Group Blog
 
<<
มิถุนายน 2553
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
 
28 มิถุนายน 2553
 
All Blogs
 
คนตาบอดใช้คอมพิวเตอร์ได้อย่างไร?


Software เพื่อคนตาบอด
โดย : สถาบันคนตาบอดแห่งชาติเพื่อการวิจัยและพัฒนา


ทุกวันนี้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร (ICT) ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการอำนวยความสะดวก
รวมทั้งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำกิจกรรมต่างๆ ให้แก่คนในสังคมเป็นอย่างมาก
ซึ่งก็รวมถึงการสร้างประโยชน์ในด้านต่าง ๆ ให้แก่คนตาบอดด้วยเช่นกัน
เช่น การใช้ ICT เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตหนังสืออักษรเบรลล์ การประยุกต์ใช้ ในอุปกรณ์นำทาง
รวมทั้งการอำนวยความสะดวกให้คนตาบอด สามารถใช้คอมพิวเตอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ซึ่งประโยชน์ประการหลังนี้ได้ช่วยเปิดโลกแห่งการเรียนรู้ การติดต่อสื่อสาร การประกอบอาชีพ และการพักผ่อน-
หย่อนใจของคนตาบอดให้กว้างไกลในลักษณะที่เท่าเทียม และเชื่อมโยงเป็นหนึ่งเดียวกับบุคคลทั่วไป



คนตาบอดใช้คอมพิวเตอร์ได้อย่างไร

เมื่อกล่าวถึงการใช้งานคอมพิวเตอร์ไม่ว่าจะโดยผู้ใดก็ตามนั่น
หมายถึงการทำงานกับคอมพิวเตอร์ใน 2 องค์ประกอบหลักได้แก่

1. การอ่าน หรือการรับรู้ข้อมูลที่ปรากฏบนหน้าจอ หรือปรากฏบนอุปกรณ์ต่อเชื่อมอื่นๆ
2. ป้อนคำสั่งหรือข้อมูลเข้าเครื่องโดยผ่านทางแป้นพิมพ์หรือ Pointing Device เช่น Mouse

แม้การมองไม่เห็นตำแหน่งต่างๆ บนหน้าจอจะทำให้เกิดอุปสรรคในการ ใช้ Pointing Device
แต่คนตาบอดก็สามารถใช้การป้อนข้อมูลหรือคำสั่งผ่านทางแป้นพิมพ์ได้ โดยจะใช้การพิมพ์แบบสัมผัส
(การจดจำตำแหน่งของแป้นพิมพ์ ) สำหรับแป้นพิมพ์ที่ใช้ก็เป็นแป้นพิมพ์ปกติของคอมพิวเตอร์
โดยไม่ต้องมีการออกแบบเพิ่มเติม หรือปรับปรุงให้มีลักษณะเฉพาะแต่อย่างใด
แต่ปัญหาสำคัญมักอยู่ที่การอ่านหรือการรับรู้ข้อมูล ที่เครื่องแสดงผ่านหน้าจอ

อย่างไรก็ตาม ปัญหาดังกล่าวนี้ได้รับการแก้ไขในสามแนวทางหลักๆ ได้แก่

การใช้ Software ที่ช่วยให้คอมพิวเตอร์แสดงผลเป็นเสียงพูด
โดยเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างโปรแกรมอ่านจอภาพ Screen Reader Software
ซึ่งทำหน้าที่คล้ายกับตาของมนุษย์ในการตรวจจับข้อมูล ที่เครื่องแสดงออกมาที่หน้าจอ
แล้วเชื่อมต่อไปยัง Speech Software ซึ่งทำหน้าที่เหมือนอวัยวะในระบบการเปล่งเสียง
คนตาบอดก็จะรับทราบข้อมูลได้จากการได้ยินแทนการอ่านหน้าจอ
ในปัจจุบันนี้ได้มีการพัฒนา Screen Reader Software ให้มีความสามารถเพิ่มมากขึ้น
ในการวิเคราะห์รูปแบบการอ่านให้เหมาะสม และสอดคล้องกับประเภทของข้อมูลและรูปแบบของการนำเสนอ
เช่น การอ่านข้อมูลในลักษณะที่นำเสนอในรูปแบบของตาราง
ในขณะที่ Speech Software ก็ได้รับการพัฒนาให้สามารถเปล่งเสียงชัดเจน และถูกต้องมากขึ้นเช่นกัน

การใช้อุปกรณ์และ Software แสดงผลเป็นอักษรเบรลล์
โดยประกอบด้วย Braille translator Software ซึ่งทำหน้าที่แปลงรหัสข้อมูลจากอักษรตัวพิมพ์ (print)
เป็นรหัสอักษรเบรลล์แล้วส่งไปแสดงผลที่เครื่องแสดงผลอักษรเบรลล์ (Refreshable Braille Display)
ทำให้คนตาบอดรับรู้ข้อมูลได้จากการอ่านอักษรเบรลล์ แทนการอ่านจากหน้าจอ

การใช้ Software ขยายจอภาพ Screen Magnification Software
โดยจะช่วยขยายตัวอักษรตลอดจนรูปภาพและสัญลักษณ์ต่างๆ ที่ปรากฏบนหน้าจอให้ใหญ่ขึ้น
ตามขนาดที่ผู้ใช้ต้องการ รวมทั้งมีฟังชั่นก์ที่ให้ผู้ใช้สามารถปรับสีของพื้นผิวหน้าจอ ตลอดจนสีของตัวอักษร
และสัญลักษณ์ต่างๆ ให้มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน (Contrast)
ลักษณะเช่นนี้จะทำให้คนตาบอดกลุ่มที่เป็นผู้มีสายตาเลือนราง
สามารถอ่านข้อมูลจากหน้าจอคอมพิวเตอร์ได้โดยสะดวก



ตาทิพย์โปรแกรมที่ทำให้คอมพิวเตอร์พูดภาษาไทย

โปรแกรมตาทิพย์เป็นโปรแกรมสังเคราะห์เสียงภาษาไทย (Thai text to Speech)
โดยเมื่อใช้โปรแกรมดังกล่าวร่วมกับโปรแกรมอ่านจอภาพของต่างประเทศ (Screen Reader Software)
จะทำให้คอมพิวเตอร์แสดงผลทุกอย่างบนหน้าจอ เป็นเสียงพูดภาษาไทยควบคู่กันไปด้วย
โปรแกรมดังกล่าวนี้นอกจากจะช่วยให้คนตาบอด สามารถใช้งานคอมพิวเตอร์ด้วยตนเองได้อย่างสะดวก
และได้ รับประโยชน์ในด้านต่างๆ จากคอมพิวเตอร์เช่นเดียวกับบุคคลทั่วไปแล้ว
ยังจะช่วยเอื้อประโยชน์ในด้านการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร ผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศให้แก่ผู้ที่มีปัญหาด้าน-
การอ่าน เช่น ผู้สูงอายุที่มีสายตาฝ้าฟาง และ อื่นๆ ทั่วประเทศจำนวนกว่า 6 ล้านคน

โปรแกรมตาทิพย์ เป็นผลงานวิจัยของ นายพุฒิพันธุ์ พลยานันท์ นักวิจัยและพัฒนา Software
อดีตแชมป์เหรียญเงินคอมพิวเตอร์ โอลิมปิก ปี 2540 ณ ประเทศแอฟริกาใต้
โดยได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากกองทุน เพื่อการพัฒนาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ภาษาไทยสำหรับคนตาบอด
มูลนิธิราชสุดา กองทุนเพื่อการพัฒนาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ภาษาไทยสำหรับคนตาบอด
มูลนิธิราชสุดาก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2544 จากการที่บริษัท ทีโอที. คอร์ปอเร ชั่น จำกัด (มหาชน)
ได้ทูลเกล้าถวายเงินจำนวน 20 ล้านบาทแด่สมเด็จพระเทพ รัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี
เพื่อทรงจัดตั้งเป็นกองทุนสำหรับสนับสนุนการ วิจัยและพัฒนา Hardware และ Software
ตลอดจนจัดกิจกรรมรณรงค์เผยแพร่ในด้านต่างๆ เพื่อให้คนตาบอดไทยสามารถใช้ประโยชน์จากคอมพิวเตอร์
และเทคโนโลยีสารสนเทศทั้งเพื่อการศึกษาหาความรู้ การประกอบอาชีพ การติดต่อสื่อสาร
และการพักผ่อนหย่อนใจได้อย่างมีประสิทธิภาพเช่นเดียวกับบุคคลทั่วไป

โปรแกรมตาทิพย์ นับเป็นผลงานวิจัยในลำดับแรกภายใต้การสนับสนุนของกองทุนฯ
กองทุนฯ ยังมีแผนที่จะให้การสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาโปรแกรมต่างๆ เช่น
โปรแกรมแปลงอักษรเบรลล์เป็นอักษรตัวพิมพ์ปกติ (Thai Braille Translation Software)
โปรแกรมอ่านจอภาพภาษา ไทย (Thai Screen Reader Software)
โปรแกรม Thai OCR โปรแกรมผลิตหนังสือ Multimedia และอื่น ๆ

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโปรแกรมตาทิพย์
การนำโปรแกรมตาทิพย์ไปพัฒนาต่อยอดเพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ สำหรับใช้ประโยชน์เพื่อสาธารณะ
หรือต้องการข้อมูลการดำเนินงานของกองทุนฯ
กรุณาติดต่อ สำนักงานเลขากอง ทุนฯ : สถาบันคนตาบอดแห่งชาติเพื่อการวิจัยและพัฒนา



ข้อแนะนำในการพัฒนา Software เพื่อให้คนตาบอดสามารถใช้ได้โดยสะดวก

ในความเป็นจริงนั้นนอกเหนือจากความจำเป็นที่คนตาบอดจะต้องใช้ Software และ Hardware
ซึ่งอำนวยความสะดวกให้สามารถอ่าน และรับรู้ข้อมูลจากหน้าจอได้แล้วนั้น
คนตาบอดแต่ละคนหรือแต่ละกลุ่มยังต้องการใช้งาน Software อื่นๆ เพื่อวัตถุประสงค์ต่างๆ
เช่น Software Word Processor สำหรับทำงานเอกสาร
Software ด้านการสื่อสารสำหรับการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร รวมทั้ง Software เพื่อการศึกษาหาความรู้
เพื่อการประกอบอาชีพ เพื่อความบันเทิงและอื่นๆ

ดังนั้นองค์ประกอบสำคัญอีกประการหนึ่ง
ที่จะช่วยให้คนตาบอด สามารถใช้ประโยชน์จากคอมพิวเตอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพก็คือ
การออกแบบ Software ต่างๆ ในลักษณะที่ Screen Reader Software, Screen Magnification
และ Braille Translator Software จะสามารถเข้าไปทำงานด้วยได้โดยมีข้อแนะนำในเบื้องต้นดังนี้

1. ออกแบบ User Interface ของ Software ให้เป็นมาตรฐานและมีความคงเส้นคงวาตลอดทั้งโปรแกรม
ซึ่งนอกจากจะทำให้สามารถเชื่อมต่อกับ Software อื่นๆ ได้โดยง่ายแล้ว
ยังช่วยให้ผู้ใช้สามารถเรียนรู้การทำงานของ Software ได้โดยสะดวกอีกด้วย
ในการกำหนดสัญลักษณ์ต่างๆ เพื่อแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับการใช้งานและการควบคุมการทำงานของ software
ควรกำหนดเป็น Toolbar, Menu, Cursor และ Dialog
ซึ่ง Screen Reader Software รวมทั้งระบบอำนวยความสะดวกต่างๆ จะคุ้นเคยกับสัญลักษณ์เหล่านี้อยู่แล้ว

2. ออกแบบให้ User Interface มีความยืดหยุ่น
โดยให้ผู้ใช้สามารถปรับเปลี่ยน User Interface ให้เหมาะกับความต้องการของตนได้
เช่น ปรับสี ขนาด ของ Font รูปแบบของ Cursor การปรับเสียงและอื่นๆ

3. ออกแบบให้ผู้ใช้สามารถใช้แป้นพิมพ์ควบคุมการทำงานของ Software ได้ทั้งหมด
เทียบเท่ากับการควบคุมโดย Pointing Device อื่นๆ ทั้งนี้โดยเริ่มตั้งแต่การใช้แป้นพิมพ์ควบคุมการติดตั้ง Software

4. มีข้อความอธิบายกำกับในส่วนที่เป็น Graphics และ Icons ทุกส่วน
ซึ่งจะทำให้ Screen Reader Software และระบบอำนวยความสะดวกต่างๆ
สามารถถ่ายทอดข้อมูลเหล่านั้นให้ผู้ใช้ที่เป็นคนตาบอดรับรู้ได้
ขณะเดียวกันคำอธิบายเหล่านี้ ก็จะช่วยให้ผู้ใช้ที่มีสายตาปกติสามารถเรียนรู้และจดจำ Graphics
ตลอดจน Icons นั้นๆ ได้โดยง่ายอีกด้วย

5. แสดง Application Focus โดยใช้ Operating-System- Supplied Tools
เช่น System Caret Screen Reader Software และระบบอำนวยความสะดวกต่างๆ
จะต้องทำงานเชื่อมต่อกับ Keyboard Focus ได้ตลอดเวลา

6. ไม่ควรออกแบบโดยกำหนดให้สีเป็นตัวแปรเพียงอย่างเดียว ในการสื่อความเข้าใจ
และข้อมูลเกี่ยวกับการใช้งาน Software เพราะมีผู้ใช้บางกลุ่มที่ไม่สามารถแยกแยะความแตกต่างของสี
หรือมีอุปสรรคเกี่ยวกับการรับรู้ข้อมูลเรื่องสี ซึ่งก็จะทำให้ผู้ใช้เหล่านี้ไม่สามารถใช้ Software นั้นๆ ได้
ในจุดนี้การเปิดกว้างให้ผู้ใช้สามารถปรับเปลี่ยน User Interface ได้ตามความสะดวกของผู้ใช้งานแต่ละคน
จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง

7. ไม่ควรออกแบบให้มีการจำกัดเวลาในการป้อนคำสั่งหรือป้อนข้อมูล
เพราะผู้ใช้จำนวนไม่น้อยที่ยังใช้คอมพิวเตอร์ได้ไม่คล่อง
หรือผู้ใช้ที่ต้องการใช้เวลาในการทำความเข้าใจคำแนะนำ หรือคำอธิบายต่างๆ ที่ Software แสดงขึ้นมา


ข้อแนะนำทั้ง 7 ข้อข้างต้น ควรได้รับการพิจารณาในการออกแบบ Software ทุกขั้นตอน
และควรเกิดผลในทางปฏิบัติต่อผู้ใช้ตั้งแต่ขั้นตอนของการติดตั้ง Software
การปรับค่าต่างๆ ในการใช้งาน และในทุกๆ คำสั่งของการใช้งาน Software


ที่มา : //www.sudipan.net




Create Date : 28 มิถุนายน 2553
Last Update : 28 มิถุนายน 2553 14:58:22 น. 0 comments
Counter : 1836 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 200 คน [?]




Friends' blogs
[Add ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.