Group Blog
 
 
กันยายน 2553
 
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
 
10 กันยายน 2553
 
All Blogs
 
ภัยเงียบ...มะเร็ง ตอนที่ 3


การรักษาโรคมะเร็ง
ปัจจุบันการรักษาโรคมะเร็งเป็นการรักษาร่วมกันระหว่างศัลยแพทย์ แพทย์ด้านเคมีบำบัด และแพทย์ฉายแสง

การผ่าตัด
สามารถใช้การผ่าตัดได้กับมะเร็งทุกชนิดแต่ต้องดูความเหมาะสม เช่น ระยะของโรคมากเกินกว่าจะผ่าตัดหรือไม่ อวัยวะบริเวณนั้นสามารถผ่าตัดได้หรือไม่
มะเร็งที่มักจะเลือกการผ่าตัดเป็นอันดับแรกคือ มะเร็งตับ มะเร็งระบบทางเดินอาหาร มะเร็งช่องปากระยะต้น มะเร็งเต้านม มะเร็งมดลูก มะเร็งต่อมลูกหมากระยะต้น เป็นต้น


การให้ยาเคมีบำบัด
ในกรณีที่ผู้ป่วยได้รับการผ่าตัด การให้ยาเคมีบำบัดตามหลังการผ่าตัดนั้น จะมีวัตถุประสงค์เพื่อลดโอกาสของการกระจายโรคไปที่อื่น เช่น มะเร็งลำไส้ใหญ่

โรคมะเร็งบางชนิดที่มีการตอบสนองต่อยาเคมีบำบัดได้ดี ก็อาจจะได้รับยาเคมีบำบัดเพียงอย่างเดียว เช่น มะเร็งเม็ดเลือด
ในบางกรณีมีการให้ยาเคมีบำบัดร่วมกับการฉายรังสี เพื่อเพิ่มผลการรักษาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น มะเร็งศีรษะและลำคอ

ปกติแล้วการให้ยาเคมีบำบัดส่วนใหญ่จะเป็นยาฉีดที่จะให้ทางหลอดเลือดดำ เช่นที่แขน อาจมีการให้ยาเคมีบำบัดทางอุปกรณ์พิเศษที่ต่อเข้าสู่เส้นเลือดดำใหญ่ได้โดยตรงเพื่อลดปัญหาในการหาเส้นเลือด เนื่องจากการให้ยาเคมีบำบัดมักจะต้องให้หลายครั้ง แต่ต้องมีการดูแลเป็นพิเศษ ซึ่งพยาบาลเฉพาะทางจะสามารถให้คำแนะนำในการดูแลด้วยตัวเองที่บ้านได้

ผู้ป่วยที่รับยาเคมีบำบัดต้องพบแพทย์ตามนัด เพราะยาเคมีบำบัดมีผลข้างเคียง เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ผมร่วง (อาการผมร่วงมีเฉพาะในยาบางชนิดและในคนไข้บางราย) กดการทำงานของไขกระดูก ทำให้เม็ดเลือดต่างๆ ต่ำลง ไม่ว่าจะเป็นเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาวหรือเกล็ดเลือด จึงต้องพบแพทย์ตามนัดเพื่อเจาะเลือดดูว่าเม็ดเลือดยังปกติอยู่หรือไม่ หรือถ้ามีอาการผิดปกติ เช่น มีไข้สูง อ่อนเพลียมาก คลื่นไส้ อาเจียน ควรพบแพทย์ก่อนนัด


การฉายรังสี

เป็นการรักษามะเร็งด้วยรังสี ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการฉายรังสีจากภายนอก โดยอาจจะเป็นการฉายรังสีเพียงอย่างเดียวหรือร่วมกับวิธีอื่นเช่นการผ่าตัดหรือการให้ยาเคมีบำบัด
มะเร็งที่ใช้การรักษาด้วยการฉายรังสีเป็นหลัก เช่น
- มะเร็งโพรงหลังจมูก ซึ่งใช้การผ่าตัดไม่ได้
- มะเร็งปากมดลูก บางครั้งก้อนใหญ่มากก็ใช้การผ่าตัดไม่ได้
- มะเร็งต่อมลูกหมาก เรียกว่าเป็นมะเร็งทางเลือก เพราะสามารถใช้การรักษาได้หลายวิธี ได้แก่การผ่าตัด (ปัจจุบันมีการผ่าตัดโดยหุ่นยนต์ที่เรียกว่า Robotic Surgery) หรือการฉายรังสี
- มะเร็งอื่นๆ ในระยะลุกลาม ซึ่งหากก้อนใหญ่มากก็ไม่สามารถให้ผ่าตัดได้ การฉายแสงจะช่วยลดอาการที่เกิดจากโรคได้แม้ว่าจะไม่หายจากโรคก็ตาม


การป้องกันโรค
หลายคนเข้าใจว่าผู้ป่วยโรคมะเร็งมีอาหารต้องห้ามที่กินไม่ได้ ซึ่งจริงๆ แล้วสามารถกินได้ทุกอย่าง ไม่มีอาหารอะไรห้ามเป็นพิเศษ แต่ต้องกินอย่างสมดุล ถ้ากินเนื้อสัตว์อย่างเดียวไม่กินผักผลไม้เลย ก็มีโอกาสเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ แต่หากกินเฉพาะผักผลไม้ ไม่กินเนื้อสัตว์เลยก็ทำให้ขาดสารอาหารโดยเฉพาะโปรตีน ทุกอย่างจึงต้องสมดุล
การรักษามะเร็งไม่ว่าจะเป็นการผ่าตัด ให้ยาเคมีบำบัด หรือการฉายแสงนั้น จะมีเนื้อเยื่อที่สูญเสียไปกับการรักษา หากไม่กินเนื้อสัตว์เลยก็ไม่มีโปรตีนที่จะมาทดแทนเพื่อซ่อมแซมส่วนที่เสียไป ทำให้ฟื้นตัวภายหลังการรักษาได้ช้าลง


ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการฉายรังสี

การฉายแสงส่วนใหญ่เป็นการฉายรังสีจากภายนอก หมายความว่า ไม่ได้มีการฝังอะไรเข้าไปในตัวคนไข้ หยุดฉายแสงเมื่อไหร่แสงก็หยุดเมื่อนั้น ไม่มีการกระจายรังสีไปให้คนอื่น เป็นการรักษาเฉพาะที่ เช่น ถ้าฉายช่องคอ ก็เป็นการรักษาและมีผลเฉพาะที่ช่องคอ ไม่ได้มีผลต่อกระดูก หรืออวัยวะบริเวณอื่นไปด้วย
การฉายแสงไม่ได้ทำให้โรคกระจายไปบริเวณอื่นอย่างที่หลายคนเข้าใจ ผู้ป่วยบางรายอาจจะมีการกระจายของเชื้อมะเร็งไปที่อื่นอยู่แล้วก่อนจะได้รับการฉายแสง เมื่อมารับการฉายแสงซึ่งเป็นการรักษาเฉพาะที่ ก็คงไม่สามารถทำให้มะเร็งที่กระจายไปนอกพื้นที่ที่ฉายแสงนั้นแล้วนั้นหายไปหมดได้ ซึ่งในความเป็นจริงแล้วการฉายแสงมีผลเช่นเดียวกับการผ่าตัด คือ ทำที่บริเวณไหนก็มีผลเฉพาะบริเวณนั้น แต่ยาเคมีบำบัดซึ่งเป็นยาฉีด เป็นการรักษาทั้งตัวเนื่องจากมีการกระจายของยาไปตามกระแสโลหิต
การฉายแสงต้องเป็นการรักษาต่อเนื่อง ถ้าเป็นการรักษาเพื่อให้หายขาดจากโรค จะใช้เวลาประมาณ 5-7 สัปดาห์ แต่ละวันใช้เวลาในการฉายแสงไม่เกิน 15-20 นาที ซึ่งหมายความว่าผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องนอนที่โรงพยาบาล แต่จะต้องมาโรงพยาบาลทุกวัน (เว้นเสาร์-อาทิตย์)เพื่อรับการฉายแสง ติดต่อกันเป็นเวลา 7 สัปดาห์ แต่หากเป็นการรักษาเพื่อลดอาการก็ใช้วิธีร่นระยะเวลาลงอาจจะเหลือแค่ 2สัปดาห์ และลดปริมาณแสงลง


วิธีปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโรคมะเร็ง

เลี่ยงอาหารก่อมะเร็ง เช่น อาหารปิ้ง ย่าง เหล้า บุหรี่ ถั่ว (สารอะฟลาท็อกซินในถั่วเพิ่มโอกาสของการเป็นมะเร็งตับ) อาหารแห้ง เช่น ถั่วกระจก ขนมตุ๊บตั๊บ น้ำมัน ถั่วลิสง และในพริกแห้ง

การออกกำลังกาย (ที่เหมาะสม)

การตรวจสุขภาพประจำปี (เช่น ตรวจร่างกายทั่วไป เอกซเรย์ปอด ตรวจเลือด ตรวจหา PSA หรือส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ในผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปี ตรวจภายใน ตรวจแพ็บสเมียร์หามะเร็งปากมดลูก ตรวจแมมโมแกรม ฯลฯ)

อาหารเสริม ปัจจุบันอาหารเสริมมีด้วยกันมากมายหลายชนิด ซึ่งไม่สามารถระบุชัดเจนลงไปได้ว่าช่วยป้องกันโรคมะเร็งได้จริงหรือไม่

ตรวจเต้านมด้วยตนเอง

- ผู้หญิงอายุ 20 ปีขึ้นไปควรตรวจเต้านมด้วยตนเอง ช่วงเวลาที่เหมาะสมกับการตรวจคือ หลังจากหมดประจำเดือนไปแล้วประมาณ 10 วันเพราะเป็นช่วงที่เต้านมจะไม่คัดตึง วิธีการตรวจอาจใช้ท่านอนหรือท่านั่งก็ได้ เพื่อคลำว่ามีก้อนผิดปกติหรือไม่

- ผู้หญิงอายุ 40 ปีขึ้นไปควรตรวจแมมโมแกรมปีละครั้ง แต่หากสามารถตรวจเต้านมด้วยตัวเองได้อย่างสม่ำเสมอจะให้ผลดีมากกว่า เพราะการตรวจด้วยตนเองสามารถตรวจได้บ่อย แต่การตรวจด้วยแมมโมแกรมนั้นได้แค่ปีละครั้ง มะเร็งบางชนิดโตเร็ว (อาจก่อน 1 ปี) หากมีการตรวจด้วยตนเองอย่างสม่ำเสมอแล้วก็จะพบก้อนเนื้อได้ก่อนและมีโอกาสรักษาเพื่อให้หายได้ก่อน


การตรวจหามะเร็งปากมดลูก ในผู้หญิงอายุ 30 ปีขึ้นไปแนะนำให้ตรวจแพบสเมียร์ปีละ 1 ครั้ง หรือภายใน 3 ปีหลังการมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก

- ปัจจุบันพบว่าสาเหตุหลักของการเกิดมะเร็งปากมดลูก คือ การติดเชื้อไวรัส HPV ชนิด 16 และ 18 มีการพัฒนาการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันมะเร็งปากมดลูก โดยการฉีดต้านเชื้อ HPV 16, 18

- ในผู้หญิงอายุน้อยกว่า 26-45 ปี จะได้รับการแนะนำให้ฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกฉีดทั้งหมด 3 เข็ม โดยเข็มที่สองห่างจากครั้งแรก 2 เดือน และเข็มที่สามห่างจากครั้งที่สอง 6 เดือน จากการศึกษาในปัจจุบันพบว่าวัคซีนตัวนี้สามารถสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อลดโอกาสการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูกได้ยาวนานถึงประมาณอย่างน้อย 5 ปี






Create Date : 10 กันยายน 2553
Last Update : 10 กันยายน 2553 9:51:11 น. 3 comments
Counter : 626 Pageviews.

 
ขออธิษฐาน ภาวนา ด้วยดวงจิต
บุญฤทธิ์ ของความดี ให้มีผล
เร่งรักษา คนเผื่อแผ่ อุทิศตน
ให้ความรู้ แก่ปวงชน คนทิศเอย
ขอให้หายวันหายคืนนะครับ


โดย: find me pr วันที่: 11 มิถุนายน 2554 เวลา:8:47:50 น.  

 
ขออธิษฐาน ภาวนา ด้วยดวงจิต

บุญฤทธิ์ ของความดี จงมีผล

เร่งรักษา KERIDA ที่อุทิศตน

ให้ความรู้ แก่ปวงชน ทั่วทิศเอย

ขอให้หายวันหายคืนครับสาธุ


โดย: find me pr วันที่: 11 มิถุนายน 2554 เวลา:8:52:10 น.  

 
อีกเรื่องหนึ่ง

การรู้รายละเอียดชนิดของเซลมะเร็ง
แล้วลองหา ประวัติ เจ้าเซลนี้ เคยพบ ว่ามีตรงไหนบ้างในร่างกายเรา แล้วใช้เวลานานเท่าไร ที่จะโต ขึ้น
เช่น มะเร็งที่ใบหน้า ตรงแก้มว้ายของคนไข้ที่พบ
เป็นเซล ชนิดโตช้า ชอบพบที่ เซล ที่ผลิตเมือก ในปาก ลำใส้ใหญ่ หลอดลม
ในปากเคยพบ โต 1ซม ใช้เวลา 11ปี
ดังนั้น เมื่อพบที่แก้ม ยังไม่ลามไปไหน แค่ตัดออกหมด ก็สบายใจไปอีก 11ปี
คนไข้ก็ใช้ชีวิตสบายๆๆๆ
ไม่ได้ใช้ฉายแสงหรือ เคมีบำบัดอะไร


โดย: หมอสัจจะ วันที่: 12 สิงหาคม 2554 เวลา:8:15:15 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

KeRiDa
Location :
เชียงใหม่ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 20 คน [?]




ชื่อเล่นว่าต้อย เป็นคนกรุงเทพฯ ย้ายตามสามีซึ่งรับราชการมาประจำที่จังหวัดเชียงใหม่ มีลูกสาวและลูกชายอย่างละ 1 หน่อ และมีหลานชายวัยกำลังซนผู้เป็นกำลังใจให้คุณย่าได้ต่อสู้กับโรคร้าย

อุปนิสัยส่วนตัวพูดไม่ค่อยเก่ง เขียนเล่าเรื่องราวไม่ค่อยจะิเป็น ถนัดแต่เรื่องเพลง ฉะนั้นบ้านนี้จึงมีเสียงเพลงเสียเป็นส่วนใหญ่

เรือนเพลงรัก KeRiDa ยินดีต้อนรับเพื่อน ทุกท่านด้วย ความเต็มใจค่ะ

"ชนใดไม่มีดนตรีกาล
ในสันดานเป็นคนชอบกลนัก
อีกใครฟังดนตรีไม่เห็นเพราะ
เขานั้นเหมาะคิดขบถอัปลักษณ์"

บทกลอนตอนหนึ่งในพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6



Friends' blogs
[Add KeRiDa's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.