bloggang.com mainmenu search





กำหนดการ

“โครงการสัมมนาวิชาการ เรื่อง ขบวนการประชาสังคมกับการลดความยากจนและความเหลื่อมล้ำ”

วันพุธที่7 กุมภาพันธ์ 2561

ณห้องประชุมพิกุล ชั้น 1 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร



เวลา08.30-09.00 น. ลงทะเบียน

เวลา09.00-10.00 น. ปาฐกพิเศษ “ขบวนการประชาสังคมกับการลดความยากจนและความเหลื่อมล้ำ”

โดย ศ.ดร.ดิเรกปัทมสิริวัฒน์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

เวลา10.01-12.00 น. ช่วงที่1

เวทีเสวนาวิชาการ เรื่อง “ขบวนการประชาสังคมกับการลดความยากจน

และความเหลื่อมล้ำ” ในมิติต่าง ๆ โดย

1. ศ.ดร.ดิเรก ปัทมสิริวัฒน์(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์)

2. นายแพทย์พนมกร ดิษฐ์สุวรรณ(เครือข่ายคนสร้างกำแพง)

3. นายแพทย์วิริยะ กัลปพฤกษ์(แพทย์ประจำโรงพยาบาลกำแพงเพชร)

4. ดร.ภูมิพิพัฒน์ รักพรมงคล (รองคณบดีคณะครุศาสตร์)

ดำเนินรายการโดยอ.กรรณิกา อุสสาสาร

(พักรับประทานเบรก)

ช่วงที่2 เวทีเสวนา(ต่อ)

เวทีเสวนาวิชาการ เรื่อง “ขบวนการประชาสังคมกับการลดความยากจน

และความเหลื่อมล้ำ” (ต่อ) ในมิติต่าง ๆ โดย

1.ดร.ประสิทธิ์ มีช้าง(ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 9กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดอุทัยธานี)

2.ผู้ช่วยศาสตร์สุชิน รอดกำเหนิด(คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์)

3. พ.ต.ท.พงศธรลาลิน (สารวัตรป้องกันและปราบปราม สภ.พรานกระต่าย) สารวัตร ต้น

4.คุณณัฐพัชร์ ธีรนันทนิตย์(หัวหน้าผู้ตรวจประเมินและให้การรับรองระบบมาตรฐานสากลด้านสิ่งแวดล้อม บริษัท บูโรเวอริทัสเซอทิฟิเคชั่น (ประเทศไทย) จำกัด

ดำเนินรายการโดยอ.กรรณิกา อุสสาสาร

(ตอบประเด็นข้อซักถาม)

เวลา12.00-13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน

หมายเหตุ กำหนดการอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม

(ร่าง ) ข้อมูลเสวนา

๑. ขอบคุณผู้จัดการเสวนาฯ และ มรภ.กพ ที่ได้ให้เกียรติและให้โอกาส ได้เข้ามาแลกเปลี่ยน

๒. ความเลื่อมล้ำมีการเปรียบเทียบ ถึงได้รู้ว่า เลื่อม หรือ ล้ำ

- ความเลื่อมล้ำพูดได้ หลายมิติ หลายเรื่อง เช่น เศรษฐานะ การเงิน รายได้ รวย-จน การรักษาพยาบาลการศึกษา กิจกรรมสำหรับเด็กเยาวชน (ศิลป์ในสวน) ก็เกิดมาจากความคิดเรื่องการเลื่อมล้ำทำไมจังหวัดใหญ่ ๆ จึงมีพื้นที่กิจกรรมดนตรีศิลปะ ให้เด็กได้ทำกิจกรรม ได้แสดงออกทำไมบ้านเราถึงไม่มีใครจัด?

๓.ผมไม่เชื่อเรื่องความเท่าเทียม .. เพราะแค่ตัวอักษร ก็บอกแล้วว่า " เท่า" แบบ "เทียม" ทุกคนแตกต่างกันไม่เท่ากัน อาจเท่าเทียม แต่ ไม่เท่ากัน ถึงแม้ได้รับเท่ากัน ก็ไม่หมายความว่าจะเท่าเทียม

ผมเชื่อเรื่อง ทรัพยากรมีจำกัดความต้องการไม่จำกัด จึงต้องพิจารณาเรื่องของการจัดสรรทรัพยากร เพื่อให้เกิดความเท่าเทียม

๔.เส้นความยากจน

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.) ได้จัดทำ ดัชนีความก้าวหน้าของคน (Human Achievement Index -HAI) ปี 2558

รายจ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคเฉลี่ยต่อคนต่อเดือนต่ำกว่าเส้นความยากจนซึ่งสะท้อนถึงการดำรงชีพของคนที่อยู่ในระดับที่ต่ำกว่ามาตรฐานการครองชีพขั้นต่ำ (Minimumstandard of living) ของสังคมไทย

เส้นความยากจน เฉลี่ยทั้งประเทศ 2,572 บาทต่อคนต่อเดือน

เส้นความยากจน จ.กำแพงเพชร 2,201 บาทต่อคนต่อเดือน

สำนักงานสถิติแห่งชาติ( สสช.) ความยากจน

เส้นความยากจน(ด้านรายจ่าย) จำแนกตามภาคและจังหวัด พ.ศ. 2549- 2558

https://service.nso.go.th/nso/web/statseries/statseries12.html

ปี 2558 จังหวัดกำแพงเพชร

เส้นความยากจน(ด้านรายจ่าย) 2,220 บาทต่อคนต่อเดือน

จำนวนคนจน(ด้านรายจ่าย) 33,700 คน

สัดส่วนคนจน(ด้านรายจ่าย) 4.32%

๕.ความยากจน สรุปสาเหตุง่าย ๆ คือ

๑. ความสามารถในการหารายได้ทำให้มีรายรับน้อยกว่ารายจ่าย

๒.ต้นทุนเดิมน้อย (ทรัพย์สิน ที่ดิน ความรู้ สังคม เครือข่ายคนรู้จัก ฯลฯ)

๖.การแก้ไข

-ถ้าพูดในภาพรวม ก็คงต้องใช้คำว่า “ ปัญหาทุกอย่าง แก้ได้ด้วยการศึกษา “

- ถ้าพูดในส่วนย่อยของแต่ละบุคคลครอบครัว ก็คือ ลดรายจ่าย เพิ่มรายรับ นำทุนเดิมมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ... คุ้น ๆกันแล้วนะครับ ... ปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง ของ ในหลวง รัชกาลที่เก้า

๗.ประชาสังคม เป็นเรื่องของ กลุ่มคน สนใจเรื่องเดียวกัน เข้ามาร่วมกันช่วยคิดช่วยทำเพื่อแก้ไขปัญหา อาจเรียกได้หลายชื่อ เช่น ทีม สมัชชา ชมรม สมาคม คณะกรรมการ ฯลฯเพราะ คนเราแตกต่างกัน ความสามารถไม่เหมือนกัน ไม่เท่ากัน หลายหัว จึงดีกว่าหัวเดียว รวมกันเราอยู่ แยกหมู่ตายเดียว... แต่ก็มีแบบ รวมกันตายหมู่ เช่นกัน

๘.หลายคนจะคิดว่า ทำงานเป็นทีม ทำหลายคน มันยุ่งยากเชื่องช้า ซึ่งเป็นความจริงแต่ในบางครั้ง ก็จำเป็น เพราะ ปัญหามันสลับซับซ้อนยากเกินกว่าที่คนเดียวจะแก้ไขได้ ถ้าปัญหามันง่าย ก็คงมีการแก้ไขไปหมดแล้วถ้าเราคนเดียวคิดแล้วทำแล้วไม่ได้ผล ก็น่าจะลอง รวมคน ร่วมคิด ร่วมทำส่วนว่าจะได้ผลหรือไม่ก็ต้องติดตามกันต่อไป

กระบวนการแก้ปัญหาไม่มีสูตรสำเร็จ ไม่มีคำตอบชัดเจนว่า ได้หรือไม่ได้ ทำแล้วจะดีหรือไม่ดีเมื่อพิจารณาปัจจัยองค์ประกอบ รอบคอบแล้วก็ต้อง ลองทำ

๙.ถ้าถามว่า กระบวนการ หรือ ขบวนการประชาสังคม จะช่วยลดความยากจน หรือความเลื่อมล้ำได้หรือไม่ ? ผมเชื่อว่าช่วยได้ แต่จะช่วยได้มากน้อยขนาดไหน ก็ขึ้นอยู่กับ สมาชิกของประชาสังคมว่าจะร่วมคน ร่วมคิด ร่วมทำ กันได้แค่ไหน แต่ผมเชื่อว่า ถ้าช่วยกันคนละนิดละหน่อยเท่าที่ทำได้อย่างน้อยก็ดีกว่า ไม่ทำอะไรเลย

ข้อมูลน่าสนใจบางส่วน ในเวทีเสวนา

-ประโยชน์ของรัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐ คือ ยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี และ การปฏิรูป ๑๑ ประเด็น ๒ข้อย่อย

-ความเหลื่อมล้ำ ประเทศไทย ติดอันดับ ๓ ของโลก (อันดับ ๑ คือรัสเซีย อันดับ๒อินเดีย)

-ประเทศไทย คนรวย ๑๐% ข้างบน ห่างจาก ๑๐% ข้างล่าง ต่างกัน ๒๐ เท่า ( ๒๐ ปีน่าจะลดลงเหลือ ๑๕ – ๑๑ เท่า)

-จะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ (มีผู้สูงอายุมากกว่า ๒๐%) แต่ยังไม่ค่อยมีการเตรียมพร้อม

-การปฎิรูป โดยประชารัฐ ตอนนี้นำโดย รัฐ +ทุน ยังขาด ประชาสังคม

-ประชาสังคม (ประชารัฐ) +ประชาคม(เทคนิควิธีการ)+ประชาพิจารณ์(พูดคุยรับฟังความคิดเห็น)+ประชามติ(สรุปความเห็นพ้อง) แล้วนำไปดำเนินการ

-ไม่มีทุน คือ จน เช่น ทุนส่วนตัว(เกิด+สังคม) ทุนทรัพยากร(ที่ดิน+สิ่งแวดล้อม) ทุนภูมิปัญญา(การทำมาหากิน+การศึกษา) ทุนโอกาส (ช่องทาง+กู้เงิน) ทุนทรัพย์ (งบรัฐ+เอกชน).......... ทุน มีทุกชุมชน แต่ ขาดการบริหารจัดการ

-ชุมชน คือ จุดแตกหัก จุดพัฒนา ถ้านักศึกษาซึ่งมีทุนปัญญาเข้าไปบริหารจัดการทุนในชุมชน ก็จะพัฒนาได้ดีขึ้น


*****************************************


โครงการสัมมนาวิชาการ"ขบวนการประชาสังคมกับการลดความยากจน และความเหลื่อมล้ำ" วันที่ 7กุมภาพันธ์ 2561 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร

https://huso.kpru.ac.th/h-sd/?gal=2018.02.07

การประกวดวงดนตรีโฟล์คซองในกิจกรรมแข่งขันทักษะทางวิชาการในศตวรรษที่ 21 วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2561คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร

https://huso.kpru.ac.th/h-music/?gal=2018.02.07

การแข่งขันประกวดวาดภาพในหัวข้อ“ศิลปะในการศึกษา Thailand 4.0ในกิจกรรมแข่งขันทักษะทางวิชาการในศตวรรษที่ 21 วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2561คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร

https://huso.kpru.ac.th/h-art/?gal=2018.02.07

การแข่งขันตอบปัญหากฎหมายระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในกิจกรรมแข่งขันทักษะทางวิชาการในศตวรรษที่ 21 วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2561คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร https://huso.kpru.ac.th/h-law/?gal=2018.02.07

การแข่งขันตอบปัญหาทางรัฐประศาสนศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในกิจกรรมแข่งขันทักษะทางวิชาการในศตวรรษที่ 21 วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2561คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร https://huso.kpru.ac.th/h-publicad/?gal=2018.02.07

การแข่งขันคัดลายมืออักษรจีนในกิจกรรมแข่งขันทักษะทางวิชาการในศตวรรษที่ 21 วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2561คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร https://huso.kpru.ac.th/h-chinese/?gal=2018.02.07

การแข่งขันตอบปัญหาQR COAD ในกิจกรรมแข่งขันทักษะทางวิชาการในศตวรรษที่21 วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2561 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร https://lis.kpru.ac.th/?gal=2018.02.07


Create Date :10 กุมภาพันธ์ 2561 Last Update :10 กุมภาพันธ์ 2561 22:00:21 น. Counter : 905 Pageviews. Comments :0