Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

ปลอกหุ้มเอ็นนิ้วหัวแม่มืออักเสบ (โรคเดอ เกอร์แวง , De Quervain's Disease)







ปลอกหุ้มเอ็นนิ้วหัวแม่มืออักเสบ
(โรคเดอ เกอร์แวง , De Quervain's Disease)

เป็นกลุ่มอาการที่เกิดจาก การอักเสบของปลอกหุ้มเส้นเอ็นนิ้วหัวแม่มือ บริเวณข้อมือ (โคนนิ้วหัวแม่มือ) ทำให้เกิดอาการบวม อาการปวด และ อาจมีการหนาตัวของเส้นเอ็น ซึ่งยังไม่ทราบสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคนี้

ผู้หญิงพบบ่อยกว่าผู้ชายประมาณ 3 - 5 เท่า มักพบในผู้หญิงช่วงอายุ 30 - 50 ปี

มักพบในคนที่ต้องใช้นิ้วหัวแม่มือบ่อย ๆ ในท่า กางนิ้วหัวแม่มือออกทางด้านข้างและกระดกขึ้น หรือ ในบางรายอาจพบว่าเคยมีการบาดเจ็บในตำแหน่งนี้มาก่อน บางครั้งก็พบได้ในช่วงใกล้คลอด หรือ หลังคลอดบุตร

อาจพบได้ในผู้ที่เป็นโรคบางอย่าง เช่น โรครูมาตอยด์ โรคเกาต์ หรือ เบาหวาน

ผู้ป่วยจะมีอาการปวดและบวมบริเวณข้อมือด้านนิ้วหัวแม่มือ จะปวดมากขึ้นเมื่อมีการเคลื่อนไหวนิ้วหัวแม่มือ เช่น เวลาเหยียดและงอนิ้วหัวแม่มือเต็มที่ บิดเสื้อผ้า ยกขันน้ำ กวาดพื้น อุ้มลูก เป็นต้น

ในผู้ป่วยบางคนอาจคลำได้ก้อนถุงน้ำบริเวณข้อมือด้วย (ก้อนถุงน้ำ บางครั้งอาจจะแข็งคล้ายกระดูก)

แพทย์สามารถวินิจฉัยโรคนี้ได้จากการซักประวัติ และ การตรวจร่างกาย โดยไม่จำเป็นต้องเอ็กซเรย์



แนวทางรักษา

1. วิธีไม่ผ่าตัด

ผลการรักษาค่อนข้างดี ในผู้ป่วยที่เริ่มเป็น มีโอกาสหายประมาณ 70 – 80 % ซึ่งมีแนวทางรักษาคือ

o หลีกเลี่ยงการทำงานที่ต้องเคลื่อนไหวนิ้วหัวแม่มือ ในท่า กางนิ้วออกหรือ กระดกนิ้วขึ้น

o ถ้าปวดมากอาจใช้ผ้ายืดพัน ใส่อุปกรณ์พยุงนิ้วหัวแม่มือ หรือ ใส่เฝือกชั่วคราว

o ประคบด้วยความร้อน หรือ ใช้ยานวดบรรเทาอาการปวด

o รับประทานยาบรรเทาอาการปวดลดการอักเสบ ยาคลายกล้ามเนื้อ

o ฉีดยาสเตียรอยด์เฉพาะที่ บริเวณจุดที่กดเจ็บมากที่สุด เพื่อลดอาการอักเสบของเส้นเอ็น

ผู้ป่วยมักมีอาการดีขึ้นชั่วคราว (ประมาณ 3 - 6 เดือน) อาจกลับมาเป็นซ้ำได้

ถ้าฉีดยาครั้งแรกแล้วอาการไม่ดีขึ้น อาจจะฉีดซ้ำได้อีก 1-2 ครั้ง แล้วถ้าอาการยังไม่ดีขึ้นก็ควรรักษาด้วยการผ่าตัดจะได้ผลดีกว่าที่จะฉีดยาซ้ำ เพราะการฉีดยาซ้ำบ่อย ๆ นอกจากอาการมักจะไม่ค่อยดีขึ้นแล้ว ยังอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนมากขึ้น เช่น เส้นเอ็นขาด หรือ ผิวหนังมีรอยด่างขาว เป็นต้น


2. วิธีผ่าตัด

ผลของการรักษาด้วยวิธีผ่าตัด ได้ผลค่อนข้างดี แต่ถ้ายังไม่จำเป็นก็ไม่ควรจะผ่าตัด

o ข้อบ่งชี้สำหรับการผ่าตัด เช่น มีอาการปวดมาก ฉีดยาสเตียรอยด์ 2 ครั้งใน 1 เดือน แต่อาการไม่ดีขึ้น เป็นต้น

o วิธีผ่าตัด แพทย์จะฉีดยาชาเฉพาะที่ ใช้ยางยืดรัดแขนเพื่อห้ามเลือดแล้วทาน้ำยาฆ่าเชื้อ เมื่อเสร็จแล้วจึงใช้ ผ้าสะอาดคลุมบริเวณข้อมือ ใช้มีดกรีดแยกเยื่อหุ้มเอ็นที่บีบรัดเส้นเอ็นอยู่ให้แยกจากกัน หลังจากนั้นก็จะเย็บแผล ใช้เวลาผ่าตัดประมาณ 10 – 15 นาที ก็กลับบ้านได้ โดยไม่จำเป็นต้องพักในโรงพยาบาล

o หลังผ่าตัดทำแผลวันละครั้ง ตัดไหมหลังผ่าตัด 7-10 วัน แพทย์จะนัดมาตรวจทุก 1 – 2 สัปดาห์ในระยะแรก

o ภาวะแทรกซ้อน ที่พบได้ เช่น

มีอาการเจ็บบริเวณผ่าตัด หรือ กลับมาเป็นซ้ำ เนื่องจากมีพังผืดเกิดขึ้นมาใหม่หลังผ่าตัด

เกิดแผลเป็นแบบนูน ( คีลอยด์ )

มีโอกาสเกิดอันตรายต่อเส้นประสาทที่มาเลี้ยงผิวหนัง ทำให้มีอาการชา หรือ ปวดแสบปวดร้อน

เส้นเอ็นบริเวณโคนนิ้วหัวแม่มือ ( ข้อมือ) นูนขึ้นเวลากระดกนิ้วหัวแม่มือ





อาการปวดกล้ามเนื้อ ปัญหาสุขภาพจากการใช้ Smartphone ... โดยภัทริยา อินทร์โท่โล่ และคณะ //www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=17-04-2017&group=5&gblog=51

ออฟฟิศซินโดรม (office syndrome) .. นำมาฝาก //www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=17-08-2017&group=5&gblog=53

ปวดคอ //www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=26-06-2008&group=5&gblog=26

ปวดไหล่ //www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=26-06-2008&group=5&gblog=25

ปวดหลัง //www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=13-06-2008&group=5&gblog=18

เส้นเอ็นอักเสบแบบนิ้วไกปืน (โรคทริกเกอร์ฟิงเกอร์ ,TriggerFinger) //www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=16-07-2008&group=5&gblog=29

กลุ่มอาการ เส้นประสาทถูกกดทับที่ข้อมือ(ผังผืดทับเส้นประสาท) //www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=15-07-2008&group=5&gblog=28

ปลอกหุ้มเอ็นนิ้วหัวแม่มืออักเสบ (โรคเดอเกอร์แวง , De Quervain'sDisease) //www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=16-07-2008&group=5&gblog=30

เส้นเอ็นข้อศอกอักเสบ //www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=22-07-2008&group=5&gblog=32





Create Date : 16 กรกฎาคม 2551
Last Update : 17 สิงหาคม 2560 23:40:10 น. 3 comments
Counter : 56391 Pageviews.  

 
เคยโดนลูกแชร์บอลกระแทกนิ้วโป้ง
แล้วนิ้วก็แอ่นไปด้านหลังหน่ะค่ะ
นิ้วบวมๆแต่ก็ยังขยับได้หมอก็ให้ใส่เข้าเฝือกอ่อนอยู่ 2 อาทิตย์ค่ะ
พอหายแล้วก็รู้สึกว่าโคนนิ้วโป้งมันขยับเคลื่อนได้หน่ะค่ะ
แล้วก็ออกแรงได้ไม่เหมือนเดิม
หมอเคยเตือนว่า อีกหน่อยอาจเกิดพังผืดทำให้ปวดได้ สงสัยจะเป็นโรคนี้แน่เลย...
ขอบคุณมากค่ะที่นำความรู้มาฝากกัน...


โดย: The bitter sweet person วันที่: 2 มีนาคม 2552 เวลา:15:18:28 น.  

 
เหมือนแม่จะเป็นอยู่เลยค่ะ จากอาการที่เล่าให้ฟัง

ฉีดยาแล้วไม่หาย (ไม่ทราบว่าหนอฉีดยาอะไรนะคะ)

แล้วถ้าผ่าตัดนี่ ทำไมโรคแทรซ้อนเยอะจังเลยคะ

จะหายขาดได้หรือเปล่า


ขอบคุณค่ะ


โดย: pao9law9 วันที่: 27 สิงหาคม 2552 เวลา:14:16:26 น.  

 
เป็นมาตั้งหลายเดือนแล้วค่ะ ยังไม่หายเจ็บเลย เจ็บเพราะตีแบดใช้ข้อมือมากไป
มันแย่มากเลย เพราะเวลาเขียนหนังสือก็เจ็บ แถมทำงานต้องใช้คอม
คลิกเมาท์ตลอด มันเหมือนจะไม่ค่อยได้ใช้ข้อมือมาก แต่มันยิ่งทำให้หายช้าขึ้นอ่ะ
ไม่รู้เข้าใจไปเองรึเปล่า เพราะเคยได้ยินว่า บางคนมีอาการนี้เพราะใช้คอมมากเกินไปด้วย
บางทีพลาดไม่ระวังตัวพับข้อมือเร็วไป ก็เจ็บมากๆเลย แง๊ๆๆๆ เมื่อไรจะหายซะที


โดย: PusZehCat วันที่: 1 กันยายน 2552 เวลา:11:03:06 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]