วิธีแก้เมื่อลูกน้อย "ฉี่รดที่นอน"
เด็กที่อยู่ในวัยนี้บางคนอาจยังมีปัญหาฉี่รดที่นอนอยู่ คุณแม่อาจสงสัยว่าลูกน้อยโตจนป่านนี้แล้วทำไมถึงยังมีอาการนี้ อย่าแปลกใจไปเลยค่ะคุณแม่ เพราะ 15 เปอร์เซ็นต์ของเด็กในวัยนี้จะมีอาการนี้อยู่ และพบมากในเด็กผู้ชาย ซึ่งอาจเกิดจากพัฒนาการที่ช้ากว่าปกติของระบบประสาท แต่ปัญหานี้จะค่อย ๆ ลดลงเมื่อเจ้าตัวน้อยมีอายุมากขึ้นค่ะ

ผู้เชี่ยวชาญโรคไตในเด็ก เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างความจุของกระเพาะปัสสาวะเด็กปกติ และเด็กที่มีปัญหาปัสสาวะรดที่นอน พบว่าเด็กที่มีปัญหาปัสสาวะรดที่นอน มีความจุของกระเพาะปัสสาวะน้อยกว่าเด็กปกติ ปัญหานี้จะหมดลงได้ก็ต่อเมื่อคุณพ่อคุณแม่ช่วยเขาฝึกขับถ่ายปัสสาวะ หรือได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่องค่ะ คุณพ่อคุณแม่หลายคน คงเริ่มอยากรู้วิธีการแก้ไขปัญหานี้กันแล้วใช่มั้ยคะ ลองใช้วิธีการนี้ดูค่ะ

ALARM TREATMENT

เมื่อลูกน้อยมีอาการปัสสาวะรดที่นอน คุณพ่อคุณแม่ก็เริ่มปฏิบัติการปลุกเขาด้วยเสียงอันดัง หรือเขย่าตัวให้เจ้าตัวเล็กตื่น การปลุกแบบนี้จะช่วยให้กระเพาะปัสสาวะของลูกน้อยขยายตัวใหญ่ขึ้น ในช่วง 2 สัปดาห์ แต่คุณพ่อคุณแม่จะต้องอธิบายให้เจ้าตัวเล็กเข้าใจก่อนนะคะ ว่าทำไมคุณพ่อคุณแม่ถึงจะต้องปฏิบัติการนี้กับเขา และคุณพ่อคุณแม่จะต้องช่วยกันสังเกต และบันทึกจำนวนครั้งของการปัสสาวะรดที่นอนในหนึ่งคืน วัดความกว้างของบริเวณที่เปียก จากการปัสสาวะรดที่นอนของเจ้าตัวน้อยโดยประมาณ เพื่อเปรียบเทียบว่าอาการดีขึ้นมั้ย และต้องทำติดต่อกันอย่างน้อย 3 เดือน เจ้าตัวน้อยของคุณพ่อคุณแม่จะหายภายในระยะเวลาอย่างน้อย 3 สัปดาห์หลังการปฏิบัติติดต่อกันค่ะ

ALARM TREATMENT

1. บอกวัตถุประสงค์ให้เจ้าตัวเล็กได้เข้าใจก่อนลงมือปฏิบัติ

2. ให้ลูกน้อยถ่ายปัสสาวะในห้องน้ำก่อนเข้านอนทุกครั้ง

3. จัดห้องนอนของลูกน้อยให้อยู่ใกล้ห้องน้ำ เพื่อสะดวกในการขับถ่าย

4. งดการดื่มน้ำ หรือนมของเจ้าตัวน้อย ก่อนเข้านอน เพื่อทำให้กระเพาะปัสสาวะของเขาว่าง

5. เมื่อลูกน้อยปัสสาวะรดที่นอน ให้ปลุกเขาด้วยเสียงที่ดัง หรือเขย่าตัวให้เขาตื่นทุกครั้ง

6. สังเกตและบันทึกจำนวนครั้งของการถ่ายปัสสาวะรดที่นอนในหนึ่งคืน และวัดความกว้างของบริเวณที่เปียกจากการปัสสาวะรดที่นอนโดยประมาณ เพื่อเปรียบเทียบ

7. ทำความสะอาด และเปลี่ยนเสื้อผ้าให้ลูกน้อย หลังการปัสสาวะรดที่นอนทุกครั้ง

8. ปฏิบัติติดต่อกันเป็นประจำ จนกว่าอาการของเจ้าตัวเล็กหาย

9. คุณพ่อคุณแม่ต้องไม่ลงโทษลูกน้อย ไม่ดุด่า ไม่หยาบคาย เพราะลูกน้อยของคุณพ่อคุณแม่ ก็ได้พยายามปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างเต็มที่แล้วเช่นกัน





ข้อมูลจากkapook.com



Create Date : 27 มิถุนายน 2553
Last Update : 27 มิถุนายน 2553 0:03:11 น.
Counter : 1181 Pageviews.

1 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Caffein Dog
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 14 คน [?]



Group Blog
มิถุนายน 2553

 
 
4
6
8
13
15
17
19
22
24
25
26
28
 
 
All Blog