ค่าใช้จ่ายวัยเกษียณ 4 ด้านที่คนทำงานต้องเริ่มคิดตั้งแต่วันนี้



ค่าใช้จ่ายวัยเกษียณ 4 ด้าน
ที่คนทำงานต้องเริ่มคิดตั้งแต่วันนี้







ค่าใช้จ่ายวัยเกษียณ 4 ด้านที่คนทำงานต้องเริ่มคิดตั้งแต่วันนี้
2 days ago

ค่าใช้จ่ายวัยเกษียณ 4 ด้าน ที่คนทำงานต้องเริ่มคิดตั้งแต่วันนี้1

Insuranger AomMoney Guru

ในการวางแผนเกษียณ หลายคนอาจจะมีโอกาสศึกษามาบ้างแล้ว ว่ามีวิธีการคำนวณยังไง เพื่อให้เราทราบว่า เราควรเตรียมเงินเท่าไหร่ถึงจะเพียงพอสำหรับเอาไว้ใช้ในช่วงเวลาหลังเกษียณ แต่การคำนวณโดยทั่วไปเท่าที่ผมเห็น มักจะเป็นการคำนวณแบบคร่าวๆง่ายๆ โดยการแค่นึกขึ้นมาว่า หลังเกษียณอยากใช้เงินเท่าไหร่ พอคิดตัวเลขขึ้นมาได้ก็จิ้มเครื่องคิดเลขคำนวณ ออกมาเป็นเงินที่ต้องเตรียมเลย แล้วก็คำนวณต่อว่า ควรจะเก็บเงินเพิ่มเท่าไหร่ แค่นั้น จบแล้ว

แต่ในความเป็นจริง การประเมินตัวเลขเงินที่จะใช้แบบคร่าวๆ อาจจะไม่เพียงพอที่จะช่วยให้มีเงินเพียงพอในการใช้ชีวิตหลังเกษียณได้จริงๆ เพราะพอถึงเวลาเกษียณ อาจจะมีค่าใช้จ่ายอีกมากมาย ที่เราไม่ทันได้คำนึงถึงในตอนวางแผน ดังนั้น เพื่อที่จะสามารถวางแผนเตรียมเงินเกษียณได้อย่างครอบคลุม นี่คือ รายจ่าย 4 ด้าน ที่ผมขอแนะนำให้คำนึงถึง และวางแผนเตรียมไว้ล่วงหน้า เพื่อให้แผนเตรียมเงินเกษียณของเรารัดกุม และครอบคลุมมากขึ้นครับ

1. ค่ากินอยู่ทั่วไป

เป็นค่าใช้จ่ายพื้นฐานสำหรับการวางแผนเกษียณที่อย่างน้อยที่สุดต้องมี “ไม่มีไม่ได้” ได้แก่

– ค่าอาหาร
– ค่าเดินทาง
– ค่าเสื้อผ้า / ข้าวของเครื่องใช้
– ค่าใช้จ่ายอื่นๆ (ตามไลฟ์สไตล์)

ซึ่งการจะประเมินค่าใช้จ่ายต่างๆเหล่านี้ ก่อนอื่น เราจำเป็นต้องสำรวจ “ไลฟ์สไตล์” ของเราก่อน ด้วยการลองวางแผนชีวิตว่า หลังเกษียณแล้ว เราอยากใช้ชีวิตแบบไหน? จะอยู่ที่ไหน? จะกินอะไร? จะซื้อจะใช้อะไร? กิจกรรมที่ทำในแต่วัน / สัปดาห์ / เดือน / ปี มีอะไรบ้าง? แล้วตีราคา หรือต้นทุนของการใช้ชีวิตแบบนั้น ออกมาเป็นตัวเงิน ว่าเดือนเดือนหนึ่ง หรือปีหนึ่งๆ เราจะมีค่าใช้จ่ายในการดำรงชีวิตแบบนั้น เท่าไหร่? นั่นถึงจะสะท้อนค่าใช้จ่ายจริงๆหลังเกษียณ มากกว่าแค่นึกขึ้นมาว่า เดือนหนึ่งอยากใช้เท่านั้น เท่านี้ ซึ่งไม่ค่อยชัดเจนเท่าไหร่นักครับ

2. ค่าบำรุงรักษาและคุ้มครองทรัพย์สินหรือวัสดุอุปกรณ์

มักจะเป็นค่าใช้จ่ายที่คนทั่วไปไม่ค่อยนึกถึงเท่าไหร่ แต่เลี่ยงไม่ได้ที่จะเกิดขึ้นอยู่เสมอเป็นระยะ เมื่อเรามีการใช้งานทรัพย์สิน หรือข้าวของเครื่องใช้มาระยะหนึ่ง ก็ย่อมมีการเสื่อมสภาพ ทำให้เราต้องเสียค่าซ่อม หรือซื้อมาเปลี่ยนใหม่ ตามอายุการใช้งาน เช่น ค่าซ่อมหรือบำรุงรักษารถรายปี, เปลี่ยนรถคันใหม่ทุกๆ 5 หรือ 10 ปี, ค่าซ่อมแซมหรือปรับปรุงบ้าน, ค่าซื้อทีวี / ตู้เย็น / หม้อหุงข้าว เครื่องใหม่, ค่าอัพเกรดคอมพิวเตอร์ เป็นต้น ซึ่งเราอาจจะต้องประเมินว่า ทรัพย์สิน หรือของใช้เหล่านี้ มีอายุการใช้งานประมาณกี่ปี? และต้องเตรียมเงินไว้เท่าไหร่? เมื่อปีไหน? โดยเฉพาะทรัพย์สินที่มีราคาสูง เช่น บ้าน หรือรถยนต์ แต่สำหรับทรัพย์สินที่ไม่แพงมาก หรือข้าวของเครื่องใช้ทั่วไป เราอาจจะกำหนดเป็นงบประมาณ สำหรับค่าซ่อมแซมหรือซื้อสิ่งของเหล่านี้ ล่วงหน้า เป็นรายปี เช่น กำหนดไว้ปีละ 50,000 บาท แบบนี้เลยก็ได้

นอกจากนี้ ก็อย่าลืมพวก ค่าคุ้มครองหรือค่าทำประกันทรัพย์สิน ต่างๆ เช่น ประกันรถยนต์ หรือ ประกันบ้าน เป็นต้น เอาไว้ด้วย เพื่อเป็นการปกป้องความเสี่ยงของทรัพย์สินเหล่านี้ ทำให้เราไม่ต้องจ่ายค่าเสียหายหรือค่าซ่อมแซมจำนวนมาก หากเกิดเหตุไม่คาดฝันขึ้น ทำให้ทรัพย์สินของเราเสียหายนั่นเองครับ


3. ค่าท่องเที่ยว

สำหรับบางคน (หรืออาจจะหลายคน) ช่วงวัยเกษียณคือช่วงพักผ่อน จากการทำงานมาอย่างหนักหลายสิบปี เลยอยากจะขอเที่ยว หรือไปในที่ไม่เคยไปบ้าง ซึ่งค่าใช้จ่ายในการท่องเที่ยว ก็มีตั้งแต่ถูก ไปจนถึงแพง ขึ้นอยู่กับว่า เราจะไปเที่ยวที่ไหน จังหวัดใกล้ๆ หรือจังหวัดไกลๆ ในประเทศ ไปเที่ยวต่างประเทศที่ประเทศใกล้ๆ หรือไปไกลๆ แถบยุโรปหรืออเมริกา ดังนั้นเราจึงควรกำหนดงบประมาณสำหรับการท่องเที่ยวไว้ สำหรับการท่องเที่ยวที่ใช้เงินไม่สูงมาก เช่น ทริปละไม่กี่พัน หรือขอเที่ยวต่างประเทศ ประเทศใกล้ๆ ปีละครั้ง โดยอาจจะกำหนดเป็นรายปี เช่น วางไว้ปีละ 50,000 บาท แต่สำหรับการท่องเที่ยวครั้งใหญ่ เช่น ครั้งละเกือบแสน หรือแสนขึ้นไป แบบนี้อาจจะต้องวางแผนเตรียมเงินแยกต่างหาก เช่น หลังเกษียณ ขอเดินทางทริปแพงๆ พร้อมครอบครัว ประมาณ 5 ครั้ง ครั้งละ 1 แสนบาท เป็นต้น

4. ค่าดูแลสุขภาพ

ถือเป็นค่าใช้จ่ายสำคัญ ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าค่ากินใช้ทั่วไป เนื่องจากหลังเกษียณ คือช่วงที่เราอายุมากขึ้น สุขภาพก็เริ่มจะถดถอย โอกาสที่จะเจ็บป่วย หรือเป็นโรคต่างๆ ก็มีสูงขึ้น ดังนั้น เราจึงควรวางแผนเตรียมเงินสำหรับค่าใช้จ่ายด้านนี้เอาไว้ด้วย เพราะเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงได้ยาก (ยังไงเสีย ช่วงสุดท้ายของชีวิต เราก็คงต้องเข้าโรงพยาบาลอยู่แล้ว) โดยมีวิธีให้เราเตรียมเงินดังนี้

1) ใช้วิธีทำประกันสุขภาพ

วิธีนี้ ข้อดี คือ ทำให้เราหมดห่วง ว่าจะต้องจ่ายค่ารักษาแพงๆ หากต้องเข้าโรงพยาบาล หรือป่วยบ่อย / ป่วยนาน เพราะบริษัทประกันจะมาช่วยรับผิดชอบค่าใช้จ่ายให้เรา ทำให้เราอุ่นใจและสบายใจได้เลย ถ้าเราต้องเจ็บป่วย แต่ ข้อเสีย ก็คือ ค่าเบี้ยประกันสุขภาพตอนที่เราอายุมากๆ โดยเฉพาะหลัง 60 ปีขึ้นไป จะค่อนข้างแพง (ประมาณ 5 หมื่นบาทขึ้นไป สำหรับแพคเกจต่ำสุด ของประกันสุขภาพแบบเหมาจ่ายค่ารักษา) และจะแพงขึ้นเรื่อยๆ ตามอายุที่เพิ่มขึ้น โดยจะเป็นเบี้ยแบบจ่ายทิ้ง ทำให้หากปีไหนเราไม่ได้เข้าโรงพยาบาล ก็จะต้องเสียเงินจำนวนมาก

ถ้าใครอยากใช้วิธีนี้ โดยที่ไม่เดือดร้อนมาก ก็ควรวางแผนเตรียมเงินตั้งแต่เนิ่นๆล่วงหน้าก่อนเกษียณหลายสิบปี โดยการคำนวณโดยรวมค่าเบี้ยประกันสุขภาพทั้งหมดที่ต้องจ่าย หลังเกษียณ ว่าเป็นจำนวนเท่าไหร่ แล้วจึงวางแผนเก็บเงิน / ลงทุน สำหรับเงินก้อนนี้ ก็จะไม่เป็นภาระในการเตรียมเงินมาก แต่ยังไงก็ตาม แม้จะวางแผนเตรียมทำประกันไว้ล่วงหน้าแล้ว ก็ยังอาจไม่เพียงพอสำหรับค่ารักษาอยู่ดี เพราะผลประโยชน์ที่บริษัทประกันจ่ายเงินค่ารักษายังคงเท่าเดิมทุกปี ขณะที่ค่ารักษาแพงขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งถ้าหากอยากจะให้เพียงพอ ก็ต้องซื้อเพิ่มอีก เงินที่ต้องเตรียมก็ต้องเพิ่มมากขึ้น จนอาจจะเป็นภาระการออม / ลงทุน ที่หนักเกินไป เราจึงต้องประเมินให้พอเหมาะ ว่าเราทำได้แค่ไหน ถึงอายุประมาณเท่าไหร่ เราถึงจะเตรียมเงินไว้ล่วงหน้าได้แบบไม่เดือดร้อน

2) ใช้วิธีเตรียมเงินด้วยตัวเอง

วิธีนี้คือ การยอมรับความเสี่ยงเรื่องค่ารักษาไว้กับตัวเองทั้งหมด ข้อดี คือ เราไม่ต้องจ่ายเงินทิ้งทุกปีๆ เพื่อเป็นค่าเบี้ยประกัน หากปีไหนไม่ได้เข้าโรงพยาบาล เงินที่เราเตรียมไว้ก็ยังอยู่ และเติบโตต่อไปได้เรื่อยๆ แต่ ข้อเสีย ก็คือ เราไม่รู้ล่วงหน้าว่าเราจะเจ็บป่วยหนักขนาดไหน ต้องเสียค่ารักษาทั้งหมดเท่าไหร่ ดังนั้น เงินที่เตรียมไว้ ที่คิดว่าน่าจะพอ ก็อาจจะไม่พอก็ได้

ถ้าใครอยากใช้วิธีนี้ ก็ต้องประเมินดูว่า หากเจ็บป่วยขึ้นมา โรงพยาบาลที่เราจะใช้บริการคือโรงพยาบาลอะไร มีค่าใช้จ่ายประมาณเท่าไหร่ ในการเจ็บป่วยแต่ละครั้ง โดยดูจาก ค่าห้อง ค่ายา ค่ารักษาพยาบาล (เช่นค่าผ่าตัด หรือค่ารักษากรณีโรคร้ายแรงต่างๆ) แล้วจึงอาจจะเตรียมเงินไว้อย่างน้อยประมาณ 5-10 เท่า ของค่ารักษานั้น (อาจจะถึงหลักล้าน เพื่อความอุ่นใจ)

3) ใช้วิธีทั้งทำประกัน และเตรียมเงินเองส่วนหนึ่ง

วิธีนี้ ก็เหมาะกับคนที่อยากจะทำประกัน ห่วงว่า เก็บเงินเองทั้งหมดก็อาจจะไม่พอ ขณะเดียวกัน ก็ไม่อยากทำประกันทั้งหมด เพราะต้องเตรียมค่าเบี้ยสูงเกินไป และยังไงผลประโยชน์ที่ได้จากประกันที่ทำไว้ ก็อาจจะไม่พออยู่ดีเมื่อค่ารักษาแพงขึ้นเรื่อยๆ

ถ้าใครอยากใช้วิธีนี้ ก็ใช้วิธีเตรียมเงินค่าเบี้ยประกันเหมือนวิธีแรก เพียงแต่อาจจะไม่ต้องรวมค่าเบี้ยจนถึงอายุสุดท้ายที่ทำประกันได้ (ส่วนมากคือ 79 ปี) แต่อาจจะเตรียมไว้ถึงแค่อายุหนึ่ง เช่น 65 หรือ 70 ปี แล้วส่วนที่เหลือ ก็กำหนดเงินก้อนเตรียมไว้เองอีกส่วนหนึ่ง ตามที่เราประเมินไว้

นอกจากค่ารักษาพยาบาลกรณีเจ็บป่วยหนักๆจนต้องเข้าโรงพยาบาลแล้ว ยังไงก็ตามเราก็ควรจะต้องมีงบประมาณสำหรับค่ารักษาอาการเจ็บป่วยเล็กๆน้อยๆอีก เป็นรายปี สำหรับเวลาเราเป็นไข้ หรือประสบอุบัติเหตุเล็กน้อย โดยอาจจะกำหนดไว้ประมาณปีละ 10,000-20,000 บาท หรือมากกว่านั้นก็ได้ แล้วแต่แต่ละคนครับ

ยกตัวอย่าง การคำนวณ เพื่อเตรียมเงินด้านต่างๆ สำหรับการวางแผนเกษียณอย่างครอบคลุม

EX นาย ก. อายุ 40 ปี วางแผนว่า จะเกษียณตอนอายุ 60 ปี และมีชีวิตอยู่จนถึงอายุ 85 ปี รวมแล้ว 85 – 60 = 25 ปี

1. ค่ากินอยู่ทั่วไป

วางแผนเอาไว้ว่า จะใช้ชีวิตอยู่ใน กรุงเทพ เขตชานเมือง

– ค่ากิน กินอยู่แบบทั่วไป ประมาณมื้อละ 60 บาท สัปดาห์หนึ่งจะมีกินมือพิเศษ มื้อละ 500 บาท ประมาณ 3 มื้อ รวมแล้วมีค่ากิน (50 x 18) + (500 x 3) = 2,4000 บาท ต่อสัปดาห์ หรือ เดือนละ 2,400 x 4 = 9,600 บาท
– ค่าเดินทางเป็นค่าน้ำมัน ค่าที่จอด แค่ละเดินทางอื่นๆประมาณสัปดาห์ละ 700 บาท หรือเดือนละ 700x 4 = 2,800 บาท
– ค่าโทรศัพท์ เดือนละ 400 บาท
– ค่าน้ำ เดือนละ 400 บาท
– ค่าไฟ เดือนละ 1,000 บาท
– ค่าใช้จ่ายทางสังคม เฉลี่ยเดือนละ 1 ครั้ง ครั้งละ 1,000 บาท
– ค่าเสื้อผ้า เฉลี่ยเดือนละ 1,000 บาท
– และค่าสันทนาการต่างๆ (ดูหนัง, เดินห้าง, อ่านหนังสือ) อีกเดือนละ 1,000 บาท

รวมแล้ว มีค่ากินอยู่ทั่วไป เดือนละ 9,600 + 2,800 + 400 + 400 + 1,000 + 1,000 + 1,000 + 1,000 = 17,200 บาท หรือปีละ 17,200 x 12 = 206,400 บาท

แต่นี่คือมูลค่า ณ ปัจจุบัน หากปรับเงินเฟ้อประมาณ 3% แล้ว ณ ตอนที่เกษียณ จะต้องเตรียมเงินเพิ่มขึ้น เป็น 372,781 บาท ต่อปี จะต้องใช้ทั้งหมด 25 ปี ดังนั้น ต้องเตรียมเงินไว้ 372,781 x 25 = 9,319,525 บาท

2. ค่าบำรุงรักษาทรัพย์สิน

– กำหนดงบซ่อมแซมและบำรุงรักษา ปีละ 50,000 บาท (เป็นมูลค่าปัจจุบัน ปรับเงินเฟ้อ 3% แล้ว ณ เกษียณ จะเพิ่มขึ้นเป็น 90,305 บาท)
– จ่ายค่าเบี้ยประกันรถยนต์ ปีละ 8,000 บาท
– ค่าประกันบ้าน ปีละ 2,000 บาท
– ตั้งใจจะ เปลี่ยนรถ 1 ครั้ง ค่ารถ 800,000 บาท โดยจะขายรถคันเดิมก่อนจะเกษียณ คาดว่าขายได้ราคา 200,000 บาท หักลบกันแล้ว ค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนรถคือ 800,000 – 200,000 = 600,000 บาท

– รีโนเวทบ้าน 1 ครั้ง ค่าใช้จ่ายประมาณ 100,000 บาท

รวมแล้ว ต้องเตรียมค่าบำรุงรักษาทรัพย์สินทั้งหมด [(90,305 + 8,000 + 2,000) x 25] + 600,000 + 100,000 = 3,207,625 บาท

3. ค่าท่องเที่ยว

กำหนดงบท่องเที่ยวในประเทศ ปีละ 20,000 บาท ต่างประเทศ ปีละ 1 ครั้ง ครั้งละ 50,000 บาท

รวมงบท่องเที่ยวปีละ 70,000 บาท หลังปรับเงินเฟ้อ 3% ณ ตอนเกษียณ จะเพิ่มเป็นปีละ 126,428 บาท ทั้งหมด 25 ปี รวมแล้ว ต้องเตรียมค่าท่องเที่ยว 126,428 x 25 = 3,160,700 บาท

4. ค่ารักษาพยาบาล

ใช้วิธีทั้งทำประกันสุขภาพ และเตรียมเงินเอง

– โดยจะทำประกันสุขภาพจนถึงอายุ 70 ปี เป็นแบบเหมาจ่ายค่ารักษาปีละ 2 ล้านบาท แพคเกจค่าห้องคืนละ 3,000 บาท รวมค่าเบี้ยทั้งหมด 1,000,000 บาท (ตัวเลขสมมติโดยประมาณ)
– และจะเตรียมเงินสำหรับค่ารักษาให้ตัวเองอีก 1 ก้อน จำนวน 1,000,000 บาท
– และสำหรับอาการเจ็บป่วยเล็กน้อย ปีละ 20,000 บาท (หลังปรับเงินเฟ้อ 3% จะเพิ่มเป็นปีละ 36,122 บาท) รวม 25 ปี เป็นเงิน 36,122 x 25 = 903,050 บาท

รวมเงินที่ต้องเตรียมสำหรับค่ารักษาพยาบาล 1,000,000 + 1,000,000 + 903,050 = 2,903,050 บาท
รวมเงินทั้งหมดที่ต้องเตรียม สำหรับเกษียณสุขอย่างอุ่นใจตลอด 25 ปี 9,319,525 + 3,207,625 + 3,160,700 + 2,903,050 = 18,590,900 บาท

(หมายเหตุ : ทั้งหมด คำนวณจากสมมติฐานว่า หลังเกษียณ จะนำเงินที่เตรียมไว้ ไปบริหารจัดการให้ได้ผลตอบแทนเท่ากับเงินเฟ้อ ที่ประมาณ 3% ต่อปี แต่ถ้าหากเราสามารถหาผลตอบแทนได้สูงกว่า 3% ต่อปี และไม่เสี่ยงมาก เช่น ประมาณ 5-6% ต่อปี เงินที่เราต้องเตรียมก็จะน้อยลงกว่านี้ครับ)



เห็นไหมครับว่า พอมานั่งคิดดีๆอย่างละเอียดแล้ว จะพบว่า จากไลฟ์สไตล์ที่เราต้องการ รวมถึงวางแผนบริหารความเสี่ยงต่างๆหลังเกษียณแล้ว ขนาดเป็นไลฟ์สไตล์แบบทั่วไป ไม่ได้หรูหรามาก ยังต้องเตรียมเงินถึงประมาณ 13-18 ล้านบาท (ถ้าหาผลตอบแทนได้ประมาณ 3-6% หลังเกษียณ) ดังนั้น หากเราไม่วางแผนเกษียณ แล้วคิดเอาเองว่าเงินที่จะได้จากที่ทำงานเมื่อถึงเวลาเกษียณ จะเพียงพอ หรือแค่คำนวณแบบคร่าวๆ ก็น่าจะเพียงพอแล้ว ก็อาจจะไม่พออย่างที่คาดไว้ก็ได้ ก็หวังว่า บทความนี้ จะเป็นแนวทางช่วยให้ทุกคนสามารถประเมินเงินที่จะต้องเตรียมในการวางแผนเกษียณได้อย่างรัดกุม และครอบคลุมมากขึ้นนะครับ สวัสดีครับ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก
https://goo.gl/64oAu0

สาขา Business Blog


ขอขอบคุณข้อมูลจากอินเตอร์เนต

newyorknurse



Create Date : 26 พฤศจิกายน 2560
Last Update : 26 พฤศจิกายน 2560 4:49:24 น. 0 comments
Counter : 2533 Pageviews.

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณไวน์กับสายน้ำ, คุณmambymam, คุณSweet_pills, คุณโอพีย์, คุณเนินน้ำ, คุณmastana, คุณพันคม, คุณก้นกะลา, คุณSai Eeuu, คุณภาวิดา คนบ้านป่า, คุณหงต้าหยา, คุณClose To Heaven, คุณสายหมอกและก้อนเมฆ, คุณThe Kop Civil, คุณRinsa Yoyolive, คุณ**mp5**, คุณข้ามขอบฟ้า, คุณSakormaree


newyorknurse
Location :
ราชบุรี .. New York ... United States

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 164 คน [?]






เริ่มเขียนBlog
เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2553

ยินดีต้อนรับค่ะ

จขบ.บันทึกประสบการณ์ต่างๆ
ระยะเวลาทำงานและระยะเกษียณ
เพื่อเก็บไว้เป็นความทรงจำ

จขบ.พยายามใช้ชีวิตเกษียณให้มีคุณค่า
รักษาสุขภาพใจและกาย ท่องเที่ยวกับเพื่อนๆ
ทำสวนดอกไม้ ออกกำลังกาย
สมัครเป็นสมาชิก 24 Hrs Fitness
เพื่อให้ชีวิตที่เหลืออยู่มีคุณภาพ
จะได้ไม่เป็นภาระกับคนที่รักและห่วงใย

จขบ.เพิ่มบล็อกสุขภาพ
เพื่อจะได้นำสาระที่มีประโยชน์
เกี่ยวกับสุขภาพทั่วๆไป

จขบ.หวังว่าข้อมูลต่างๆช่วยให้
ทุกท่านที่มาอ่าน รักษาสุขภาพ
ไปตรวจเพื่อเป็นการป้องกัน
และได้รับการรักษาเนิ่นๆ เพื่อ
ชีวิตที่แข็งแรงและมีคุณภาพ

"A time to enjoy,
a time to spend time with your family
and a time to be with your friends
all comes with retirement"


*****


"Live The Moment"

อยู่กับปัจจุบันขณะ หยุดเสียใจกับสิ่งที่เกิดขี้น
ในอดีตและกลัวหรือกังวล
สิ่งทีเกิดขี้นในอนาคต "วันนี้" และ "ขณะนี้"
คือช่วงเวลาที่ดีที่สุดของคุณ !!
ใช้มันให้ดีที่สุดให้เป็นช่วงเวลาทีมีคุณค่า
น่าจดจำเพราะว่าเวลาเป็นสิ่งที่ผ่านมา
และผ่านเลยไป เอาคืนไม่ได้และ
หาเพิ่มก็ไม่ได้เช่นกัน

ขอบคุณทุกท่านที่แวะมาค่ะ


*********


ขอบคุณ Bloggang ทำให้เราได้เขียนบล็อกต่างๆ
ขอบคุณสำหรับคะแนนโหวด
ทุกๆคะแนน นะคะ

BG Popular Award # 19


BG Popular Award # 18


BG Popular Award # 17


BG Popular Award # 16


BG Popular Award # 15


BG Popular Award # 14


BG Popular Award # 13


BG Popular Award # 12


BG Popular Award # 11


BG Popular Award # 10


BG Popular Award # 9


BG Popular Award # 8

**********



ขอบคุณทุกหัวใจวาเลนไทน์ 2561
ที่เพื่อนๆมอบให้ค่ะ


ขอบคุณทุกหัวใจวาเลนไทน์ 2560
ที่เพื่อนๆมอบให้ค่ะ
Flag Counter
New Comments
Group Blog
 
<<
พฤศจิกายน 2560
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
 
26 พฤศจิกายน 2560
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add newyorknurse's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.