Group Blog
 
<<
เมษายน 2553
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
252627282930 
 
7 เมษายน 2553
 
All Blogs
 
วิทยาศาสตร์กับภูมิปัญญาที่แฝงอยู่ใน “เห็ดโคน”

"วิทยาศาสตร์" กับ "ภูมิปัญญาชาวบ้าน"
2 สิ่งนี้หลายคนคงสงสัยเป็นแน่หากมีคนบอกว่า มีความเกี่ยวพันกัน เพราะออกจะต่างกันคนละขั้ว
ระหว่างภาพของ "สมัยใหม่" และ "ดั้งเดิม" ที่ยากจะผสานกันลงตัว ทว่านักสัตววิทยารุ่นใหม่
จาก ม.เกษตรศาสตร์ก็ยืนยันว่าทั้ง 2 สิ่งนี้มีความสัมพันธ์กันจริง
ผ่านการวิจัยเรื่อง "เห็ดโคนกับการจัดการที่ยั่งยืน" ที่สะท้อนว่า
บางทีภูมิปัญญาท้องถิ่นก็สามารถอธิบายด้วยวิทยาศาสตร์ ให้รู้สึกทึ่งได้เช่นกัน

อ.จิรนันท์ ธีระกุลพิสุทธิ์
อ.จิรนันท์ ธีระกุลพิสุทธิ์ นักสัตววิทยารุ่นใหม่จาก ม.เกษตรศาสตร์ กำแพงแสน

อ.จิรนันท์ ธีระกุลพิสุทธิ์ นักสัตววิทยารุ่นใหม่จาก ม.เกษตรศาสตร์ กำแพงแสน เล่าว่า
การวิจัยนี้เริ่มต้นจากตัวเองสนใจ และได้ทำงานวิจัยเรื่องดังกล่าวในชุมชน ห้วยเขย่ง อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี
โดยการสนับสนุนของโครงการพัฒนาองค์ความรู้และศึกษา นโยบายการจัดการทรัพยากรชีวภาพในประเทศไทย
(บีอาร์ที) เพื่อ ศึกษาถึงการดำรงอยู่ของเห็ดโคน ซึ่งเป็นของป่าหายากของสวนป่าทองผาภูมิ
อันเป็นแหล่งสร้างรายได้ให้แก่ชาวบ้านจำนวนมากที่มีอาชีพรองคือ การเก็บของป่าไปขาย

พร้อมกันนั้น ชาวบ้านก็ได้อนุรักษ์ และมีการจัดการอย่างยั่งยืนด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น
เพื่อไม่ให้เห็ดโคนหมดไปอย่างสิ้นเชิง อย่างที่ชุมชนห้วยเขย่งเอง
ซึ่งเป็นแหล่งรวมของหลายเชื้อชาติด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นไทย พม่า กระเหรี่ยง ลาว และมอญ
จึงทำให้เป็นแหล่งรวมของภูมิปัญญาหลายสายไว้ในแหล่งเดียวกัน

อ.จิรนันท์ ชี้ว่า ในส่วนนี้เอง ภูมิปัญญาชาวบ้านในการเก็บหาเห็ดโคนของแต่ละชาติพันธุ์
จึงล้วนแฝงความหมายไว้ ซึ่งการพึ่งพิงประโยชน์จากเห็ดโคนอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะชาวบ้านสมัยก่อน
ซึ่งได้ดูแลพื้นที่ป่าชุมชนไว้ได้ดี เพราะไม่ได้คิดถึงเรื่องของการค้าขายและผลกำไรจากการขายของป่า
มาเป็นหลักคิดสำคัญ แต่เห็นว่าป่าเป็นพื้นที่ที่มีบุญคุณ

เนื่องจากป่าได้ให้กำเนิดของป่าไว้หลากหลายชนิดด้วยกัน
เช่น พืชผักกินได้ ปลา กบ หน่อไม้ หญ้าแฝก และไผ่ป่า รวมไปถึงเห็ดโคน
โดยปีหนึ่งๆ ชาวบ้านแต่ละครัวเรือนจะเข้าไปหาของป่ากันบ่อยมากเฉลี่ย 100-150 ครั้ง/ปี
พวกเขาจึงสร้างกฎ ข้อห้าม และและขนบธรรมเนียมประเพณีต่างๆ เพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติไว้มากมาย

หากมองด้วยสายตาของนักวิทยาศาสตร์แล้ว อาจคิดว่าคนสมัยก่อนล้าสมัย มีความเชื่อที่งมงาย
แต่ถ้ามองย้อนไปในแง่สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
จะพบว่าคนสมัยก่อนอยู่กับธรรมชาติ และอนุรักษ์เห็ดโคนได้ดีกว่าในยุคปัจจุบัน

"สรุปก็คือ ชาวบ้านรู้จักใช้ทรัพยากรธรรมชาติและพัฒนาแบบยั่งยืนมายาวนาน
ดังเช่นความเชื่อที่ว่า รังปลวกที่แก่แล้วจะไม่มีดอกเห็ดโคนขึ้นมาอีก
วิธีสังเกตให้ดูว่ามีน้ำซึมออกมาจากรังปลวกหรือไม่
ถ้ามีน้ำก็แสดงว่ารังปลวกดังกล่าว ยังไม่แก่และสามารถพบเห็ดโคนขึ้นได้อีก
น้ำในที่นี้ก็หมายถึงน้ำลายปลวกที่หลั่งออกมานั่นเอง" อ.จินันท์ เล่าถึงวิธีการดูจอมปลวกและว่า

ปลวกเป็นสัตว์ที่มีความสำคัญต่อการเกิดของเห็ดโคนมาก เพราะหากไม่มีปลวกอาศัยอยู่ในจอมปลวกแล้ว
เห็ดโคนก็ไม่อาจเกิดขึ้นได้ ส่วนการหาเห็ดโคนนั้นภูมิปัญญาท้องถิ่นก็ยังมีเคล็ดลับเล็กๆ น้อยๆ ด้วยว่า
หากจะหาเห็ดโคนให้เจอง่ายๆ แล้วต้องหาตอนกลางคืนเท่านั้น
เพราะใต้ต้นเห็ดโคนจะมีสารเรืองแสงอ่อนๆ คือ ธาตุฟอสฟอรัสอยู่
การหาเห็ดโคนตอนกลางคืนจึงหาเจอได้ง่ายกว่าหาตอนกลางวันมาก

"อีกตัวอย่างหนึ่งคือ ภูมิปัญญาวิธีการเก็บเห็ดโคน ต้องใช้มือถอน ไม่ให้ใช้มีด จอบ หรือไม้ปลายแหลม
ที่อาจไปทำลายสวนเห็ดรา (fungus garden) ของปลวกซึ่งเป็นจุดกำเนิดที่ทำให้เห็ดโคนเกิดขึ้นมาได้
และเพื่อป้องกันไม่ให้รบกวนช่องรูพรุนๆ ภายในสวนเห็ดราหรือโนดูล (nodule) ที่อยู่ในรังปลวก
และเวลาเด็ดเห็ดโคนไปก็ให้เด็ดให้เหลือก้านติดอยู่ที่เดิม ไม่ให้ถอนส่วนที่เป็นสวนเห็ดราออกมาด้วย"
นักสัตววิทยาสาวกล่าว

นอกจากนั้นแล้ว จากการวิจัยของ อ.จิรนันท์ ยังพบอีกว่า จากภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีอยู่นี่เอง
จึงเป็นสิ่งที่คนสมัยก่อน ใช้รักษาเห็ดโคนให้มีอยู่ในชุมชนห้วยเขย่งต่อไป
ซึ่งเฉพาะมูลค่าของเห็ดโคนในห้วยเขย่งนี้เอง ก็มีมูลค่าสุทธิรวมไม่ต่ำกว่า 685,000 บาท/ปีแล้ว
อีกทั้งหากรวมมูลค่าของของป่า ที่ชาวบ้านได้พึ่งพิงเป็นประจำตัวอื่นๆ ด้วย
ก็จะมีมูลค่าของป่าที่งอกเงยออกมาหลายล้านบาท/ปีเลยทีเดียว

อย่างไรก็ตาม อ.จิร นันท์ ก็ได้แสดงความเป็นห่วงในอนาคตของเห็ดโคนในชุมชนห้วยเขย่งด้วย คือ
ความตื่นตัวและความสนใจจริง ในการอนุรักษ์รักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในชุมชนห้วยเขย่ง
ที่นับวันจะเหลือน้อยลงไป ซึ่งต้องเร่งให้ความรู้และสร้างจิตสำนึกให้กลับมาอีกครั้ง
เพื่อให้เห็ดโคนยังคงอยู่ต่อไปได้อย่างยั่งยืน ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง
เพราะแม้ว่าคนสมัยใหม่ในห้วยเขย่ง จะมีความรู้เรื่องการจัดการมากขึ้นก็ตาม
แต่ก็อาจละเลยเรื่องการอนุรักษ์ไปได้
เพราะเห็นเรื่องของผลกำไรจากการขายของป่า เป็นเรื่องที่เย้ายวนกว่านั่นเอง


ที่มา : //www.manager.co.th


Create Date : 07 เมษายน 2553
Last Update : 7 เมษายน 2553 17:28:06 น. 1 comments
Counter : 1449 Pageviews.

 
นักวิทยาศาสตร์รู้มานานแล้วว่า เห็ดโคนนั้นไม่ได้เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ หากแต่เป็นผลของการเพาะปลูกโดยปลวกทาส กล่าวอีกนัยยะหนึ่งก็คือ สัตว์รู้จักทำเกษตรกรรมก่อนมนุษย์หลายสิบล้านปี และหากมนุษย์มิได้ต่อสู้ให้พ้นจากระบบทาสแล้วไซร้สังคมของมนุษย์ก็จะเป็นเช่นสังคมมด หรือปลวก หรือผึ้ง


โดย: ลุงกฤช IP: 115.67.24.121 วันที่: 19 พฤษภาคม 2553 เวลา:12:38:20 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 200 คน [?]




Friends' blogs
[Add ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.