Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

โรคข้อเสื่อม




โรคข้อเสื่อมคืออะไร ?

โรคข้อเสื่อมเป็นโรคในกลุ่มข้ออักเสบชนิดหนึ่ง ที่พบได้บ่อยที่สุดในบรรดาโรคข้อทั้งหมด

พบได้ทั้งในผู้ชายและผู้หญิงที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป และในผู้ที่มีอายุมากกว่า 75 ปีขึ้นไปจะมีข้อเสื่อมมากกว่าร้อยละ 80-90 แต่อาจจะมีหรือไม่มีอาการก็ได้ โดยส่วนใหญ่มักมีข้อเสื่อมแต่ไม่มีอาการปวด
ข้อเสื่อมพบได้ทุกข้อในร่างกาย แต่พบได้บ่อยในข้อเข่า ข้อสะโพก กระดูกสันหลัง และ ข้อปลายของนิ้ว

กระดูกอ่อนเป็นกระดูกบริเวณส่วนปลายของกระดูก 2 ท่อน ที่มาเชื่อมต่อกันเป็นข้อ กระดูกอ่อนปกติจะมีสีขาวขุ่น ผิวเรียบ และยืดหยุ่น ทำหน้าที่ลดแรงที่กระทำต่อข้อและทำให้ข้อเคลื่อนไหวด้วยความราบรื่น

โรคข้อเสื่อมเป็นโรคที่ยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด แต่พบว่ามีการสึกกร่อนของกระดูกอ่อนผิวข้อ เมื่อกระดูกอ่อนสึกมากขึ้น เวลาเคลื่อนไหวข้อ กระดูกแข็งจะเสียดสีกันทำให้เกิดความเจ็บปวดและเกิดเสียงดัง (ข้อลั่น) เมื่อเป็นนาน ๆ ร่างกายจะพยายามสร้างกระดูกใหม่เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของข้อ เกิดเป็นกระดูกงอกขึ้นในบริเวณขอบกระดูก


ปัจจัยที่ทำให้ข้อเสื่อม มีหลายประการ ที่สำคัญคือ

• ความชรา โรคนี้พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ กระดูกอ่อนในผู้สูงอายุจะแตกต่างจากคนอายุน้อย ทำให้มีโอกาสเกิดโรคข้อเสื่อมได้ง่ายขึ้นแต่โรคข้อเสื่อมก็ไม่ได้เกี่ยวข้องกับอายุที่เพิ่มขึ้นเพียงอย่างเดียว

• น้ำหนักตัว โรคนี้พบบ่อยในคนอ้วน ยิ่งน้ำหนักตัวมากขึ้นเท่าไร ก็ยิ่งมีโอกาสมากขึ้นที่จะเป็นโรคข้อเสื่อม โดยเฉพาะข้อใหญ่ๆ ที่รับน้ำหนักตัว เช่น ข้อเข่า ข้อสะโพก หรือ กระดูกสันหลัง

• การใช้งานข้อที่ไม่ถูกต้อง
เช่น นั่งยองๆ นั่งพับเพียบ นั่งขัดสมาธิ คุกเข่า ก็จะโอกาสเกิดข้อเข่าเสื่อมมากขึ้น

• การเปลี่ยนแปลงในกระดูกอ่อน ที่เกิดขึ้นในข้อที่เคยได้รับอุบัติเหตุ หรือ ในโรคบางอย่าง เช่น โรครูมาตอยด์ โรคเกาต์ หรือ การติดเชื้อในข้อ ทำให้เกิดการอักเสบในข้อ และกระดูกอ่อนผิวข้อถูกทำลาย



อาการที่เกิดจาก ข้อเสื่อม

ผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่เป็นโรคข้อเสื่อมมักจะไม่มีอาการก่อนอายุ 40 ปี นอกจากผู้ที่มีเคยได้รับอุบัติเหตุต่อข้อมาก่อน

ในระยะแรกผู้ป่วยส่วนใหญ่จะไม่มีอาการ แม้จะพบว่ามีการเปลี่ยนแปลงทางภาพเอ๊กซเรย์ ขึ้นแล้ว

อาการของโรคข้อเสื่อม มักเกิดขึ้นแบบค่อยเป็นค่อยไป เริ่มแรกมักจะมีอาการปวดเวลาเคลื่อนไหวข้อมากๆ และมีอาการดีขึ้นเมื่อได้รับการพักผ่อน ต่อมาอาการจะมากขึ้น จนกระทั่งพักอยู่เฉยๆ ไม่ได้ทำงานอะไรก็ปวด บางครั้งอาจมีเสียงดังในข้อเวลาขยับเคลื่อนไหวข้อ มีอาการข้อบวม ข้อขัดตึงหลังตื่นนอน หรือหลังจากพักอยู่นิ่งๆ ไม่ได้ใช้ข้อนานๆ

เมื่อมีอาการปวดข้อมากขึ้น และ ไม่ได้บริหารกล้ามเนื้อเป็นเวลานาน ก็จะเกิดกล้ามเนื้ออ่อนแรง กล้ามเนื้อลีบ และข้อติด เคลื่อนไหวข้อได้น้อยลง



การวินิจฉัย


การวินิจฉัยโรคข้อเสื่อมจะบอกได้จากประวัติและการตรวจร่างกายเป็นสำคัญ โดยไม่จำเป็นต้องเอ๊กซเรย์ทุกคน การเอ๊กซเรย์จะมีประโยชน์ในการวินิจฉัยและบ่งบอกถึงความรุนแรงของโรคข้อเสื่อม โดยเฉพาะในกรณีที่จะต้องรักษาด้วยการผ่าตัด แต่ในบางครั้งแพทย์อาจต้องตรวจพิเศษ เพื่อแยกโรคข้ออักเสบที่มีอาการคล้ายคลึงโรคข้อเสื่อมออกไป



แนวทางการรักษา


ปัจจุบันยังไม่สามารถรักษาโรคข้อเสื่อมให้หายขาดได้ การรักษาในปัจจุบันมีจุดหมายคือ ลดอาการปวดหรืออาการอักเสบ ชะลอความเสื่อมให้ช้าลง ทำให้ข้อเคลื่อนไหวได้ปกติ ป้องกันหรือแก้ไขการผิดรูปร่างของข้อ เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันหรือทำการงานได้ตามปกติ ซึ่งแนวทางการรักษาทั่ว ๆ ไปมีดังนี้

• การปกป้องข้อ
ผู้ป่วยควรรู้จักการปฏิบัติตัวที่จะไม่ทำให้ข้อเสื่อมเร็วขึ้น เช่น การวิ่ง นั่งพับเพียบในรายที่มีข้อเข่าเสื่อม หลีกเลี่ยงการยกของหนักในรายที่มีกระดูกสันหลังเสื่อม เป็นต้น

การลดน้ำหนัก ในผู้ที่มีน้ำหนักเกิน ก็ช่วยลดแรงน้ำหนักตัวที่กระทำผ่านข้อ ทำให้ข้อเสื่อมช้าลงได้

การใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์ เช่น ไม้เท้า จะช่วยลดและถ่ายแรงที่กระทำผ่านข้อของขาได้

ลดการใช้ข้อขณะที่มีอาการปวดอักเสบมาก

• การบริหารร่างกาย
การบริหารร่างกายเป็นส่วนสำคัญที่สุดในการควบคุมโรคข้อเสื่อม จุดประสงค์ของการบริหารร่างกายก็เพื่อทำให้ข้อมีการเคลื่อนไหวสม่ำเสมอ เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ และยังช่วยบรรเทาอาการปวด ได้ด้วย

• การรักษาทางกายภาพบำบัดด้วยความร้อนและความเย็น
ช่วยคลายการเกร็งของกล้ามเนื้อและลดความเจ็บปวดได้

• การใช้ยา
มียาหลายอย่างที่นำใช้รักษาโรคข้อเสื่อม เช่น

- ยาบรรเทาอาการ เช่น ยาบรรเทาอาการปวดลดการอักเสบ ยาคลายกล้ามเนื้อ

- ยาช่วยชะลอความเสื่อม เช่น ยากระตุ้นการสร้างกระดูกอ่อน ยาชะลอความเสื่อม ยาฉีดน้ำไขข้อเทียม เป็นต้น ซึ่งผู้ป่วยแต่ละราย ก็จะตอบสนองต่อยาแต่ละชนิดไม่เท่ากัน และยาแต่ละชนิดก็จะมีข้อดีข้อเสียที่แตกต่างกันไป จึงควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยาเหล่านี้ เพราะยาเหล่านี้มักจะมีราคาแพงและต้องใช้ต่อเนื่องกันช่วงระยะเวลาหนึ่ง จึงจะเห็นผล

ยาเหล่านี้ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงข้อที่เสื่อมไปแล้วให้กลับหายเป็นปกติได้ แต่จะช่วยบรรเทาอาการปวดหรือการอักเสบของข้อ หรือ ชะลอความเสื่อมให้ช้าลง เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถดำเนินชีวิตประจำวัน และสามารถทำกายบริหารได้

• การผ่าตัด
การผ่าตัดเป็นวิธีการสุดท้ายที่จะนำมาใช้ในการรักษาโรคข้อเสื่อม ในรายที่ได้รับการรักษาข้างต้นแล้วไม่ได้ผล การผ่าตัดจะช่วยป้องกันหรือแก้ไขความผิดปกติจากโรคข้อเสื่อม ลดความเจ็บปวดและช่วยให้ผู้ป่วยเคลื่อนไหวข้อได้ดีขึ้น การผ่าตัดเปลี่ยนข้อจะช่วยเหลือผู้ป่วยโรคข้อเสื่อมในระยะท้ายได้
การผ่าตัดจะได้ผลดีหรือไม่ ขึ้นอยู่กับปัจจัยที่เกี่ยวข้องหลายประการ เช่น

-ตัวผู้ป่วยเอง เช่น อายุ โรคประจำตัวอื่น ๆ ภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด ความร่วมมือในการรักษา

-สาเหตุของข้อเสื่อม ความรุนแรงของข้อที่เสื่อม

-ชนิดของการผ่าตัด เช่น ผ่าตัดเปลี่ยนแนวข้อ ส่องกล้องเข้าไปในข้อ ผ่าตัดเชื่อมข้อ เปลี่ยนข้อเทียม

-การรักษาด้วยยา ร่วมกับกายภาพบำบัดก่อนและภายหลังการผ่าตัด



Create Date : 03 เมษายน 2551
Last Update : 15 มกราคม 2552 15:54:48 น. 1 comments
Counter : 7983 Pageviews.  

 

โรคข้อเสื่อม
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=03-04-2008&group=5&gblog=12

กระดูกเสื่อม กระดูกพรุน เหมือนกัน ??? ถ้าเป็นโรคกระดูก ต้องกินแคลเซี่ยมเสริม ???
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=18-09-2008&group=5&gblog=40

กระดูกงอก แคลเซี่ยมเกาะ ถือว่า ผิดปกติ ต้องผ่าตัดเอาออก หรือไม่ ?
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=16-09-2008&group=5&gblog=39

ข้อเข่าเสื่อม
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=29-05-2008&group=5&gblog=15

กระดูกสันหลังเสื่อม
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=24-06-2008&group=5&gblog=20


โดย: หมอหมู วันที่: 10 กรกฎาคม 2555 เวลา:0:19:37 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะ VIP Friend
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]