Group Blog
 
<<
พฤษภาคม 2554
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
5 พฤษภาคม 2554
 
All Blogs
 
หน่วยกู้ภัย ‘หุ่นยนต์’

ต้องยอมรับว่า แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นบริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออกของญี่ปุ่น
ทิ้งซากความเสียหายทั้งชีวิตและทรัพย์สินไว้มากมาย ภาระที่หนักอึ้งส่วนหนึ่งตกอยู่กับเจ้าหน้าที่กู้ภัย

ดังนั้น สิ่งที่จะมาช่วยลดภาระให้กับเจ้าหน้าที่คือ
การนำความก้าวหน้าด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาใช้ โดยเฉพาะ “เทคโนโลยีหุ่นยนต์”
ญี่ปุ่นในฐานะเจ้าเทคโนโลยีชาติหนึ่งมีผลงานด้านนี้ไม่น้อย และยังจำเป็นต้องมีการวิจัยและพัฒนาต่อไป
เพราะภัยพิบัติร้ายแรงที่สุดของญี่ปุ่นที่ฟูกุชิมะ ไม่ได้หมายความว่าจะเป็นครั้งสุดท้าย

ทั้งนี้ เหตุแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นในญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 11 มี.ค. ที่ผ่านมาจนถึงขณะนี้
มีผู้เสียชีวิตไม่ต่ำกว่า 9,700 คน บาดเจ็บไม่ต่ำกว่า 2,700 คน และสูญหายไม่ต่ำกว่า 16,500 คน
คิดเป็นมูลค่าความเสียหายสูงถึง 300,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ถือเป็นภัยธรรมชาติที่สร้างความเสียหายมากที่สุดในโลก
สาหัสสากรรจ์ยิ่งกว่าเหตุแผ่นดินไหวในโกเบเมื่อปี 2538
และเมื่อครั้งเฮอริเคนคาทริน่าถล่มสหรัฐในปี 2548 เสียอีก

สาเหตุหลักๆ ของแผ่นดินไหวมาจากการเคลื่อนตัวของเปลือกโลกที่เกิดขึ้นเป็นร้อยๆ ล้านปีมาแล้ว
ดังนั้น หากสามารถทำนายแผ่นดินไหวได้ จะช่วยลดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินได้มาก

แต่นั่นเป็นเรื่องยาก แม้บรรดานักวิทยาศาสตร์จะพยายามทำนายการเกิดแผ่นดินไหว
โดยติดตั้งเครื่องมือวิทยาศาสตร์ไว้หลายจุดบนพื้นโลก เพื่อวัดความเข้มของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
วัดการเปลี่ยนแปลงของน้ำใต้ดิน หรือเจาะดูโครงสร้างพื้นดิน
ก็ยังไม่สามารถบอกได้ว่าจะเกิดแผ่นดินไหวขึ้นเมื่อใดและที่ไหน
บอกได้เพียงว่าบริเวณใดเสี่ยงต่อแผ่นดินไหวมากหรือน้อย
และโอกาสจะเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในรอบ 10-50 ปีข้างหน้า
ถือว่าพัฒนาไปมากเมื่อเทียบกับเมื่อหลายสิบปีก่อน

เมื่อทำนายได้ยาก ดังนั้น วิธีที่ดีที่สุดคือการลดการสูญเสียให้มากที่สุด ด้วยการพัฒนาวัสดุใหม่ๆ
เพื่อสร้างอาคารบ้านเรือนให้แข็งแกร่ง รวมถึงสิ่งที่จะมาช่วยหลังเกิดแผ่นดินไหว
เช่น ช่วยงานค้นหา กู้ภัย และช่วยชีวิต ในที่นี้ได้แก่ เทคโนโลยีหุ่นยนต์นั่นเอง

ประเทศที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยง รวมถึงญี่ปุ่นที่ได้ชื่อว่าเป็นเจ้าเทคโนโลยี
ก็มีเทคโนโลยีหุ่นยนต์ที่จำเป็นต้องพัฒนาต่อไป เพื่อรับมือกับภัยธรรมชาติในอนาคต
กรณีญี่ปุ่นนั้นตั้งอยู่ในพื้นที่เสี่ยงของโลกที่เรียกว่า “วงแหวนแห่งไฟ” (Pacific Ring of Fire)
เป็นจุดที่มีการทับซ้อนกันของเปลือกโลกบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิก
มีลักษณะเป็นเส้นเกือกม้ายาวราว 40,000 กิโลเมตร ภายในวงแหวนแห่งไฟมีภูเขาไฟอยู่มากถึง 452 ลูก
และเป็นที่ที่มีภูเขาไฟคุกรุ่นอยู่กว่า 75% ของภูเขาไฟคุกรุ่นทั้งหมดของโลก
เป็นพื้นที่เกิดแผ่นดินไหวและภูเขาไฟระเบิดบ่อยมาก
หรือประมาณ 90% ของแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นทั่วโลกเลยทีเดียว

ที่ผ่านมาญี่ปุ่นมีผลงานพัฒนาหุ่นยนต์จำนวนไม่น้อย
ตัวอย่างหุ่นยนต์กู้ภัยเด่นๆ ที่เชื่อว่าเป็นกำลังสำคัญในการปฏิบัติภารกิจช่วยเพื่อนร่วมชาติคือ


RoboCue
หุ่นยนต์กู้ภัย RoboCue เป็นผลงานของสำนักงานดับเพลิงโตเกียว
ถูกออกแบบเพื่อค้นหา และช่วยผู้รอดชีวิตจากพื้นที่อันตรายได้อย่างปลอดภัย เช่น เมื่อเกิดเหตุระเบิด
แต่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในยามเกิดภัยธรรมชาติได้ด้วย หุ่นยนต์ตัวนี้มีเซ็นเซอร์อัลตราโซนิค
และกล้องอินฟราเรดเพื่อใช้ค้นหาผู้เคราะห์ร้าย ที่อาจติดอยู่ในซอกหลืบหรือใต้อาคารที่ถล่ม
และนำตัวผู้รอดชีวิตที่บาดเจ็บออกมา เพื่อส่งถึงมือแพทย์ได้อย่างปลอดภัย
แถมยังมีอุปกรณ์สำหรับให้ออกซิเจนแก่คนป่วยด้วย




Snake Robot Climbs a Tree
หุ่นยนต์งู Snakebot ผลงานของซาโตชิ ทาโดโกโร ผู้เชี่ยวชาญด้านหุ่นยนต์ชั้นนำของญี่ปุ่น
หุ่นยนต์ตัวนี้พัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้ในงานค้นหา มีขนาดยาว 26 ฟุต ผิวทำจากเส้นไนล่อนหนา 1 นิ้ว
ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ แม้ยังเคลื่อนที่ได้ไม่เร็วเพียง 2 นิ้วต่อวินาที
แต่สามารถเข้ามุมอับและช่องแคบๆได้ หรือไต่ขึ้นที่สูงระดับ 20 องศา มีตาเป็นกล้อง
สามารถถ่ายและส่งภาพกลับไปให้เจ้าหน้าที่ ได้ทราบสถานการณ์ในที่เกิดเหตุ




ZineDyn - Centipede Inspired Robot from KAIST
หุ่นยนต์ตีนตะขาบ เป็นผลงานของสำนักงานตำรวจโยโกฮามา ออกแบบคล้ายโลงศพ
ทำหน้าที่คล้ายเตียงสำหรับเข็นผู้ป่วย สามารถรับน้ำหนักได้มากถึง 250 ปอนด์
มีเซ็นเซอร์ภายในสำหรับติดตามการไหลเวียนของเลือด และสัญญาณสำคัญอื่นๆ ขณะลำเลียงผู้ป่วย
เพื่อป้องกันเหตุฉุกเฉิน




Robot Rescue Team
หุ่นยนต์กู้ภัยโรลเลอร์สเกต เป็นหนึ่งในผลงานเด่นของ ศ.ชิเงโอะ ฮิโรเซ แห่งสถาบันเทคโนโลยีโตเกียว
สามารถเคลื่อนที่ได้ตามสภาพภูมิประเทศหลายแบบ
โดยเฉพาะบนพื้นราบที่สามารถปรับใช้งานแบบโรลเลอร์สเกตได้
ทำให้เคลื่อนที่ได้เร็วกว่า และใช้พลังงานน้อยกว่า
ส่วนอีกผลงานเป็นหุ่นยนต์งูที่มีล้อทุกด้านของลำตัว ช่วยเพิ่มความคล่องตัวในการเคลื่อนไหว




Rescue Robot Quince (IRS ,furo,Tadokoro)
หุ่นยนต์ Quince ตรวจลมหายใจ ผลงานของสถาบันเทคโนโลยีชิบะ
ออกแบบคล้ายหุ่นยนต์กู้ภัยของนักศึกษาไทย แต่มีขนาดตัวเล็กกว่ามาก เท่ารถของเล่นเด็ก มีล้อ 4 ชุด
ทำงานด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า 6 ตัว มีแขนสำหรับใช้เปิดลูกบิดประตู ส่งอาหารและสิ่งของอื่นๆได้
แต่ที่น่าสนใจคือมีเซ็นเซอร์อินฟราเรด และเซ็นเซอร์ตรวจก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
เพื่อตรวจหาลมหายใจ และความร้อนจากร่างกายเหยื่อภัยพิบัติที่รอดชีวิต


ส่วนตัวอย่างหุ่นยนต์เด่นอื่นๆ ที่ไม่ใช่ของญี่ปุ่น แต่อาจนำมาใช้ช่วยงานประเทศที่ประสบภัยได้
เช่น หุ่นกู้ภัยพลัง Kinect ผลงานของนักศึกษามหาวิทยาลัยวอร์วิกค์ในอังกฤษ
ออกแบบเป็นรถตีนตะขาบ ใช้งานร่วมกับ Kinect
ซึ่งเป็นอุปกรณ์เสริมตรวจจับความเคลื่อนไหวของเครื่องเกม จากค่ายไมโครซอฟต์
โดยนำมาใช้เสมือนเซ็นเซอร์แทน LIDAR ที่แพงกว่าและมีประสิทธิภาพด้อยกว่า
เพราะ Kinect ช่วยให้ได้ภาพแผนที่ 3 มิติ รวมถึงช่วยให้เจ้าหน้าที่ประเมินสถานการณ์และกลยุทธ์
เพื่อค้นหาผู้เคราะห์ร้ายได้ นอกจากนี้ยังมีหุ่นยนต์ BEAR ของบริษัทเวคนา
โรโบติกส์ หุ่นยนต์คล้ายมนุษย์ที่ถูกออกแบบมา เพื่อทำงานแทนมนุษย์ได้อย่างปลอดภัย แข็งแรงกว่า
และอึดกว่า สามารถนำไปใช้งานได้ในทุกสถานการณ์


ที่กล่าวมาข้างต้นล้วนเป็นตัวอย่างหุ่นยนต์ที่มีประสิทธิภาพสูง
หลายประเทศที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงจึงไม่ควรมองข้าม
ควรให้ความสำคัญกับการวิจัยพัฒนาทัดเทียมงาน ที่จะช่วยทำนายและลดผลกระทบจากแผ่นดินไหว
และภัยพิบัติอื่นๆ


ที่มา :
//www.dailyworldtoday.com
https://www.youtube.com


Create Date : 05 พฤษภาคม 2554
Last Update : 5 พฤษภาคม 2554 19:24:09 น. 1 comments
Counter : 1198 Pageviews.

 
japan robot is good. kinect black friday deals


โดย: sjscarlet09 วันที่: 29 กันยายน 2554 เวลา:16:21:46 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 200 คน [?]




Friends' blogs
[Add ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.