา
https://www.facebook.com/ThaiPBSFan/photos/a.348532055084/10163300085865085/









ในเวลาที่แอลกอฮอลล์เจลขาดตลาด และราคาพุ่งไปไกล มากๆ เภสัชขอนำเสนออีกทางเลือกหนึ่งตามWHO guidelines 2009 คือการใช้แอลกอฮอลล์60-80% มาถูมือค่ะ เนื่องจากแอลกอฮอลล์ในความเข้มข้นดังกล่าวสามารถฆ่าไวรัสได้ดีมากๆค่ะ ไม่ว่าจะเป็นการนำมาถูที่มือหรือสเปรย์ลงบนพื้นผิวที่สงสัยว่าอาจปนเปื้อนละอองน้ำมูก หรือน้ำลายจากผู้ป่วย ซึ่งโคโรนาไวรัสเป็นไวรัสกลุ่มที่มีเปลือกหุ้ม (enveloped virus) ซึ่งไวต่อแอลกอฮอลล์มากๆ ตามตารางในรูปเลย วิธีถูมือด้วยแอลกอฮอลล์ก็มีมาให้แล้วค่ะ
นอกจากปิดหน้ากากอนามัยแล้ว การล้างมือบ่อยๆก็สามารถลดความเสี่ยงต่อการรับเชื้อโรคต่างๆอีกด้วยนะคะ

อ้างอิง
WHO Guidelines on Hand Hygiene in Health Care: a Summary, 2009

#แสงทองเภสัชหาดใหญ่
#โคโรนาไวรัส
#แอลกอฮอลล์ถูมือ

https://www.facebook.com/HatyaiPharmacy/photos/a.1999990180285224/2586813884936181/?type=3&theater

แถม ...
ข้อมูลสำคัญ ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 และ สถานการณ์ล่าสุด ... แถม เวบน่าสนใจ    
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=25-11-2009&group=4&gblog=79
จากไข้หวัดใหญ่ MEXICO ถึงไข้หวัดใหญ่ 2009 .... บทเรียนสาธารณสุขไทย     
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=21-05-2009&group=4&gblog=76
ไวรัส อีโบล่า EBOLA ... ระบบเฝ้าระวัง ของบ้านเรา ห่วยจริงหรือ ?     
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=25-11-2014&group=4&gblog=105
ไวรัสโคโรนา2012 (MERS , เมอร์ส) นำมาฝาก (ไม่ได้เขียนเอง ^_^)    
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=19-06-2015&group=4&gblog=110

    













****************************************




เปิดราคาค่าตรวจโควิด-19 กลุ่นไหนฟรี-กลุ่มไหนต้องจ่าย

ผู้มีความเสี่ยงตามเงื่อนไข สามารถเข้ารับการตรวจหาเชื้อไวรัสโควิด-19 ฟรี ส่วนผู้ไม่มีความเสี่ยง แต่ต้องการตรวจหาเชื้อ ต้องจ่ายค่าตรวจเอง ในโรงพยาบาลที่ให้บริการ

วันนี้ (15 มี.ค.63) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ล่าสุดมีผู้ป่วยในไทย 82 ราย ขณะที่ ในประเทศไทยมีโรงพยาบาลที่ให้บริการตรวจหาเชื้อไวรัสโควิด-19
โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย แต่จะต้องเป็นผู้ที่มีความเสี่ยงเข้าข่าย ตามเงื่อนไขดังนี้

1. มีไข้หรือวัดอุณหภูมิร่างกายได้ตั้งแต่ 37.5 องศาเซลเซียสขึ้นไป ร่วมกับมีอาการทางระบบทางเดินหายใจ เช่น ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ หายใจเร็ว หรือหายใจเหนื่อย หรือหายใจลำบาก

2. มีประวัติเดินทางไปหรือกลับจากประเทศกลุ่มเสี่ยง หรืออาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีการรายงานการระบาดของโรค ติดเชื้อเชื้อไวรัสโควิด-19

3. มีประวัติใกล้ชิดกับนักท่องเที่ยวที่มาจากพื้นที่ที่มีการรายงานการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19

4. มีประวัติใกล้ชิดหรือสัมผัสกับผู้ป่วยที่ยืนยันการติดเชื้อไวรัสโควิด-19

5. เป็นบุคลากรทางการแพทย์ที่สัมผัสกับผู้ป่วยสงสัยโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19


ขณะที่ ผู้ไม่มีความเสี่ยงเข้าข่ายตามเงื่อนไขดังกล่าว แต่มีความประสงค์ต้องการตรวจหาเชื้อ จะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเอง
สำหรับรายชื่อโรงพยาบาลที่ให้บริการตรวจหาเชื้อไวรัสโควิด-19 และราคาสำหรับผู้ที่ไม่เข้าเกณฑ์ เช่น

- โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ผู้ที่ไม่เข้าเกณฑ์ เสียค่าใช้จ่าย ราคา 3,000 – 6,000 บาท

- โรงพยาบาลราชวิถีผู้ที่ไม่เข้าเกณฑ์ เสียค่าใช้จ่าย ราคา 3,000 – 6,000 บาท

- โรงพยาบาลรามาธิบดีผู้ที่ไม่เข้าเกณฑ์ เสียค่าใช้จ่าย ราคา 5,000 บาทขึ้นไป

- โรงพยาบาลพญาไท 2 ผู้ที่ไม่เข้าเกณฑ์ เสียค่าใช้จ่าย ราคาประมาณ 6,100 บาท,

- โรงพยาบาลแพทย์รังสิต ผู้ที่ไม่เข้าเกณฑ์ เสียค่าใช้จ่าย ราคาประมาณ 8,000 บาท

- สถาบันบำราศนราดูร ผู้ที่ไม่เข้าเกณฑ์ เสียค่าใช้จ่าย ราคาประมาณ 2,500 บาท

- โรงพยาบาลพระราม 9 ผู้ที่ไม่เข้าเกณฑ์ เสียค่าใช้จ่าย 8,000 – 10,000 บาท

- โรงพยาบาลเปาโลเมโมเรียล พระประแดง ผู้ที่ไม่เข้าเกณฑ์ เสียค่าใช้จ่าย ราคา 5,000 บาทขึ้นไป

ดูข่าวต้นฉบับ
https://today.line.me/TH/pc/article/เปิดราคาค่าตรวจโควิด+19+กลุ่นไหนฟรี+กลุ่มไหนต้องจ่าย-Zn8KrO?utm_source=likeshare

*******************************


 
Create Date :21 มกราคม 2563 Last Update :15 มีนาคม 2563 19:54:59 น. Counter : 8363 Pageviews. Comments :5