Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

หมอนรองกระดูกส่วนเอวกดทับเส้นประสาท

หมอนรองกระดูกส่วนเอวกดทับเส้นประสาท

แนวทางการวินิจฉัย

โดยส่วนใหญ่แล้วอาการปวดหลังมักไม่ได้เกิดจากสาเหตุที่ร้ายแรง ซึ่งแพทย์สามารถให้การวินิจฉัยจากประวัติ และการตรวจร่างกาย เท่านั้น ก็สามารถให้การรักษาได้เลย โดยไม่จำเป็นต้องเอ๊กซเรย์กระดูกสันหลัง

แต่ถ้าอาการปวดเป็นมากขึ้น หรือ หลังจากให้การรักษาแล้วไม่ดีขึ้น ก็อาจจำเป็นต้องถ่ายภาพรังสี (เอ๊กซเรย์) ซึ่งการถ่ายภาพรังสีแบบปกติจะเห็นเฉพาะกระดูกเท่านั้น ไม่เห็นเนื้อเยื่อ เช่น กล้ามเนื้อ หรือ หมอนรองกระดูก ในบางกรณีจึงอาจต้องเอ๊กซเรย์คอมพิวเตอร์ ( ซีที ) เอ๊กซเรย์แม่เหล็กไฟฟ้า (เอ็มอาร์ไอ) หรือ ฉีดสีเข้าในไขสันหลัง



อาการ และอาการแสดง

หมอนรองกระดูก จะทำให้เกิดความยืดหยุ่น และรับแรงกระแทกของกระดูกสันหลัง ทำให้หลังมั่นคงแข็งแรง แต่ เมื่ออายุมากขึ้น ส่วนประกอบที่เป็นน้ำภายในหมอนรองกระดูกจะลดลง ทำให้ความแข็งแรงและความยืดหยุ่นลดลง

ถ้ามีแรงมากระทำต่อหมอนรองกระดูกในลักษณะเฉียง ๆ เช่น ก้มหลังยกของหนัก หรือ ยกของแล้วเอี้ยวตัว เป็นต้น ก็จะทำให้หมอนรองกระดูกแตกออก ทำให้เกิดปวดหลัง หลังแข็ง ก้มหลังหรือเอี้ยวตัวไม่ได้

ถ้าหมอนรองกระดูกที่แตกออกมาไปกดทับเส้นประสาท ก็จะมีอาการปวดหลัง ร่วมกับมีอาการปวดร้าวไปที่ขา ขาชา หรือ ขาอ่อนแรง ร่วมด้วย

อ่านต่อเรื่อง การกดทับเส้นประสาท ได้ที หน้านี้นะครับ ทำเพิ่มเติม มีภาพให้ดูด้วยว่า เป็นอย่างไร ..
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=28-07-2008&group=5&gblog=36



แนวทางการรักษาด้วยวิธีไม่ผ่าตัด

ผู้ป่วยโดยส่วนใหญ่จะดีขึ้นจากวิธีรักษาแบบไม่ต้องผ่าตัด มีเพียงส่วนน้อยที่เป็นมากจนต้องรักษาด้วยวิธีผ่าตัด การรักษาด้วยวิธีไม่ผ่าตัดมักจะต้องใช้เวลาค่อนข้างนานกว่าจะดีขึ้น ( เฉลี่ย 6 เดือน – 2 ปี )

มีแนวทางการรักษาคือ

ลดน้ำหนัก งดเหล้า งดบุหรี่ ปรับเปลี่ยนท่าทางในการดำเนินชีวิตประจำวันให้เหมาะสม

ควรหยุดพักการใช้หลัง ในขณะที่มีอาการปวดมาก เช่น หลีกเลี่ยงการยกของหนัก หรือ นอนพักในท่าที่สบาย แต่ไม่ควรนอนพักนานเกินกว่า 2–3 วัน เพราะจะทำให้กล้ามเนื้อลีบ กล้ามเนื้ออ่อนแรง เกิดพังผืด ทำให้กลายเป็นปวดหลังเรื้อรังได้มากขึ้น และหายช้ากว่าปกติ ยิ่งกลับมาดำเนินชีวิตประจำวันได้เร็วเท่าไร อาการปวดหลังก็จะดีขึ้นเร็วเท่านั้น

ประคบบริเวณที่ปวดด้วยน้ำแข็งหรือน้ำอุ่น โดยใช้น้ำแข็งใส่ในถุงพลาสติกแล้วห่อด้วยผ้า หรือ ใช้ผ้าขนหนูชุบน้ำอุ่น ประคบประมาณ 10 - 15 นาที หรือ อาจจะประคบด้วยความร้อน 4 นาที สลับกับความเย็น 1 นาที ก็ได้
อาจใช้ครีมนวดแก้ปวด ร่วมด้วยได้แต่ต้องระวังอย่านวดแรงเพราะจะทำให้กล้ามเนื้อฟกช้ำมากขึ้น

รับประทานยาบรรเทาอาการปวด เช่น ยาพาราเซตามอล ยาแก้ปวดลดอาการอักเสบ ยาคลายกล้ามเนื้อ

ทำกายภาพบำบัด เพื่อบรรเทาอาการปวด เช่น ดึงหลัง อบหลังโดยใช้ความร้อนลึก(อัลตร้าซาวน์) หรือ ใส่เฝือกอ่อนพยุงหลัง (เครื่องรัดหลัง) การบริหารกล้ามเนื้อหน้าท้องและกล้ามเนื้อหลังให้แข็งแรง เป็นต้น


แนวทางการรักษาด้วยวิธีผ่าตัด

การผ่าตัดถือว่าเป็นวิธีรักษาวิธีสุดท้าย ซึ่งจะผ่าตัดเมื่อมีข้อบ่งชี้ที่ชัดเจน เช่น ปวดมากและรักษาด้วยวิธีไม่ผ่าตัดแล้วไม่ดีขึ้น หรือ มีการกดทับเส้นประสาททำให้ไม่สามารถกลั้นอุจจาระ ปัสสาวะ เป็นต้น

ถ้าไม่จำเป็นจริง ๆ ไม่ควรผ่าตัด เพราะ ผลผ่าตัดจะดีมากในช่วงแรก ( ได้ผลดีขึ้นประมาณ 80 - 90 % ) แต่ หลังจากผ่าตัดไปแล้วหลาย ๆ ปี อาจจะเกิดอาการปวดหลังซ้ำจากกระดูกเสื่อม หรือกระดูกสันหลังเลื่อน ซึ่งการรักษาจะยากมากขึ้น และ ผลของการรักษามักจะไม่ค่อยดีมากนัก




วิธีดูแลตนเอง วิธีบริหาร ..

https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=13-06-2008&group=5&gblog=17




กลุ่มอาการกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท ( พิริฟอร์มิสซินโดรม,Piriformis Syndrome)

https://www.pobpad.com/piriformis-syndrome-กลุ่มอาการกล้ามเนื้
https://supachokclinic.com/piriformis-syndrome/
https://drsant.com/2014/11/piriformis-syndrome.html
https://www.facebook.com/216848761792023/photos/a.1473381102805443/1572913409518878/

...............................

ปวดหลัง

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=13-06-2008&group=5&gblog=18

สาเหตุ ของอาการ ปวดหลังที่พบบ่อย

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=13-06-2008&group=5&gblog=19

กระดูกสันหลังเสื่อม

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=24-06-2008&group=5&gblog=20

กล้ามเนื้อหลัง อักเสบ

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=24-06-2008&group=5&gblog=23

 

หมอนรองกระดูกส่วนเอวกดทับเส้นประสาท

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=24-06-2008&group=5&gblog=22

หมอนรองกระดูกส่วนเอวกดทับเส้นประสาทthaispine

https://www.thaispine.com/intervertebral_disc.htm

ข้อแนะนำเพื่อป้องกันและบรรเทาอาการปวดหลัง

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=13-06-2008&group=5&gblog=17

 

กระดูกทับเส้นหมอนรองกระดูกทับเส้น เป็นอย่างไร ???

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=28-07-2008&group=5&gblog=36

กระดูกทับเส้นหมอนรองกระดูกทับเส้น เป็นอย่างไร ??? Thaispine

https://www.thaispine.com/sciatica.htm

กระดูกสันหลัง ฉีดยาบล๊อคเส้นประสาท

https://www.thaispine.com/SNRB.htm

กระดูกสันหลัง ฉีดยาสเตียรอยด์

https://taninnit-backpain.blogspot.com/2013/10/vs.html

กระดูกสันหลัง ผ่าตัด

https://www.thaispine.com/Decision_point.htm

กระดูกสันหลัง ผ่าตัดคำถามก่อนผ่า

https://www.bangkokhospital.com/th/centers-and-clinics/dlif/pre-spinal-surgery

กระดูกสันหลัง ผ่าตัดคำถามหลังผ่า

https://www.bangkokhospital.com/th/centers-and-clinics/dlif/pre-and-post-after-spinal-surgery

กระดูกสันหลังคด เวบไทยสปาย

https://www.thaispine.com/Dent-scoliosis.html

กระดูกสันหลังคด เวบหาหมอ

https://haamor.com/th/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%94%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%94/

ปวดก้นกบ ( CoccyxPain , coccydynia , coccygodynia )

https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=04-01-2010&group=5&gblog=45

กระดูกสันหลังอักเสบยึดติด ( AS)

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=24-06-2008&group=5&gblog=24

ปวดหลัง .. ก็มีคะแนน ทำเองได้ง่ายมาก

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=15-09-2013&group=5&gblog=48

เข็มขัดรัดหลัง :จำเป็นหรือไม่ในคนทำงาน? นักเขียนหมอชาวบ้าน: ผศ.ดร.วรรธนะ ชลายนเดชะ

https://www.doctor.or.th/article/detail/1289

 

 


""""""""""""""""""""""""""""""""""""""
 แถม จากเวบ หมอชาวบ้าน ..
 

หมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อน


ข้อมูลสื่อ
นิตยสารหมอชาวบ้าน 184
สิงหาคม 2537
แนะยา-แจงโรค
รศ.นพ.สุรเกียรติ อาชานานุภาพ

หมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อน

https://www.doctor.or.th/article/detail/3626


 

ข้อน่ารู้
1. สันหลังของคนเราประกอบด้วยกระดูกสันหลังชิ้นย่อยๆกว่า 30 ชิ้นเรียงต่อกันเป็นแนวยาวจากต้นคอจรดก้นกบ โดยมีแผ่นเนื้อเยื่อที่เรียกว่า “หมอนรองกระดูกสันหลัง” (intervertebral disc) คั่นกลางรอยต่อระหว่างกระดูกสันหลังแต่ละคู่ หมอนรองกระดูกนี้มีลักษณะยืดหยุ่นเพื่อช่วยให้สันหลังเคลื่อนไหวได้บ้าง มิใช่แข็งทื่อเหมือนท่อไม้


ภายในโพรงของกระดูกสันหลัง จะมีไขสันหลังบรรจุอยู่และมีเส้นประสาทแยกแขนงจากไขสันหลังไปยังส่วนต่างๆของร่างกาย เส้นประสาทส่วนต้นสุดที่แยกแขนงออกมาจากไขสันหลัง เรียกว่า “รากประสาท” ซึ่งอยู่ชิดกับหมอนรองกระดูก
บางคนอาจมีการเคลื่อนตัวของหมอนรองกระดูกไปรบกวนหรือกดทับถูกรากปะสารทดังกล่าว ทำให้เกิดอาการผิดปกติ เรียกว่า “โรคหมอนรองกระดูกคลื่อน” (herniated disc) บ้างก็เรียกว่า “โรคประสาทถูกกด”

2. โรคนี้มักพบในคนอายุ 20-40 ปี พบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิงประมาณ 2 เท่า มักเกิดกับคนที่ได้รับบาดเจ็บ หรือมีแรงกระเทือนที่บริเวณหลัง หรือคนที่แบกของหนัก หรือมีอิริยาบถที่ไม่ถูกต้อง เป็นเหตุให้มีการเคลื่อนตัวของหมอนรองกระดูก

3. ตำแหน่งที่พบบ่อยก็คือ หมอนรองกระดูกสันหลังบริเวณกระเบนเหน็บ หรือระดับบั้นเอว ทำให้มีการกดทับถูกเส้นประสาทที่ไปเลี้ยงบริเวณน่องและปลายเท้า ทำให้มีอาการปวดร้าวจากแก้มก้นลงไปที่น่องหรือปลายเท้า ร่วมกับอาการปวดหลัง

4. โรคนี้นอกจากทำให้เกิดอาการเจ็บปวดน่าทรมานแล้ว หากปล่อยไว้นานๆก็อาจทำให้กล้ามเนื้อขาอ่อนแรงได้ ดังนั้นหากมีอาการน่าสงสัย ก็ควรปรึกษาแพทย์เสียแต่เนิ่นๆ



รู้ได้อย่างไรว่าไม่ได้เป็นอื่น

คนที่เป็นโรคหมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อน มักจะมีอาการปวดหลังตรงระดับบั้นเอวหรือกระเบนเหน็บร่วมกับอาการปวดร้าวลงขา (จากแก้มก้นลงไปที่น่องหรือปลายเท้า) ข้างใดข้างหนึ่งร่วมด้วย อาจมีประวัติว่ายกของแล้วปวดขึ้นฉับพลันทันที มักปวดมากเวลาก้มหรือนั่งหรือเวลาไอ จาม หรือเบ่งถ่าย หากปล่อยทิ้งไว้นานๆ อาจมีอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อขาตามมาได้


สาเหตุอื่นที่อาจทำให้เกิดอาการคล้ายกันได้ เช่น

1. โรคปวดกล้ามเนื้อหลัง เกิดจากการนั่ง นอน หรือยกของผิดท่าทำให้ปวดยอกกล้ามเนื้อหลัง โดยที่ไม่มีอาการปวดร้าวลงขาร่วมด้วย การนวดหรือประคบด้วยความร้อนจะช่วยให้ทุเลา

2. กระดูกสันหลังเสื่อม พบในผู้สูงอายุ จะมีอาการปวดหลัง ก้มหรือเอี้ยวตัวลำบาก อาจมีอาการปวดขัดในข้อเข่าร่วมด้วย ในรายที่หมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อมและเคลื่อนไปกดทับถูกรากประสาท ก็อาจมีอาการปวดร้าวลงขาร่วมด้วย

3. เนื้องอกของไขสันหลัง จะมีอาการปวดหลังและปวดร้าวลงขาแบบเดียวกับหมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อน แต่จะพบในคนอายุมากกว่า 40 ปี อาการปวดจะเป็นเรื้อรัง แล้วต่อมาจะมีอาการอ่อนแรงของแขนขา ซึ่งจะค่อยๆเป็นมากขึ้นเรื่อยๆจนกระทั่งเป็นอัมพาต บางคนอาจมีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลดร่วมด้วย

เมื่อไรควรไปพบแพทย์

ผู้ที่มีอาการปวดหลัง ควรไปพบแพทย์โดยเร็วเมื่อมีอาการ
1. ปวดร้าวลงขาข้างใดข้างหนึ่งร่วมด้วย
2. เบื่ออาหาร น้ำหนักลด
3. ปวดหลังนานเกิน 2 สัปดาห์ หรือเป็นๆหายๆเรื้อรัง

แพทย์จะทำอะไร

แพทย์อาจทดสอบโดยการให้คนไข้เหยียดขาตรงตั้งฉาก ถ้าหากมีการกดทับถูกรากประสาทจริง คนไข้จะไม่สามารถทำได้
นอกจากนี้แพทย์อาจต้องตรวจเอกซเรย์กระดูกสันหลัง หรือตรวจพิเศษอื่นๆ ถ้าเป็นโรคหมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อนไม่รุนแรง อาจรักษาด้วยการให้คนไข้นอนพักบนที่นอนแข็งตลอดวัน ประมาณ 1 สัปดาห์ อาจให้ยาแก้ปวดพาราเซตามอล ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สตีรอยด์ ซึ่งใช้รักษาอาการข้ออักเสบ(ยานี้อาจทำให้เกิดโรคกระเพาะอักเสบหรือเป็นแผลได้) ยาคลายกล้ามเนื้อ
ถ้าหากไม่ได้ผลอาจต้องรักษาด้วยวิธีกายภาพบำบัด เช่น การนวด การดึงหรือถ่วงที่เชิงกราน การกระตุ้นปลายประสาทด้วยไฟฟ้า เป็นต้น



ถ้าหากทำทุกวิธีแล้วยังไม่ทุเลา อาจต้องรักษาด้วยการผ่าตัดแก้ไข ซึ่งมักจะได้ผลดี

โดยสรุป อาการปวดหลังส่วนใหญ่เกิดจากโรคปวดกล้ามเนื้อหลังและกระดูกสันหลังเสื่อมเป็นส่วนใหญ่ แต่ถ้ามีอาการปวดร้าวลงขาร่วมด้วยก็พึงสงสัยว่าอาจเกิดจากหมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อน การรักษาอย่างถูกต้องเสียแต่เนิ่นๆ และการดูแลตนเองอย่างจริงจังจะช่วยให้หายขาดได้

การดูแลรักษาตนเอง
ทุกครั้งที่มีอาการปวดหลัง จะต้องสังเกตว่ามีอาการปวดร้าวลงมาที่ขาข้างใดข้างหนึ่งร่วมด้วยหรือไม่
ถ้าไม่มี ก็อาจเกิดจากโรคปวดกล้ามเนื้อหลัง (สำหรับคนอายุน้อย) หรือกระดูกสันหลังเสื่อม (สำหรับผู้สูงอายุ) ควรดูแลรักษาตนเองดังนี้
1. หลีกเลี่ยงอิริยาบถที่ทำให้ปวดหลัง เช่น การก้มลงยกของ การอุ้มเด็กหรือแบกของหนัก การนอนบนที่นอนนุ่มเกินไป การนั่งหรือยืนตัวงอ ตัวเอียง หรือการใส่รองเท้าส้นสูง เป็นต้น
2. ถ้ายังไม่ทุเลาให้ใช้ยาหม่อง หรือน้ำมันระกำทานวดหรือประคบด้วยน้ำร้อน หรือใช้นิ้วมือคลึงนวด
3. ถ้ายังไม่หายให้กินยาแก้ปวดพาราเซตามอล ครั้งละ 1-2 เม็ด ซ้ำได้ทุก 6 ชั่วโมง
4. ถ้ามีอาการนานเกิน 2 สัปดาห์ หรือเป็นๆหายๆเรื้อรัง ควรปรึกษาแพทย์


แต่ถ้ามีอาการปวดร้าวลงมาที่ขาร่วมด้วย ก็ควรจะรีบปรึกษาแพทย์ ถ้าหากแพทย์ตรวจพบว่าเป็นหมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อน นอกจากรับการรักษาจากแพทย์ (เช่น กินยา ทำกายภาพบำบัด) แล้ว ก็ควรปฏิบัติตัวดังนี้
1. นอนพักบนที่นอนแข็งหรือบนพื้นแข็ง โดยเฉพาะในระยะที่มีอาการมาก ควรนอนพักตลอดวัน(ลุกเฉพาะช่วงกินอาหารและเข้าห้องน้ำ) สัก 2-3 วัน การนอนจะลดแรงกดดันที่มีต่อหมอนรองกระดูกให้เหลือน้อยที่สุด (การนั่งจะมีแรงกดดันมากที่สุด)
2. หลีกเลี่ยงอิริยาบถที่ทำให้ปวดหลัง
3. เมื่ออาการทุเลาแล้ว ให้บริหารกล้ามเนื้อหลังให้แข็งแรง โดยขอให้แพทย์ผู้รักษาสอนท่าบริหารที่เหมาะกับคนไข้แต่ละราย

..................................
 

หมอนรองกระดูกเคลื่อน


นพ.สุรเกียรติ อาชานานุภาพ
 

ข้อมูลสื่อ

นิตยสารหมอชาวบ้าน 338
มิถุนายน 2550
รศ.นพ.สุรเกียรติ อาชานานุภาพ


หมอนรองกระดูกเคลื่อน
https://www.doctor.or.th/article/detail/1249


โรคนี้พบได้บ่อยในคนหนุ่มสาว และวัยกลางคนที่ทำงานหนัก พบได้น้อยในคนอายุมากกว่า ๖๐ ปีขึ้นไป
หมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อน* เป็นโรคที่พบ ได้บ่อยในวัยหนุ่มสาวและวัยกลางคน ทำให้มีอาการปวดหลังและปวดขาเรื้อรัง ซึ่งสร้างความรำคาญ ความทุกข์ทรมาน และความวิตกกังวลให้ผู้ป่วยและญาติ แต่ส่วนใหญ่จะไม่มีอันตรายร้ายแรง สามารถให้การดูแลรักษาให้อาการทุเลาและกลับมีคุณภาพชีวิตเป็นปกติได้ ส่วนน้อยที่เป็นรุนแรง ถึงขั้นต้องรักษาด้วยการผ่าตัด


ชื่อภาษาไทย     หมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อน, หมอนรองกระดูกเคลื่อน
ชื่อภาษาอังกฤษ   Herniated disk, Herniated intervertebral disk
สาเหตุ
เกิดจากหมอนรองกระดูกที่เสื่อมตามอายุ  มีการฉีกขาดของเนื้อเยื่อเส้นใยชั้นเปลือกนอก ปล่อยให้เนื้อเยื่อกระดูกอ่อนตรงกลางซึ่งมีลักษณะ คล้ายวุ้นแตก (rupture) หรือเลื่อน (herniation) ออกมากดทับรากประสาทและเกิดการอักเสบของเนื้อเยื่อรอบๆ รากประสาท ทำให้เกิดอาการของโรคนี้ ส่วนใหญ่เกิดขึ้นโดยไม่มีประวัติการบาดเจ็บชัดเจน อาจเกิดจากแรงกระทบเพียงเล็กน้อยจากการทำกิจวัตรประจำวันหรือจากอิริยาบถที่ไม่เหมาะสม ส่วนน้อยเกิดหลังจากได้รับบาดเจ็บจากการทำงาน เล่นกีฬา อุบัติเหตุ ยกหรือเข็นของหนัก

ผู้ที่เป็นเบาหวานหรือสูบบุหรี่มีความเสี่ยงต่อโรคนี้มากขึ้น เนื่องจากมีออกซิเจนในเลือดไปเลี้ยงหมอนรองกระดูกน้อยลง จึงเสื่อมได้ง่ายขึ้น ส่วนผู้ที่มีน้ำหนักเกินหรือทำอาชีพที่ต้องเข็นหรือยกของหนักก็เสี่ยงต่อการเกิดแรงกระทบต่อหมอนรองกระดูกทำให้เกิดโรคนี้ได้มากขึ้น
อาการ
ขึ้นกับตำแหน่งของหมอนรองกระดูกที่เคลื่อนและเส้นประสาทที่ถูกกด ส่วนใหญ่พบที่หมอนรองกระดูกบริเวณเอว (พบบ่อยในกลุ่มอายุ ๓๕-๔๕ ปี) ส่วนน้อยพบที่บริเวณคอ (พบบ่อยในกลุ่มอายุ ๔๐-๕๐ ปี) อาจมีอาการเกิดขึ้นฉับพลันรุนแรง หรือค่อยๆ เกิดขึ้นทีละน้อยก็ได้ ผู้ป่วยบางรายอาจมีประวัติเกิดอาการหลังได้รับบาดเจ็บหรือยกของหนัก แต่ส่วนใหญ่จะไม่ทราบว่ามีเหตุกำเริบจากอะไร

รายที่หมอนรองกระดูกสันหลังส่วนเอวเคลื่อน จะมีอาการปวดตรงกระเบนเหน็บ ซึ่งจะปวดร้าว เสียวๆ แปลบๆ และชาจากบริเวณแก้มก้นลงมาถึงน่องหรือปลายเท้า อาการปวดจะเป็นมากขึ้นเวลามีการเคลื่อนไหว เวลาก้ม นั่ง ไอ จาม หัวเราะ หรือเบ่งถ่าย ในรายที่เป็นมากเท้าจะไม่ค่อยมีแรงและชา อาจถ่ายอุจจาระปัสสาวะ ไม่ได้ หรือกลั้นอุจจาระปัสสาวะไม่อยู่ มักพบเป็นเพียงข้างใดข้างหนึ่งเท่านั้น นอกจากในรายที่เป็นมากอาจมีอาการทั้ง ๒ ข้าง

รายที่หมอนรองกระดูกสันหลังส่วนคอเคลื่อน จะมีอาการปวดบริเวณต้นคอ ปวดร้าว เสียวๆ แปลบๆ และชาลงมาที่ไหล่ แขน และปลายมือ มักมีอาการเวลาแหงนคอไปด้านหลัง หรือหันศีรษะไปข้างที่เป็น ถ้าเป็นมาก แขนและมืออาจมีอาการอ่อนแรง

การแยกโรค
อาการปวดรากประสาท (ปวดร้าว เสียวๆ แปลบๆ และชาลงแขนหรือขา) เนื่องจากรากประสาท ถูกกดทับ อาจเกิดจากสาเหตุอื่น เช่น  "โพรงกระดูกสันหลังแคบ" (spinal stenosis) มีอาการปวดหลังและปวดร้าวและชาลงขาข้างหนึ่ง แบบเดียวกับหมอนรองกระดูกเคลื่อน แต่มักพบในคนอายุมากกว่า ๖๐ ปี (อาจเริ่มเป็นตั้งแต่อายุ ๔๐ ปี โดยในช่วงแรกๆ อาจไม่มีอาการแสดงก็ได้) เกิดจากกระดูก   สันหลังเสื่อมตามอายุ และมีการหนาตัวของเอ็นรอบๆ โพรงกระดูกสันหลัง (spinal canal) ทำให้มีการตีบแคบของโพรงดังกล่าว ซึ่งจะค่อยๆ เกิดขึ้นทีละน้อย ใช้เวลานานเป็นแรมปีหรือหลายปี จนในที่สุดเกิดการกดทับรากประสาทที่แยกออกมาจากไขสันหลังผ่านโพรงดังกล่าว ผู้ป่วยมักมีอาการปวดน่องเวลาเดินไปสักครู่ และทุเลาเมื่อหยุดพักร่วมด้วย อาการปวดหลังมักจะทุเลาเวลาก้มหรือนั่ง            

  "เนื้องอกไขสันหลัง" และมะเร็งที่แพร่กระจายไปที่ไขสันหลัง (เช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งปอด มะเร็งต่อมน้ำเหลือง) ก็จะทำให้มีอาการปวดคอหรือปวดหลัง และปวดร้าวและชาลงแขนหรือ    ขา แต่จะมีอาการแขนหรือขาอ่อนแรงขึ้นเรื่อยๆ ภายในเวลาไม่นาน นอกจากนี้ อาจมีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ไข้เรื้อรัง น้ำหนักลดร่วมด้วย
 อื่นๆ เช่น  วัณโรคกระดูกสันหลัง อุบัติเหตุทำให้กระดูกสันหลังได้รับบาดเจ็บ เป็นต้น
 การวินิจฉัย
 เบื้องต้นแพทย์จะวินิจฉัยจากอาการ และการ ตรวจร่างกาย ที่สำคัญได้แก่ การทดสอบเหยียดขาตรงตั้งฉาก โดยให้ผู้ป่วยนอนหงาย แล้วจับเท้าข้างที่สงสัยค่อยๆ ยกขึ้น โดยให้หัวเข่าเหยียดตรง จะพบว่าผู้ป่วยไม่สามารถยกเท้าเหยียดตรงตั้งฉาก (ทำมุม ๙๐ องศา) กับพื้นได้เช่นคนปกติ หรือได้น้อยกว่าเท้าอีกข้างที่ปกติ เช่นได้เพียง ๗๐ องศา หรือ ๔๕ องศา เพราะผู้ป่วยจะรู้สึกปวดเสียวตามหลังเท้าจนไม่สามารถฝืนทนเหยียดเท้าให้ตั้งฉากกับพื้น

แพทย์มักจะทำการยืนยันการวินิจฉัยโดยการเอกซเรย์กระดูกหลัง ถ่ายภาพกระดูกหลังด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือถ่ายภาพรังสีไขสันหลังโดยการฉีดสารทึบรังสี (myelography)
การดูแลตนเอง
ผู้ที่มีอาการปวดคอหรือปวดหลังเรื้อรัง หรือพบว่ามีอาการเสียวๆ แปลบๆ ปวดร้าวหรือชาลงแขนหรือขาข้างใดข้างหนึ่ง หรือ ๒ ข้าง หรือมีอาการบาดเจ็บที่คอหรือหลัง ควรไปปรึกษาแพทย์

ถ้าพบว่าเป็นหมอนรองกระดูกเคลื่อน ก็ควรได้รับการดูแลรักษาอย่างจริงจัง และปฏิบัติตัวดังนี้

  • หลีกเลี่ยงอิริยาบถและกิจกรรมที่ทำให้อาการปวดกำเริบ ปรับท่าทางในการทำงานและการขับรถให้เหมาะสม
  • หมั่นบริหารกล้ามเนื้อหลังและหน้าท้องให้    แข็งแรงด้วยท่าบริหารที่แพทย์แนะนำ
  • ลดน้ำหนักตัว
  • ขณะที่มีอาการปวดให้นอนหงายบนที่นอนแข็ง กินยาบรรเทาปวดและใช้น้ำอุ่นจัดๆ ประคบ
  • การรักษา

 

 ระยะแรกแพทย์จะให้การรักษาโดยวิธีไม่ผ่าตัดก่อน ได้แก่ การให้ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สตีรอยด์เป็นหลัก ซึ่งนอกจากช่วยบรรเทาปวดแล้ว ยังลดการอักเสบของเนื้อเยื่อ รอบๆ รากประสาท ทำให้อาการทุเลาได้ ในรายที่มีการตึงตัวหรือเกร็งตัวของกล้ามเนื้อหลัง ให้ยาคลายกล้ามเนื้อ หรือยากล่อมประสาท เช่น ไดอะซีแพมร่วมด้วย

ในรายที่มีอาการเกิดขึ้นฉับพลันและปวดรุนแรง แพทย์จะแนะนำให้ผู้ป่วยนอนพักในท่านอนหงายบนที่นอนแข็งตลอดเวลา (ลุกเฉพาะกินอาหารและเข้าห้องน้ำ) ๑-๒ วัน จะช่วยให้อาการทุเลาได้เร็ว ไม่ควรนอนติดต่อนานหลายวัน อาจทำให้กล้ามเนื้อหลังอ่อนแอ

ในบางรายแพทย์อาจให้การรักษาทางกายภาพ- บำบัด (เช่น ประคบด้วยความเย็นและความร้อน ใช้     น้ำหนักถ่วงดึง) กระตุ้นปลายประสาทด้วยไฟฟ้า (TENS) การฝังเข็ม เป็นต้น

ในบางรายแพทย์อาจให้ผู้ป่วยใส่ "เสื้อเหล็ก" หรือ "ปลอกคอ"

ในรายที่มีอาการปวดมากและไม่สามารถบรรเทาด้วยยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สตีรอยด์และยาแก้ปวด เช่น พาราเซตามอล แพทย์อาจพิจารณาให้ยาแก้ปวดที่แรงขึ้น เช่น โคเดอีน (codeine) กาบาเพนทิน (gabapentin) เป็นต้น บางรายอาจให้เพร็ดนิโซโลน หรือฉีดสตีรยอด์เข้าบริเวณเนื้อเยื่อรอบๆ รากประสาทที่อักเสบเพื่อลดการอักเสบ

ในรายที่ให้การรักษาด้วยยาและกายภาพบำบัด ๓-๖ เดือนแล้วไม่ได้ผล ไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ หรือมีภาวะแทรกซ้อน (เช่น กล้ามเนื้อลีบ หรืออ่อนแรง มีอาการชามาก ควบคุมการขับถ่ายไม่ได้) ก็อาจต้องรักษาด้วยการผ่าตัด เพื่อปลดเปลื้องการกดรากประสาท และอาจเชื่อมข้อต่อกระดูกสันหลังให้     แข็งแรงในรายที่มีการเลื่อนของกระดูกสันหลัง (spondylolisthesis) การผ่าตัดมีหลายวิธีรวมทั้งวิธีใช้กล้องส่อง (laparoscopic surgery)
ภาวะแทรกซ้อน
ถ้าปล่อยให้รากประสาทถูกกดรุนแรงอาจทำให้ขาชา เป็นแผลติดเชื้อง่าย กล้ามเนื้อ ขาลีบ ขาอ่อนแรง เดินลำบาก ถ่ายอุจจาระปัสสาวะไม่ได้ หรือกลั้นอุจจาระ ปัสสาวะไม่ได้
การดำเนินโรค
ผลการรักษา ส่วนใหญ่มักจะหายปวดและกลับไปดำเนินชีวิตได้ตามปกติ สำหรับหมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อนที่ไม่รุนแรง อาการมักจะดีขึ้นภายใน ๔-๖ สัปดาห์ เนื่องจากหมอนรองกระดูกที่ไหลเลื่อนออกมาข้างนอก มักจะยุบตัวลงจนลดแรงกดต่อรากประสาทไปได้เอง

โดยทั่วไป ผู้ป่วยที่จำเป็นต้องรักษาด้วยการผ่าตัด มีประมาณร้อยละ ๑๐-๒๐ ซึ่งส่วนใหญ่มักจะได้ผลดี แต่มีประมาณร้อยละ ๑๐ ที่อาจมีอาการปวดเรื้อรังต่อไป ในรายที่เกิดภาวะแทรกซ้อนอยู่นานก่อนผ่าตัด อาการก็อาจไม่ดีขึ้นหลังผ่าตัด
การป้องกัน
๑. หมั่นออกกำลังกาย (เดินเร็ว วิ่งเหยาะ ว่ายน้ำ ขี่จักรยาน และบริหารกล้ามเนื้อหลังและหน้าท้องให้แข็งแรง
๒. ระวังรักษาอิริยาบถ (ท่านอน ท่านั่ง ท่ายืน ท่ายกของ) ให้ถูกต้อง
๓. หลีกเลี่ยงการยกของหนัก เข็นของหนัก การนอนที่นอนที่นุ่มเกินไป
๔. ควบคุมน้ำหนักอย่าให้เกิน
๕. ไม่สูบบุหรี่ อาจทำให้หมอนรองกระดูกเสื่อมเร็ว
ความชุก
โรคนี้พบได้บ่อยในคนหนุ่มสาว และวัยกลางคนที่ทำงานหนัก เช่น แบกหาม ยกของ เข็นของหนัก และผู้ที่ได้รับบาดเจ็บที่หลังจากการเล่นกีฬา หรืออุบัติเหตุ พบได้น้อยในคนอายุมากกว่า ๖๐ ปีขึ้นไป

 


Create Date : 24 มิถุนายน 2551
Last Update : 20 มิถุนายน 2565 14:58:51 น. 8 comments
Counter : 52404 Pageviews.  

 
เคยเป็นมาก่อนค่ะ ทรมาณมากๆ ปวดแบบไม่รู้จะสรรหาคำไหนมาบรรยายว่ามันปวดขนาดไหน เราเป็นเพราะว่า ก้มผิดท่า เป็นเวลานาน ขี้เกียจ แทนที่จะหาเก้าอี้หรืออะไรมานั่งลง และ ทำงานที่กำลังทำ กลับยืนก้มหลังแบบผิดๆคือไม่งอเข่าด้วย

มันเริ่มปวดหลัง ชาที่ขา และในที่สุดวันหนึ่งก็เดินไม่ได้ ทรมาณมากๆ แต่ที่หายได้ เพราะ หมอให้นอนเฉยๆเป้นเวลา 1 เดือน 1 เดือนนี้ ห้ามยกของหนัก ห้ามเดินมาก และเวลานอิน ต้องใช้หมอนมารองใต้ขาอ่อน ที่หายได้นี่ก็นับว่าโชคดีที่สุดค่ะ

แต่ถึงอย่างนั้น เวลาที่ยกของหนักหลังจากนั้น บางครั้งก็จะรู้สึกเสียดๆเสียวๆ หรือ บางทีก็ปวด ดังนั้น เราจึงต้องระวังมากน่ะค่ะ เพราะไม่อยากเป็นอีกแล้ว

ขอบคุณที่เอาความรู้มาฝากกันค่ะ





โดย: วินนี่ย์หมีพูห์ วันที่: 24 มิถุนายน 2551 เวลา:18:55:44 น.  

 
เป็นโรคนี้ เมื่อ เม.ย. ปีที่แล้วครับ

นึกว่าจะเดินไม่ได้แล้ว แต่ก็รักษาโดยใช้ยา จนขาหายชา

ตอนนี้ดีขึ้นเยอะ และก็ลดน้ำหนักได้ 26 กิโลฯ ด้วย


โดย: Christian Chang วันที่: 26 มิถุนายน 2551 เวลา:6:50:03 น.  

 

ขอบคุณที่แวะมาแจม นะครับ ...



ดีขึ้น แล้ว ก็อย่าลืม ดูแล ตนเอง ต่อด้วยนะครับ ..


โดย: หมอหมู วันที่: 26 มิถุนายน 2551 เวลา:17:52:21 น.  

 
อ่าน Blog คุณหมอแล้วผมกลัวสุดๆ เกรงใจแต่ก็ขอปรึกษาหน่อยครับ
//กล้ามเนื้อสะโพกทับเส้นประสาท //
หมอบอกอย่างนั้นและ 3-4 วันน่าจะหาย อาการคือ ช่วงแรกลุกขึ้นยืนยากประมาณ 15 นาทีพลิกไปมาจนหาจังหวะขึ้นได้ จะเจ็บหลังต้นขาขวาและสะโพก บางครั้งขึ้นมาที่หลังด้วย เป็นอยู่ 3 วันเหมือนดีขึ้นแต่เป็นเหมือนเดิมอีกวันที่ 5 จึงไปหาหมอที่รพ. หมอบอกว่าเป็นกล้ามเนื้อสะโพกทับเส้นประสาท เพราะยังไม่มีอาการชา 3-4 วันน่าจะหาย ผมถามหมอว่า ต้องทำท่าออกกำลังกายอะไรบ้างเป็นพิเศษหรือเปล่า แกว่าไม่ต้อง แกจ่ายยาเม็ดมา 2 ตัวทานห้าวันหลังอาหารเช้า,เย็น คือ Arcoxia 90mg & Mydocalm 150mg (Tolperisone HCI) ก็หยุดงาน พยายามนอนงอเข่าเอาหมอนรองตลอดตามคำแนะนำ นั่งตัวตรงไม่ค่อยขับรถ มันดีขึ้นมากแต่ก็ยังเจ็บอยู่ กลัวเป็นกระดูกหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท เท่าที่อ่านค่อนข้างทรมาน เพราะยังไม่หาย ขอคำแนะหน่อยครับ


โดย: Janslider (janslider ) วันที่: 10 ธันวาคม 2551 เวลา:16:08:35 น.  

 
เพิ่งเป็นพอดีเลย ขอบคุณสำหรับความรู้มากๆ ค่ะคุณหมอ


โดย: = S u s s i i i = วันที่: 21 พฤษภาคม 2553 เวลา:13:16:58 น.  

 
อ่านเพิ่มเติม ได้ที่ ..

ปวดหลัง
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=13-06-2008&group=5&gblog=18

ข้อแนะนำเพื่อป้องกันและบรรเทาอาการ ปวดหลัง
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=13-06-2008&group=5&gblog=17

สาเหตุ ของอาการ ปวดหลัง ที่พบบ่อย
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=13-06-2008&group=5&gblog=19

กล้ามเนื้อหลัง อักเสบ
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=24-06-2008&group=5&gblog=23


กระดูกสันหลังอักเสบยึดติด ( AS )
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=24-06-2008&group=5&gblog=24


ปวดก้นกบ ( Coccyx Pain , coccydynia , coccygodynia )
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=04-01-2010&group=5&gblog=45


หมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาท
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=24-06-2008&group=5&gblog=22


กระดูกสันหลังเสื่อมกดทับเส้นประสาท
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=24-06-2008&group=5&gblog=20


กระดูกทับเส้น หมอนรองกระดูกทับเส้น เป็นอย่างไร ???
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=28-07-2008&group=5&gblog=36


เวบไทยสปาย ดอท คอม (Thaispine.com) ของ นพ.ทายาท บูรณกาล

กระดูกสันหลังเสื่อม ผ่าตัด
//www.thaispine.com/Decision_point.htm


หมอนรองกระดูกส่วนเอวกดทับเส้นประสาท thaispine
//www.thaispine.com/intervertebral_disc.htm


กระดูกทับเส้น หมอนรองกระดูกทับเส้น เป็นอย่างไร ??? Thaispine
//www.thaispine.com/sciatica.htm



เวบของ ผศ.นพ.ธนินนิตย์ ลีรพันธ์
//www.taninnit.com/

ปวดหลัง : ทางเลือก รักษาได้ไม่ผ่าตัด
//taninnit-backpain.blogspot.com/2013/10/blog-post.html

การรักษาด้วยสเตียรอยด์ : คุณประโยชน์ VS ผลข้างเคียง
//taninnit-backpain.blogspot.com/2013/10/vs.html

อาการปวดหลัง และโรคกระดูกพรุน
//taninnit-backpain.blogspot.com/2013_11_01_archive.html



การฉีดยาสเตียรอยด์เข้าโพรงประสาท
การผ่าตัดหมอนรองกระดูกผ่านกล้องเอ็นโดสโคป
การผ่าตัดหมอนรองกระดูกด้วยกล้องจุลทรรศน์
- See more at: //www.bumrungrad.com/th/institute-spine-surgery-thailand/herniated-disc#sthash.O0hq21dQ.051zXd3I.dpuf
สถาบันกระดูกสันหลังบำรุงราษฎร์ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์

การฉีดยาสเตียรอยด์เข้าโพรงประสาท
//www.bumrungrad.com/th/institute-spine-surgery-thailand/spinal-injection#sthash.Xx6BHtgh.dpbs

การฉีดยาเข้าที่โพรงกระดูกสันหลัง
//www.bumrungrad.com/th/institute-spine-surgery-thailand/spinal-injection#sthash.pbS2xSMm.dpbs

การผ่าตัดโรคกระดูกสันหลังผ่านกล้องเอ็นโดสโคป
//www.bumrungrad.com/th/institute-spine-surgery-thailand/endoscopic-lumbar-discectomy#sthash.5O5EZmhQ.dpbs

การผ่าตัดหมอนรองกระดูกผ่านกล้องเอ็นโดสโคป
//www.bumrungrad.com/th/institute-spine-surgery-thailand/endoscopic-discectomy-for-disc-herniation#sthash.NpOfItxn.dpbs

การผ่าตัดหมอนรองกระดูกสันหลังด้วยกล้องขยาย (Microdiscectomy) //www.bumrungrad.com/th/institute-spine-surgery-thailand/microdiscectomy#sthash.Dg2AI6vJ.dpbs

การผ่าตัดโรคโพรงประสาทตีบแคบผ่านกล้องเอ็นโดสโคป (Endoscopic decompression)
//www.bumrungrad.com/th/institute-spine-surgery-thailand/endoscopic-decompression-for-spinal-canal-stenosis#sthash.qmuSTqrD.dpbs


การผ่าตัดหมอนรองกระดูกสันหลังด้วยกล้องขยาย (Microdiscectomy)
//www.bumrungrad.com/th/institute-spine-surgery-thailand/microdiscectomy#sthash.XfFPeNia.dpbs

การผ่าตัดโรคกระดูกสันหลังผ่านกล้องเอ็นโดสโคป
//www.bumrungrad.com/th/institute-spine-surgery-thailand/endoscopic-lumbar-discectomy#sthash.Y4owxYzN.dpbs


โดย: หมอหมู วันที่: 24 มกราคม 2557 เวลา:15:26:23 น.  

 
โรคหมอนรองกระดูก ทับเส้นประสาท ภัยร้ายซ่อนเงียบ รู้ก่อนรักษาทัน!!!
Pawin สิงหาคม 14, 2021 1 min read
้herniated disc

หมอนรองกระดูก ทับเส้นประสาท

โรคหมอนรองกระดูก ทับเส้นประสาทหรือบางท่านอาจจะเรียกด้วยชื่อต่างๆกันดังที่กล่าวในตารางข่างล่างนี้ จริงๆล้วนแล้วมีความหมายที่คล้ายๆกันครับ
หมอนรองกระดูกปลิ้น
หมอนรองกระดูกเคลื่อน
หมอนรองกระดูก ทับเส้นประสาท
หมอนรองกระดูกเสื่อม

ปกติหมอนรองกระดูกเป็นส่วนเชื่อมต่อระหว่างกระดูกสันหลังปล้องบนและปล้องล่าง ธรรมชาติสร้างมาเพื่อช่วยในการรับน้ำหนักของร่างกายโดยมีความสามารถในการยืดหยุ่นขณะใช้ชีวิตประจำวันในท่าทางต่างๆเช่นการก้มตัว,การแอ่นตัว,การบิดตัว ทั้งนี้จะเห็นได้ว่าหมอนรองกระดูกมีความสำคัญต่อการเคลื่อนไหว หมอนรองกระดูกเราเปรียบเสมือนกับยางรถยนต์ ถ้าในช่วงอายุหนุ่มสาวอายุ 20-50 ปีก็เปรียบเสมือนยางรถยนต์ใหม่ที่มีความนุ่มและยืดหยุ่นรับแรงกระแทกได้ดี ส่วนเมื่ออายุมากขึ้น 50 ปีขึ้นไป ยางรถของเราจะเสื่อม ความสามารถในการรับแรงกระแทกและความยืดหยุ่นจะน้อยลงโดยส่วนประกอบตรงใจกลางของหมอนรองกระดูกจะมีลักษณะเป็นของที่มีความหนืดคล้ายเจลลี่เหนียวๆ ซึ่งถูกล้อมรอบด้วยเส้นใยที่ขึงล้อมหน้าหลังเปรียบเสมือนขอบยางรถยนต์ ซึ่งธรรมชาติสร้างมาเพื่อป้องกันไม่ให้ส่วนที่เป็นเจลลี่แตกออกมา เพราะฉะนั้นความหมายของโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทเปรียบเสมือนยางรถยนต์แตก เจลลี่ที่อยู่ด้านในนั้นจะไหลออกมากดเหรือเบียดเส้นประสาที่อยู่บริเวณนั้นๆก่อให้เกิดอาการปวดหลังหรือสะโพกแล้วร้าวไปที่ขานั่นเองครับ

ภาพซ้ายคือหมอนรองที่คุณภาพดี
ภาพขวาคือหมอนรองที่แตกและมีของภายในออกมากดเบียดไขประสาท

สาเหตุของการเกิด หมอนรองกระดูก ทับเส้นประสาท

ซึ่งสาเหตุ โรคหมอนรองกระดูก ทับเส้นประสาท ส่วนใหญ่เกิดจาก อุบัติเหตุที่หลังรวมไปถึงการใช้งาน เช่น ยกของหนักเกินไป, ยกของผิดท่าซึ่งสามารถหาวิธียกที่ถูกวิธีได้จากบทความก่อนหน้าครับ ภาวะหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทสามารถเป็นได้กับทุกคนครับ ยิ่งเมื่อคุณทำงานโดยอยู่ในท่าที่ผิดสรีระหรือผิดสุขลักษณะก็จะทำให้เกิดอาการปวดหลังนำมาก่อน ซึ่งถ้าคุณสามารถปรับเปลี่ยนการทำงานได้ ก็จะไม่ก่อให้เกิดปัญหาในระยะยาวครับ แต่ถ้าคุณยังปล่อยปะละเลย ไม่ดูแลใส่ใจ ไม่ยอมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ก็อาจจะกลายมาเป็นเป็นโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทได้ง่ายกันเลยทีเดียวครับ

ปัจจัยเสี่ยงของโรคหมอนรองกระดูก ทับเส้นประสาท

ลองเช็คกันดูครับว่าคุณอยู่ในปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวหรือไม่ ถ้าคุณอยู่ในปัจจัยเสี่ยงนี้ คุณควรรีบปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยด่วนครับถ้าคุณไม่รู้จะเปลี่ยนแบบไหน หรือเปลี่ยนยังไงก็สามารถที่จะปรึกษาหมอได้ครับ

ยกของหนักซ้ำๆ
เล่นกีฬาหนักๆ
นั่งทำงานนานๆหรือคนที่เป็น office syndrome บ่อยๆ เริ้อรัง
ติดการเล่นมือถือโดยการก้มหน้า
ขับรถนานเกิน 1 ชม.ต่อวัน
มีการก้มเงยหลังบ่อย

เมิ่อมีอาการดังกล่าว ควรไปพบแพทย์
อาการสำคัญและอาการแสดงของ ปัจจัยเสี่ยงของ โรคหมอนรองกระดูก ทับเส้นประสาท ที่ควรมาตรวจพบแพทย์ เพราะนั่นหมายความว่าคุณอาจเป็น หมอนรองกระดูก ทับเส้นประสาทแล้ว

ปวดหลัง เรื้อรังเกิน 3 เดือน
ปวดหลัง เวลานั่งนานหรือยืนนาน เป็นทุกครั้งที่ทำกิจกรรม
ปวดหลังร้าวลงขา ไม่ว่าจะข้างเดียวหรือ 2 ข้าง อาจมี อาการปวดขาเด่นกว่าปวดหลังก็ได้ อาการปวดเป็นตอนนั่งนานหรือยืนนาน จะหาจุดที่เจ็บได้ไม่ชัดเจน จะรู้สึกเหมือนร้าวๆลงไปขา บางคนอาจมีอาการลงถึงปลายเท้า หรือชาฝ่าเท้า
อาการชาลักษณะเป็นแถบๆ ส่วนใหญ่ที่พบจะเป็นแถบหลังต้นขาลงไปยังน่องและเท้าหรือเป็นแถบข้างขาต้นขาไปยังด้านนอกของปลายขา
อาการอ่อนแรง เป็นอาการที่ควรมาพบแพทย์เร็ว เพื่อจะได้รับการรักษาได้อย่างทันท่วงที อาการอ่อนแรงจะไม่เป็นการอ่อนแบบทันทีทันใดเหมือนกับอาการของอัมพฤษ อัมพาต์จากโรคของหลอดเลือดสมองตีบ แต่จะเป็นการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อบางมัด เช่น กระดกนิ้วโป้งเท้าไม่ขึ้น กระดกข้อเท้าลำบาก เตะขาไม่ออก หรือบางรายอาจทดสอบโดยการเทียบความแข็งแรงกับขาอีกขาหนึ่งได้เช่นกัน
อาการกลั้นปัสสาวะหรืออุจจาระไม่ได้ และอาจมีอาการชารอบๆรูก้น เป็นอาการที่ควรต้องพบแพทย์โดยด่วนที่สุด เพราะหมายถึงมีการกดทับที่ไขประสาทไปมากแล้ว ต้องรีบทำการรักษาโดยด่วน

การตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติมหลังจากการซักประวัติและตรวจร่างกายของ โรคหมอนรองกระดูก ทับเส้นประสาท

X-ray กระดูกสันหลัง เป็นการดูภาพส่วนกระดูกหลังของเราว่ามีลักษณะสรีระที่ผิดแปลกไปหรือมีการเคลื่อนของกระดูกหรือไม่ การเอ็กเรย์จะไม่สามารถดูส่วนของหมอนรองกระดูกได้ ส่วนของหมอนรองกระดูกของเราจะเห็นเป็นลักษณะเงาช่องว่างสีดำ โดยหมอจะเพียงแต่ตาดการได้แค่ว่าถ้าช่องระหว่างช่องนั้นดูสั้นกว่าปล้องบนและล่าง หมายความว่าส่วนนั้นอาจโดนกดบีบจากกระดูกตัวบนและตัวล่างต่อมันซึ่งอาจทำให้เกิดการเค้นหมอนรองจนเกิดการปลิ้นไปกดทับไขประสาทด้านหลังก็ได้

MRI หรือการเข้าอุโมงค์ จะใช้ดูทั้งหมอนรองกระดูกและเส้นประสาทซึ่งช่วยในการวินิจฉัยได้อย่างแม่นยำรวมถึงวางแผนการรักษาในกรณีที่จะผ่าตัดได้ด้วย

ส่วนใหญ่แล้วจะต้องทำทั้ง Xray และ MRI ควบคู่กัน ไม่สามารถเลือกทำอย่างใดอย่างหนึ่งได้ เพื่อประกอบกันให้ได้การวินิจฉัยและหาสาเหตุของการปวดได้อย่างแม่นยำที่สุดนั่นเองครับ

มักดูในส่วนกระดูกเป็นสำคัญ ดูหมอนรองกระดูกและเส้นประสาทไม่ได้

จากภาพ MRI แสดงถึงหมอนรองกระดูกปลิ้นออกมาทับเส้นประสาท

แนวทางการรักษา โรคหมอนรองกระดูก ทับเส้นประสาท

รักษาที่อาการ ไม่ใช่รักษาที่ภาพ Xray หรือ MRI
หากอาการไม่สัมพันธ์กับการตรวจวินิจฉัย ให้เอาอาการเป็นที่ตั้ง ซึ่งจะนำมาซึ่งการรักษาที่เหมาะสมที่สุด

การรักษาแบบไม่ผ่าตัด ไม่ใช่ว่าโรคทางกระดูกสันหลังจะต้องจบด้วยการผ่าตัดเสมอไป ยังมีทางเลือกอีกมากมายก่อนที่จะไปถึงการผ่าตัด ถ้าอาการปวดมาไม่นานหรือปวดน้อย แค่การทานยาก็มักจะเพียงพอแล้ว แต่ถ้าหากอาการเป็นมากและเริ่มนานเป็นเดือนๆ การกายภาพมักจะช่วยได้ผลดี สิ่งที่เน้นมากๆสำหรับการกายภาพคือการออกกำลังกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว ซึ่งมีความสำคัญมากในกระบวนการรักษา รวมไปถึงการยืดกล้ามเนื้อ

ถ้าอาการเป็นหนักแต่ภาพจาก mri มีการกดเบียดไขประสาทไม่เยอะ อาจเลือกวิธีการฉีดยาเข้าโพรงประสาทได้เพื่อลดอาการอักเสบและอาการปวดได้อย่างดี แต่มีข้อเสียคือด้วยระยะการออกฤทธิ์ยาจะอยู่ที่ 3-6 เดือน ขึ้นอยู่กับพยาธิสภาพและการตอบสนองของยาในร่างกายแต่ละคน ซึ่งการรักษาแบบไม่ผ่าตัดหมอจะกล่าวให้ฟังอีกบทแยกบทหนึ่งครับ

การปฎิบัติตัวและการดูแลตัวเอง เมื่อเริ่มเป็นโรคนี้ ห้ามก้มหลังยกของ, ห้ามยกของหนัก, ห้ามเอี้ยวหรือบิดตัว(จะพบบ่อยตอนหยิบของที่เบาะหลังรถ), ไม่ควรท้องผูก, ควบคุมน้ำหนักให้ดัชนีมวลการน้อยกว่า 32 (กดดูวิธีการคำนวณได้) ,ไม่ควรนั่งนานเกิน 1 ชม. กรณีต้องนั่งทำงานนานต้องมีวิธีการนั่งและเก้าที่ถูกต้อง, หมั่นฝึกบริหารกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น, หมั่นยืดกล้ามเนื้อบริเวณต้นขาด้านหลังและก้นให้บ่อย, สุดท้ายมีถ้าใครคิดว่าทำถูกต้องแล้ว หมอยังเชื่อว่ามีคนส่วนใหญ่ที่ถึงแม้ว่าทำตามที่หมอบอกแล้วแต่ก็ยังมีจุดที่ผิดอยู่ หมอยังมี 3 เทคนิคลดปวดหลัง ที่คนส่วนใหญ่รู้แล้วแต่เข้าใจผิด มาให้อ่านกัน ครับ

การผ่าตัดหมอนรองกระดูกสันหลังส่วนที่กดทับเส้นประสาทออก คือการผ่าตัดเอาหมอนรองกระดูกส่วนที่แตกออกมาทับเส้นประสาทออก ซึ่งจะทำให้อาการปวดชาขาหายไปและอ่อนแรงที่ขาดีขึ้น ในปัจจุบันมีเทคโนโลยีการส่องกล้อง แผลขนาดเพียงแค่ 1 ซม. ใช้เวลาฟื้นตัวน้อยมาก ผ่าเสร็จสามารถเดินกลับบ้านได้เลยครับ ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าสนใจมากในปัจจุบันเพราะเปลี่ยนแนวคิดเดิมๆของการผ่าตัดจากสมัยก่อนที่ต้องเปิดแผลยาวและใช้เวลาฟื้นตัวนาน

ออกกำลังกายแกนกล้ามเนื้อกลางลำตัว ทำอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง
ส่วนใหญ่หมอจะแนะนำทำช่วงเช้า เย็น ก่อนอาบน้ำครับ

การผ่าตัดด้วยกล้องเอ็นโดสโคปในปัจจุบัน

แผลเล็กประมาณ 1 ซม.
เจ็บน้อย
ฟื้นตัวไว นอน รพ. ไม่เกิน 1 วัน
ประสิทธิภาพดี ผลแทรกซ้อนน้อย
กลับบ้านแล้วใช้ชิวิตได้อย่างปกติเหมือนเดิม
ใช้เวลาผ่าตัดประมาณ 1 ชม.
กลับมาเดินได้แบบปกติ

โรคหมอนรองกระดูก ทับเส้นประสาท เป็นแล้วหายไหม

หมอนรองที่ปลิ้นออกมาแล้ว ไม่สามารถกลับเข้าที่เดิมของมันได้ครับ แต่จริงๆแล้วร่างกายของเรานั้นมีความน่ามหัศจรรย์ตรงที่ว่า ถ้าหากมีหมอนรองกระดูกที่ปลิ้นออกมาแล้ว บางครั้ง ร่างกายของเราสามารถที่จะกำจัดส่วนนั้นได้ครับ แต่หมอย้ำว่าไม่ทุกคนนะครับที่ร่างกายจะกำจัดได้ จริงๆแล้วขึ้นอยู่กับรูปแบบของหมอนรองกระดูกสันหลังที่แตกหรือปลิ้นออกมาด้วย ซึ่งในกรณีนี้ ต้องปรึกษาแพทย์ครับ ถึงจะทราบว่าตัวหมอนรองกระดูกนั้นสามารถหายได้เองหรือไม่ ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วการหายชนิดนี้จะกินเวลาอยู่ในช่วง 1 ปีครับ ซึ่งถ้าหากผู้ป่วยสามารถทานยาหรือกายภาพแล้วอาการอยู่ในจุดที่สามารถทนได้และใช้ชิวิตประจำวันต่อไปได้ บางท่านก็สามารถเลือกที่จะรอดูอาการต่อไปได้ครับ แต่ถ้าอาการเป็นมามากกว่า 1 ปีแล้ว โอกาสที่จะหายจากวิธีการนี้ก็จะลดลงครับ บางคนอาจใช้วิธีการฉีดยาเข้าโพรงประสาทเพื่อลดอาการปวดในช่วง 6 เดือนได้ เพื่อรอดูอีกสักหน่อยครับ


ที่มา
โรคหมอนรองกระดูก ทับเส้นประสาท ภัยร้ายซ่อนเงียบ รู้ก่อนรักษาทัน!!!
Pawin สิงหาคม 14, 2021
//mattspine.com/disc-introduction/

นพ.ปวินท์ เกษมพิพัฒน์ชัย
Spine by Dr.Matt




โดย: หมอหมู วันที่: 22 ตุลาคม 2564 เวลา:14:17:24 น.  

 
กลุ่มอาการกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท ( พิริฟอร์มิสซินโดรม,Piriformis Syndrome)

https://www.pobpad.com/piriformis-syndrome-กลุ่มอาการกล้ามเนื้
https://supachokclinic.com/piriformis-syndrome/
https://drsant.com/2014/11/piriformis-syndrome.html
https://www.facebook.com/216848761792023/photos/a.1473381102805443/1572913409518878/


โดย: หมอหมู วันที่: 20 มิถุนายน 2565 เวลา:14:58:04 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]