สวัสดีค่ะ ภาระหน้าที่ทำให้ต้องเดินทางไกลมาถึงบัวโนสไอเรส แต่ยังคิดถึงเพื่อนบล็อกทุกคนนะค่ะ

ข้ออักเสบรูมาตอยด์ รู้ช้าเสี่ยงพิการ

“ข้ออักเสบรูมาตอยด์” ชื่อนี้คุ้นหูมานาน แต่จะมีสักกี่คนที่รู้ว่าเจ้าโรคนี้คืออะไร มีลักษณะอย่างไร ถ้าไม่ใช่ผู้ป่วยหรือคนใกล้ชิดที่ได้ประสบกับตัวเอง
โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์เป็นโรคข้ออักเสบเรื้อรังที่พบบ่อยที่สุด และจัดเป็นลำดับที่ 2 ของโรคข้อที่พบบ่อยที่สุดรองจากโรคข้อเสื่อม ในระยะแรกผู้ป่วยจะทุกข์ทรมานจากข้ออักเสบหลายข้อพร้อมกัน หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง ข้อจะเคลื่อนหลุด ผิดรูป และเกิดภาวะทุพพลภาพในที่สุด

สาเหตุของโรค
     สาเหตุที่แท้จริงของโรคนี้ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่โรคนี้ไม่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมและไม่ใช่โรคติดต่อจึงไม่แพร่กระจายไปยังบุคคลอื่น ความผิดปกติของเซลล์ต่างๆ ที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันเป็นต้นเหตุที่ทำให้เยื่อบุข้ออักเสบ ทำให้มีการสร้างน้ำในข้อเพิ่มขึ้น กระดูกอ่อนถูกทำลาย กระดูกในข้อกร่อน ปลอกหุ้มข้อรวมทั้งเอ็นรอบข้อหลวมและฉีกขาด ทำให้ข้อเคลื่อนหลุดและผิดรูปในที่สุด

อาการของโรครูมาตอยด์
     โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์จะมีอาการปวด บวม กดเจ็บ มีน้ำในข้อ และขยับเคลื่อนไหวข้อได้น้อยลงเนื่องจากเจ็บปวด มีการอักเสบของข้อพร้อมกันหลายข้อทั้งสองฝั่งของร่างกาย โดยเฉพาะข้อเล็กๆ ของนิ้วมือ นิ้วเท้า ข้อมือ ข้อเท้า ข้อศอก และข้อไหล่ บางรายอาจมีข้ออักเสบจำนวน 1–2 ข้อก่อนในระยะแรก แล้วมีการเพิ่มจำนวนข้ออักเสบอีกเรื่อยๆ ในเวลาต่อมาจนกลายเป็นข้ออักเสบเรื้อรังหลายข้อในที่สุด และอาจพบปุ่มรูมาตอยด์ที่ผิวหนังด้านหลังแขนต่ำจากปลายศอกลงมาเล็กน้อยหรือที่นิ้วมือหรือข้อมือ นอกจากนี้ส่วนใหญ่จะมีไข้ต่ำๆ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร และน้ำหนักลดร่วมด้วย โดยอาการมักเริ่มด้วยอาการฝืดตึงตามข้อต่างๆ โดยเฉพาะที่ข้อนิ้วมือทั้งสองข้างในเวลาตื่นตอนเช้า ทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถกำมือได้เต็มที่และลุกขึ้นจากเตียงนอนลำบาก อาการฝืดตึงอาจเป็นได้นานตั้งแต่ครึ่งชั่วโมงจนถึงหลายชั่วโมง

ภาวะแทรกซ้อนของโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
     นอกจากข้อผิดรูปจนเกิดความพิการในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงแล้ว ยังอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนในอวัยวะอื่นๆ ได้ เช่น กระดูกต้นคอเคลื่อนไปกดไขสันหลัง ชั้นกระบอกตาขาวอักเสบ กระบอกตาทะลุ เยื่อบุปอดอักเสบ มีน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอด มีพังผืดในปอด และเส้นเลือดอักเสบ เป็นต้น อย่างไรก็ตามภาวะแทรกซ้อนดังกล่าวพบไม่บ่อยในผู้ป่วยไทยและสามารถหายเป็นปกติหรือดีขึ้นได้จากการรักษาที่ถูกต้อง

การวินิจฉัยโรค
     มีโรคต่างๆ ที่ทำให้เกิดข้ออักเสบเรื้อรังหลายข้อ เช่น โรคลูปัส โรคข้ออักเสบสะเก็ดเงิน โรคข้ออักเสบที่เกิดจากการติดเชื้อ และโรคข้อที่เกิดในผู้ป่วยโรคต่อมไร้ท่อ เป็นต้น ดังนั้นแพทย์จะอาศัยข้อมูลต่างๆ เพื่อทำการวินิจฉัยแยกโรคอื่นๆ ที่เลียนแบบออกไปก่อน หลังจากนั้นจึงค่อยยืนยันการวินิจฉัยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์โดยการเจาะเลือดส่งตรวจทางน้ำเหลือง ได้แก่ สารรูมาตอยด์และแอนติบอดีต่อซีซีพี ซึ่งมักจะให้ผลบวก สำหรับผู้ป่วยที่มีโรครุนแรงและเป็นมานานหลายเดือน การส่งตรวจภาพรังสีมือและเท้าก็มักพบลักษณะการทำลายข้อซึ่งจำเพาะต่อโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์

โรครูมาตอยด์สามารถรักษาให้หายขาดได้
     โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์เป็นโรคข้ออักเสบซึ่งมีการดำเนินโรครุนแรงและเรื้อรัง จนทำลายโครงสร้างต่างๆ ของข้อและทำให้เกิดความพิการได้หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง มีการศึกษาพบว่าโรคจะมีความรุนแรงมากในช่วงระยะ 2–3 ปีแรก หากได้รับการรักษาอย่างถูกต้องตั้งแต่แรกก็จะทำให้โรคสงบลงหรือหายขาดได้ ปัจจุบันจึงมีการรณรงค์ให้ความรู้แก่ประชาชนและบุคลากรทางการแพทย์เพื่อให้ตระหนักถึงความสำคัญของการวินิจฉัยและการรักษาโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ให้ได้อย่างถูกต้องตั้งแต่ในระยะแรก

     ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องและเหมาะสมจนสามารถควบคุมโรคได้ดี จะสามารถมีชีวิตที่เป็นปกติสุขและมีคุณภาพชีวิตที่ดีเช่นเดียวกับคนปกติทั่วไป ในทางตรงข้ามภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ที่เกิดขึ้นในผู้ป่วยที่มีการควบคุมโรคไม่ดีจะเป็นสาเหตุทำให้เกิดความพิการหรือเสียชีวิตได้


ยาที่ใช้รักษาโรครูมาตอยด์แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม
      กลุ่มที่หนึ่งได้แก่ ยาในกลุ่มแก้ปวด ซึ่งเป็นยาที่ใช้บรรเทาอาการในผู้ป่วยที่มีความเจ็บปวดจากข้ออักเสบ ได้แก่ พาราเซตามอล และทรามาดอล และยาในกลุ่มต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์หรือเอ็นเสด (NSAIDs) ได้แก่ ไดโคลฟีแนค (diclofenac), ไอบูโพรเฟน (ibuprofen), นาโปรเซน (naproxen), ซีลีคอกสิบ (celecoxib) และอีทอริคอกสิบ (etoricoxib) เป็นต้น ยาในกลุ่มนี้ออกฤทธิ์ได้เร็วและช่วยบรรเทาอาการได้นานหลายชั่วโมง แต่เมื่อยาหมดฤทธิ์อาการเจ็บปวดก็จะกลับมาอีก ยาชนิดนี้มีผลข้างเคียงที่สำคัญ ได้แก่ ระคายเคืองเยื่อบุกระเพาะอาหาร ทำให้ปวดท้องหรือเป็นแผลที่ทางเดินอาหารจนอาจทำให้มีเลือดออก ดังนั้นจึงไม่ควรรับประทานยานี้ตอนท้องว่าง และไม่ควรใช้ในผู้ป่วยที่มีโรคกระเพาะอาหารเป็นแผลหรือเลือดออกง่าย นอกจากนี้ยายังทำให้ไตทำงานลดลง ความดันโลหิตสูงขึ้น บวมกดบุ๋ม และหลอดเลือดแดงตีบ จึงควรหลีกเลี่ยงในผู้ป่วยสูงอายุ ผู้ป่วยโรคไต โรคหัวใจขาดเลือด และโรคเส้นเลือดสมองตีบ

      ยากลุ่มที่สอง ได้แก่ ยารักษาโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ซึ่งเป็นกลุ่มยาที่มีคุณสมบัติปรับเปลี่ยนการดำเนินโรคหรือดีมาร์ด (DMARDs) และมีคุณสมบัติเหนี่ยวนำให้โรคเข้าสู่ระยะสงบได้ ยาในกลุ่มนี้ได้แก่ เม็ทโธเทร็กเซท (methotrexate), คลอโรควิน (chloroquine), พลาควินิล (plaquenil), ซัลฟาซาลาซีน (sulfasalazine), เลฟลูโนไมด์ (leflunomide), เกลือทอง (gold salt), อาซาไธโอปรีน (azathioprine), ไซโคลสปอริน (cyclosporin) และไซโคลฟอสฟาไมด์ (cyclophosphamide) ยาแต่ละชนิดจะมีความแตกต่างกันในแง่กลไกการออกฤทธิ์ ระยะเวลาที่ยาออกฤทธิ์ ขนาดของยาที่ใช้ ประสิทธิภาพในการรักษา รูปแบบการบริหารยา และผลข้างเคียง ดังนั้นแพทย์ผู้รักษาจะพิจารณาข้อมูลพื้นฐานต่างๆ ของผู้ป่วยอย่างละเอียดเพื่อเลือกชนิดของยาดีมาร์ดที่เหมาะสมที่สุดแก่ผู้ป่วยแต่ละราย

      ปัจจุบันในประเทศไทยมีการนำยาในกลุ่มสารชีวภาพมาใช้รักษาโรคนี้ 3 ประเภท ได้แก่
     
      * ประเภทที่ 1 เป็นยาที่ออกฤทธิ์จำเพาะต่อต้านสารทีเอ็นเอฟอัลฟ่า (TNF-alpha) ซึ่งเป็นสารสำคัญที่ทำให้เกิดข้ออักเสบ ยาประเภทนี้ ได้แก่ อีตาเนอร์เซปต์ (etanercept) และเรมิเคด (remicade)

      * ยาประเภทที่ 2 เป็นยาที่ออกฤทธิ์ยับยั้งเม็ดเลือดขาว ได้แก่ รีทูซิแมบ (rituximab)

      * ยาประเภทที่ 3 เป็นยาที่ออกฤทธิ์จำเพาะต่อต้านสารอินเตอร์ลิวคีน 6 (interleukin-6) ซึ่งเป็นสารอีกชนิดหนึ่งที่ทำให้เกิดข้ออักเสบ ยาประเภทนี้ได้แก่ โทสิลิซูแมบ (tocilizumab)
แม้ยาที่เป็นสารชีวภาพทั้งหมดนี้จะมีประสิทธิภาพสูงในการรักษาโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ แต่เป็นยาที่มีราคาแพงมากเมื่อเทียบกับยาดีมาร์ดและอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงในระยะยาวที่ยังไม่ทราบได้ ซึ่งขณะนี้ได้มีการเฝ้าระวังกันอย่างใกล้ชิด จึงมีคำแนะนำให้จำกัดการใช้ยาในกลุ่มสารชีวภาพนี้เฉพาะในผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ที่มีอาการรุนแรงซึ่งไม่ตอบสนองต่อยาดีมาร์ดเท่านั้น

หลักในการใช้ยารักษาโรคข้ออักเสบรูมาตอยด

      เนื่องจากยาในกลุ่มแก้ปวดหรือเอ็นเสดเป็นยาที่ช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวด ในขณะที่ยาในกลุ่มดีมาร์ดเป็นยาที่ทำให้โรคสงบแต่ออกฤทธิ์ช้าใช้เวลาหลายสัปดาห์ถึงหลายเดือน ดังนั้นการรักษาโรคจึงต้องเริ่มด้วยยาทั้ง 2 กลุ่มพร้อมกัน จนกระทั่งเมื่อยาในกลุ่มดีมาร์ดออกฤทธิ์จนทำให้โรคดีขึ้นแล้ว ก็จะลดขนาดของยาแก้ปวดหรือเอ็นเสดลงเรื่อยๆ จนเหลือน้อยที่สุด ส่วนยาในกลุ่มดีมาร์ดก็จะให้ต่อไปในระยะยาวนานเป็นปีๆ เพื่อทำให้โรคสงบ โดยจะมีการปรับขนาดของยาขึ้นลงเป็นระยะๆ ตามอาการของโรคและผลข้างเคียงของยา

ข้อปฏิบัติสำหรับผู้ป่วยโรคข้อรูมาตอยด์
     ผู้ป่วยและญาติควรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคและยาต่างๆ ที่ใช้รักษาโรค ทราบถึงการทำกายภาพบำบัดที่ถูกต้องเพื่อลดอาการเจ็บปวดและวิธีปฏิบัติตนเองเพื่อป้องกันความพิการ ซึ่งสามารถศึกษาได้จากสื่อต่างๆ ทั่วไป ผู้ป่วยไม่ควรปรับขนาดยาโดยพลการหรือซื้อยามากินเอง รวมทั้งต้องไม่แบ่งปันยาของตนเองไปให้ผู้อื่น ควรรับการรักษาอย่างสม่ำเสมอและปฏิบัติตามคำแนะนำจากแพทย์อย่างเคร่งครัด

      หากสงสัยว่าจะเป็นหรือมีอาการลักษณะเดียวกับโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยโรคเสียตั้งแต่เนิ่นๆ เพระโรคนี้หากได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมและถูกวิธีตั้งแต่ในระยะแรกโดยเฉพาะใน 2–3 ปีแรกอาจทำให้โรคเรื้อรังชนิดนี้เข้าสู่ภาวะสงบโดยที่ไม่เกิดความพิการหรือภาวะแทรกซ้อนตามมา

ข้อมูลจาก

//www.healthtodaythailand.com/





 

Create Date : 19 เมษายน 2555
4 comments
Last Update : 19 เมษายน 2555 8:24:15 น.
Counter : 2150 Pageviews.

 

เจิมจ้า..

มาทักทายค่ะน้องกบ
กำลังคิดถึงอยู่พอดี
คิดว่าไปเที่ยวสงกรานต์ยังไม่กลับน่ะค่ะ
เจิมเสร็จเดี๋ยวขอวนขึ้นไปอ่านอย่างละเอียดอีกรอบนะคะ

 

โดย: เนินน้ำ 19 เมษายน 2555 8:55:10 น.  

 

อกิลาสุ วินฺเท หทยสฺส สนฺตึ
คนขยันวุ่นกับงาน จะได้ความสงบใจ

พัฒนาความสงบที่ได้จากการทำงานให้เกิดปัญญาณ ตลอดไป...นะคะ



 

โดย: พรหมญาณี 19 เมษายน 2555 10:44:04 น.  

 

อรุณสวัสดิ์ครับคุณกบ





 

โดย: กะว่าก๋า 20 เมษายน 2555 5:44:06 น.  

 

คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

วันนี้สุขทั้งวันเลยนะครับ

 

โดย: panwat 20 เมษายน 2555 8:42:30 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


kobnon
Location :
นนทบุรี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 92 คน [?]




.
สาระน่ารู้ประจำวัน
1.โรคข้อสันหลังอักเสบติดยึด
2. บุหรี่ ทำนมยาน หูตึง
3. Upside down pineapple cake


music
Group Blog
 
<<
เมษายน 2555
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930 
 
19 เมษายน 2555
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add kobnon's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.