Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

กลุ่มอาการผิดปกติจากความสั่นสะเทือนเฉพาะมือและแขน (Hand-Arm Vibration Syndrome: HAVS) .. นำมาฝาก







กลุ่มอาการผิดปกติจากความสั่นสะเทือนเฉพาะมือและแขน (Hand-Arm Vibration Syndrome: HAVS)

//www.thaieditorial.com/tag/%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%99/

กลุ่มอาการผิดปกติจากความสั่นสะเทือนเฉพาะมือและแขน (Hand-Arm Vibration Syndrome: HAVS) เป็นอาการผิดปกติที่เกิดกับ นิ้วมือ มือ และแขน จากการใช้เครื่องมือที่มีความสั่นสะเทือน

สาเหตุ ความสั่นสะเทือนเฉพาะมือและแขนเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิด HAVS นอกจากนี้การสัมผัสความเย็นจะเพิ่มความผิดปกติที่เกิดจากความสั่นสะเทือนด้วย เพราะอุณหภูมิที่ลดลงมีผลให้หลอดเลือดหดตัว เลือดไปเลี้ยงนิ้วมือลดลง และลดอุณหภูมิที่ผิวหนังของนิ้วมือ ในคนงานสัมผัสความสั่นสะเทือนซึ่งจะต้องทำงานในที่มีอุณหภูมิต่ำ การมีประสาทสัมผัสที่ผิวหนังลดลงบ่อยๆ อาจจะส่งผลให้เกิดการลดลงของการรับประสาทสัมผัสอย่างถาวร และเสียความถนัดของมือในการจับต้องอุปกรณ์ต่างๆได้

อาการของโรค จากความสั่นสะเทือนเฉพาะมือและแขน ประกอบด้วย การเสียวแปลบ ชา และซีดขาวของนิ้วมือ อาจเสียความสามารถในการควบคุมกล้ามเนื้อ และเมื่อมีเลือดไหลเวียนไปหล่อเลี้ยงดังเดิมอาจมีอาการปวดและการรับความรู้สึกร้อน-เย็น ลดลง ในรายที่รุนแรง จะมีการทำลายผนังหลอดเลือดแดงที่นิ้ว ทำให้รูหลอดเลือดเล็กลง และจะมีการดำเนินโรครุนแรงขึ้นเรื่อยๆโดยมีองค์ประกอบ 3 อย่าง คือ

1. มีความผิดปกติของระบบหลอดเลือด ที่เรียกว่าเรย์นอด ฟีโนมินอน (Raynaud’s phenomenon) ที่มีสาเหตุจากอาชีพ โดยมีการรบกวนการไหลเวียนเลือด ทำให้มีหลอดเลือดตีบและนิ้วมือซีดขาว ในรายที่มีอาการรุนแรงจะมีการเปลี่ยนแปลงของปลายนิ้วในทางเสื่อมลง (Trophic Change) เช่น เกิดแผลที่ปลายนิ้ว (Finger Tip Ulceration)

2. มีการทำลายเส้นประสาทรับความรู้สึกและเส้นประสาทสั่งการ ทำให้มีอาการเสียวแปลบ ชา เสียการประสานงานระหว่างนิ้ว และความคล่องแคล่วในการใช้มืิอ การสัมผัสความสั่นสะเืทือนอย่างต่อเนื่องไม่เพียงแต่ลดการกระตุ้นตัวรับที่ผิวหนัง แต่ยังเพิ่มการเปลี่ยนแปลงทางพยาธิสภาพต่อเส้นประสาทที่นิ้วมือ เช่น มีการบวมรอบเส้นประสาทตามด้วยการเกิดพังผืดและใยประสาทเสียหาย

3. มีความผิดปกติของระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ ผู้ปฏิบัติงานที่สัมผัสกับความสั่นสะเทือนอาจมีการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อและมีอาการปวดในมือและแขน และอาจรุนแรงถึงขั้นทำให้สูญเสียสมรรถภาพได้

การป้องกัน แนวทางการป้อง HAVS ในผู้ปฏิบัติงานที่ใช้เครื่องมือที่มีความสั่นสะเทือนมีดังนี้

1. เลือกใช้เครื่องมือที่มีระบบป้องกันการสั่นสะเทือน หรือมีความสั่นสะเทือนน้อย

2. ใช้เครื่องมืออย่างถูกวิธีและมีการบำรุงรักษาที่ดีอย่างต่อเนื่อง

3. ใช้ถุงมือป้องกันความสั่นสะเทือน (Antivibration Gloves)

4. มีการสับเปลี่ยนหมุนเวียนงาน ไม่ใช้เครื่องมือที่มีความสั่นสะเทือนในระยะเวลานานเกินไป

5. ขณะทำงานที่ต้องสัมผัสความสั่นสะเทือน ควรจัดให้มีการหยุดพักย่อยเป็นระยะ ครั้งละอย่างน้อย 10 นาที

6. รักษาร่างกายให้อบอุ่น โดนเฉพาะบริเวณมือ เพื่อให้เลือดไหลเวียนได้สะดวก

7. งดการสูบบุหรี่ เพราะมีผลกระทบต่อการไหลเวียนโลหิต


...........................


โรคนิ้วตายจากความสั่นสะเทือน

//www.npc-se.co.th/npc_date/npc_previews.asp?id_head=4&id_sub=19&id=235

โรคนิ้วตายจากความสั่นสะเทือนเป็นโรคที่มีอาการโรคในระยะเริ่มแรกมักจะไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรคจึงเป็นผลให้คนงานยังคงทำงาน ที่มีความสั่นสะเทือนต่อไปและหากยังคงขาดการป้องกัน ี่ดี อาการของโรคจะรุนแรงจนไม่สามารถรักษาให้หายได้ มีงานหลายประเภทที่ คนงานมี ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคนี้สูง ดังนั้นการเรียนรู้เกี่ยวกับโรคและวิธีการป้องกันการเกิดโรคจะช่วยลดอัตราการเกิดโรคนี้ได้


ทำไมถึงเป็นโรคนี้ได้

คนงานที่ทำโดยใช้เครื่องมือที่เกิดความสั่นสะเทือนระทำงานเป็นประจำ ได้แก่ คนงานในอุตสาหกรรมก่อสร้าง งานเหมือง งานตัดไม้อุตสาหกรรมรถยนต์ งานเหมือง งานตัดไม้อุตสาหกรรมรถยนต์ อุตสาหกรรมโลหะ อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น จะมีการใช้เครื่องมือ เช่น เครื่องเลื่อยโซ่ เครื่องเจาะคอน กรีต เครื่องขัดพื้นหิน เครื่องอัดดิน เครื่องย้ำหมุน จะถ่ายทอดมาถึงมือขณะปฏิบัติงาน ทาให้การไหลเวียนของเลือดบริเวณมือไม่สะดวก และยังมีผลต่อ ระบบประสาท ทำให้รู้สึกเหมือนมีเข็มเล็ก ๆ ตำ บริเวณนิ้วมือ ชา ปวด และสีนิ้วจะเริ่มซีด อาการของโรคอาจปรากฏได้หลังจากทำงานที่เกิดการ สั่นสะเทือนเป็นเวลาเพียง 1 ปี เท่านั้น


ผู้ป่วยมีอาการอย่างไรบ้าง

อาการของผู้ป่วยแบ่งได้เป็น 4 ระยะ คือ

    ระยะที่ 1 ผู้ป่วยจะมีอาการชาเป็นครั้งคราว บริเวณปลายนิ้วจะเริ่มซีด ซึ่งอาการของผู้ป่วยระยะนี้จะไม่รบกวนการทำงาน ของผู้ป่วย

    ระยะที่ 2 อาการนิ้วซีดขาว จะเพิ่มมากขึ้น และจะเริ่มมีอาการหลายนิ้ว โดยปกติอาการจะเกิดเมือเริ่มเข้าสู่ฤดูหนาว ผู้ป่วย จะไม่รู้สึกว่ามีอาการ ของโรคขณะทำงานแต่จะรู้สึกเมื่อไม่ได้ทำงาน

    ระยะที่ 3นิ้วผู้ป่วยจะซีดขาวทั้งในฤดูร้อนและฤดูหนาวโดยจะรู้สึกชาและปวดทั้งขณะทำงานและอยู่บ้าน

    ระยะที่ 4 นิ้วของผู้ป่วยจะซีดขาวหมดตลอดเวลา ผู้ป่วยจะรู้สึกถึงอาการชาและเจ็บปวดขณะทำงานจนไม่สามารถปฏิบัติงานใหม่ในที่สุด ในการวิจัยอาการของโรคของผู้ป่วย จะพิจารณาอาการทางประสาท หรืออาการชาที่เกิดขึ้นโดยมิได้กระตุ้นด้วยความสั่นสะเทือน หากผู้ป่วยมีอาการ เกิดขึ้นเฉพาะขณะใช้เครื่องมือสั่นสะเทือนหรือหลังเลิกใช้เท่านั้น ให้วินิจฉัยว่ามิใช่อาการของโรคในฤดูหนาวหรือตอนเช้า ถ้าผู้ป่วยยังคงต้องทำงาน ที่ทำให้เกิดความสั่นสะเทือนต่อไปอีก อาการจะรุนแรงมากขึ้น และจะไม่หายตลอดไป


จะป้องกันกันได้อย่างไร

การป้องกันการเกิดโรคนี้กับคนงาน นายจ้างและลุกจ้างจะต้องร่วมมือกันโดยใช้วิธีการดังนี้

        ในสายงานการผลิตควรใช้วิธีการทางวิศวกรรมเพื่อลดความจำเป็นในการใช้เครื่องมือที่ทำให้เกิดความสั่นสะเทือน เช่น เพิ่มงานควบคุมคุณภาพเหล็กหล่อ เพื่อลดการนำผลิตภัณฑ์มาตกแต่งใหม่อีกครั้งหนึ่ง โดยใช้เครื่องมือที่มีความสั่นสะเทือน เป็นต้น
        ออกแบบเครื่องมือที่มีความสั่นสะเทือนให้สามารถลดความสั่นสะเทือนทีเกิดขึ้นที่มือแขนได้ และเลือกซื้อเครื่องมือที่มี อุปกณ์ลดความสั่นสะเทือนที่เกิดกับผู้ปฏิบัติงานมาใช้
        ตรวจสุขภาพคนงานก่อนให้ทำงานในแผนกที่ใช้เครื่องมือสั่นสะเทือน สอบถามประวัติการทำงาน และเก็บรักษาไว้ตลอด ระยะเวลาจ้างงาน
        ให้คนงานใช้ถุงมือที่สามารถลดความสั่นสะเทือนได้ นอกจากนั้นยังทำให้มืออบอุ่นซึ่งสามารถลดอาการของโรคได้
        กำหนดเวลาพักช่วงสั้น ๆ ระหว่างการทำงาน ให้กับคนงานที่ทำงานใช้เครื่องที่ทำให้เกิดความสั่นสะเทือนตลอดเวลา

ให้การอบรมและคำแนะนำแก่ลูกจ้างที่ปฏิบัติงาน ดังนี้
        ให้ความรู้เกี่ยวกับอาการของโรคที่เกิดจากใช้เครื่องมือที่สั่นสะเทือน
        แนะนำการใช้เครื่องมือต่าง ๆ ว่า ควรใช้ด้วยความระมัดระวังตามคำแนะนำของผู้ผลิต
        ในขณะใช้เครื่องมือ อย่ากำแน่นเกินไป เพราะจะทำให้ความสั่นสะเทือนถ่ายทอดถึงมือผู้ปฏิบัติงานได้มากยิ่งขึ้น
        ในฤดูหนาวผู้ปฏิบัติงานควรสวมใส่เสื้อผ้าที่ทำให้ร่างกายอบอุ่นเป็นปกติ เพราะ ถ้าร่างกายมีอุณหภูมิต่ำการไหลเวียน ของโลหิตไปยังปลายนิ้วมือจะลดลง ทำให้เกิดอาการโรคได้มากขึ้น
        หากเป็นไปได้ ให้ใช้วิธีอื่น ๆ ในการปฏิบัติงานแทนการใช้เครื่องมือที่มีความสั่นสะเทือน

....................................

อันตรายจากความสั่นสะเทือนเฉพาะที่

//www.jorpor.com/DS/Occupational%20Vibration%20Disorders.html   

มักพบในคนงานที่จับถือเครื่องมือที่มีความสั่นสะเทือนสูง เช่น เลื่อยยนต์, เครื่องเจาะ, ถนน, เครื่องเจียรนัย ความผิดปกติจากการใช้อุปกรณ์เหล่านี้รวมเรียกว่า Hand-Arm Vibration Syndrome

Hand-Arm Vibration Syndrome : HAVS เป็นชื่อใหม่ของโรคที่เกิดขึ้นจากความสั่นสะเทือนของมือและแขน ซึ่งได้รับการบัญญัติโดยคณะนักวิทยาศาสตร์ที่เข้าร่วมประชุมนานาชาติที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ในปี ค.ศ.1983 ซึ่งหมายถึงโรคที่ประกอบด้วยกลุ่มอาการ ดังนี้
    มีความผิดปกติของการหมุนเวียนโลหิตที่เกิดจากการหดเกร็งตัวของเส้นเลือดที่นิ้วมือทำให้มีอาการซีด
    มีความผิดปกติของระบบประสาทส่วนปลายทั้งส่วนของประสาทรับรู้และประสาทควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อ ทำให้เกิดอาการชาและการทำงานของนิ้วไม่สัมพันธ์กันขาดความคล่องแคล่ว
    มีความผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อและโครงสร้าง คือ กระดูก ข้อต่อและกล้ามเนื้อผิดปกติ

ลักษณะทางคลีนิก : HAVS เป็นโรคที่แสดงอาการช้าเร็วแตกต่างไปตามปริมาณและระยะเวลาที่สัมผัสกับความสั่นสะเทือน รวมทั้งปัจจัยเกี่ยวกับความไวต่อโรคของผู้ป่วย
การเฝ้าระวังโรค   มีวัตถุประสงค์คือ การป้องกันและลดความเสี่ยงของการเกิดโรคจากการสั่นสะเทือนและเพื่อค้นหาผู้ป่วยก่อนที่จะมีอาการรุนแรงเกิดขึ้น โดยมีหลักเกณฑ์ที่สำคัญ ดังนี้


การตรวจร่างกายแรกเข้า (Preplacement Examination) เพื่อจัดสรรคนที่มีสุขภาพดีมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่ำ องค์ประกอบของการตรวจร่างกายประเภทนี้
ประกอบด้วย

การซักประวัติ
•  ข้อมูลส่วนบุคคล ได้แก่ ชื่อ นามสกุล อายุ เพศ สถานที่เกิด และที่อยู่ปัจจุบัน

•  ประวัติการทำงานที่เกี่ยวข้องกับอุปกรณ์สั่นสะเทือนทั้งในอดีตและปัจจุบัน โดยระบุชื่อสถานประกอบการ แผนกประเภทของอุปกรณ์และระยะเวลาที่ใช้เป็นจำนวนชั่วโมง/สัปดาห์, สัปดาห์/ปีและจำนวนปีที่ทำงาน

•  ประวัติการได้รับสาร

•  การบาดเจ็บ หรือโรคประจำตัว

•  การรักษาในโรงพยาบาลหรือการได้รับการผ่าตัด

•  โรคมะเร็ง

•  อาการปวดหลัง

•  การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์  6 แก้ว ขึ้นไปต่อสัปดาห์

•  การสูบบุหรี่ (ในอดีตและปัจจุบัน)

•  โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง หรือโรคหัวใจขาดเลือด

•  การใช้ยาในปัจจุบัน

•  การแพ้ยา

•  โรคระบบสืบพันธุ์

•  โรคหลอดเลือดส่วนปลาย

•  โรคนิ้วตายจากการสั่นสะเทือน 

•  เคยได้รับอันตรายจากความเย็น (น้ำกัด  หนาวสั่น  อุณหภูมิร่างกายต่ำกว่าปกติ)

•  ท่าเดินเปลี่ยนแปลง การประสานงานของอวัยวะไม่ดี ระบบประสาทผิดปกติ

•  โรคเบาหวาน โรคต่อมไร้ท่อผิดปกติ

•  มีประวัติด้านการทำงาน เกี่ยวกับการได้รับความสั่นสะเทือนที่มือ แขน หรือทั้งตัว


การตรวจสุขภาพโดยแพทย์

•  การตรวจวัดความดันโลหิต ชีพจร การหายใจ

•  ระบบประสาทโดยรอบ (ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ความรู้สึก การตอบสนองต่อสิ่งมากระตุ้น)

•  ระบบกล้ามเนื้อ กระดูกหลัง

•  ระบบหลอดเลือดฝอย

•  ตา


การตรวจต่อเนื่อง (Periodic Examination) เพื่อประเมินความเปลี่ยนแปลงของลักษณะงานและสุขภาพ
ตรวจสอบคุณสมบัติความสั่นสะเทือนของอุปกรณ์ที่ใช้ในงาน





 

Create Date : 26 กรกฎาคม 2559   
Last Update : 26 กรกฎาคม 2559 13:57:00 น.   
Counter : 12372 Pageviews.  

ปวดหลัง .. ก็มีคะแนน ทำเองได้ ง่ายมาก

มีผู้สอบถามว่า คุณแม่ปวดหลังแล้วไปตรวจกับหมอกระดูกและข้อ ในคณะแพทย์แห่งหนึ่ง หมอให้ทำแบบสอบถาม แล้วบอกว่า อาการปวด ปานกลาง .. ยังไม่ต้องผ่าตัด อยากรู้ว่า แบบสอบถามนั้นคืออะไร เชื่อถือได้หรือไม่ ?

ผมตอบไปแล้วคิดว่า น่าจะมีประโยชน์กับท่านอื่น ๆ ด้วย ลองอ่านดูนะครับ

อ้อ .. คำตอบสำหรับคำถาม

๑. น่าจะเป็น " แบบสอบถาม ออสเวสทรี ( Oswestry low back pain disability questionnairea )

๒. เชื่อถือได้ครับ เป็นแบบสอบถามเพื่อประเมินอาการปวดหลังว่ารุนแรงมากน้อยแค่ไหน ซึ่งมีประโยชน์มากในการติดตามผลการรักษา

๓. แบ่งเป็น ๑๐ ข้อหลัก  โดยพิจารณาจาก กิจกรรมที่ทำในชีวิตประจำวัน ในแต่ละข้อหลัก จะมีคำตอบให้เลือก ๖ คำตอบ (คิดคะแนน ตั้งแต่ ศูนย์ ถึง ห้า)

๔. การแปลผล คะแนน
    0 - 20   น้อย
     21 - 40   ปานกลาง 
     41 - 60   มาก
     61 - 80   พิการหรือทุพพลภาพ
81 - 100 นอนอยู่บนเตียง


      ถ้าคะแนนเปลี่ยนแปลงจากการประเมินครั้งก่อน 4 - 10 คะแนนถือว่า มีเป็นการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยยะสำคัญ



ท่านที่มีอาการปวดหลังอยู่ ก็ลองประเมินดูนะครับ ถ้าได้คะแนนเกิน 40 และ ลองดูแลรักษาตนเองแล้ว ไม่ดีขึ้น แนะนำให้ไปพบหมอกระดูกและข้อ ได้เลยครับ



























อ่านเพิ่มเติม ได้ที่ ..

ปวดหลัง
//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=13-06-2008&group=5&gblog=18

ข้อแนะนำเพื่อป้องกันและบรรเทาอาการ ปวดหลัง
//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=13-06-2008&group=5&gblog=17

สาเหตุ ของอาการ ปวดหลัง ที่พบบ่อย
//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=13-06-2008&group=5&gblog=19

กล้ามเนื้อหลัง อักเสบ
//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=24-06-2008&group=5&gblog=23


กระดูกสันหลังอักเสบยึดติด ( AS )
//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=24-06-2008&group=5&gblog=24


ปวดก้นกบ ( Coccyx Pain , coccydynia , coccygodynia )
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=04-01-2010&group=5&gblog=45


หมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาท
//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=24-06-2008&group=5&gblog=22


กระดูกสันหลังเสื่อมกดทับเส้นประสาท
//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=24-06-2008&group=5&gblog=20


กระดูกทับเส้น หมอนรองกระดูกทับเส้น เป็นอย่างไร ???
//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=28-07-2008&group=5&gblog=36


เวบไทยสปาย ดอท คอม (Thaispine.com) ของ นพ.ทายาท บูรณกาล

กระดูกสันหลังเสื่อม ผ่าตัด
//www.thaispine.com/Decision_point.htm


หมอนรองกระดูกส่วนเอวกดทับเส้นประสาท thaispine
//www.thaispine.com/intervertebral_disc.htm


กระดูกทับเส้น หมอนรองกระดูกทับเส้น เป็นอย่างไร ??? Thaispine
//www.thaispine.com/sciatica.htm



เวบของ ผศ.นพ.ธนินนิตย์ ลีรพันธ์
//www.taninnit.com/

ปวดหลัง : ทางเลือก รักษาได้ไม่ผ่าตัด
//taninnit-backpain.blogspot.com/2013/10/blog-post.html

การรักษาด้วยสเตียรอยด์ : คุณประโยชน์ VS ผลข้างเคียง
//taninnit-backpain.blogspot.com/2013/10/vs.html

อาการปวดหลัง และโรคกระดูกพรุน
//taninnit-backpain.blogspot.com/2013_11_01_archive.html



สถาบันกระดูกสันหลังบำรุงราษฎร์ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์

การฉีดยาสเตียรอยด์เข้าโพรงประสาท
//www.bumrungrad.com/th/institute-spine-surgery-thailand/spinal-injection#sthash.Xx6BHtgh.dpbs

การฉีดยาเข้าที่โพรงกระดูกสันหลัง
//www.bumrungrad.com/th/institute-spine-surgery-thailand/spinal-injection#sthash.pbS2xSMm.dpbs

การผ่าตัดโรคกระดูกสันหลังผ่านกล้องเอ็นโดสโคป
//www.bumrungrad.com/th/institute-spine-surgery-thailand/endoscopic-lumbar-discectomy#sthash.5O5EZmhQ.dpbs

การผ่าตัดหมอนรองกระดูกผ่านกล้องเอ็นโดสโคป
//www.bumrungrad.com/th/institute-spine-surgery-thailand/endoscopic-discectomy-for-disc-herniation#sthash.NpOfItxn.dpbs

การผ่าตัดหมอนรองกระดูกสันหลังด้วยกล้องขยาย (Microdiscectomy)  //www.bumrungrad.com/th/institute-spine-surgery-thailand/microdiscectomy#sthash.Dg2AI6vJ.dpbs

การผ่าตัดโรคโพรงประสาทตีบแคบผ่านกล้องเอ็นโดสโคป (Endoscopic decompression)
//www.bumrungrad.com/th/institute-spine-surgery-thailand/endoscopic-decompression-for-spinal-canal-stenosis#sthash.qmuSTqrD.dpbs


การผ่าตัดหมอนรองกระดูกสันหลังด้วยกล้องขยาย (Microdiscectomy) 
//www.bumrungrad.com/th/institute-spine-surgery-thailand/microdiscectomy#sthash.XfFPeNia.dpbs

การผ่าตัดโรคกระดูกสันหลังผ่านกล้องเอ็นโดสโคป
//www.bumrungrad.com/th/institute-spine-surgery-thailand/endoscopic-lumbar-discectomy#sthash.Y4owxYzN.dpbs




 

Create Date : 15 กันยายน 2556   
Last Update : 9 พฤษภาคม 2558 16:35:32 น.   
Counter : 12292 Pageviews.  

ทำไม ... ลูกถึงเดินขาโก่ง ... แบบนั้นละคะคุณหมอ ???


ทำไม ... ลูกถึงเดินขาโก่ง ... แบบนั้นละคะคุณหมอ ???

... เป็นคำถามที่พบบ่อย ๆ จากคุณแม่ โดยเฉพาะคุณแม่มือใหม่ ลูกคนแรก ..

โดยส่วนใหญ่ ก็จะเป็นลักษณะปกติ เป็นพัฒนาการตามธรรมชาติ ซึ่งจะค่อย ๆ ดีขึ้นเอง ..



 



ก่อนอื่น ก็มาดูคำจำกัดความกันก่อน จะได้เข้าใจตรงกัน ..


 



มีงานวิจัย ของต่างประเทศ วัดมุมของเข่า ในเด็กช่วงอายุต่าง ๆ ได้ผลมาดังรูป จะเห็นว่าตอนเด็กเข่าจะโก่งออกมาก แล้วก็ค่อย ๆ ลดลง ..


 
 
"ขาโก่ง (เข่าโก่งออก)" ทารกแรกเกิดจะมีขาโก่ง ประมาณ 15 องศา จะค่อย ๆ ตรงเมื่ออายุ 1.5 – 2 ปี

"ขาฉิ่ง (เข่าโก่งเข้า)” พบในเด็กมีอายุได้ 2-3 ปี เข่าฉิ่ง ประมาณ 10 – 12 องศา เมื่ออายุครบ 6 – 8 ปี ก็จะโก่งน้อยลงเหลือประมาณ 5-6 องศา (เท่ากับผู้ใหญ่) หลังจากอายุ 8 ปี จะไม่ค่อยเปลี่ยนแปลง




เมื่อไหร่ที่ถือว่า ผิดปกติ

1. มีพัฒนาการที่ผิดปกติ เช่น เข่าโก่งเมื่ออายุมากกว่า 2-3 ปี หรือ เข่าฉิ่ง เมื่ออายุมากกว่า 7 ปี

2. มีความผิดปกติเพียงขาข้างเดียว หรือ มีเข่าโก่งมากกว่าอีกข้างอย่างมาก

3. ขาโก่ง (เข่าโก่งออก) มาก เช่น วัดระยะห่างได้มากกว่า 2 นิ้ว หรือ ระยะห่างเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เช่น มากกว่า ½ นิ้วใน 6 เดือน

4. ขาฉิ่ง (เข่าโก่งเข้า) มีมุมมากกว่า 15 องศา ซึ่งจะทำให้ปวดด้านในของเท้า ข้อเข่าอักเสบ และ ท่าทางเดินผิดปกติ

5. มีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น ปวด เดินกะเผลก แขนขาโก่งผิดปกติ


การดัดขา ไม่ได้ประโยชน์ ไม่ช่วยทำให้ขาตรงขึ้น เพราะแรงดัดจะไปที่เส้นเอ็นและกระดูกเด็กยังยืดหยุ่น ขณะดัด ก็เหมือนจะตรงขึ้น แต่พอปล่อยก็กลับมาเหมือนเดิม ...

แต่ถ้าพ่อแม่ปู่ย่าตายาย อยากจะดัด ก็ทำได้ แต่อย่ารุนแรงจนเด็กเจ็บ เนื่องจาก เป็นความเชื่อของผู้สูงอายุ (ปู่ย่าตายาย) ที่พยายามดันขา ดัดเข่า เพื่อให้เด็กขาตรง ซึ่งเป็นความเชื่อที่เปลี่ยนแปลงยากมาก พูดไปก็อาจทำให้เกิดความไม่พอใจ ทะเลาะกันเปล่าๆ .. ถ้าพูดแล้วท่านยังอยากจะทำอยู่ก็ไม่เป็นไร แต่ขอให้ทำเบา ๆ อย่าให้เด็กเจ็บ อย่าให้เด็กร้อง  ( ถ้าเด็กเจ็บเด็กร้องต้องหยุด )

การผ่าตัด เพื่อรักษาขาโก่งขาคด โดยส่วนใหญ่ จะรอให้เด็กอายุประมาณ 10 ปี ยกเว้นในรายที่มีความผิดปกติมาก อาจต้องรีบผ่าตัดเร็วกว่านั้น ..


อ้างอิง

https://emedicine.medscape.com/article/1259772-overview

https://www.orthoseek.com/articles/bowlegs-kk.html

https://www.connecticutchildrens.org/blank.cfm?print=yes&id=893

https://www.childrensortho.com/Page2338.aspx

https://childrensnyp.org/mschony/bowleg-knock-knees.html

https://www.gurgle.com/articles/Guide_To_Baby_/36955/Bow_legs_and_knock_knees_in_babies.aspx

https://www.ucsfchildrenshospital.org/conditions/bow_legs_and_knock_knees/

https://www.columbiaortho.org/children/BowlegandKnockKnees.html

https://www.medical-library.org/journals5a/bowlegs_knock_knees.htm

*************************************

เมื่อไหร่ที่ถือว่า ผิดปกติ (Pathologic Knee alignment)
1. outside the age เช่น Bow legs เมื่ออายุมากกว่า 3 ปี หรือ Knock knees เมื่ออายุมากกว่า 7 ปี
2. the angulation is extreme or asymmetric (only on one-side)
3. Standing inter-condylar distance>6 cm. Standing intermalleolar distance>8 cm. หรือ ระยะห่างเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เช่น มากกว่า 3 ซม.ใน 6 เดือน
4. deformities out of 2 standard deviation , >18mo without signs of gradual resolution
5. มีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น stiff joints, knee pain, walking with a limp, severe intoeing
แนวทางรักษา
Physiologic Knee alignment treatment :
  • สังเกต ติดตามอาการ อาจนัดมาวัดมุม วัดระยะ ทุก 6 เดือน
  • ให้ความรู้ และ ให้ความมั่นใจ กับ พ่อแม่ผู้ปกครอง เพื่อลดความวิตกกังวลและการรักษาที่ไม่เหมาะสม
 
Pathologic Knee alignment treatment :
  1. วิธีไม่ผ่าตัด ( ไม่ได้แก้ปัญหาขาผิดรูป หรือ ป้องกันการผิดรูปเพิ่มมากขึ้น)
  • จำกัดกิจกรรมที่ทำให้เกิดอาการปวด (ถ้าไม่ปวด ทำได้ ไม่ห้าม)
  • ยาบรรเทาอาการ เช่น nonsteroidal anti-inflammatory drugs (NSAIDs)
  • bracing exercise programs and physical therapy เพื่อบรรเทาอาการปวด
 
  1. การผ่าตัด เป็นวิธีเดียวที่แก้ปัญหาขาผิดรูป
  • growth manipulation (hemiepiphysiodesis) ในเด็กหญิง อายุ<12 ปี และในเด็กชาย อายุ<14 ปี
  • corrective osteotomy
ข้อบ่งชี้ในการรักษาด้วยวิธีผ่าตัด เช่น adolescent idiopathic genu valgum , Blount's Disease (abnormal growth plate in the upper tibia) genetic disorders such as Down syndrome, hereditary multiple exostoses, neurofibromatosis, vitamin D–resistant rickets , traumatic injuries cause physeal damage or overgrowth

แถมท้าย ..
  • การอุ้มเด็กแบบอ้าขาเด็กออกเพื่อเหน็บเอว ไม่ทำให้ขาโก่ง และ การดัดขา ก็ไม่ช่วยป้องกันขาโก่ง
  • การดัดขา ไม่ช่วยทำให้ขาตรงขึ้นเพราะแรงดัดจะไปที่เส้นเอ็นและกระดูกเด็กยังยืดหยุ่น ขณะดัดก็เหมือนจะตรงขึ้น เมื่อพอปล่อยก็กลับมาเหมือนเดิม ในกรณีที่พ่อแม่ ไม่อยากให้ดัด แต่ ปู่ย่าตายาย หวังดี อยากจะดัด เพราะเชื่อว่า ขาหลานจะได้ไม่โก่ง ควรให้คำแนะนำว่า ดัดได้ แต่ อย่าทำแรง อย่าให้หลานเจ็บ เนื่องจากเป็นความเชื่อที่เปลี่ยนแปลงยากมาก การห้ามทำเลยก็อาจทำให้เกิดความไม่พอใจ เกิดปัญหาในครอบครัวตามมา
     
แนะนำอ่านเพิ่มเติม
https://emedicine.medscape.com/article/1259772
https://doctorlib.info/pediatric/visual-diagnosis-treatment-pediatrics/46.html
https://www.chortho.com/common-conditions/bowlegs-and-knock-knees
https://www.hkf-ortho.de/en/knee_surgery/rekonstruktion/beinachsen-korrektur/
 


**********************************
 

 


ไม่คิดว่าจะมีใครดัดขาเด็กจนทำให้กระดูกหัก แบบนี้ ..  คงทำแรงมาก  นึกภาพไม่ออกจริง ๆ ว่า แรงขนาดไหน .. สงสารเด็ก T_T
ปกติ ถ้าเป็นพ่อแม่ปู่ย่าตายาย ดัดก็ด้วยความรัก พอเด็กร้องเขาก็จะหยุด ..

ที่มา Drama-addict
https://www.facebook.com/DramaAdd/photos/a.10151331013638291/10156846677888291
 




 

Create Date : 02 กรกฎาคม 2553   
Last Update : 3 กันยายน 2563 15:31:35 น.   
Counter : 20943 Pageviews.  

ข้อสะโพกอักเสบ ชั่วคราว ในเด็ก ( Transient synovitis , toxic synovitis or irritable hip )

 





ข้อสะโพกอักเสบ ชั่วคราว ในเด็ก ( Transient synovitis , toxic synovitis or irritable hip )


พบบ่อยในเด็ก ชาย มากกว่า หญิง

พบบ่อยในช่วงอายุ 3 - 10 ปี




สาเหตุ

ส่วนใหญ่ ไม่ทราบสาเหตุ แต่ อาจพบได้หลังจากเป็นหวัด อุบัติเหตุ




อาการ

เจ็บที่สะโพกหรือ ขาหนีบ มักจะเป็นข้างเดียว และ มักจะเป็นแบบเฉียบพลัน ( 1 – 2 วัน )

เด็กมักจะกินได้ เล่นได้ แต่ เดินกะเผลก หรือ ไม่ยอมเดิน

อาจมีอาการปวดตอนกลางคืน จนต้องตื่นกลางดึก

ไม่มีไข้ หรือ ไข้ต่ำ ๆ




การวินิจฉัย

จาก ประวัติ อาการ และ การตรวจร่างกาย ( ผลเลือด เอกซเรย์ จะปกติ )

การตรวจเลือด หรือ เอกซเรย์ จะทำเมื่อสงสัยว่า เป็นโรคอื่น หรือ รักษาแล้วไม่ดีขึ้น




แนวทางรักษา

นอนพัก หลีกเลี่ยงการลงน้ำหนัก อาจใช้ไม้ค้ำยันช่วยพยุงเดิน

รับประทานยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ หรือ ยาพาราเซตามอน

ในผู้ที่มีอาการปวดมาก อาจต้องนอนพักใน โรงพยาบาล เพื่อใส่อุปกรณ์ดึงถ่วงน้ำหนักที่ขา

ถ้าไม่ได้นอนรักษาในโรงพยาบาล แพทย์จะนัดตรวจซ้ำทุก 1 – 2 วัน เพื่อประเมินอาการ

ถ้ารักษาแล้ว 7 – 10 วัน ไม่ดีขึ้น ควรกลับไปพบแพทย์ เพื่อตรวจซ้ำ

ส่วนใหญ่อาการจะค่อย ๆ ดีขึ้นและหายไปใน 1-2 อาทิตย์

มีโอกาส 0 – 17 % ที่จะกลับมาเป็นซ้ำ ภายใน 6 เดือนหลังจากครั้งแรก




หมายเหตุ

ถ้าเด็กมีอาการปวดมาก ไข้สูง นอนซม ไม่ยอมกิน ไม่ยอมเล่น อาจต้องนึกถึงโรคอื่น เช่น การติดเชื้อแบททีเรียในข้อสะโพก ( septic hip )



อ้างอิง ...

https://familydoctor.org/online/famdocen/home/children/parents/special/bone/181.html

https://www.ejbjs.org/cgi/content/abstract/81/12/1662

https://emedicine.medscape.com/article/1007186-overview

https://www.eorthopod.com/public/patient_education/11087/transient_synovitis_of_the_hip_in_children.html

https://knol.google.com/k/transient-synovitis-a-complete-review#

https://www.arthritis.co.za/hip.html

https://www.patient.co.uk/doctor/Painful-Hips-In-Children.htm

https://www.jucm.com/2007-dec/clinical.shtml



บทความที่เกี่ยวข้อง ..

หัวกระดูกสะโพกตาย จากการขาดเลือด ในเด็ก ( Legg-Calve'-Perthes disease )

https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=20-07-2009&group=5&gblog=44


ปวดขาในเด็ก จากการเจริญเติบโต ( Growing Pain or benign limb pain of childhood )

https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=09-12-2008&group=5&gblog=41

...............................................................

ข้อสะโพกอักเสบ ชั่วคราว ในเด็ก ( Transient synovitis , toxic synovitis or irritable hip )

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=31-03-2021&group=32&gblog=26




.......................................................

ข้อสะโพกติดเชื้อในเด็ก (Septic Arthritis of the Hip in Children)     
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=01-06-2021&group=32&gblog=27



 




 

Create Date : 13 มกราคม 2553   
Last Update : 1 มิถุนายน 2564 16:21:49 น.   
Counter : 13305 Pageviews.  

ปวดก้นกบ ( Coccyx Pain , coccydynia , coccygodynia )







ปวดก้นกบ ( Coccyx Pain , coccydynia , coccygodynia )

พบได้ไม่บ่อย ( น้อยกว่า 1 % )

พบใน ผู้หญิง มากกว่าผู้ชาย 5 เท่า





อาการ

เจ็บบริเวณก้นกบ โดยเฉพาะเวลานั่ง หรือ ขณะกำลังจะลุกขึ้นยืน ( ยืน เดิน นอน จะไม่ค่อยเจ็บ )

เจ็บมากขึ้น เวลานั่งติดต่อกันนาน ๆ หรือ นั่งบนพื้นแข็ง แต่ ถ้านั่งโน้มตัวไปข้างหน้าจะรู้สึกเจ็บน้อยกว่านั่งเอนไปข้างหลัง

โดยส่วนใหญ่จะค่อย ๆ หายไปเอง แต่ถ้ามีอาการเรื้อรัง (นาน 3 – 6 เดือน) มักจะไม่หายเอง



สาเหตุ

การกดเสียดสีบริเวณก้นกบ อุบัติเหตุก้นกระแทก กระดูกหัก นั่งนาน ตั้งครรภ์ คลอดบุตร น้ำหนักมาก

สาเหตุจากบริเวณใกล้เคียง เช่น กล้ามเนื้ออักเสบ กระดูกสันหลังเสื่อม ริดสีดวงทวาร เนื้องอกมดลูกรังไข่ มะเร็ง

แต่โดยส่วนใหญ่ มักจะไม่ทราบสาเหตุ



การวินิจฉัย

ตรวจร่างกาย มีจุดกดเจ็บชัดเจน บางครั้งอาจต้องตรวจทางทวารหนัก หรือ ตรวจภายใน ร่วมด้วย

เอกซเรย์ โดยเฉพาะผู้ที่เคยมีอุบัติเหตุ ในบางรายอาจต้องตรวจ เอกซเรยคอมพิวเตอร์ (CT) หรือ เอกซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) ร่วมด้วย


การรักษา

ปรับท่านั่ง เก้าอี้ เบาะรองนั่งรูปโดนัท (donut-shaped pillow or a gel cushion)

หลีกเลี่ยงท่าทางหรือกิจกรรม ที่ทำให้ปวดมากขึ้น หรือ มีแรงกระแทกโดยตรง เช่น นั่งนาน ขี่จักรยาน ขี่ม้า

บริหารกล้ามเนื้อ กายภาพบำบัด แช่น้ำอุ่น

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=25-07-2008&group=11&gblog=3


ยาต้านการอักเสบ ยาคลายกล้ามเนื้อ

ฉีดยา สเตอรอยด์ เฉพาะที่ (โดยเฉพาะในผู้ที่รักษา ๒ เดือนแต่ไม่ดีขึ้น ) ได้ผลดีประมาณ 60%

ผ่าตัด ตัดกระดูกก้นกบออก ได้ผลดี 50 - 80% โดยเฉพาะในผู้ที่มีประวัติอุบัติเหตุ มีกระดูกแตก แต่มีผลข้างเคียงสูงโดยเฉพาะแผลติดเชื้อ หรือ กลั้นอุจจาระไม่ได้





แหล่งอ้างอิง ...

//emedicine.medscape.com/article/309486-overview

//emedicine.medscape.com/article/1264763-overview

//www.aurorahealthcare.org/yourhealth/healthgate/getcontent.asp?URLhealthgate=%22445932.html%22

//www.scielo.br/scielo.php?script=sci_arttext&pid=S1413-78522002000400004

www.TailboneDoctor.com

...............................

ปวดหลัง

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=13-06-2008&group=5&gblog=18

สาเหตุ ของอาการ ปวดหลังที่พบบ่อย

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=13-06-2008&group=5&gblog=19

กระดูกสันหลังเสื่อม

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=24-06-2008&group=5&gblog=20

กล้ามเนื้อหลัง อักเสบ

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=24-06-2008&group=5&gblog=23

หมอนรองกระดูกส่วนเอวกดทับเส้นประสาท

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=24-06-2008&group=5&gblog=22

หมอนรองกระดูกส่วนเอวกดทับเส้นประสาทthaispine

//www.thaispine.com/intervertebral_disc.htm

ข้อแนะนำเพื่อป้องกันและบรรเทาอาการปวดหลัง

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=13-06-2008&group=5&gblog=17

กระดูกทับเส้นหมอนรองกระดูกทับเส้น เป็นอย่างไร ???

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=28-07-2008&group=5&gblog=36

กระดูกทับเส้นหมอนรองกระดูกทับเส้น เป็นอย่างไร ??? Thaispine

//www.thaispine.com/sciatica.htm

กระดูกสันหลัง ฉีดยาบล๊อคเส้นประสาท

//www.thaispine.com/SNRB.htm

กระดูกสันหลัง ฉีดยาสเตียรอยด์

//taninnit-backpain.blogspot.com/2013/10/vs.html

กระดูกสันหลัง ผ่าตัด

//www.thaispine.com/Decision_point.htm

กระดูกสันหลัง ผ่าตัดคำถามก่อนผ่า

https://www.bangkokhospital.com/th/centers-and-clinics/dlif/pre-spinal-surgery

กระดูกสันหลัง ผ่าตัดคำถามหลังผ่า

https://www.bangkokhospital.com/th/centers-and-clinics/dlif/pre-and-post-after-spinal-surgery

กระดูกสันหลังคด เวบไทยสปาย

//www.thaispine.com/Dent-scoliosis.html

กระดูกสันหลังคด เวบหาหมอ

//haamor.com/th/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%94%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%94/

ปวดก้นกบ ( CoccyxPain , coccydynia , coccygodynia )

//www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=04-01-2010&group=5&gblog=45

กระดูกสันหลังอักเสบยึดติด ( AS)

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=24-06-2008&group=5&gblog=24

ปวดหลัง .. ก็มีคะแนน ทำเองได้ง่ายมาก

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=15-09-2013&group=5&gblog=48

เข็มขัดรัดหลัง :จำเป็นหรือไม่ในคนทำงาน? นักเขียนหมอชาวบ้าน: ผศ.ดร.วรรธนะ ชลายนเดชะ

//www.doctor.or.th/article/detail/1289






 

Create Date : 04 มกราคม 2553   
Last Update : 9 พฤษภาคม 2558 16:25:51 น.   
Counter : 53960 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]