พระเครื่อง : แหล่งข้อมูลบทความพระเครื่อง เครื่องรางของขลัง และวัตถุมงคล
Group Blog
 
<<
กันยายน 2556
 
25 กันยายน 2556
 
All Blogs
 
มอง'แมร์เคิลสมัย 3' เยอรมันยัง'บิ๊ก'ในยุโรป

มอง'แมร์เคิลสมัย 3' เยอรมันยัง'บิ๊ก'ในยุโรป

สกู๊ปพิเศษ
วรวิตา แย้มสุดา



ผลการเลือกตั้งในเมืองเบียร์เมื่อ 22 ก.ย. ที่ผ่านมา ยืนยันว่า แองเกลา แมร์เคิล นายกรัฐมนตรีเยอรมนี เจ้าของตำแหน่งสตรีที่ทรงอิทธิพลที่สุดในโลก ยึดเก้าอี้นายกรัฐมนตรีสมัยที่ 3



หลังพรรคสหภาพประชาธิปไตยคริสเตียน หรือคริสเตียน เดโมแครต ยูเนี่ยน (ซีดียู) แนวอนุรักษ์ของแมร์เคิลกวาดคะแนนไป 41.5% แม้จะไม่ได้รับเสียงส่วนใหญ่จนจัดตั้งพรรครัฐบาลเสียงข้างมากได้



ขณะที่พรรคเอียงซ้าย สังคมประชาธิปไตย (เอสพีดี) ของนายเพียร์ ชไตน์บรึก ได้คะแนนนิยมตามมาเป็นอันดับ 2 ด้วยคะแนน 25.7%



นอกจากพรรคการเมืองใหญ่ทั้ง 2 พรรคแล้ว ยังมีพรรคเล็กหลายพรรคที่ได้รับคะแนนให้เข้ามาอยู่ในสภาผู้แทนราษฎรของเยอรมนี



เช่น พรรคกรีน ซึ่งเน้นนโยบายอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ได้คะแนนเสียง 8.4% พรรคคอมมิวนิสต์ได้ 8.6%




แต่ที่ผิดหวังสุดๆ คือพรรคฟรีเดโมแครต (เอฟดีพี) ซึ่งนางแมร์เคิลเคยเปรยว่าอยากให้ร่วมรัฐบาลด้วย กลับได้คะแนนไม่พอที่จะส่งส.ส.ผ่านเข้าสู่สภาของเยอรมัน เมื่อได้คะแนนเพียง 4.7%



น้อยกว่าพรรคน้องใหม่อย่าง อัลเทอร์เนทีฟ ฟอร์ ดอยต์ชลันด์ (เอเอฟดี) ที่โปรโมตให้เยอรมนีออกจากสหภาพยุโรป (อียู) ที่ได้ 4.9% เสียอีก



คะแนนที่ออกมาเช่นนั้นทำให้มีความเป็นไปได้อย่างมากว่า พรรคซีดียูอาจจะต้องจัดตั้งรัฐบาลร่วมกับเอสดีพี เหมือนกับช่วงสมัยแรกของ นางแมร์เคิลในปี 2548-2552



แต่การรวมครั้งนั้น ผลสำรวจความนิยมของสำนักข่าว 'ดอยต์เชอ เวลเลอ' ชี้ว่า เป็นผลการทำงานไม่ค่อยเป็นที่พอใจชาวเยอรมัน



รอล์ฟ ชูลเซ่ เอกอัครราชทูตเยอรมนีประจำประเทศไทย กล่าวว่า ก่อนหน้าผลคะแนนออกมา ประเมินกันว่าพรรคซีดียูของแมร์เคิลอาจเป็นพรรครัฐบาลเดี่ยวได้ แต่ก็ยังมองว่ามีความเป็นไปได้ที่ซีดียูจะต้องร่วมตั้งรัฐบาลกับพรรคคู่ปรับเอสดีพี

รอล์ฟ ชูลเซ่





เมื่อถามเอกอัครราชทูตเยอรมันว่า หากเกิดการจับคู่ทางการเมืองระหว่างพรรคอนุรักษนิยมซีดียูของนางแมร์เคิล ซึ่งผลักดันนโยบายรัดเข็มขัดในหลายประเทศในอียู และเน้นตลาดแรงงานเสรี กับพรรคเอสพีดีซึ่งโหมกระแสค่าแรงขั้นต่ำในช่วงหาเสียง รัฐบาลร่วมชุดนี้จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อการเมืองยุโรปในภาพรวมหรือไม่



นายชูลเซ่ตอบว่าพันธทางการเมืองของเยอรมนีกับอียูของทุกพรรคเหมือนกัน ไม่ว่าพรรคใดจะเป็นรัฐบาลบทบาทของเยอรมนีในอียูก็จะไม่เปลี่ยนแปลง



ด้านนายคาร์ล-ไฮนซ์ เฮคเฮาเซ่น ประธานหอการค้าไทย-เยอรมัน เห็นว่าไม่ว่าการเมืองในประเทศจะเป็นอย่างไร เยอรมนีก็จะดำเนินบทบาทที่เป็นกลางในภูมิภาคเช่นเดียวกับเพื่อนสมาชิกอีกทั้ง 27 ประเทศ และจะให้อำนาจในการตัดสินใจต่างๆ แก่คณะกรรมาธิการยุโรปเท่านั้น



อย่างไรก็ตามนายเฮคเฮาเซ่นบอกว่า รัฐบาลร่วมของซีดียูกับ เอสดีพี น่าจะดีกว่ารัฐบาลร่วมของซีดียูกับพรรคกรีน เพราะเอสพีดีน่าจะทำได้ ดีกว่าในแง่การแก้ปัญหาเศรษฐกิจในวิกฤตยูโรโซน



ด้าน ไค เบาเออร์ ผู้สื่อข่าวจากหนังสือพิมพ์ภาษาเยอรมันในประเทศไทย "โวเซน บลิตซ์" แสดงความเห็นว่า พรรคการเมืองเยอรมันทุกพรรคดำเนินงานเพื่อมุ่งไปสู่จุดหมายเดียวกัน ดังนั้น ไม่ว่าซีดียูจะร่วมงานกับพรรคใดก็ไม่มีผลทางการเมืองมากนัก



เมื่อเปรียบกับการเมืองไทยแล้ว นายเบาเออร์มองว่า การเมืองไทยมีการแบ่งพรรคแบ่งขั้วเป็น 2 ฝ่ายอย่างชัดเจน และดำเนินนโยบายไปกันคนละทาง ซึ่งคงจะเห็นการแบ่งขั้วแบบนี้ในการเมืองเยอรมันได้ยาก



Create Date : 25 กันยายน 2556
Last Update : 25 กันยายน 2556 3:28:59 น. 0 comments
Counter : 935 Pageviews.

amulet108
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 96 คน [?]








Friends' blogs
[Add amulet108's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.