Apple has lost a visionary and creative genius, and the world has lost an amazing human being.

But his spirit will forever be the foundation of Apple. 6 October 2011

 
กันยายน 2558
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
30 กันยายน 2558

จารึกสุโขทัยหลักที่ 1 : ของจริงหรือของปลอม (3)



พ.ศ. 2530 Michael Vickery เป็นคนแรกที่เสนอข้อสงสัยอย่างเป็นทางการ
ในการประชุมนานาชาติไทยศึกษา ที่มหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย
ในหัวข้อเรื่อง ศิลาจารึกพ่อขุนราม เป็นของเก่าหรือสร้างใหม่ในภายหลัง
ที่เขามั่นใจมากว่าศิลาจารึกนี้ถูกสลักขึ้นภายหลังพ่อขุนรามคำแหงนานมาก

โดยเปรียบเทียบตัวอักษร คำศัพท์ เนื้อหา ฯลฯ กับศิลาจารึกสุโขทัยหลักอื่นๆ

1. ภาษาในศิลาจารึกมีเสียงวรรณยุกต์ตรงกับภาษาปัจจุบันมากกว่าหลักอื่น
ซึ่งหมายความว่า จารึกหลักนี้ใกล้เคียงภาษากลางมากกว่าหลักอื่น
2. จารึกหลักที่ 1 มีคำไทยแท้มากเกินไปจนผิดสังเกต
ผิดจากจารึกร่วมสมัยที่มีอิทธิพลมาจากภาษาขอม

3. ศิลาจารึก เรียก กำแพงสุโขทัยว่า ตรีบูร ซึ่งหมายถึง กำแพงสามชั้น
ทั้งที่ในยุคพ่อขุนรามคำแหงมีกำแพงเพียงชั้นเดียว
กำแพงชั้นนอกที่ก่ออิฐสร้างขั้นสมัยหลังเมื่ออาวุธปืนใหญ่แบบตะวันตก
สมัยพ่อขุนรามคำแหงจึงไม่อาจรู้ได้ว่า จะมีกำแพงสามชั้น

4. ศิลาจารึกเขียน สระ อิ อี อึ อื อุ อู แบบฝรั่ง คือเขียนบรรทัดเดียวกัน
ทั้งที่จารึกอื่นๆทั้งหมดเขียนแบบวางตำแหน่งสระทั้งบนและล่าง
จารึกหลักที่หนึ่งจึงน่าจะเขียนเมื่อได้รับอิทธิพลจากอักษรตะวันตกแล้ว

5. การพัฒนาของการใช้ ฃ. ฃวด กับ ฅ. ฅน ซึ่งเป็นเสียงโฆษะ
แต่จะค่อยๆหายไปเพราะภาษาไทยไม่นิยมเสียงโฆษะ(เสียงก้อง)
แต่จะเป็น ข. ไข่ และ ค. ควา ย แทน เพราะ เป็นเสียงอโฆษะ(ไม่ก้อง)
แต่ศิลาจารึกใช้ ฃ.ฃวด และ ฅ.ฅน อย่างไม่มีกฎเกณฑ์

6. เนื้อหาของศิลาจารึกก็เป็นปริศนา
เพราะเล่าเรื่องที่โน้มไปทางการเมือง ขณะที่ศิลาเรื่องอื่นเป็นกรอบศาสนา

7. เรื่องพนมเบี้ย ก็เป็นเรื่องของยุครัตนโกสินทร์มากกว่ายุคสุโขทัย
เพราะในจารึกอื่นกล่าวถึงเบี้ย ในลักษณะที่ใช้เป็นเงินตรา



พ.ศ. 2529 – 2531 อ. พิริยะ ไกรฤกษ์ได้วิจัยเนื้อหาในหลักศิลาจารึก
และได้ตีพิมพ์รายงานวิจัยที่มีชื่อว่า จารึกพ่อขุนรามคำแหง การวิเคราะห์เชิงศิลปะ
ในเดือน มกราคม พ.ศ. 2532 โดยให้ข้อพิจารณาในประเด็นหลักๆ ได้แก่

1. จารึกหลักที่ 1 เอาสระและพยัญชนะมาไว้ในบรรทัดเดียวกัน
ขณะที่จารึกหลักอื่น ๆ วางสระและ วรรณยุกต์บนล่าง
เป็นลักษณะของการเรียงพิมพ์ซึ่งเป็นอิทธิพลของฝรั่ง
และคล้ายกับตัวอักษรอริยกะ ที่พระองค์คิดค้นขึ้นในขณะทรงผนวช

2. จารึกหลักที่ 1 มีขนาดเล็กผิดปรกติแตกต่างจากศิลาจารึกที่อายุใกล้เคียงกัน
คือ จารึกปราสาทพระขรรค์ของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ซึ่งมีขนาดเกือบ 2 เมตร
หรือศิลาจารึหลักที่ 2 และหลักที่ 4 ก็มีขนาดใหญ่เช่นเดียวกัน

3. คําว่า รามคําแหง ไม่ปรากฏในจารึกสุโขทัยหลักอื่น ๆ เลย
มีแต่ในหลักที่ 1 เท่านั้น ในขณะที่หลัก อื่นๆ เรียกว่า พระญารามราช พระร่วง
คำนี้ยังคล้ายกับตําแหน่ง พระรามคำแหง ในพระอัยการนาทหารหัวเมือง
ของกฎหมายตราสามดวง ที่ตราขึ้นใช้ในสมัยรัตนโกสินทร์

4. ในจารึกกล่าวว่าสุโขทัยนั้นตรีบูรได้สามพันสี่ร้อยวา (3400*2 = 6800 ม.)
เมื่อกรมศิลปากรเข้าไปบูรณะ วัดได้ความยาวของกําแพงชั้นใน 6100 เมตร
ชั้นกลาง 6500 เมตร และชั้นนอก 6800 เมตร แต่กำแพงชั้นกลางและชั้นนอก
สร้างในสมัยอยุธยา ดังนั้นพ่อขุนรามคำแหงทราบเรื่อง 6800 เมตร ได้อย่างไร

5. พระพุทธรูปหลายองค์ที่กล่าวถึงในจารึกหลักที่ 1 ดูตามรูปแบบศิลปะแล้ว
ไมมีอะไรเกี่ยวข้องกับสมัยสุโขทัย เป็นพระพุทธรูปฝีมือช่างสมัยอยุธยา

6. ชื่อช้างมาสเมืองของขุนสามชนคล้ายกับช้างของรัชกาลที่ 2 ที่ชื่อ มิ่งเมือง
และช้างของพ่อขุนรามคําแหงที่ชื่อ รูจาคีรีก็คล้ายกับชื่อ คีรีเมฆ เทพคีรีจันคีรี
ในพระราชนิพนธ์ ช้างเผือกของรัชกาลที่ 4 แต่ในศิลาจารึกหลักที่ 2
ช้างของมหาเถรศรีศรัทธาชื่อ อีแดงเพลิง ซึ่งดูเป็นคำไทยโบราณมากกว่า



7. คําที่ใช้ในจารึกหลักที่ 1 เป็นคําที่นิยมในสมัยรัตนโกสินทร์แล้ว
เช่น ตระพังโพยสี คือการขุดสระให้เป็นสีมา มีอุโบสถอยู่กลางน้ํา
อันเป็นแบบของพุทธศาสนานิกายสิงหลภิกขุ และไม่ปรากฏคำนี้อยู่ในที่อื่นเลย
ยกเว้นในพระราชพงศาวดารฉบับกรุงสยาม ซึ่งเป็นเอกสารชั้นหลัง

8. การเขียนคำว่ามะม่วง ให้เป็น หมากม่วง เป็นความจงใจเพื่อให้ดูเก่า
ความจริงในสมัยสุโขทัยใช้คำว่า ไม้ม่วง แต่คําว่า หมากม่วงนี้
กลับปรากฏในเรื่องนางนพมาศ ซึ่งน่าจะเขียนจะขึ้นสมัยรัชกาลที่ 3

9. การเผาเทียนเล่นไฟ ก็ดูจะสอดคล้องกับหนังสือเรื่องนางนพมาศ
หรือการพนมดอกไม้ คือการจัดดอกไมเป็นพุ่ม เป็นลักษณะการจัดดอกไม้
ของวัดบวรนิเวศ และ เป็นคําเฉพาะที่ไม่มีในจารึกหลักอื่น ๆ

10. เรื่องเจ้าเมืองบ่เก็บจังกอบก็เป็นเรื่องที่สอดคล้องกับการค้าเสรี
ที่สยามโดยอังกฤษบังคับให้ลงนามในสนธิสัญญาเบาริ่งเพื่อปรับลดภาษี
11. การรับฟังเรื่องราวร้องทุกข์ของราษฎรโดยการเอากระดิ่งไปแขวนไว้
ก็ตรงกับเรื่องราวการรับฎีกาโดยตรงจากราษฎรที่มีขึ้นในรัชกาลที่ 4

12. การกล่าวถึงสถานที่ต่างๆ เพียงกว้างๆ เช่น พิหารทองตั้งอยู่กลางเมือง
ถ้าเป็นจารึกร่วมสมัยจริง เหตุใดจึงไม่มีการระบุชื่อวัดหรือสถานที่โดยตรง

ดังนั้น อ. พิริยะ ไกรฤกษ์ เชื่อว่าศิลาจารึกหลักที่ 1 เป็นการแต่งขึ้น
โดยนำเนื้อหามาจากศิลาจารึกวัดศรีชุมของพระมหาธรรมราชาลิไท
เช่น พระราชประวัติของพ่อขุนรามคำแหงในตอนชนช้างกับขุนสามชน
เหมือนกับเรื่องพระมหาเถรศรีศรัทธาเคยได้ชนช้างกับขุนจังมาก่อน

มีการดัดแปลงบางพยัญชนะ และวิธีการเขียนตัวอักษรเป็นชั้นๆ บนล่าง
มาเป็นการเขียนไว้บนบรรทัดเดียวเหมือนกับภาษาตะวันตก
แสดงให้เห็นว่าผู้แต่งมีความเชี่ยวชาญเรื่องภาษาเป็นอย่างดี




 

Create Date : 30 กันยายน 2558
5 comments
Last Update : 30 กันยายน 2558 15:29:27 น.
Counter : 2461 Pageviews.

 

เรื่องลำดับเหตุการณ์ และศิลปที่คล้องจองมันยากที่จะปลอมกว่าการบันทึกเนาะ

 

โดย: tuk-tuk@korat 30 กันยายน 2558 11:22:16 น.  

 

เป็นเรื่องที่สมัยเรียนบัตรไกด์ อาจารย์ที่สอนโน้มเอียงไปในทางไม่เชื่อว่าเป็นของปลอมค่ะ เราก็ไม่แน่ใจเหมือนกัน แหะๆ

ของรางวัลปวดใจนี่แค่เพราะทำให้คิดถึงญี่ปุ่นใช่มั้ยคะ อ่านเม้นท์แล้วไม่แน่ใจ แหะๆ

 

โดย: สาวไกด์ใจซื่อ 30 กันยายน 2558 14:12:58 น.  

 

จากข้อความที่สรุปเป็นข้อๆ งั้นจะคิดเป็นอย่างอื่นไม่ได้ นอกจาก เขียนขึ้นมาในสมัยรัตนโกสินทร์สิคะนี่


*** เดินเล่นเป็นวันๆ ก็สามารถ ไม่เหนื่อย ไม่ร้อน สดชื่นมากค่ะ อาจจะเฉอะแฉะ ถ่ายรูปยากหน่อยแค่นั้น

 

โดย: สายหมอกและก้อนเมฆ 30 กันยายน 2558 15:08:48 น.  

 

ไม่เป็นไรนะคะ ตอนนี้มีโปรฯ ดีๆ เยอะเลย ไปญี่ปุ่นแบบไม่แพงมากก็ทำได้อยู่น้าา

 

โดย: สาวไกด์ใจซื่อ 30 กันยายน 2558 18:03:24 น.  

 

เข้าไปดูตาม link แล้วค่ะ

ร้านรุ่งเกษม อยากลองต้มยำ...


บันทึกการโหวตเรียบร้อยแล้วค่ะ



บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
เนินน้ำ Food Blog ดู Blog
NaiKonDin Travel Blog ดู Blog
tuk-tuk@korat Music Blog ดู Blog
ดอยสะเก็ด Literature Blog ดู Blog
ผู้ชายในสายลมหนาว Education Blog ดู Blog

ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 5 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น

 

โดย: สายหมอกและก้อนเมฆ 1 ตุลาคม 2558 21:30:21 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


ผู้ชายในสายลมหนาว
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 21 คน [?]




New Comments
[Add ผู้ชายในสายลมหนาว's blog to your web]