6 เรื่องของผม...ที่คุณอาจสงสัย





ผมที่ว่านี้ไม่ได้หมายถึงคุณผู้ชายนะคะ แต่หมายถึงเส้นผมของลูกน้อยของเราต่างหาก เพราะเรื่องเส้นผมของลูกมีสิ่งที่น่าสนใจและควรรู้อีกมากมายเลยล่ะค่ะ


ปกติทารกในครรภ์จะเริ่มพัฒนาตุ่ม (ราก) ผมเกิดขึ้นตั้งแต่อายุ 8-12 สัปดาห์ และจะค่อยๆสร้างผมมากขึ้นเรื่อยๆจนคลอด จึงเห็นว่าเด็กแรกเกิดมีผมขึ้นแล้วค่ะ ซึ่งผมของเด็กแต่ละคนก็จะไม่เหมือนกัน เด็กบางคนผมดก บางคนผมบาง แต่ปริมาณของผมเด็กแรกเกิดก็ไม่ได้บอกว่าโตขึ้นผมของลูกจะเป็นอย่างไรขึ้นอยู่กับกรรมพันธุ์นะคะ


ส่วนใหญ่เมื่ออายุ 4-5 เดือน คุณพ่อคุณแม่ก็จะเริ่มมีคำถามเกี่ยวกับเส้นผมของลูกค่ะ เพราะเด็กจะมีผมร่วง บางคนร่วงมาก บ้างก็ร่วงน้อย หรือค่อยๆร่วง บางคนร่วงเร็วพร้อมๆกันจนหัวล้านเลยทีเดียว ซึ่งก็อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุค่ะ


1. ทำไมผมหนูเว้าๆแหว่งๆ

เคยสงสัยไหมคะว่าทำไมเด็กบางคนมีผมขึ้นไม่ทั่วหัว แหว่งตรงนั้นบ้าง ตรงนี้บ้าง หรือขึ้นเฉพาะที่เป็นกระจุกๆ

คำตอบก็คือ อาจเกิดจากที่หนังศีรษะบริเวณนั้น มีการพัฒนาของรากผมมากกว่าปกติ หรืออาจทำให้เป็นปานผิวหนังที่มีผมดกขึ้นร่วมด้วย

ในเด็กบางคนจะเห็นผมขึ้นเป็นหย่อมๆ เช่น บริเวณกลางกระหม่อม ที่ด้านข้างของศีรษะทั้งสองข้างเหมือนผมแกละ หรือที่ท้ายทอย ก็ดูน่ารักดีค่ะ แต่พอโตขึ้นผมก็จะทยอยขึ้นมาจนเต็ม

ส่วนผมที่แหว่งรอบๆ หนังศีรษะเป็นวงที่เรียกกันว่าผ้าอ้อมกัดนั้น อาจจะเกิดจากการที่เจ้าตัวเล็กนอนทับและถูไปมากับหมอนทำให้ผมบริเวณนั้นร่วงเร็วกว่าปกติค่ะ แต่พอเจ้าตัวเล็กครบขวบปี ตรงที่เคยแหว่งก็จะค่อยๆขึ้นมาเองตามปกติค่ะ



2. ทำไมผมหนูยาวช๊า...ช้า

เจ้าหนูบางคนผมยาวช้ามาก จนพ่อแม่เริ่มห่วงว่าลูกจะมีโรคอะไรหรือเปล่า ทำไมหัวหนูยังเต๊งเหน่ง หรือมีผมบางๆ ต่างจากหนูน้อยวัยเดียวกัน

ยาหยีจะตอบให้ฟังดังๆตรงนี้ว่า ต้องรอหน่อยค่ะ ถ้าคุณหมอบอกว่า ลูกที่เป็นปกติไม่มีโรคทางพันธุกรรมหรือโรคผิวหนังก็ไม่มีอะไรน่าเป็นห่วง เพราะผมขึ้นแน่ แต่อาจช้าหน่อย เพียงคุณให้ลูกกินนมและอาหารเสริมตามวัยที่คุณหมอแนะนำค่ะ

ซึ่งโรคที่อาจทำให้เจ้าหนูน้อยผมขึ้นช้าคือ โรคทางพันธุกรรมบางโรค เช่น โรคที่ผิวหนังไม่มีเหงื่อ เด็กที่เป็นโรคเหล่านี้จะไม่มีฟัน หรือฟันขึ้นช้า ผมขึ้นช้าและมีผมบาง มักจะมีคุณพ่อที่มีผมบางหรือไม่มีผมด้วยค่ะ



3. แง้...ทำไมหนูผมร่วง

คุณพ่อคุณแม่อาจมีข้อสงสัยค่ะว่า อะไรกันตัวแค่นี้ผมร่วงได้แล้วหรือเนี่ย ลูกเราจะเป็นอะไรหรือเปล่า อันนี้ก็ต้องย้อนกลับไปดูข้อ 1 นะคะ ซึ่งถ้าหากไม่เข้าข่ายในข้อ 1 แล้วล่ะก็ ลองมาดูต่อไปค่ะว่า ลูกเราผมร่วงขนาดไหนถึงจะปล่อยไว้ไม่ได้

โดยปกติผมคนเราร่วงวันละประมาณ 50-100 เส้น ถ้ามากกว่านี้จึงจะถือว่าผิดปกติ มีการทำลายรากผมตัวเอง ภาวะนี้หายเองได้ แต่ถ้าร่วงมากจนหมดศีรษะก็หายยากหน่อยค่ะ ต้องพาไปพบคุณหมอนะคะ

ถ้าไม่ได้ร่วงเป็นวง แต่ร่วงกระจายไปทั่วๆ ทำให้ผมบางลงกว่าปกติ ก็อาจเกิดจากการชะงักงันของวงจรชีวิตของเส้นผมจากภาวะที่มีการเจ็บป่วยรุนแรงเป็นเวลานาน มีไข้สูง กินอาหารไม่เพียงพอ มีภาวะเครียดก็ทำให้ผมร่วงตามหลังภาวะเหล่านั้นประมาณ 3 เดือน ผมจะร่วงอยู่ระยะ 1-2 เดือน แล้วก็จะหยุดอาหารร่วง สังเกตได้จากจำนวนเส้นผมที่ร่วงน้อยลงเรื่อยๆ จนไม่เกิน 100 เส้นต่อวัน ลองเก็บสัปดาห์ละ 2 ครั้งก็ได้ค่ะ



4. จับหนูโกนผมไฟ ดีมั๊ย

ใครที่ลังเลๆว่าจะให้เจ้าตัวเล็กโกนผมไฟดีมั๊ยลองฟังทางนี้ค่ะ

จริงๆแล้วคนโบราณเขาก็จะเชื่อกันแบบนั้นและเด็กๆมักถูกจับโกนผมไฟกัน ซึ่งการโกนผมไฟนั้นน่าจะเกิดจากการที่เด็กๆมีผมร่วงตอนอายุ 4-5 เดือน บางคนร่วงแล้วจะดูน่าเกลียด ดูหลอมแหลมเลยโกนทิ้งไปเลยดีกว่า

หลังจากนั้นผมก็จะขึ้นมาตามปกติ ก็เลยเกิดความเข้าใจกันว่าการโกนทำให้ผมขึ้นดก แต่ในทางการแพทย์ไม่ได้เชื่อเช่นนั้น ที่ผมดกขึ้นเป็นเพราะการเปลี่ยนแปลงของวงจรชีวิตของผมในวัยทารกมากกว่า


5. ผมหนูบอกสุขภาพได้นะจ๊ะ

ผมเด็กบ่งบอกถึงสุขภาพได้อย่างไรน่ะหรือ ยกตัวอย่างง่ายๆนะคะ เช่น ถ้าลูกมีผมแห้งอาจจะมาจาการขาดสารอาหาร เด็กที่ขาดอาหารผมจะมีสีอ่อน ผมร่วง ถ้าลูกผมแห้ง อาจมีสาเหตุจาการดูแลไม่ถูกต้อง ใช้แชมพูสระผมที่ขับไขมันออกมากจนเกินไป หรือตากแดดมากไปก็ทำให้ผมแห้งแตกได้เช่นกันค่ะ


6. หนังศีรษะก็ป่วยได้จ๊ะ

ไม่เฉพาะเส้นผมเท่านั้นนะคะ ยังมีโรคอื่นๆที่อาจจะเกิดขึ้นกับหนังศีรษะ หรือเส้นผมของลูกน้อยซึ่ง ได้แก่

โรคที่เกิดจาการอักเสบติดเชื้อ เป็นตุ่มเป็นหนองพุพอง มักเกิดจากการดูแลความสะอาดไม่ดีพอ เล็บยาวและสกปรก เวลาเกาศีรษะจะทำให้เกิดการถลอกและติดเชื้อตามมา

ในเด็กที่โตหน่อยอาจจะเป็นเหา ที่ไปติดมาจากการสัมผัสคลุกคลีกับคนที่เป็นเหา เช่น เพื่อนฝูง พี่เลี้ยง เวลาเป็นเหาจะเกาและคันจนเป็นแผลติดเชื้อได้

การติดเชื้อราจะทำให้ผมร่วงเป็นหย่อมๆค่ะ หรือเป็นลัษณะเป็นตุ่มหนองเป็นกระจุก ที่เรียกว่า ชันนะตุ ต้องกินยารักษาเชื้อราและพบหมอ

ที่สำคัญอีกอย่างคือ ต้องพยายามหาสาเหตุให้ได้ว่าเชื้อมาจากแหล่งใด เช่น คนที่ดูแลเป็นเชื้อราที่เล็บ หรือติดจากเพื่อนฝูงคนใกล้ชิดที่เป็นโรคกลาก หรือคลุกคลีกับสัตว์เลี้ยง

เพราะฉะนั้นต้องป้องกันโดยการรักษาความสะอาดมีสุขอนามัยที่ดี ตัดเล็บให้สั้นอยู่เสมอ สะผมทำความสะอาดอย่างสม่ำเสมอค่ะ โดยเลือกใช้แชมพูสำหรับเด็กที่ไม่ระคายเคืองตาเวลาพลาดไปเข้าตา สระสัก 3-4 ครั้ง/สัปดาห์ หรืออาจถี่กว่านี้ ขึ้นอยู่กับว่าสกปรกมากน้อยแค่ไหน

เด็กบางคนขี้ร้อน เหงื่อออกมาก ก็สระถี่ขึ้นได้ค่ะ แต่ถ้าเป็นฤดูหนาวก็คงต้องลดจำนวนครั้งลงด้วยนะคะ มิเช่นนั้นหนังศีรษะลูกจะแห้งและลอกได้ค่ะ








Create Date : 08 มีนาคม 2551
Last Update : 17 มีนาคม 2551 21:11:22 น. 0 comments
Counter : 29922 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

แม่น้องแปงแปง
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]






แป๊ว แม่น้องแปงแปง






Photo Flipbook Slideshow Maker


Photo Flipbook Slideshow Maker


Photo Flipbook Slideshow Maker





Group Blog
 
<<
มีนาคม 2551
 
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
8 มีนาคม 2551
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add แม่น้องแปงแปง's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.