มองภาพแห่งความสำเร็จที่ชัดเจน เดินแต่ละก้าวอย่างมีสติ ด้วยใจที่สงบ
<<
พฤษภาคม 2555
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
19 พฤษภาคม 2555

เริ่มต้นการลงทุน กับ นายแว่นธรรมดา ตอนที่ 2

วงจรเดมมิ่ง กับการลงทุนในตลาดหุ้น



ดร.เอ็ดเวิร์ด เดมมิ่ง (Dr. W. Edwards Deming)

เป็นนักสถิติชาวอเมริกัน และเป็นศาสตราจารย์ สอนในมหาวิทยาลัยนิวยอร์ค (New York University : NYU) ราวปี พ.ศ. 2484 เขายังไม่ได้เป็นที่รู้จักกันในหมู่นักคิดทฤษฎีคุณภาพของชาวอเมริกาเลย….

แต่มาหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ประมาณ ปี พ.ศ. 2488 ประเทศญี่ปุ่นได้เชิญ ดร.เดมมิ่ง กับ โจเซฟ เอ็ม จูแรน (Joseph M. Juran) เป็นฝ่ายพันธมิตร เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับวิธีการปรับปรุงคุณภาพและการใช้วิชาสถิติ มาฟื้นฟู…เศรษฐกิจและอุตสาหกรรมของประเทศให้พ้นจากสถานการณ์วิกฤติภายหลังสงคราม….ได้ทำงานร่วมกับสมาคมนักวิทยาศาสตร์ และวิศวกรของญี่ปุ่น ( Union of Japanese Scientists and Engineers : JUSE ) เพื่อ ส่งเสริมและฟื้นฟู การใช้วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ในการพัฒนาอุตสาหกรรม และวัฒนธรรมภายหลังสงคราม

จากแนวความคิดของ ดร.วอลเตอร์ เอ ชิวฮาร์ท (Walter A. Shewart) จากหลักความคิดของการวางแผน (Plan) – ทำ (Do) – ติดตามผลงาน (Check) ดร.เดมมิ่งได้พัฒนา มาเป็นหลักการด้านคุณภาพของวงรอบ…PDCA (Plan - Do – Check - Action) โดยเป็นแนวบริหารในรูปของ…TQM (Total Quality Management) หรือการบริหารคุณภาพแบบองค์รวม…..จากความร่วมมือและการพัฒนาหลักการบริหารงานที่ดีของสมาคม JUSE กับทีมผู้เชี่ยวชาญ ของ…ดร.เดมมิ่ง กับ โจเซฟ เอ็ม จูแรน…จึงทำให้ญี่ปุ่นมีการพัฒนาคุณภาพกันอย่างต่อเนื่องมายาวนานกว่า 20 ปี…เกิดแนวคิดทางด้านเทคนิคในการบริหารเชิงคุณภาพ และปรัชญามากมายหลายหลักการ เช่น Fish Bone Diagram , Taguchi , QCC , CWQC เป็นต้น

ในระหว่างปี พ.ศ. 2493 – 2503 เป็นช่วงที่สหรัฐยอมรับและมีการพัฒนาทฤษฏีต่างๆ ของ ดร.เดมมิ่ง และดร.วอลเตอร์ เอ ชิวฮาร์ท กันอย่างกว้างขวาง เปรียบได้ว่าเป็นยุคของ การบริหารคุณภาพแบบองค์รวม ( TQM ) ในปี 2499 ที่อเมริกาได้ก่อตั้งสมาคมควบคุมคุณภาพหรือ (American Society For Quality Control : ASQC ) เพื่อทำหน้าที่ดูแลงานด้านมาตรฐานคุณภาพ…..ซึ่งช่วยให้มีการพัฒนาศาสตร์ทางด้านนี้ทั่วทุกวงการอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรมในอเมริกา เช่น TQC , QA ,COQ , Reliability/Availability Engineering เป็นต้น

PDCA Cycle / Deming Cycle:

ดร.เดมมิ่ง ได้พัฒนาวงจร PDCA มาจากวงจรของ ดร.วอลเตอร์ เอ ชิวฮาร์ท จึงมีชื่อว่า

วงจร เดมมิ่ง (Deming Cycle) ซึ่งเป็นแนวคิด ของการพัฒนาคุณภาพงาน ขั้นพื้นฐาน ตามหลักของการพัฒนาคุณภาพระบบองค์รวม (Total Qaulity Management : TQM) และจากแนวความคิดที่ตรงกับความหมายของวงจร ที่ ดร.วอลเตอร์ เอ ชิวฮาร์ท ผู้ที่คิดค้นไว้นั้น….ควรจะเป็น PDSA ( Plan-Do-Study- Act )….ทั้ง PDCA / PDSA…เป็นการกำหนดขั้นตอนการทำงานเพื่อ…สร้างระบบการผลิตให้…สินค้ามีคุณภาพดี / การให้การบริการดี / หรือทำให้กระบวนการทำงานเป็นไปอย่างมีระบบ

โดยใช้ได้กับทุกๆสาขา วิชาชีพแม้กระทั่งการดำเนินชีวิตประจำวันของ….มนุษย์ก็สามารถเทียบเคียงให้เป็นไปตามขั้นตอนของวงจร เดมมิ่งได้……ในแง่ที่ใช้ในการผลิตสามารถ….แสดงความสัมพันธ์ของการออกแบบ ผลิต จำหน่าย และการวิเคราะห์ตลาด เพื่อนำมาใช้ในการปรับปรุงคุณภาพ…ในปัจจุบันวงจรเดมมิ่งได้ถูกนำไปใช้และพัฒนาในด้านต่างๆมากมายเป็นลำดับ….จนกลายเป็นวงจร PDCA ที่ใช้เป็นหลักในการบริหารงานอย่างแพร่หลาย แทบทุกองค์กร ทุกๆส่วน และทุกๆระดับพนักงานขององค์กร

ที่มา : สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น



ตกแต่งบ้าน และสวนสวย
//garden-plus.blogspot.com/

แวะทักทายนายแว่นธรรมดาได้ที่นี่ครับผม...
//www.facebook.com/NaiwaenTammada

หนังสือโดยนายแว่นธรรมดา... "รวยหุ้น VI ไม่เสี่ยง"




Create Date : 19 พฤษภาคม 2555
Last Update : 19 พฤษภาคม 2555 10:30:38 น. 5 comments
Counter : 2305 Pageviews.  

 
: D


โดย: . IP: 101.109.199.61 วันที่: 19 พฤษภาคม 2555 เวลา:10:31:41 น.  

 
หุ้นดีของผมต้องถือยาวได้ครับ พอเจอแล้วก็ค่อยๆ สะสมไปเรื่อยๆ แค่อดทนรอ เหมือนเราเดินตามบริษัทไปจนถึงเป้าหมายที่เจ้าของบริษัทตั้งเอาไว้ ถ้ามีโอกาสสะสมได้ราคาถูกยิ่งดีครับ (ขอแชร์นะครับ) : D


โดย: . IP: 10.128.28.17, 202.44.8.100 วันที่: 19 พฤษภาคม 2555 เวลา:13:48:27 น.  

 
ลองใช้วงจรเดมมิ่งมาวางแผนการลงทุนดูครับ... วงจรเดมมิ่ง ได้แก่ P D C A หรือ Plan Do Check Act ในความหมายของแต่ละตัวเราจะค่อยๆ มาดูกันในคราวต่อๆ ไปนะครับ...


โดย: นายแว่นธรรมดา IP: 101.109.191.115 วันที่: 20 พฤษภาคม 2555 เวลา:10:10:15 น.  

 
วิกฤติที่ 3 “วิกฤติ หนี้สาธารณะยุโรป”

3.1 วิกฤตรอบใหม่
3.2 วิกฤตหนี้สาธารณะยุโรป ในปี 2553
3.3 กลุ่มประเทศเศรษฐกิจยุโรป
3.4 ประเทศกรีซ กับวิกฤตหนี้สาธารณะยุโรป
3.5 การแก้ปัญหาเศรษฐกิจของกรีซ
3.6 สิ่งที่ได้เรียนรู้จากวิกฤตทั้งสามครั้งที่ผ่านมา
3.7 บุคคลในเหตุการณ์



โดย: . IP: 202.28.7.159 วันที่: 20 กันยายน 2555 เวลา:10:29:12 น.  

 
ลองนึกสภาพดูว่า ถ้ารายใหญ่ยืมหุ้นมา Short จากนั้นให้เม่าซื้อหุ้นไป แล้วเอาหุ้นที่เป็นของตัวเองในมือ
เอามาขายและทุบราคาลง หลังจากนั้นคนเริ่มคัทๆๆๆ ออกไปเรื่อยๆ ราคาหุ้นไหลลงๆๆๆ พอราคาลงจนสุด
รายใหญ่ก็ซื้อหุ้นกลับไปคืนโบรค แล้วก็ลากขึ้นไปทำแบบเดิมต่อ เช่นเดียวกับ Derivatives อันนั้นยิ่งหนัก
เพราะมันไม่ใช่หุ้นสามัญ แต่มันคือสัญญากระดาษที่ไม่มีอะไรอยู่ในมือ ขึ้นลงเสี่ยงมาก

Derivatives is the weapon of mass destruction คำพูดนี้ออกมาโดยวอเรน บัฟเฟต
เจ้าของตำรับหุ้น VI รวยอันดับโลก ซึ่งมันก็เป็นความจริง ดังนั้นคนที่จะประสบความสำเร็จในวงการหุ้นได้
โดยที่ตัวเองไม่ชำนาญเรื่องการเก็งกำไร, ไม่มี Insider และไม่ใช่รายใหญ่ ต้องเป็นนักลงทุนแนว VI
ซึ่งอยู่กับหุ้นที่ราคาถูก พื้นฐานดี และกินเงินปันผลในระดับที่คุ้มค่า ในบริษัทที่มีศักยภาพและการเติบโตครับ

ดังนั้นคิดให้ดีว่าตลาดหุ้น คนที่ได้เปรียบคือรายใหญ่ ไม่ใช่รายย่อย ถ้าจะเล่นเอากำไรต้องเล่นตามรายใหญ่
ห้ามสวนกระแส แต่ถ้าคิดว่าทำไม่ได้ หรือมองเทรนด์ไม่ออก ... เป็นนักลงทุนแบบรู้คุณค่าดีที่สุดครับ


โดย: นายแว่นธรรมดา วันที่: 2 ตุลาคม 2555 เวลา:12:10:28 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

นายแว่นธรรมดา
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 110 คน [?]




ยินดีต้อนรับสู่บล็อกนายแว่นธรรมดา บล็อกที่รวมเอาความคิด ความฝัน ความรู้สึกของนายแว่นธรรมดา เพื่อปะติดปะต่อภาพแห่งความรู้สึกในใจของเราให้เสร็จสมบูรณ์ (ขอสงวนการนำข้อมูลในบล็อกไปใช้ครับ)
Free counters!
New Comments
[Add นายแว่นธรรมดา's blog to your web]