Group Blog
 
<<
มีนาคม 2554
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
11 มีนาคม 2554
 
All Blogs
 

“ไอน์สไตน์” มีไอคิวเท่าไร




นิตยสารไทม์ยกย่องให้ไอน์สไตน์เป็น "บุคคลแห่งศตวรรษ"
ก่อนจะไขข้อข้องใจเรื่องไอคิวของไอน์สไตน์ คงต้องขยายความถึง “ไอคิว” เสียก่อน

ไอคิว (IQ) ย่อมาจาก Intelligence Quotient
คือ ความฉลาดทางด้านความคิด ความอ่าน และการกระทำ
หรือรวมเรียกว่า ความฉลาดแบบโดยรวมอะไรก็ได้ เช่น เรื่องเรียน ดนตรี หรือกีฬา

คำนี้ได้รับการบัญญัติขึ้นมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 18

เรายึดตัวเลข 100 เป็นระดับไอคิวเฉลี่ยของคนปกติ คิดตามหลักสถิติแล้ว
และคนส่วนใหญ่หรือ 68% ของประชากรทั้งหมด มีไอคิวอยู่ที่ระดับ 85 – 115
ถ้าสูงกว่านั้นถือว่าเป็นผู้ “มีพรสวรรค์” ส่วนอัจฉริยะมีไอคิวตั้งแต่ 145 ขึ้นไป

แม้คนส่วนใหญ่จะยอมรับว่าไอน์สไตน์เป็นอัจฉริยะ
แต่มีการคำนวณออกมาว่าระดับไอคิวของเขาน่าจะอยู่ที่ประมาณ 160 เท่านั้น
ซึ่ง "ไอน์สไตน์ยุคใหม่" อย่างสตีเฟน ฮอว์กิง ก็มีไอคิวในระดับเดียวกัน
ซึ่งยังน้อยกว่านักการเมือง ศิลปิน หรือนักวิทยาศาสตร์ที่ไม่โด่งดังคนอื่นๆ ด้วยซ้ำ

ไหนๆ ก็พูดเรื่องไอคิวขึ้นมาแล้ว คงต้องให้ข้อมูลเพิ่มเติมต่อว่า
คนที่มีไอคิวสูงไม่ได้หมายความว่า จะประสบความสำเร็จในชีวิตเสมอไป
เพราะเคยมีงานวิจัยพบว่า ไอคิวมีส่วนช่วยให้ประสบความสำเร็จในชีวิตเพียง 20 เปอร์เซ็นต์
จึงมีผู้คิดค้นปัจจัยแห่งความสำเร็จขึ้นอีกอย่างหนึ่ง ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 คือ อีคิว (EQ)

อีคิว ย่อมาจาก Emotion Quotient คือ ความสามารถทางอารมณ์
ซึ่งประกอบไปด้วย ความสามารถในควบคุมอารมณ์ตัวเองไว้ได้อย่างหนักแน่น และคงเส้นคงวา
รวมทั้งรับรู้อารมณ์คนอื่นและอารมณ์ตัวเอง
ซึ่งจะก่อให้เกิดความกระตือรือร้นและมีแรงจูงใจสู่ความสำเร็จ


สุดท้ายขอแถมให้อีกสัก “คิว” เพราะเมื่อผู้เชี่ยวชาญพากันศึกษาต่อไปกลับพบอีกว่า
คนที่มีอีคิวสูงก็ใช่ว่าจะประสบความสำเร็จในชีวิตเสมอไป
จึงเป็นเหตุจูงใจให้ ดร. พอล จี. สตอยต์ซ นักบริหารบุคคล
ซึ่งเคยมีประสบการณ์ในบริษัทใหญ่ๆ หลายแห่งบัญญัติศัพท์ใหม่ว่า เอคิว (AQ)

เอคิว มาจากคำเต็มว่า Adversity Quotient หมายถึง ความสามารถที่จะเผชิญกับความยากลำบาก
ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการก้าวสู่ความสำเร็จ


หมายเหตุ: ยูเนสโกประกาศให้ปี 2005 เป็น “ปีฟิสิกส์สากล”
เนื่องในโอกาสครบรอบ 100 ปีที่อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ได้นำเสนอรายงานจำนวน 3 ใน 4 ฉบับ
ที่ทำให้มนุษย์โลกเปลี่ยนแนวคิดเกี่ยวกับจักรวาล ได้แก่ “ปรากฏการณ์ โฟโตอิเลคตริก”
ซึ่งทำให้เขาได้รับรางวัลโนเบล ส่วนอีก 2 ผลงานคือ “การเคลื่อนที่แบบบราวเนียน”
และทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษ ซึ่งทำให้เกิดสมการอันลือลั่น E=mc2


ข้อมูลโดย : //www.manager.co.th
ที่มา : //www.dmh.go.th
ภาพจาก : //www.fotosearch.com




 

Create Date : 11 มีนาคม 2554
0 comments
Last Update : 11 มีนาคม 2554 20:23:21 น.
Counter : 2369 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 200 คน [?]




Friends' blogs
[Add ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.