มองภาพแห่งความสำเร็จที่ชัดเจน เดินแต่ละก้าวอย่างมีสติ ด้วยใจที่สงบ
<<
ธันวาคม 2554
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
22 ธันวาคม 2554

ตัดสินใจหรือยังว่าจะเป็นนักลงทุนแบบไหน

นักลงทุนมีหลากหลายแบบ หลายสไตล์ แบบใครแบบมัน ขึ้นกับความรู้สึกของแต่ละคน .. สำหรับตัวผมจะขอแบ่งประเภทออกคร่าวๆ ดังนี้ครับ

1. นักเก็งกำไร .. นักลงทุนประเภทนี้จะพุ่งเป้าไปที่การกินส่วนต่างของราคาหุ้น ไม่ว่าจะเป็นระยะยาวๆ หรือระยะสั้นมากๆ แต่อย่าลืมว่ามีคนได้ย่อมมีคนเสีย หากพลาดพลั้งเป็นฝ่ายเสียขึ้นมา อาจไม่มีโอกาสได้แก้ตัวอีกเลย .. ตรงกันข้ามถ้าประสบความสำเร็จก็จะร่ำรวยมหาศาล

2. นักลงทุน .. ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าเป็นนักลงทุน แต่จะขยายความหน่อยก็คือนักลงทุนแนวเน้นคุณค่า สำหรับผมแล้วจะมองหาบริษัทที่มีแนวโน้มที่ดี มีผู้บริหารที่ไว้ใจได้ และเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของกิจการนั้นๆ .. นักลงทุนประเภทนี้ต้องอาศัย "เวลา" อดทนรอคอยจนกว่าจะเก็บดอกออกผล หรือการปลูกต้นไม้ใหญ่ที่ไม่ได้โตเพียงข้ามคืน

3. นักลงทุน + นักเก็งกำไร .. นักลงทุนประเภทนี้อาจจะผสมผสานความรู้ทั้งสองแบบเข้าด้วยกัน บางคนอาจเน้นการลงทุนในหุ้นที่มีโอกาสที่จะพลิกโฉมจากขาดทุนเป็นกำไร ซึ่งต้องทำการบ้านอย่างหนัก และมีความเสี่ยงค่อนข้างสูง ชั่วโมงบินในการเล่นหุ้นต้องมีพอสมควรจึงจะประสบความสำเร็จได้ตามเป้าหมาย

ทุกแนวทางล้วนสร้างผลกำไรให้เราได้ และก็ทำให้เราขาดทุนได้เช่นกัน หากเราคาดหวังว่าจะประสบความสำเร็จในการลงทุนแล้วล่ะก็.. เราไม่ควรจะล้มเลิกความตั้งใจกลางคัน ควรจะอยู่บนเส้นทางแห่งความสำเร็จให้ถึงที่สุด

ผมเชื่อว่าถ้าเราเชื่อมั่นว่าเราจะประสบความสำเร็จจริง "วิธีการ" จะเกิดขึ้นในใจของเราเอง ชัดเจน และมั่นใจ เหมือนคนที่เริ่มต้นเดินทางอย่างมีเป้าหมาย ส่วนการเดินทางไปถึงเป้าหมายนั้น ช้า-เร็ว มันก็ขึ้นอยู่กับตัวของเราเองครับ..

ขอให้ทุกท่านประสบความสำเร็จในการลงทุนนะครับ..



บันทึกนายแว่นธรรมดา : ผมได้เรียนรู้จากคุณลุงคนหนึ่ง..
//www.bloggang.com/viewdiary.php?id=greenpluss&month=12-2011&date=21&group=42&gblog=2

นายแว่นธรรมดา Face Book
//th-th.facebook.com/NaiwaenTammada

Garden Plus ชมรมสวนสวย
//garden-plus.blogspot.com/


Create Date : 22 ธันวาคม 2554
Last Update : 22 ธันวาคม 2554 8:30:14 น. 5 comments
Counter : 1244 Pageviews.  

 
การสร้างกระแสเงินสดของกิจการ (EBITDA) ต้องมีตัวเลขใกล้เคียงกับกำไรสุทธิ ขณะที่อัตราส่วนหนี้สินต่อทุน (D/E Ratio) ต้องไม่เกิน 1 เท่า และควรเป็นหนี้สิน (หมุนเวียน) ที่ไม่มีดอกเบี้ย


โดย: นายแว่นธรรมดา วันที่: 23 ธันวาคม 2554 เวลา:10:38:03 น.  

 
EBITDA คำนวณได้ด้วยการบวกค่าเสื่อมราคากลับเข้าไปในกำไรจากการดำเนินงานหรือกำไรก่อนหักดอกเบี้ยและภาษี (EBIT) หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ EBITDA จะเป็นตัวชี้วัดความสามารถในการทำกำไรที่มาจากการดำเนินงานของบริษัท โดยที่ยังมิได้หักค่าใช้จ่ายที่ไม่ได้เกิดจากการดำเนินงาน (เช่น ดอกเบี้ย และค่าใช้จ่าย “อื่นๆ”) และค่าใช้จ่ายที่ไม่ใช่เงินสด (ค่าเสื่อมราคา)


เราสามารถนำ EBITDA ไปใช้ในการวิเคราะห์เปรียบเทียบความสามารถในการทำกำไรระหว่างบริษัทแต่ละบริษัท หรือกลุ่มอุตสาหกรรมแต่ละกลุ่ม ด้วยเหตุผลที่ว่าผลกระทบจากนโยบายการจัดหาเงินและการบัญชีนั้น จะถูกตัดออกไปจาก EBITDA ดังนั้น การเปรียบเทียบโดยใช้ EBITDA จึงเป็นการเปรียบเทียบความสามารถในการทำกำไรของแต่ละบริษัทบนพื้นฐานที่ค่อนข้างทัดเทียมกัน (apples-to-apples comparison) ยกตัวอย่างเช่น EBITDA ที่คิดเป็นอัตราร้อยละของยอดขาย (EBITDA Margin) ซึ่งยิ่งมีค่าสูง ยิ่งบ่งบอกถึงความสามารถในการทำกำไรของบริษัท) สามารถใช้ในการเฟ้นหาบริษัทที่มีประสิทธิภาพในการดำเนินงานสูงที่สุดในแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรมได้ นอกจากนี้ EBITDA Margin ยังสามารถใช้ในการวิเคราะห์เปรียบเทียบแนวโน้มของกลุ่มอุตสาหกรรมแต่ละกลุ่มได้อีกด้วย โดยที่เราอาจจะทำการเปรียบเทียบแนวโน้มความสามารถในการทำกำไรของกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีความแตกต่างกัน เช่น กลุ่มอุตสาหกรรมหนัก กับ กลุ่มอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูง ทั้งนี้ เหตุผลในการที่สามารถทำเช่นนี้ได้ เป็นเหตุผลเดียวกันกับที่ได้กล่าวไปข้างต้น ซึ่งก็คือผลกระทบจากนโยบายการจัดหาเงินและค่าเสื่อมราคานั้น ได้ถูกดึงออกไปจาก EBITDA แล้ว


ถึงแม้ว่า EBITDA จะเป็นตัวชี้วัดความสามารถในการทำกำไรที่ดี แต่ EBITDA มิใช่กระแสเงินสด (cash flow) ที่เข้าสู่บริษัท อย่างไรก็ตาม EBITDA มักจะถูกใช้แทนกระแสเงินสด ซึ่งเป็นการกระทำที่ค่อนข้างจะอันตราย เพราะจริงๆแล้ว EBITDA กับกระแสเงินสดนั้น มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งโดยหลักๆแล้ว คือในส่วนของการเปลี่ยนแปลงในสินทรัพย์และหนี้สินดำเนินงาน ดังนั้น กระแสเงินสดจากการดำเนินงาน (operating cash flow) จึงเป็นตัวชี้วัดความสามารถในการสร้างกระแสเงินสดของบริษัทที่ดีกว่า EBITDA


สรุปได้ว่า EBITDA เป็นตัวชี้วัดที่มีประโยชน์มากในการวิเคราะห์ความสามารถในการทำกำไรของบริษัท รวมไปถึงการเปรียบเทียบความสามารถในการทำกำไรระหว่างบริษัทแต่ละบริษัท หรือระหว่างกลุ่มอุตสาหกรรมแต่ละกลุ่ม แต่โปรดอย่าลืมว่า EBITDA ไม่ควรจะถูกนำไปใช้แทนที่กระแสเงินสด ซึ่งได้รวมส่วนของการเปลี่ยนแปลงในสินทรัพย์และหนี้สินดำเนินงานเข้าไว้แล้ว ขอให้พึงระลึกไว้เสมอว่า “เงินสดคือพระราชา” เพราะว่ามันเป็นตัวที่แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการทำกำไรที่แท้จริง รวมไปถึงความสามารถในการที่บริษัทจะดำเนินงานต่อไปได้อีกด้วย lenders for people with bad credit


โดย: นายแว่นธรรมดา วันที่: 23 ธันวาคม 2554 เวลา:11:42:23 น.  

 
สิ่งแรกที่ต้องทำคือการเลือกหุ้นที่ "เพิ่งทำจุดสูงสุดใหม่ของกำไร" และต้องอ่านเกมต่อไปว่า "ไตรมาสที่เหลือ" ของปีนั้นๆ ต้องสามารถรักษากำไรสุทธิระดับนี้ (ดี) ได้ต่อเนื่อง ขั้นตอนจากนั้น ต้องเลือกหุ้นที่สามารถสร้างผลตอบแทนจากเงินปันผลประมาณ 6-7% ต่อปี และข้อสุดท้าย ต้องเลือกหุ้นที่ซื้อขายต่ำกว่า P/E ของกลุ่ม...เหล่านี้คือคุณสมบัติเบื้องต้นของหุ้นที่จะสร้างผลตอบแทนได้สูงจากการลงทุน


โดย: นายแว่นธรรมดา วันที่: 23 ธันวาคม 2554 เวลา:11:45:08 น.  

 
1. เลือกหุ้นที่เพิ่งทำจุดสูงสุดใหม่ของกำไร และไตรมาสที่เหลือต้องทำกำไรสุทธิได้ในระดับดีต่อเนื่อง

2. เลือกหุ้นที่มีปันผล 6-7% ต่อปี

3. เลือกหุ้นที่มี PE ต่ำที่สุดในกลุ่ม

4. EBITDA ต้องใกล้เคียงกับกำไรสุทธิ

5. มี D/E Ratio ต่ำกว่า 1 เท่า และจะให้ดีต้องเป็นหนี้สินหมุนเวียนปลอดดอกเบี้ย


โดย: นายแว่นธรรมดา วันที่: 23 ธันวาคม 2554 เวลา:12:02:47 น.  

 
สัดส่วนระหว่างหนี้สินต่อทุน (D-E Ratio) หรือที่รู้จักกันในชื่อ Financial Leverage หรือ Gearing นั้นเป็นอัตราส่วนที่ธนาคารใช้สำหรับบริหารความเสี่ยงในการให้สินเชื่อ โดยเน้นการจัดสัดส่วนการให้กู้ยืมให้เหมาะสมกับขนาดของเงินลงทุนของโครงการ (Project Investment) ด้วยการกำหนดสัดส่วนเป็นตัวเลขที่เหมาะสมระหว่างจำนวนเงินกู้กับจำนวนเงินลงทุนทั้งหมดของโครงการ (Debt Ratio) หรือจำนวนเงินกู้กับจำนวนเงินลงทุนของผู้กู้หรือเจ้าของโครงการ (Debt-to-Equity Ratio) ไม่ให้สูงหรือต่ำมากเกินไป ในกรณีที่สัดส่วนสูงมากเช่นมากกว่า 4:1 ขึ้นไป ความเสี่ยงทางการเงิน (Financial Risks) ก็จะสูงมากตามไปด้วย ถ้าผู้กู้ประสบปัญหาในการดำเนินงานเมื่อไร กำไรและกระแสเงินสดรับที่ต่ำลงก็คงไม่พอเพียงที่จะชำระดอกเบี้ยและเงินต้นคืนให้กับธนาคารผู้ให้กู้อย่างแน่นอน และในทางตรงกันข้าม ถ้าสัดส่วนนี้ต่ำมากๆเช่น 0.5:1 ระดับของความเสี่ยงก็จะต่ำตามไปด้วย ข้อดีก็คือธนาคารสามารถบริหารความเสี่ยงได้ แต่ข้อเสียก็คือธนาคารอาจจะขยายสินเชื่อได้จำกัดมาก โดยเฉพาะในสถานการณ์ที่ตลาดมีระดับการแข่งขันด้านการขยายสินเชื่อที่สูง และลูกค้าผู้ขอกู้มีฐานะทางการเงินค่อนข้างดี มีอำนาจในการต่อรอง

สำหรับสัดส่วนของ D-E Ratio ที่เหมาะสมนั้น ก็ไม่มีหลักเกณฑ์ที่แน่นอนตายตัว ขึ้นกับหลายๆปัจจัยด้วยกันเช่น นโยบายสินเชื่อของธนาคาร สภาพของเศรษฐกิจของประเทศ ประเภทของอุตสาหกรรมที่ผู้กู้ประกอบการอยู่ ระดับการแข่งขันระหว่างสถาบันการเงินด้วยกัน ตลอดจนฐานะทางการเงิน และ Credit Rating ของผู้กู้ เป็นต้น แต่ถ้าจะถามว่าเกณฑ์ที่มักใช้กันมากควรอยู่ที่เท่าไร คำตอบก็คือน่าจะอยู่ไม่เกิน 2:1 ถือว่าเป็นสัดส่วนที่กำลังเหมาะสมดี จากข้อมูลที่มีพบว่าในช่วงปี 2540 เมื่อประเทศไทยประสบปัญหาภาวะวิกฤติทางการเงิน (Financial Crisis) ครั้งใหญ่ ตัวเลขค่าเฉลี่ยของสัดส่วนหนี้สินต่อทุน ของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยอยู่ที่ประมาณ 5:1 ในขณะที่ตัวเลขเดียวกันนี้ลดลงมาอยู่ที่ประมาณ 1:1 ในปี 2550 ซึ่งลดลงค่อนข้างมาก สะท้อนให้เห็นถึงการบริหารความเสี่ยงของธนาคารที่ปรับเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้นกว่าเดิม อย่างไรก็ตามตัวเลขสัดส่วนนี้เป็นของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ซึ่งมีฐานะทางการเงินที่ดีกว่ากลุ่มธุรกิจที่อยู่นอกตลาด หรือธุรกิจ SMEs ค่อนข้างมาก ถ้าพิจารณาจากประเด็นของความเสี่ยงอย่างเดียว เราก็น่าจะสรุปง่ายๆได้ว่า ค่าของ D-E Ratio ของบริษัทกลุ่มหลังนี้ก็ควรจะมีสัดส่วนที่ต่ำกว่า เพื่อไม่ให้เป็นการเสี่ยงมากเกินไปสำหรับธนาคารผู้ให้กู้ อย่างไรก็ตามความเป็นจริงกลับไม่ได้เป็นเช่นนั้น ดังจะอธิบายโดยละเอียดในช่วงท้ายของบทความอีกที

ในการคำนวณหาค่าของ D-E Ratio นั้น สามารถทำได้ไม่ยากนัก เพียงแต่ว่านักวิเคราะห์ของธนาคารต้องทราบก่อนว่าโครงการที่ยื่นขอสินเชื่อมายังธนาคารนั้น จัดอยู่ในกลุ่มลูกค้าประเภทไหน กล่าวคือ เป็นโครงการลงทุนใหม่ที่ยื่นขอกู้ในรูปของ Project Finance หรือว่าเป็นการขอสินเชื่อโดยบริษัทจำกัดที่ดำเนินการมานานหลายปีแล้วช่วงหนึ่งในรูปของสินเชื่อเพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียน (Working Capital) ซึ่งความแตกต่างข้างต้นนี้ค่อนข้างจะนำมาสู่วิธีการคำนวณที่แตกต่างกันตามไปด้วย เพื่อให้เห็นภาพชัดมากยิ่งขึ้น ผู้เขียนขอยกตัวอย่างการคำนวณประกอบคำอธิบายไปพร้อมกัน เพื่อช่วยให้ท่านผู้อ่านที่สนใจในเรื่องนี้ สามารถนำไปใช้ได้อย่างถูกต้องต่อไป


โดย: นายแว่นธรรมดา วันที่: 23 ธันวาคม 2554 เวลา:12:04:03 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

นายแว่นธรรมดา
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 110 คน [?]




ยินดีต้อนรับสู่บล็อกนายแว่นธรรมดา บล็อกที่รวมเอาความคิด ความฝัน ความรู้สึกของนายแว่นธรรมดา เพื่อปะติดปะต่อภาพแห่งความรู้สึกในใจของเราให้เสร็จสมบูรณ์ (ขอสงวนการนำข้อมูลในบล็อกไปใช้ครับ)
Free counters!
New Comments
[Add นายแว่นธรรมดา's blog to your web]