Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

เกาต์



เกาท์


เกาต์ เป็นภาวะที่มีกรดยูริกในเลือดสูง และ มีการตกตะกอนของกรดยูริกในข้อ และ อวัยวะต่าง ๆ

ผู้ชายมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเกาต์มากกว่าผู้หญิง 20 เท่า และมักจะพบในผู้ชายอายุมากกว่า 40 ปี

ส่วนในผู้หญิงจะพบได้บ่อยเมื่ออายุมากกว่า 50 ปี หรือ ช่วงวัยหมดประจำเดือน

โรคเกาต์เป็นโรคเรื้อรัง แต่ก็สามารถรักษาให้หายขาดได้หรือควบคุมอาการได้ ... ถ้ารักษาตั้งแต่เริ่มเป็น หลีกเลี่ยงสาเหตุนำที่กระตุ้นให้เกิดการอักเสบ และรับประทานยาติดต่อกันอย่างสม่ำเสมอ


อาการ และอาการแสดง …

• มีการอักเสบ ของ หลังเท้า ข้อโคนนิ้วหัวแม่เท้า ข้อเท้า ข้อเข่า ข้อมือ หรือ ข้ออื่น

• เกิดการอักเสบฉับพลัน โดยข้อที่อักเสบจะ บวม แดง ร้อน และ ปวดมากชัดเจน หลังจากได้รับการกระตุ้นจากสาเหตุต่าง ๆ

ข้อที่อักเสบจะบวมขึ้นอย่างรวดเร็วภายในเวลาเพียง 2 - 3 ชั่วโมง และข้อมักจะอักเสบเต็มที่ภายใน 24 ช.ม ผิวหนังในบริเวณข้อที่มีการอักเสบจะมีลักษณะแห้ง และบวมแดงเป็นมัน บางคนอาจจะมีไข้ ครั่นเนื้อครั่นตัว อาการอาจค่อย ๆ ทุเลาไปได้เอง จนหายสนิท ระหว่างที่ไม่มีอาการ จะไม่มีความผิดปกติใด ๆ ให้เห็น

• ระยะแรกจะมีการอักเสบครั้งละ 1-2 วัน เป็นข้อเดียว ปีละ 1-2 ครั้ง (ร้อยละ 60 จะมีอาการอีกภายใน 1 ปี) ถ้าไม่ได้รับการรักษา การอักเสบจะเป็นถี่ขึ้น จำนวนวันที่อักเสบนานขึ้น เป็นหลายข้อพร้อมกัน และกลายเป็นข้ออักเสบเรื้อรัง มีก้อนผลึกกรดยูริก ทำให้ข้อผิดรูป และ ข้อเสียอย่างถาวรได้

• ผู้ป่วยจะมีโอกาสเกิด นิ่วในไตได้ประมาณร้อยละ 20 และ มีโอกาสเกิด ไตวายได้ประมาณร้อยละ 10

• ในผู้ที่เป็นมานานก็อาจมี ก้อน ซึ่งเกิดจาก การตกผลึกของกรดยูริกใต้ผิวหนัง ในตำแหน่งต่าง ๆ เช่น ข้อศอก ข้อเท้า ใบหู ซึ่งถ้าก้อนใหญ่ก็อาจจะแตก และมีสารคล้ายชอล์กสีขาวออกมา แต่ถ้าก้อนไม่แตกเอง ก็ไม่ควรไปผ่า

• ผู้ที่มีลักษณะต่อไปนี้แสดงว่าเป็นโรคเกาต์แบบรุนแรง เช่น ปริมาณกรดยูริกในเลือดสูง มีก้อนผลึกกรดยูริก เริ่มเป็นตั้งแต่อายุน้อย มีอาการไตอักเสบ หรือ มีนิ่วในไต เป็นต้น


รู้ได้อย่างไรว่าเป็นโรคเกาต์

• ประวัติความเจ็บป่วย อาการและอาการแสดงของการอักเสบ โดยเฉพาะถ้าอาการดีขึ้นจาก ยาโคชิซีน

• เจาะน้ำในข้อเพื่อตรวจผลึกของกรดยูริก

• ตรวจกรดยูริกในเลือด ปกติผู้ชายน้อยกว่า 7 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ ผู้หญิงน้อยกว่า 6 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์

• เอกซเรย์กระดูกหรือข้อ ในระยะแรกจะปกติ แต่ในรายที่เป็นมาก เป็นมานาน จึงจะพบความผิดปกติ


การวินิจฉัยโรคเกาต์โดยอาศัย ประวัติ และลักษณะอาการแสดง ไม่ได้อาศัยการเจาะตรวจยูริกในเลือด


ผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องเจาะเลือดทุกคน เพราะถึงแม้ว่าเจาะเลือดแล้วกรดยูริกสูงแต่ไม่มีอาการ ก็ไม่ได้เป็นโรคเกาต์ แต่ ถ้ามีประวัติ และอาการของโรคเกาต์ ถึงแม้ว่ากรดยูริกในเลือดไม่สูง ก็จะรักษาแบบโรคเกาต์

มีผลการวิจัย พบว่า

- ร้อยละ 30 ของผู้ป่วยที่มีข้ออักเสบเฉียบพลันแบบโรคเกาต์ มีระดับกรดยูริกในเลือดอยู่ในระดับปกติ
- ร้อยละ 20 ของคนปกติ (ไม่มีข้ออักเสบ) มีระดับกรดยูริกสูงกว่าค่ามาตรฐาน


แพทย์จะเจาะเลือด เมื่อจะให้ยาลดการสร้างกรดยูริกหรือยาเพิ่มการขับกรดยูริก เพื่อดูว่าตอบสนองต่อยาดีหรือไม่ หรือ เพื่อดูว่าจะหยุดการรักษาได้หรือยัง (จะหยุดยา เมื่อระดับกรดยูริกในเลือด ต่ำกว่า 5 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์)



สาเหตุที่กระตุ้นทำให้เกิดการอักเสบ …

- การบาดเจ็บ หรือ ข้อถูกกระทบกระแทก

- อาหารไม่ได้ทำให้เกิดโรคเกาต์ แต่จะกระตุ้นให้เกิดการอักเสบขึ้น จึงควรหลีกเลี่ยงอาหารเหล่านี้

• เครื่องในสัตว์ เนื้อสัตว์ปีก (ไก่ เป็ด ห่าน) น้ำต้มกระดูก กุ้งชีแฮ้ ปลาหมึก หอย ซุปก้อน น้ำซุปต่าง ๆ กะปิ ปลาไส้ตัน ปลาซาร์ดีนกระป๋อง ปลาอินทรีย์

• พืชบางชนิด เช่น ถั่วต่าง ๆ เห็ด กระถิน ชะอม ใบขี้เหล็ก สะตอ ผักโขม หน่อไม้ ผักคะน้า แตงกวา

• ของหมักดอง เหล้า เบียร์ หรือ เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์อื่น ๆ

- อากาศเย็น หรือ ช่วงที่อากาศเปลี่ยนแปลง เช่น ช่วงเช้า หรือ ก่อนฝนตก เป็นต้น

- ยา เช่น แอสไพริน ยารักษาวัณโรค ยาขับปัสสาวะ ( ซึ่งใช้เป็นยาที่ใช้ในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง )



สำหรับอาหาร ... ต้องบอกไว้ก่อนว่า คนที่เป็นโรคเกาต์ ไม่ใช่ว่าต้องเลี่ยงอาหารทุกอย่างตามนั้น นะครับ

เพราะ ของแสลง ที่กระตุ้นให้เกิดอาการแต่ละคน ก็ไม่เหมือนกัน ... แล้ว ผู้ที่รักษาต่อเนื่อง คุมอาการได้ดี ก็สามารถทานอาหารได้ทุกอย่าง เพียงแต่ อาหารบางอย่าง อาจจำกัดปริมาณ ...

จึงต้องคอยสังเกตว่า อาหารอะไรที่เป็นของแสลง สำหรับ ตนเอง ..แล้วก็หลีกเลี่ยง ..

ปัจจุบัน นี้ มีแพทย์หลายท่านเชื่อว่า ไม่ต้องจำกัดอาหารแล้ว เนื่องจากปริมาณสารพิวรีน ( ที่จะกลายเป็นกรดยูริกในร่างกาย ) นั้น มีปริมาณน้อยมาก เมื่อเทียบกับ ปริมาณกรดยูริกที่ร่างกายสร้างขึ้นมาเอง ในแต่ละวัน ...

แต่เท่าที่ผมได้รักษาผู้ป่วยมา พบว่า มีผู้ป่วยจำนวนมาก ที่มีอาการอักเสบของข้อ เพิ่มขึ้นอย่างฉับพลันหลังจากที่ได้รับประทานอาหารบางอย่าง ( ของแสลง ) ..

ผมจึงยังแนะนำให้สังเกต และ หลีกเลี่ยง ของแสลง นั้น แต่ไม่ใช่ว่าให้หยุดหมดทุกอย่างนะครับ ... เพราถ้าหยุดหมดก็ไม่มีอะไรกินกัน ยิ่งในผู้สูงอายุก็ทานอะไรไม่ค่อยได้อยู่แล้ว ยิ่งถ้าเป็น ความดัน เบาหวาน หัวใจ ก็จะกลายเป็นการทรมานคนไข้ ขึ้นไปอีก ...





แนวทางการรักษา

1.หลีกเลี่ยง สาเหตุที่กระตุ้นให้เกิดการอักเสบ ซึ่งแต่ละคน ก็จะไม่เหมือนกัน

2.ลดการใช้งานของข้อที่อักเสบ ถ้าในช่วงที่มีอาการปวด อาการอักเสบมาก อาจจำเป็นต้องใส่เฝือกชั่วคราว

3.รับประทานยา ซึ่งจะแบ่งเป็น

3.1 ยาบรรเทาอาการปวดลดการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์

ยากลุ่มนี้จะเป็นยาบรรเทาอาการปวด ลดการอักเสบเท่านั้นไม่ได้รักษาโรคโดยตรง จะใช้ในช่วงที่มีอาการปวด อาการอักเสบมาก เมื่ออาการอักเสบลดลงก็ไม่จำเป็นต้องกินยากลุ่มนี้อีก

ผลข้างเคียงที่สำคัญของยาทุกตัวในกลุ่มนี้คือ ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ คลื่นไส้ แสบท้อง เป็นแผลในกระเพาะอาหาร อาจพบอาการบวมบริเวณหน้า แขน ขา ได้

3.2 ยารักษาโรคเกาต์โดยเฉพาะ มีชื่อเรียกว่า " โคชิซีน " ในช่วงที่มีอาการอักเสบมากก็อาจจะต้องรับประทานในปริมาณมาก ซึ่งอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงจากยามากขึ้นด้วย

ผลข้างเคียงที่พบได้บ่อย เช่น ท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน ผิวหนังเป็นผื่นคัน ซึ่งถ้าเกิดมีอาการข้างเคียงมากก็จะต้องลดปริมาณยาลง หรือ หยุดยาไว้ก่อน

ยานี้ยังใช้เป็นยาป้องกันการอักเสบด้วย ซึ่งจะต้องรับประทานวันละ 1 - 2 เม็ด ติดต่อกันเป็นเวลานาน 1 - 2 ปี

3.3 ยาลดการสร้างกรดยูริก และ ยาเพิ่มการขับถ่ายกรดยูริก ซึ่งจะต้องรับประทานติดต่อกันเป็นเวลานานอย่างน้อย 1-3 ปี

ยากลุ่มนี้จะใช้เมื่ออาการอักเสบของข้อดีขึ้นแล้ว (ข้อไม่มีอาการบวมแดง ไม่มีอาการปวดข้อ ไม่มีไข้) เพราะ ถ้าใช้ยากลุ่มนี้ในขณะที่กำลังมีการอักเสบ จะทำให้การอักเสบเป็นมากขึ้น

ขณะที่ใช้ยากลุ่มนี้ จะต้องดื่มน้ำมาก ๆ เพื่อป้องกันการเกิดนิ่วในไต

ยากลุ่มนี้มีผลข้างเคียงคือ ผื่นผิวหนัง คลื่นไส้อาเจียน ปวดท้อง ท้องเสีย วิงเวียนศีรษะ ในผู้ป่วยที่รับประทานยาไม่สม่ำเสมอ กิน ๆ หยุด ๆ จะเสี่ยงต่อการแพ้ยามากขึ้น จึงไม่แนะนำให้ใช้ในผู้ป่วยที่ไม่สามารถกินยาอย่างสม่ำเสมอได้

ไม่ควรใช้ยานี้ในเด็กอายุน้อยกว่า 2 ปี หญิงตั้งครรภ์หรือในช่วงให้นมบุตร ผู้ที่มีนิ่วในไตหรือนิ่วในถุงน้ำดี

4. ฉีดยาสเตียรอยด์เข้าข้อที่อักเสบ จะใช้ในกรณีที่มีการอักเสบอย่างรุนแรง และผู้ป่วยไม่สามารถกินยาได้ เท่านั้น เพราะ การฉีดยาเข้าข้อจะมีผลเสียค่อนข้างมาก เช่น มีโอกาสติดเชื้อในข้อ กระดูกอ่อนผิวข้อบางลง เกิดข้อเสื่อมเร็วขึ้น และกล้ามเนื้อที่อยู่รอบข้อจะลีบเล็กลง

ดังนั้นถ้าไม่จำเป็นจริง ๆ ก็ควรหลีกเลี่ยงการฉีดยาเข้าข้อ





เพิ่มเติมภาพบทความที่ลงใน นิตยสาร Men'sHealth  ฉบับ Sept 2012
ผมอยู่บ้านนอก เลยต้องใช้วิธีสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ แต่ก็ถือว่า คุณ T.A.dynamic เขียนสรุปเนื้อหาได้ดี นำมาฝากกัน ไม่เห่อ ไม่เห่อ จริงจริ๊งงงงงง ^_^



















............................

https://www.facebook.com/SOSspecialist/photos/a.857752197612737.1073741828.822694754451815/894073160647307/?type=1&theater

 
#มะเฟืองแก้เก๊าท์จริงหรือลวง ???

ตอนนี้ กระแสมะเฟืองแก้เก๊าท์ กำลังมาแรงนะครับ มีคำถามส่งมาใน inbox เรื่องนี้ทุกวัน หมอเลยอยากชี้แจงให้ทุกท่านเข้าใจก่อนว่า จริงหรือลวงอย่างไร ?

1 .#เราต้องเข้าใจก่อนว่าโรคเก๊าท์คืออะไรและเกิดขึ้นอย่างไร ?
ตอบ : โรคเก๊าท์คือ โรคปวดข้อชนิดหนึ่ง โดยมักเกิดการปวดข้อใหญ่ๆ ปวดแบบทันทีทันใด มีอาการปวดด้วย เช่น ข้อนิ้วหัวแม่โป้งเท้า - ตาตุ่ม แต่สามารถเกิดกับข้ออื่นๆ ได้ด้วยเช่นกัน
โรคเก๊าท์ เกิดจากร่างกายไม่สามารถขับ #สารพิวรีนจากอาหาร ได้ ทำให้ สารพิวรีน ไปค้างในกระแสเลือดและเปลี่ยนเป็น ผลึกยูริกไปสะสมตามข้อและเกิดการอักเสบตามมา

2. #เราต้องทราบว่ามะเฟืองมีคุณสมบัติอย่างไร ?
ตอบ ข้อดีของมะเฟืองมีมากมาย เช่น มีสาร Antioxident / มี Vitamin C มากรักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน / #ลดน้ำตาลและ สร้าง glycogen #ดังนั้นมะเฟืองจึงเหมาะมากที่เป็นผลไม้ในผู้ป่วยเบาหวาน

3 #เราต้องทราบว่ามะเฟืองมีข้อเสียไหม ?
ตอบ มะเฟืองมีกรดออกซาลิกสูง ผู้ป่วยโรคไตและ #ผู้ป่วยที่ต้องฟอกไตไม่ควรกินมะเฟือง นอกจากนี้แล้วมะเฟืองมีฤทธิ์ต้านการออกฤทธิ์ของยาบางตัวโดยเฉพาะ #ผู้ป่วยที่กินยาลดไขมันและยาคลายเครียดตามคำแนะนำแพทย์จึงไม่ควรบริโภคมะเฟือง

ดังนั้นจากข้อมูลดังกล่าว เรา #ยังไม่พบว่ามะเฟืองสามารถขับสารฟิวรีน ออกจากกระแสเลือดได้นะครับ ดังนั้นจึงไม่สามารถรักษาโรคเก๊าท์ได้ครับ
ด้วยความปรารถนาดีจาก #ทีมแพทย์เฉพาะทางบาทเดียว

อ่านข้อมูลของมะเฟืองได้ที่ มุลนิธิหมอชาวบ้านะครับ
https://www.doctor.or.th/article/detail/8866

...........
 
เรื่องแบบนี้ ถ้าผู้ป่วยอยากจะลอง .. ผมไม่เคยห้ามผู้ป่วยเลย เพราะ ถึงแม้ทดลองแล้วไม่ได้ผลดี ผลเสียอย่างมากก็ปวดข้อ ทรมาน ไม่ถึงกับเสียชีวิต .. และ การห้าม ก็ไม่ค่อยได้ผล เพราะผู้ป่วยเชื่ออย่างนั้นอยู่แล้ว ที่มาถามหมอเพียงแค่ต้องการคำยืนยันเพิ่มเติมเท่านั้น หมอบอกไม่ช่วย ผู้ป่วยก็ยังเชื่ออยู่ ถ้าหมอห้าม ก็อาจกลายเป้นทะเลาะกัน
 
ดังนั้น ถ้ามีผู้ป่วยมาถาม ผมก็จะตอบว่า " ตามที่หมอเรียนมา ไม่มีข้อมูลเรื่องนี้ ถ้าอยากจะทดลองดูก็ได้ แต่โดยส่วนตัวหมอไม่แนะนำ "
 
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=01-03-2008&group=5&gblog=8
 
ปล. ประสบการณ์ส่วนตัว ..เคยมีผู้ป่วยในคลินิกผม มาถามแล้วก็ไปทดลองทั้ง มะเฟือง มะนาว ใบขี้เหล็ก ใบสาบเสือ ฯลฯ ที่แชร์กันในเนตในเฟส ... ผ่านไปสักพัก ก็ปวดอักเสบกลับมา ยังไม่เคยมีคนไข้คนไหน ที่กลับมาบอกเลยว่า กินแล้วหาย .



สรุป กระเทียมมาปั่นผสมกับมะนาว รักษาโรคเกาต์ได้ ... ไม่จริง นะครับ

สามารถติดตามบทความต่อได้ที่นี่...>>>https://oryor.com/อย/detail/media_specify/739


สูตรการรักษาแปลก ๆ โดยเฉพาะที่อ้างว่า การรักษาที่หมอไม่เคยบอก ฯลฯ .. ก็ให้คิดไว้ก่อนเลยว่า " ไม่จริง " ... อะไรที่มันดี หมอบอกหมด เพราะ ถ้ามันดีจริง ผู้ป่วยก็ดี หมอก็ดัง ^_^ ...

ที่หมอไม่บอก ก็เพราะ มันไม่ดี บอกไปหมอก็โดนด่า เสียชื่อหมอ นะครับ


"""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""

อายุรศาสตร์ ง่ายนิดเดียว
3 สิงหาคม 2565

 
ระดับกรดยูริกในเลือดกับการเกิดโรคเกาต์
ถึงเทศกาลการตรวจสุขภาพประจำปี (อีกแล้ว) คำถามที่ได้รับเป็นประจำคือ กรดยูริกของฉันสูงกว่าค่าปรกติ ฉันจะเป็นเกาต์ไหม และหลาย ๆ คนมองคำว่า กรดยูริกในเลือดสูง เท่ากับ เป็นโรคเกาต์กันเลยทีเดียว
 
เพื่อไปหาคำตอบนี้ ผมก็ไปพลิก ไปค้นวารสารต่าง ๆ ย้อนกลับไปหลายสิบปี ก็เห็นการเปลี่ยนแปลงของความรู้ ความเชื่อและการปฏิบัติมาหลายประการ จะขอมาเล่าให้ฟังสนุก ๆ นะครับ
 
1. ในอดีต ความรู้ทางการแพทย์เรื่องของ protein receptor ที่คอยควบคุมสารเคมีระหว่างเซลล์ ความรู้เรื่องยีนควบคุมโปรตีน ความรู้เรื่องของการแพทย์แม่นยำ ยังมีน้อยมาก ประเด็นการเกิดเกาต์ ก็มุ่งเน้นไปที่ระดับกรดยูริกในเลือด ซึ่งก็ไม่ผิดนะครับ แต่เมื่อเรามีการพัฒนาไปมากขึ้นเราก็เริ่มมีการเปลี่ยนแปลง
 
2. ระดับกรดยูริกในเลือด กับ การตกตะกอนยูริกในข้อ กลับพบว่าไม่ได้สัมพันธ์กันสักเท่าไร และอะไรที่เป็นเหตุให้กรดยูริกมาอยู่ในข้อจนเกิดเกาต์ปัจจุบันก็ยังหาคำตอบได้ไม่หมด ปัจจุบันด้วยความรู้ทางพันธุกรรมและการศึกษา Genome-Wide Association Studies เราพบยีนมากมายที่เกี่ยวข้องกับสมดุลกรดยูริก ไม่ว่าจะเป็นการควบคุมการสร้างหรือการขับกรดยูริก
 
3. สมดุลกรดยูริก เป็นผลลัพธ์ของการผลิต (การดูดซึมและการสร้าง) กับการขับออก ดังนั้นเมื่อเราเห็นค่าสมดุลกรดยูริกที่เราวัดได้ว่าสูง ก็ต้องคิดว่าเกิดจากสร้างมากหรือขับออกลดลง ซึ่งในความเป็นจริงแห่งการเกิดโรคเกาต์ มันจะเกิดจากการขับออกที่ลดลงเสียมากกว่า แต่เรามักจะไปหาว่าอาหารอะไรที่ยูริกสูงแล้วลดมันเสีย มันก็ดีนะครับ แต่ไม่ตอบโจทย์เท่าไร
 
4. การขับออกที่ลดลงก็จะมุ่งประเด็นไปที่การขับออกที่ท่อไต เกือบ 90% ของกรดยูริกที่เกินเกิดจากตรงนี้ นอกจากไตเสื่อมไตวายแล้ว กลไกการขับออกที่ท่อไตด้วยโปรตีนขับออกก็สำคัญมาก และเราพบยีนสำคัญที่ควบคุมโปรตีนนั้นเช่น SLC22A12, SLC2A9, ABCG2 จริง ๆ มีอีกหลายตัวเลยนะ ผมยกมาที่มีการศึกษาชัด ความผิดปกติของยีนต่าง ๆ เหล่านี้ ทำให้การทำงานของโปรตีนบกพร่องหรือขาดการทำงานไป แน่นอนกรดยูริกจะคั่ง
 
5. นอกจากนี้ ยีนดังกล่าวยังไปควบคุมโปรตีนสำคัญในการจัดการยูริกที่อวัยวะอื่นอีกด้วย ที่มีการศึกษามากคือ SLC2A9 ที่ปรากฏบนกระดูกอ่อนผิวข้อ ที่น่าจะอธิบายเรื่องการตกตะกอนของผลึกยูริกในข้อได้ และเจ้ายีนตัวนี้ยังไปควบคุมโปรตีนที่เนื้อเยื่อใต้ผิวหนังบางจุด ที่น่าจะอธิบายการเกิดก้อนเกาต์ (gouty tophus) ที่ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้ หรือ ยีน ABCG2 พบที่ตับและลำไส้ ที่ควบคุมโปรตีนขับกรดยูริกนอกพื้นที่ไต ก็น่าจะมีส่วนของการรักษาสมดุลกรดยูริกด้วย
 
6. หลังจากมีการศึกษาเรื่องสมดุลการสร้าง การขับออก และรู้จักโปรตีน ยีนที่ควบคุมโปรตีนหลายตัว และพบว่าหากยีนเหล่านี้มีความผิดปกติ จะสัมพันธ์กับการเกิดเกาต์มากกว่าระดับสมดุลกรดยูริกในเลือด หรือแม้แต่ปัจจัยพื้นฐานดั้งเดิมหลายอย่างที่เราพบว่าสัมพันธ์กับการเกิดเกาต์มากกว่าระดับกรดยูริก เช่น ความอ้วน การดื้ออินซูลิน เส้นรอบเอว ค่าความดันโลหิตซิสโตลิก
 
7. ในยุคหลังที่การศึกษาเชิงลึกระดับโมเลกุลออกมาแล้วนั้น ได้มีการศึกษาที่รวบรวมงานวิจัยแบบ meta analysis ออกมาอีกหลายชิ้นงาน พบว่าระดับกรดยูริกในเลือดที่สูง สัมพันธ์กับการเกิดข้ออักเสบเกาต์เพียง 6-8% เท่านั้น เราพบปัจจัยอื่น ๆ ที่ส่งผลต่อการเกิดข้ออักเสบเกาต์ที่ชัดเจนกว่ามาก แต่ประเด็นคือ การตรวจทำได้ยาก ราคาแพง และทำได้เพียงบอกแนวโน้ม (ที่ดีกว่าระดับกรดยูริก)
 
8. โดยรวมแล้วการใช้ยีน คาดเดาการเกิดโรคเกาต์ได้ประมาณ 40-45% ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่ไม่ใช่แค่ยีนอย่างเดียวที่ส่งผลกับการเกิดโรคข้ออักเสบเกาต์ แต่ก็ดีกว่าแม่นยำกว่าระดับกรดยูริกในเลือดหลายเท่า และ”ปัจจัยอื่น” ที่ไม่ใช่ยีน ก็มีสัดส่วนของผลจากระดับกรดยูริกในเลือดอยู่เพียงเล็กน้อย ดังนั้นถ้าถามว่าการวัดระดับยูริกในเลือด จะคาดเดาการเกิดเกาต์ได้ดีหรือไม่ ตอบว่า ไม่ครับ
 
9. แล้วทำไมยังใช้อยู่ ... ระดับกรดยูริกใช้ร่วมในการวินิจฉัยโรคเกาต์ได้ คือวินิจฉัยเกาต์ก่อน แล้วค่อยไปวัดระดับยูริก ไม่ใช่วัดระดับยูริกก่อนแล้วไปวินิจฉัยเกาต์หรือกลัวว่าจะเป็นเกาต์ อีกประการคือ แม้ระดับกรดยูริกจะสัมพันธ์กับการเกิดเกาต์ไม่ถึง 10% แต่เป็นการตรวจที่ทำได้ง่าย ราคาถูก ทำได้ทุกที่ เพียงแต่จะแปลผลนั้นต้องระวังมาก ๆ (คิดเหมือนการตรวจ PSA)
 
10. ถึงแม้ความรู้จะเปลี่ยนแปลงไปมากเพียงใด แต่หลักการแห่งการวินิจฉัย คือ ประวัติ การตรวจร่างกาย ความเสี่ยงการเกิดโรค คือหลักในการคิดและประเมินความน่าจะเป็นก่อนการทดสอบ แล้วเลือกการทดสอบที่มีความไวความจำเพาะที่เหมาะสม หลังจากนั้นจึงเอาไปแปลผลเป็นโอกาสการเกิดโรคหลังทดสอบ อย่าให้เพียงผลการทดสอบอย่างเดียวมาแปลผลและวินิจฉัย ยังเป็นหลักการที่ดีและต้องใช้อยู่เสมอครับ

เครดิต

อายุรศาสตร์ ง่ายนิดเดียว
https://www.facebook.com/medicine4layman/posts/pfbid02cfyZk1dusF7frY1YwTVZ1hrgr9B93gXUATT8iqgXX25nHdH9auW5AF7SeJ799CjPl



 


Create Date : 01 มีนาคม 2551
Last Update : 4 สิงหาคม 2565 1:09:21 น. 12 comments
Counter : 79292 Pageviews.  

 
บทความดีค่ะ วันก่อนก็ตรวจ Lipid profile ไป ปกติทุกอย่างค่อยโล่งใจหน่อย


โดย: Toon16 วันที่: 1 มีนาคม 2551 เวลา:13:26:34 น.  

 

ขอบคุณครับ ..

ยินดีด้วยครับ ...ที่ผลตรวจออกมาปกติ .. แต่ก็อย่าชะล่าใจ ต้องดูแลสุขภาพ และ ออกกำลังกายต่อไปด้วยนะครับ


โดย: หมอหมู วันที่: 1 มีนาคม 2551 เวลา:15:41:22 น.  

 
ขอบคุณสำหรับสาระที่มีประโยชน์มากๆครับ
ไม่ทราบเต้าหู้กับนมถั่วเหลืองนับเป็นของแสลงสำหรับคนเป็นเก๊าท์ด้วยไหมครับ


โดย: ruangt (ruangt ) วันที่: 9 ธันวาคม 2553 เวลา:11:57:54 น.  

 


//www.docguide.com/treatment-gout?hash=xkji8k

Source: Rev Med Interne

Treatment of gout

; Dubost JJ, Mathieu S, Soubrier M
; Revue de Medecine Interne (Mar 2011)

Tags:
allopurinol
Arthritis
benzbromarone
colchicine
febuxostat
fenofibrate
losartan
pegloticase
probenecid

Read/Add Comments | Email This | Print This | PubMed

In France,

colchicine remains the standard treatment for the acute flare of gout. The lowest dose currently used decreases digestive toxicity. Doses of colchicine should be adapted to renal function and age, and possible drug interactions should be considered.

Non steroidal anti-inflammatory drugs are an alternative to colchicine, but their use is frequently limited by comorbidity.

When these treatments are contraindicated, corticosteroid injections can be performed after excluding septic arthritis. Systemic corticosteroids could be used in severe polyarticular flares.

Anti-IL1 should provide a therapeutic alternative for severe cortico dependant gout with tophus.

To prevent acute flares and reduce tophus volume, uric acid serum level should be reduced and maintained below 60mg/L (360μmol/L). To achieve this objective, it is often necessary to increase the daily dose of allopurinol above 300mgs, but the need to adapt the dose to renal function is a frequent cause of therapeutic failure.

In the absence of renal stone or renal colic and hyperuraturia, uricosuric drugs are the second-line treatment.

Probenecid is effective when creatinine clearance is superior to 50mL/min

Benzbromarone, which was withdrawn due to hepatotoxicity, can be obtained on an individualized patient basis in the case of failure of allopurinol and probenecid.

Febuxostat, which was recently approved, is a therapeutic alternative.

Diuretics should be discontinued if possible.

Use of fenofibrate should be discussed in the presence of dyslipidemia and losartan in patient with high blood pressure.

Uricolytic drugs (pegloticase), which are currently being investigated, may be useful for the treatment of serious gout with tophus, especially in the presence of renal failure.

Education of patient, identification and correction of cardiovascular risk factors should not be forgotten.





โดย: หมอหมู วันที่: 28 มีนาคม 2554 เวลา:13:03:54 น.  

 
เข้ามาอ่านเพื่อดูรายละเอียดอาการของคุณแม่ค่ะ ได้ความรู้เยอะเลย ขอบคุณมากนะคะ คุณหมอเปิดคลีนิคที่กำแพงเพชรใช่ไหมคะ? ถ้าหนูเรียนจบกลับไทยไป จะไปทำงานที่เชียงรายค่ะ แล้วจะพาคุณแม่ไปตรวจรักษานะคะ ขอบคุณมากๆค่ะ


โดย: กลมขึ้นทุกวัน วันที่: 5 พฤศจิกายน 2554 เวลา:2:52:25 น.  

 


โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=05-01-2008&group=5&gblog=2

โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ กายภาพบำบัด
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=20-01-2008&group=5&gblog=3

โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ ข้อแนะนำเกี่ยวกับยา MTX (เมทโทรเทรกเสด หรือ ยาต้านมะเร็ง)
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=21-02-2008&group=5&gblog=4

โรครูมาตอยด์ในเด็ก
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=26-02-2008&group=5&gblog=7

โรคเอสแอลอี หรือ โรคลูปัส
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=08-03-2008&group=5&gblog=9

การตรวจทางห้องปฏิบัติการ (ตรวจแลบ)
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=10-02-2008&group=4&gblog=9

โรคข้ออักเสบ
https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=23-12-2007&group=5&gblog=1

เวบสมาคมรูมาติซั่มแห่งประเทศไทย ( หมออายุรกรรมโรคข้อ )
//www.thairheumatology.org/index.php

เวบสมาคมรูมาติซั่ม รายชื่อแพทย์รูมาโต ( หมออายุรกรรมโรคข้อ )
//www.thairheumatology.org/list_bkk.php



โดย: หมอหมู วันที่: 22 มิถุนายน 2555 เวลา:14:33:50 น.  

 
//www.phyathai.com/phyathai/new/th/specialcenter/popup_cms_detail.php?cid=250&type=List



นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ครอบครัว
รพ.พญาไท 2

กรดยูริคสูง และโรคเก้าท์

กรดยูริคเป็นสารที่เป็นผลขั้นปลายของการเผาผลาญสารพิวรีน (purine) ภาวะกรดยูริคสูง (hyperuricemia) พบได้ 2-13% ของคนทั่วไป เกือบทั้งหมด (90%) เกิดจากความบกพร่องในการขับกรดทิ้ง มีน้อยมากที่เกิดจากการสร้างกรดมากเกินไป กรณีที่เกิดจากสร้างกรดมากมักเป็นความผิดปกติแต่กำเนิดของเอ็นไซม์ บางกรณีเกิดจากทั้งสองกลไกพร้อมกันคือผลิตมากและขับทิ้งน้อย

สาเหตุของกรดยูริคสูงมีสามแบบ
1. ขับกรดยูริคออกได้น้อย (Under-excretor) อาจเกิดจาก
(1) ไม่ทราบสาเหตุ
(2) เป็นกรรมพันธ์ที่เป็นตั้งแต่วัยหนุ่มสาว
(3) ไตวาย ซึ่งจะมีกรดยูริคคั่งก็ต่อเมื่ออัตราเลือดไหลผ่านตัวกรองของไต(GFR) ต่ำกว่า 20 ซีซี/นาที หรือเป็นระยะที่ 4 แล้ว
(4) เมตาโบลิกซินโดรม ซึ่งเป็นความผิดปกติหลายอย่างร่วมกันคือความดันเลือดสูง อ้วน ไขมันในเลือดสูง เป็นเบาหวานแบบดื้อต่ออินสุลิน และกรดยูริคสูงแบบที่ไตขับกรดยูริคทิ้งได้น้อยลง
(5) ยาบางตัวก็ทำให้กรดยูริคสูง เช่น ยาขับปัสสาวะ แอสไพริน ยารักษาวัณโรค ยากดภูมิคุ้มกัน เป็นต้น
(6) ความดันเลือดสูง
(7) ภาวะที่ร่างกายมีความเป็นกรดสูง (acidosis) จากกรดแล็คติคคั่ง หรือจากเบาหวาน หรือจากอดอาหาร
(8) โรคความดันเลือดสูงในคนตั้งครรภ์
(9) ฮอร์โมนต่อมไทรอยด์ต่ำ
(10) ฮอร์โมนต่อมพาราไทรอยด์สูง
(11) โรคซาร์คอยโดซีส (sarcoidosis) ซึ่งมีการอักเสบขึ้นในหลายระบบของร่างกายโดยไม่ทราบสาเหตุ
(12) การได้รับพิษตะกั่วเรื้อรัง เช่นทำงานในโรงงานแบตเตอรี่หรือโรงงานสี

2. สร้างกรดยูริคมากกว่าปกติ (Over-producer) เช่น
(1) กรรมพันธ์ขาดเอ็นไซม์ที่ใช้สารพิวรีน (purine) ซึ่งเป็นสารตั้งต้นของกรดยูริค
(2) รับประทานอาหารที่มีสารพิวรีนสูง เช่น เนื้อสัตว์ เครื่องในสัตว์ แอลกอฮอล์ และถั่ว
(3) เป็นโรคที่มีการสลายเอากรดนิวคลิกออกมามาก มักพบในกรณีเม็ดเลือดแตกในโรคมะเร็งทางโลหิตวิทยา เช่น มะเร็งต่อมน้ำเหลือง มะเร็งเม็ดเลือดขาว
(4) ภาวะก้อนเนื้องอกสลาย (tumor lysis syndrome)
(5) โรคกรรมพันธ์ที่ทำให้มีการสลายเอากล้ามเนื้อมาสะสมเป็นไกลโคเจน (glycogenosis)

3. ทั้งสร้างมากและขับออกน้อยเกิดพร้อมกัน (Combination) เช่น
(1) ดื่มแอลกอฮอล์ เพราะแอลกอฮอล์ไปเพิ่มการสลายอะเดนีน นิวคลีโอไทด์ซึ่งเป็นสารตั้งต้นกรดยูริค พร้อมกับไปลดการขับกรดยูริคทางไต
(2) การออกกำลังกาย ซึ่งอาจมีผลให้เกิดการสลายเนื้อเยื่อควบคู่ไปกับการที่ไตลดการขับของเสียลงเนื่องจากภาวะขาดน้ำ
(3) กรรมพันธ์

การวินิจฉัยแยกชนิดของกรดยูริคสูง
การวินิจฉัยแยกสาเหตุนี้ มักทำเมื่อ
(1) ผู้ป่วยอายุน้อย หรือ
(2) ระดับกรดยูริกสูงกว่า 11 mg/dl หรือ
(3) เป็นโรคเก้าท์แล้ว (มีข้ออักเสบ)

วิธีทำคือเก็บปัสสาวะ 24 ชม.ขณะรับประทานอาหารและดื่มแอลกอฮอล์ในระดับเดิมที่เคยดื่ม แล้วตรวจหาครีอาตินินและกรดยูริกทั้งในเลือดและในปัสสาวะ หลังจากนั้นให้รับประทานอาหารที่มีพิวรีนต่ำและงดแอลกอฮอล์นาน 6 วัน แล้วเก็บปัสสาวะ 24 ชั่วโมงตรวจแบบเดิมอีก แล้ววินิจฉัยว่าเป็นผู้ป่วยกลุ่มใดในสามกลุ่ม ดังนี้
ชนิดของกรดยูริคคั่ง (hyperuricemia) prediet urine uric a. prediet urine uric a.
1. กินสารพิวรีนมาก (High purine intake) >6 mmol/dl <4 mmol/ml
2. สร้างกรดมาก (Over-producer) >6 mmol/dl <4.5 mmol/ml
3. ขับกรดทิ้งได้น้อย (Under-excretor) >6 mmol/dl <2 mmol/ml

ในกรณีที่ตรวจปัสสาวะ 24 ชม.ไม่ได้ อาจใช้วิธีตรวจ spot urine หาสัดส่วนระหว่างกรดยูริคกับครีอาตินินในปัสสาวะ ถ้าสัดส่วนสูงกว่า 0.9 แสดงว่าเป็นกรดยูริคสูงแล้วทำให้ไตเสียการทำงาน (uric acid nephropathy) ถ้าต่ำกว่า 0.7 แสดงว่าเป็นเป็นโรคไตวายเรื้อรังแล้วทำให้กรดยูริคสูง (hyperuricemia secondary to CRF)
การรักษาภาวะกรดยูริคสูง (hyperuricemia)

ผู้ป่วยกรดยูริคสูง (hyperuricemia) เป็นคนละเรื่องกับการเป็นโรคเก้าท์ ผู้ป่วยกรดยูริคสูงเกือบทั้งหมดไม่ได้กลายเป็นเก้าท์ และไม่เกิดนิ่วในไต จึงไม่จำเป็นต้องรักษา เพราะไม่คุ้มกับอันตรายจากการแพ้ยาลดกรดยูริคซึ่งแพ้แล้วถึงตายได้ จะยกเว้นก็เฉพาะกรณีได้ยาเคมีบำบัดซึ่งการให้ยาลดระดับกรดยูริคเพื่อป้องกัน
การเกิดนิ่วในไตอาจจะมีประโยชน์

การรักษาภาวะกรดยูริคสูงด้วยการจำกัดอาหารก็ไม่มีประโยชน์ เพราะกรดยูริคสูงส่วนใหญ่ (90%) เกิดจากกลไกการขับกรดยูริคทิ้งทำได้น้อยกว่าปกติ (under-excretor) ไม่เกี่ยวกับการรับประทานอาหารที่มีพิวรีนมาก การรักษาภาะกรดยูริคสูงด้วยวิธีจำกัดอาหารที่มีพิวรีนสูง ควรทำเฉพาะในรายที่วินิจฉัยได้แน่ชัดว่าเป็นพวกกรดยูริคสูงจากได้อาหารพิวรีนสูง (high purine intake) เท่านั้น หรือเป็นผู้ป่วยโรคเก้าท์แล้วและมีอาการกำเริบหลังรับประทานอาหารบางชนิด ซึ่งเป็นผู้ป่วยจำนวนน้อยมาก

ความรู้เกี่ยวกับอาหารที่มีสารพิวรีน
อาหารที่มีพิวรีนสูงมาก (มากกว่า 150 มก./อาหาร 100 กรัม) ได้แก่ เครื่องในสัตว์ ไก่ เป็ด กุ้ง ถั่ว กระถิน ชะอม กะปิ
อาหารที่มีพิวรีนสูงปานกลาง (50-150 มก./อาหาร 100 กรัม) ได้แก่เนื้อหมู เนื้อวัว ปลาหมึก ใบขี้เหล็ก สะตอ ถั่วลันเตา หน่อไม้
อาหารที่มีพิวรีนน้อย (น้อยกว่า 50 มก./อาหาร 100 กรัม) ได้แก่ นม ไข่ ผัก ผลไม้ ธัญญพืชต่างๆ น้ำตาล ไขมัน
จะเห็นว่าการจะจำกัดอาหารไม่ให้มีพิวรีนเลยนั้นเป็นไปไม่ได้เพราะพิวรีนเป็นองค์ประกอบของอาหารทั่วไป การควบคุมอาหารพิวรีนสูงจึงแนะนำให้ใช้กับผู้ป่วยโรคเก้าท์ที่มีอาการกำเริบจากอาหารบางชนิดเท่านั้น ไม่แนะนำให้ใช้กับผู้ที่มีระดับกรดยูริคในเลือดสูงทั่วไป

โรคเก้าท์ อาการ และการวินิจฉัย
โรคเก้าท์ คือภาวะข้ออักเสบที่เกิดจากมีผลึกของกรดยูริค (monosodium urate - MSU) ไปเกาะตามเนื้ออ่อนรอบข้อ มักเป็นข้อเดียวก่อน เช่นที่หัวแม่เท้า ขณะอักเสบจะมีอาการมากจนทำอะไรไม่ได้ หากไม่ได้รับการรักษามักทำให้เกิดการอักเสบซ้ำซากของข้อ แล้วลามไปเป็นหลายข้อ แล้วเป็นปุ่ม (tophus) ไปทั่ว ถ้าปล่อยให้อักเสบเรื้อรังก็ทำให้ข้อเสียหาย ผลึกของกรดยูริคที่ไปเกาะที่ไตก็ทำให้ไตเสียการทำงาน

ก่อนหน้าที่จะเป็นโรคเก้าท์ กรดยูริคในเลือดจะสูงผิดปกติล่วงหน้าก่อนที่จะมีอาการโรคเก้าท์นานกว่า 20 ปีเสมอจนถือเป็นกฎได้ ส่วนปุ่มปมรอบข้อจะเกิดขึ้นหลังจากมีอาการของเก้าท์แล้ว

การจะวินิจฉัยว่าเป็นเก้าท์จริงแท้หรือไม่ ต้องเจาะน้ำไขข้อ (synovial fluid) ขณะที่ข้อกำลังอักเสบมาตรวจพิสูจน์ว่ามีผลึกของกรดยูริคอยู่จริงขณะที่มีอาการอักเสบ ทั้งนี้ต้องเข้าใจก่อนว่าผลึกของกรดยูริคอาจอยู่ในน้ำไขข้อได้โดยไม่ทำให้ข้ออักเสบ (ไม่เป็นเก้าท์) ได้เหมือนกัน

การรักษาโรคเก้าท์
ระยะที่ 1. การยุติข้ออักเสบ
ใช้ยาแก้อักเสบเช่น Colchicine ซึ่งมีฤทธิ์ระงับการทำงานของเม็ดเลือดขาวได้ดีแต่มักมีอาการปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสียมาก โดยเฉพาะถ้าให้แบบคลาสสิกคือ 0.6 มก.ทุกหนึ่งชั่วโมงจนหมดอาการหรือครบสิบโด๊ส วิธีที่ดีกว่าคือให้แบบทุก 4 ชั่วโมง หรือวันละ 4 เม็ด จะทนยาได้ดีกว่า หรืออาจใช้ Indomethacin หรือ NSAID ตัวอื่น โดยให้ยาจนหยุดอักเสบไปแล้ว 3-4 วัน
ระยะที่ 2. การลดกรดยูริคเพื่อป้องกันการกลับเป็นใหม่

มียาให้ใช้ 2 กลุ่ม
1. ยาขับกรดยูริก (Uricosuric) ขับยูริคออกทางปัสสาวะ เช่น probenecid ซึ่งออกฤทธิ์ระงับ tubular reabsorbtion เริ่มให้ 250 mg วันละสองครั้ง ให้ได้เต็มที่วันละ 3 กรัม เหมาะกับพวก underexcretor คือขับกรดยูริก 24 ชม.ได้ต่ำกว่า 800 มก. ที่ไตดีและไม่มีนิ่ว
2. ยาลดการสร้างกรดยูริค (Xantine oxidase inhibitor) เช่น Allupurinol เหมาะกับพวก over producer หรือไตไม่ดี หรือมีนิ่ว ให้วันละ 200-300 มก. วันละครั้ง ต้องปรับขนาดถ้าไตไม่ดี ยานี้อาจแพ้ถึงตายได้ กรณีมีนิ่วอาจ alkalinize urine ด้วยโปตัสเซียม ซิเตรท และโซเดียมไบคาร์บอเนตหรือ acetazolamide ร่วมกับการให้ได้รับน้ำเพียงพอ

เนื่องจากภาวะกรดยูริคสูงส่วนใหญ่ (ประมาณ 90%) เกิดจากกลไกการขับทิ้งกรดยูริคที่ร่างกายสร้างขึ้นทำได้น้อยกว่าปกติ (underexcretor) ไม่เกี่ยวกับการรับประทานอาหารที่มีพิวรีนมาก การรักษาภาะกรดยูริคสูงด้วยวิธีจำกัดอาหารที่มีพิวรีนสูง เช่นเนื้อสัตว์ เครื่องในสัตว์จึงไม่ค่อยมีประโยชน์ ควรทำเฉพาะในรายที่วินิจฉัยได้แน่ชัดว่าเป็นพวกกรดยูริคสูงจากได้อาหารพิวรีนสูง (high purine intake) หรือผู้ป่วยที่อาการปวดข้อกำเริบหลังจากรับประทานอาหารบางชนิดเท่านั้น


โดย: หมอหมู วันที่: 24 กรกฎาคม 2555 เวลา:1:49:53 น.  

 
รับประทานยา XANDASE 300 MG วันละ 1 เม็ด เป็นเวลา 4 ปีมาแล้ว
เจาะเลือด 1 มิย 2555 ผล Uric acid 5.4
เจาะครั้งก่อน 21 ตค 2554 ผล Uric acid 4.5

ปัจจุบันยังรับประทานยานี้อยุ่ผมจะมีปัญหาเรื่องนิ่วในไตหรือเปล่าครับ

ผลเจาะเลือดเมื่อวันที่ 1 มิย 2555
Fasting Blood Glucose(FBG) 105
Creatine 1.06
eGFR Thai 77.84
eGFR Chines 77.02
eGFR Caucasian 69.97
Uric acie 5.4
HBAIC (%) 5.3
ผ่าตัดบายพาสโรคเส้นเลือดหัวในตีบเมื่อปี 1942
แพทย์นัดทุก 4 เดือนไปพบทุกครั้งหลัวทำบายพาส
เวลานี้ออกกำลังประจำปั่นจักรยานวันละมากกว่า 2 ชม. ทำมาสองปี
และปั่นจักรยานไปกลับอยุธยา 9 ถึง 10 ครั้งตั้งแต่ มค ต้นปี ระยะทาง 140 กม.
ขอทราบว่าการรับประทานยาลดกรดยูริค มาหลายปีผมจะมีปัญหานิ่วในไตไหมครับ
รักษาที่ รพ จุฬา ใช้สิทธิประกันสังคมครับ


โดย: RageMachine วันที่: 20 ตุลาคม 2555 เวลา:15:37:06 น.  

 
ค่าทางห้องปฏิบัติการ : Uric Acid
//www.yaandyou.net/content-view.php?conid=538

ค่าทางห้องปฏิบัติการนี้คืออะไร

ค่าตรวจวัดค่า Uric acid (กรดยูริก) ในเลือด โดยปกติร่างกายจะมีการย่อยสลายสารที่ร่างกายสร้างขึ้นคือสาร พิวรีน (purines) โดยสารพิวรีนนี้สร้างจากภายในร่างกายเองและได้รับจากอาหารต่างๆ เช่น เนื้อแดงวัว เนื้อหมู เนื้อแกะ เนื้อปลาทะเล ปลากระป๋อง ขนมปัง เบียร์ ไวน์ และเครื่องในสัตว์ทุกชนิด เป็นต้น โดยสารพิวรีนนี้จะถูกย่อยสลายเป็นกรดยูริก และนำไปกำจัดต่อโดยไต และขับออกทางปัสสาวะ
แต่หากร่างกายมีการสร้างพิวรีนมากเกินไป หรือไตไม่สามารถขับกรดยูริกได้เพียงพอ ร่างกายจะมีการสะสมกรดยูริกในเลือดปริมาณมากขึ้น ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคเก๊าว์ (gout) เป็นต้น

การตรวจ Uric acid สำคัญอย่างไร

กรดยูริกในเลือดหากได้มีการสร้างตามปกติ และมีการกำจัดได้ปกติ ร่างกายไม่มีผลอะไร แต่เมื่อไรก็ตามที่มีปัญหาการสร้างกรดยูริกมากเกิน (over- production) หรือการกำจัดกรดยูริกได้น้อยเกินไปนั้น (decreased excretion) ทำให้ระดับกรดยูริกในกระแสเลือดเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งหากสูงเป็นเวลานาน จะตกผลึกจับตัวกันเป็นของแข็งกลายเป็นคริสตัล (crystals) แทรกอยู่ในช่องว่างระหว่างข้อต่อและกระดูก ทำให้เกิดอาการปวดร้าวบริเวณข้อต่างๆ
จึงมีความจำเป็นในการตรวจวัดปริมาณยูริกในเลือดเพื่อช่วยในการวินิจฉัย ติดตามโรคเก๊าว์ รวมทั้งผู้ที่ได้รับยาเคมีบำบัดหรือฉายรังสี

ตรวจบ่อยแค่ไหน

แพทย์พิจารณาสั่งตรวจเมื่อสงสัยว่าผู้ป่วยมีกรดยูริกในเลือดสูง ผู้ที่มีอาการแสดงของโรคเก๊าว์ เช่น ปวดบริเวณข้อต่างๆ หรือสั่งตรวจในผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งที่ได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด หรืการฉายแสง


ค่า Uric acid แปลผลอย่างไร
ค่าปกติของ Uric acid

หากมีใบรายงานแสดงผลเลือด (ถ้ามี) ให้ยืดตามค่าที่ระบุนั้นเป็นหลัก
ค่าปกติโดยทั่วไป คือ
ผู้ชาย ค่าช่วง 4 – 8.5 mg/dL
ผู้หญิง ค่าช่วง 2.7 – 7.3 mg/dL
เด็ก ค่าช่วง 2.5 – 5.5 mg/dL
ค่าวิกฤติของ Uric acid
ค่าใดๆที่มากกว่า 12 mg/dL
ค่าน้อยผิดปกติ
1. อาจเกิดโรค wilson’s disease เป็นภาวะที่ตับเก็บสะสมทองแดงไว้เกินขนาด
2. อาจเกิดสภาวะ Fanconi syndrome อันเนื่องจากการได้รับโลหะหนักมากเกินไป
3. อาจเกิดจากพิษจากสารตะกั่วเป็นเวลานาน

ค่ามากผิดปกติ
1. กรณีที่การทำงานของไตปกติ แต่พบค่ากรดยูริกในเลือดสูง อาจเกิดจาก ดังนี้
• อาจเกิดจากกินอาหารที่มีสารพิวรีนมากเกินไป เช่น
o เนื้อแดงวัว เนื้อหมู เนื้อแกะ เนื้อปลาทะเล ปลากระป๋อง ปลาตัวเล็ก และเครื่องในสัตว์ทุกชนิด
o อาหารที่มียีสต์เป็นส่วนประกอบ เช่น ขนมปัง เบียร์ ไวน์
o กะหล่ำดอก หน่อไม้ฝรั่ง เห็ด ผักโขมผลไม้สด เมล็ดพืช ธัญพืช ถั่วเม็ดใหญ่ เช่น เกาลัด ถั่วลันเตา
• อาจเกิดจากความผิดปกติของการสร้างสารพิวรีนในร่างกาย โอกาสเกิดเซลล์กลายพันธุ์ พบเซลล์มะเร็ง
• อาจเกิดจากสภาวะเม็ดเลือดแดงแตก
• อาจเกิดจากสาเหตุใดๆที่ทำให้เกิดสภาวะกล้ามเนื้อสลาย (rhabdomyolysis) ปัสสาวะสีโค้ก อ่อนแรง ปวดกล้ามเนื้อ หากมีอาการดังกล่าว พบแพทย์ทันที
• อาจเกิดจากการได้รับยาบางชนิด
2. กรณีตับเป็นปกติ และมิได้กินอาหารที่มีพิวรีนสูง แต่พบค่ากรดยูริกในเลือดสูง อาจเกิดจาก ดังนี้
• อาจกำลังเกิดโรคไตเรื้อรัง ส่งผลให้การขับกรดยูริก รวมถึงของเสียอื่นๆออกจากร่างกายได้น้อยลง
• สภาวะเป็นกรดจากเบาหวาน หรือเป็นกรดจากการอดอาหาร (acidosis)
• อาจเกิดสภาวะไทรอยด์ทำงานน้อยเกินไป (hypothyroidism)
• อาจเกิดจากโรคพิษการตั้งครรภ์ (Toxemia of pregnancy)
• อาจเกิดจากโรคพิษสุราเรื้อรัง (alcoholism)
• อาจเกิดจากการได้รับยาบางชนิด
การจัดการ ทั้งสำหรับผู้ที่มีค่าน้อยและมากผิดปกติ

o หาสาเหตุที่เป็นไปได้ข้างต้น พร้อมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมนั้นๆ เช่น ลดอาหารที่มีเพิ่มกรดยูริกในเลือด เป็นต้น พร้อมพบแพทย์เพื่อประเมินภาวะโรคและแนวทางการรักษาต่อไป
o หากท่านได้รับยา หรือสมุนไพรชนิดใดอยู่ ไม่ว่าจะได้รับจากที่ใดๆก็ตาม กรุณาแจ้งแพทย์เพื่อประเมินว่ายามีผลหรือไม่ เพื่อหาแนวทางการดูแลต่อไป

ข้อควรทราบ

1. หากมีข้อสงสัยปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร
2. ข้อมูลผลกรดยูริก เป็นข้อมูลเบื้องต้นเท่านั้น มิสามารถระบุชี้ชัดได้จากตัวท่านเอง หากไม่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ที่ชัดเจนก่อน ซึ่งจะต้องมีการตรวจค่าทางห้องปฏิบัติการค่าอื่นๆร่วมด้วยเพื่อยืนยันผลการวินิจฉัยจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

เอกสารอ้างอิง

1. Uric acid. Lab Tests Online®. American Association for Clinical Chemistry (AACC). Last modified: January 27, 2012. [cited in 1 February 2012]. Available from //labtestsonline.org/understanding/analytes/uric-acid/tab/test.
2. อัญชนะ พานิช, จุลภัทร ยศสุนทรากุล, สมชาย เอี่ยมอ่อง. Uric acid and Kidney. [cited in 1 February 2012]. Available from //www.kidneychula.com/download/Nephrology-2547/05.pdf.
3. Low Purine Diet. Drug Information Online, Drugs.com. [cited in 1 February 2012]. Available from //www.drugs.com/cg/low-purine-diet.html.
4. ประสาร เปรมะสกุล. Uric acid. ใน: คู่มือแปลผลตรวจเลือด เล่มแรก. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพ: อรุณการพิมพ์; 2553. หน้า 214.



โดย: หมอหมู วันที่: 14 มกราคม 2561 เวลา:13:43:02 น.  

 
โรคเกาต์คืออะไร

โรคเกาต์ (gout) คือโรคที่เกิดจากภาวะกรดยูริก (uric acid) ในเลือดสูงติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน โดยภาวะกรดยูริกสูงหมายถึงระดับกรดยูริกมากกว่า 7 มก./ดล. ในเพศชาย และ 6 มก./ดล. ในเพศหญิง โรคเกาต์พบบ่อยในชายวัยกลางคนขึ้นไป หรือหญิงในวัยหมดประจำเดือน

การสะสมของกรดยูริกในร่างกายเป็นระยะเวลานาน อาจทำให้เกิดโรคเกาต์ขึ้นได้ โดยสามารถเกิดโรคได้ในหลายอวัยวะ ได้แก่ ข้อ ผิวหนัง และไต อาการที่พบบ่อยที่สุด คืออาการทางข้อ ได้แก่ ข้ออักเสบเฉียบพลัน โดยผู้ป่วยจะมีอาการปวดอย่างรุนแรงและฉับพลันทันทีทันใด ข้อที่เป็นจะบวมขึ้น มีสีแดงรอบ ๆ ข้อ หากคลำดูจะพบว่าอุ่นกว่าข้อเดียวกันในข้างตรงข้าม ข้อที่อักเสบในช่วงแรก มักเป็นที่ข้อโคนนิ้วหัวแม่เท้า หรือข้อเท้า หากทิ้งไว้นาน โดยไม่ได้รับการรักษา อาจมีการอักเสบที่ข้ออื่นได้ด้วย เช่น ข้อเข่า ข้อศอก ข้อมือเป็นต้น
ข้อโคนหัวแม่เท้าอักเสบเฉียบพลัน
รูปที่ 1 แสดงข้อโคนหัวแม่เท้าซ้ายอักเสบเฉียบพลันจากโรคเกาต์

จากรูปที่ 1 จะสังเกตเห็นข้อที่บวมกว่าอีกข้าง และมีสีแดงรอบ ๆ ข้อ หากมีการกดบริเวณข้อ ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บปวดอย่างมาก
ข้อเท้าซ้ายอักเสบเฉียบพลันจากโรคเกาต์
รูปที่ 2 แสดงข้อเท้าซ้ายอักเสบเฉียบพลันจากโรคเกาต์

จากรูปที่ 2 จะเห็นว่าข้อเท้าข้างซ้ายบวมเมื่อเทียบกับข้างขวา เนื่องจากมีการอักเสบเฉียบพลันจากโรคเกาต์

ในระยะแรก ๆ ข้ออักเสบเกาต์อาจหายได้เองภายใน 1 สัปดาห์ ผู้ป่วยที่มีการอักเสบครั้งแรก ๆ มักไปหาซื้อยารับประทานเอง ทำให้ข้ออักเสบหายเร็วกว่านั้น (ยาแก้ปวด ลดอักเสบที่ผู้ป่วยไปหาซื้อรับประทานเองนั้น อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคแผลในกระเพาะ โรคตับหรือโรคไตได้)

หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง ต่อมาการอักเสบระยะหลัง ๆ จะเป็นรุนแรงขึ้นและนานขึ้นในแต่ละครั้ง จนอาจกลายเป็นข้ออักเสบเรื้อรัง ไม่หายสนิท ทำให้ยากต่อการรักษา ดังนั้นผู้ป่วยที่มีข้ออักเสบทุกรายจึงควรมาพบแพทย์ตั้งแต่เนิ่น ๆ เพื่อให้ได้รับการวินิจฉัยและการรักษาที่ถูกต้อง

นอกจากอาการทางข้อแล้ว หากโรคเกาต์ถูกละเลยอยู่นาน อาจเกิดการสะสมของกรดยูริกที่บริเวณผิวหนัง เรียกว่า ก้อนโทฟัส ดังรูปที่ 3
ก้อนโทฟัส
รูปที่ 3 แสดงก้อนโทฟัส ซึ่งเกิดจากการสะสมของกรดยูริกเป็นระยะเวลานาน ที่บริเวณโคนนิ้วกลางข้างซ้าย

จากรูปที่ 3 จะเห็นก้อนซึ่งเกิดจากการสะสมของกรดยูริกในร่างกายเป็นระยะเวลานาน ที่บริเวณโคนนิ้วกลางข้างซ้าย เรียกว่าก้อนโทฟัส

โรคแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น หากผู้ป่วยไม่ได้รับการดูแลรักษาที่ถูกต้อง ก็คือ โรคไต ซึ่งมีปัจจัยหลายอย่างในผู้ป่วยโรคเกาต์ที่อาจทำให้เกิดโรคไต เช่น การซื้อยาแก้ปวดกินเอง โดยไม่เคยตรวจค่าการทำงานของไต, นิ่วในทางเดินปัสสาวะซึ่งอาจเกิดจากการรวมตัวกันของกรดยูริก, ภาวะไตวายเฉียบพลันจากกรดยูริกจำนวนมากที่ถูกขับออกทางไต (มักพบในผู้ป่วยมะเร็งบางชนิดที่ได้รับยาเคมีบำบัด) และท้ายที่สุดคือ โรคไตวายเรื้อรังจากการสะสมของกรดยูริกในเนื้อไต นอกจากนี้โรคที่พบร่วมได้บ่อยในผู้ป่วยโรคเกาต์ เช่น ภาวะอ้วนลงพุง ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง หรือเบาหวาน ก็อาจเป็นปัจจัยร่วมที่ทำให้เกิดโรตไตได้เช่นกัน ดังนั้นภาวะเหล่านี้ควรได้รับการตรวจหาและรักษาไปพร้อมกันในผู้ป่วยโรคเกาต์

คำแนะนำสำหรับผู้ป่วยโรคเกาต์
1. หากมีอาการข้ออักเสบ กล่าวคือ ปวดและบวมที่ข้อ ควรไปพบแพทย์โดยเร็ว เพื่อให้ได้รับการวินิจฉัยที่ถูกต้อง แพทย์อาจสั่งตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ หรือเจาะเอาน้ำในข้อที่อักเสบมาตรวจ ตามแต่กรณี เนื่องจากมีโรคข้ออักเสบบางชนิดที่แสดงอาการคล้าย ๆ กันกับโรคเกาต์ แต่ต้องได้รับการรักษาที่แตกต่างออกไป

2. เมื่อแพทย์ได้บอกการวินิจฉัยโรคว่าเป็นโรคเกาต์แล้ว ควรรับประทานยาตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด กรณีที่แพทย์สั่งยาประจำให้ ห้ามหยุดยาเองเนื่องจากยาบางชนิดยังต้องรับประทานอยู่แม้ว่าหายปวดแล้ว เพราะโรคเกาต์เกิดจากภาวะกรดยูริกในเลือดสูงมาเป็นเวลานานหลายปีก่อนเกิดอาการ จัดเป็นภาวะเรื้อรัง ดังนั้นการรักษาที่จะได้ผลดี จึงต้องรับประทานยาอย่างต่อเนื่อง

3. ปรับทัศนคติเกี่ยวกับแนวทางการรักษาโรคเกาต์ให้ถูกต้อง เช่น มีความเชื่อที่ว่าการควบคุมอาหารทำให้หายจากโรคเกาต์โดยไม่ต้องใช้ยา ซึ่งแท้จริงแล้ว ขบวนการในการเกิดโรคเกาท์นั้นซับซ้อนมาก จริงอยู่ที่ว่าโรคเกาต์ในรายที่ไม่รุนแรง มีการกำเริบไม่บ่อย และระดับกรดยูริกในเลือดไม่สูงมากนัก การควบคุมอาหารและหยุดสุราอาจเพียงพอ แต่พบว่าในผู้ป่วยโรคเกาต์ส่วนใหญ่การควบคุมอาหารเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอต่อการรักษา จึงจำเป็นต้องใช้ยาลดกรดยูริกร่วมด้วย การที่จะรักษาโรคเกาต์ให้ได้ผลดีนั้น ต้องลดระดับกรดยูริกในเลือดให้อยู่ในระดับต่ำติดต่อกันเป็นเวลานาน ดังนั้นการรับประทานยาอย่างต่อเนื่องจึงเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการรักษา

4. ปรับทัศนคติเกี่ยวกับยาให้ถูกต้อง เนื่องจากมีความเชื่อผิด ๆ จำนวนมาก เช่น “กินยานาน ๆ แล้วยาจะไปสะสมที่ตับ ไต” ซึ่งแท้ที่จริงแล้ว ยาที่แพทย์สั่งให้รับประทานอย่างต่อเนื่องนั้น มักจะปลอดภัยต่อตับแตะไต อีกทั้งแพทย์ยังมีการตรวจค่าการทำงานของตับและไตเป็นระยะให้ด้วย ในทางตรงกันข้ามยาที่รับประทาน แล้วทำให้เกิดตับอักเสบหรือไตวายนั้นมักเป็นยาแก้ปวดที่ผู้ป่วยซื้อรับประทานเองมากกว่า

5. หยุดบุหรี่และสุรา (หากไม่สามารถหยุดสุราได้ อาจดื่มไวน์ได้ไม่เกิน 1 แก้วต่อวัน)

6. ดื่มน้ำให้มาก (มากกว่า 2 ลิตรต่อวัน) ยกเว้นในกรณีที่แพทย์สั่งไม่ให้ดื่มน้ำมากในบางโรค เช่น โรคหัวใจวาย

7. หลีกเลี่ยงอาหารและเครื่องดื่มหวานจัด/อาหารเค็มจัด/เครื่องในสัตว์/อาหารทะเลบางชนิด เช่น ปลาซาร์ดีน กุ้ง หอย และปลาหมึก/เนื้อแดง (หมายความถึงสัตว์ปีก เนื้อหมู เนื้อวัว เนื้อแพะ เนื้อแกะ)

8. ดื่มผลิตภัณฑ์จากนมไขมันต่ำให้มากขึ้น (Low-fat or non-fat dairy products) รับประทานผักให้มากขึ้น (ความเชื่อที่ว่าผักบางชนิด เช่น หน่อไม้ ควรงดในผู้ป่วยโรคเกาท์นั้น ไม่ได้มีการพิสูจน์ทางการแพทย์ที่ชัดเจน และไม่ได้มีคำแนะนำจากสมาคมทางการแพทย์ใด ๆ ว่าให้งดผักเหล่านั้นในผู้ป่วยโรคเกาต์)

9. รักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ด้วยการจำกัดอาหารแคลอรีสูงและออกกำลังกาย

10. มาตรวจตามนัดอย่างสม่ำเสมอ ตรวจเลือดเป็นระยะตามที่แพทย์สั่ง เพื่อดูประสิทธิภาพของยา และเฝ้าระวังผลข้างเคียงของยา รวมถึงตรวจหาโรคร่วมที่พบบ่อยในผู้ป่วยโรคเกาต์ ได้แก่ โรคอ้วนลงพุง โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง โรคไขมันเกาะตับ และโรคไต

โดย นพ.สิทธิ์ หงษ์ทรงเกียรติ
อายุรแพทย์โรคข้อและรูมาติสซั่ม (Rheumatologist)
จัดทำเมื่อ เดือน พ.ย. 2557

//www.thairheumatology.org/%e0%b9%82%e0%b8%a3%e0%b8%84%e0%b9%80%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%95%e0%b9%8c/?fbclid=IwAR1cvZ5QYaP2l3kRRW8TyIhhOj1jJixUE3ikCIyqUgYuIRKA0tYFMZzivuU



โดย: หมอหมู วันที่: 8 มิถุนายน 2562 เวลา:15:28:06 น.  

 
ตรวจฟรี!ยีนแพ้ยาโรคเก๊าท์ 10,00 ราย เป็นของขวัญปีใหม่
สยามรัฐออนไลน์ 20 ธันวาคม 2562 12:10 กทม.
https://siamrath.co.th/n/122240

กรมวิทย์บริการให้สิทธิพิเศษ แก้ปัญหาลดความเสี่ยงมียีนที่เกิดผื่นแพ้ยาชนิดรุนแรง ซึ่งแต่ละปีมีผู้ป่วยรายใหม่นับแสนราย

นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดเผยว่า แต่ละปีมีผู้ป่วยโรคเก๊าท์รายใหม่ที่ต้องใช้ ยาอัลโลพูรินอล (Allopurinol) นับแสนราย ซึ่งยาอัลโลพูรินอลเป็นยาลดการสร้างกรดยูริค ใช้รักษาผู้ป่วยโรคเก๊าท์

สำหรับ ผู้ที่มียีน HLA-B*58:01 อัลลีล จะมีความเสี่ยงในการเกิดผื่นแพ้ยาชนิดรุนแรง(Severe cutaneous adverse drug reactions: SCARs) ได้มากกว่าคนที่ไม่มียีนนี้ 348 เท่า โดยในคนไทยสามารถพบการมียีนเสี่ยงนี้ได้ร้อยละ 15-20 แล้วแต่ภูมิภาค ซึ่งปัจจุบันการตรวจยีนแพ้ยา HLA-B*58:01 อัลลีล ยังไม่สามารถใช้สิทธิประโยชน์จากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และสิทธิกองทุนประกันสังคม

ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันผู้ป่วยเป็นโรคผื่นแพ้ยาทางผิวหนังชนิดรุนแรง กรมฯจึงเปิดให้บริการตรวจยีน HLA-B*5801 ในผู้ป่วยโรคเก๊าท์รายใหม่ก่อนเริ่มยาลดกรดยูริค หรือเริ่มยามาไม่เกิน 2 เดือน 10,000 รายฟรี เพื่อเป็นของขวัญปีใหม่ 2563

โดยสามารถส่งตรวจได้ที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ นนทบุรี หรือศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ 14 แห่งทั่วประเทศ ซึ่งสถานบริการที่ต้องการส่งตัวอย่างตรวจสามารถทำหนังสือถึงกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดยระบุ “ขอส่งตัวอย่างตรวจเข้าโครงการของขวัญปีใหม่ พ.ศ. 2563 จากกระทรวงสาธารณสุขสู่ประชาชน” เพื่อขอความอนุเคราะห์ยกเว้นค่าบริการการตรวจ หรือติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์การแพทย์จีโนมิกส์ กองการแพทย์จีโนมิกส์และสนับสนุนนวัตกรรม กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โทร.0-2951-0000 ต่อ 98095-6

นพ.โอภาสกล่าวว่า ผื่นแพ้ยารุนแรงเป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุขเรื่องหนึ่งที่ต้องมีกระบวนการดูแล แก้ไข จากรายงานที่มีเข้ามาที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาพบว่า มีผู้ป่วยที่มีผื่นแพ้ยารุนแรงชนิดที่มีการหลุดลอกของผิวหนัง หรือเกิดเป็นแผลพุพองทั่วร่างกายคล้ายไฟไหม้ และเกือบเสียชีวิต มากถึง 1,000-2,000 รายต่อปี โดยยาที่เป็นสาเหตุต้นๆ คือ Allopurinol (ยาลดกรดยูริค) และ ยา Carbamazepine (ยากันชัก) ซึ่งแต่ละปีมีผู้ป่วยโรคเก๊าท์รายใหม่ที่ต้องใช้ยา ยาอัลโลพูรินอล (Allopurinol) นับแสนราย แม้ว่าผู้ป่วยที่เกิดผื่นแพ้ยารุนแรงจะมีไม่มาก แต่ต้องรักษาตัวในโรงพยาบาล ทุกข์ทรมานจากภาวะแทรกซ้อน บางรายตาบอด และเสียชีวิต หลังจากออกจากโรงพยาบาลยังคงต้องมีการรักษาดูแลรักษาต่อเนื่อง มีผลกระทบถึงคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและผู้ใกล้ชิดที่ต้องดูแลอย่างมาก



โดย: หมอหมู วันที่: 20 ธันวาคม 2562 เวลา:16:32:41 น.  

 
อายุรศาสตร์ ง่ายนิดเดียว
3 สิงหาคม 2565

ระดับกรดยูริกในเลือดกับการเกิดโรคเกาต์
ถึงเทศกาลการตรวจสุขภาพประจำปี (อีกแล้ว) คำถามที่ได้รับเป็นประจำคือ กรดยูริกของฉันสูงกว่าค่าปรกติ ฉันจะเป็นเกาต์ไหม และหลาย ๆ คนมองคำว่า กรดยูริกในเลือดสูง เท่ากับ เป็นโรคเกาต์กันเลยทีเดียว

เพื่อไปหาคำตอบนี้ ผมก็ไปพลิก ไปค้นวารสารต่าง ๆ ย้อนกลับไปหลายสิบปี ก็เห็นการเปลี่ยนแปลงของความรู้ ความเชื่อและการปฏิบัติมาหลายประการ จะขอมาเล่าให้ฟังสนุก ๆ นะครับ

1. ในอดีต ความรู้ทางการแพทย์เรื่องของ protein receptor ที่คอยควบคุมสารเคมีระหว่างเซลล์ ความรู้เรื่องยีนควบคุมโปรตีน ความรู้เรื่องของการแพทย์แม่นยำ ยังมีน้อยมาก ประเด็นการเกิดเกาต์ ก็มุ่งเน้นไปที่ระดับกรดยูริกในเลือด ซึ่งก็ไม่ผิดนะครับ แต่เมื่อเรามีการพัฒนาไปมากขึ้นเราก็เริ่มมีการเปลี่ยนแปลง

2. ระดับกรดยูริกในเลือด กับ การตกตะกอนยูริกในข้อ กลับพบว่าไม่ได้สัมพันธ์กันสักเท่าไร และอะไรที่เป็นเหตุให้กรดยูริกมาอยู่ในข้อจนเกิดเกาต์ปัจจุบันก็ยังหาคำตอบได้ไม่หมด ปัจจุบันด้วยความรู้ทางพันธุกรรมและการศึกษา Genome-Wide Association Studies เราพบยีนมากมายที่เกี่ยวข้องกับสมดุลกรดยูริก ไม่ว่าจะเป็นการควบคุมการสร้างหรือการขับกรดยูริก

3. สมดุลกรดยูริก เป็นผลลัพธ์ของการผลิต (การดูดซึมและการสร้าง) กับการขับออก ดังนั้นเมื่อเราเห็นค่าสมดุลกรดยูริกที่เราวัดได้ว่าสูง ก็ต้องคิดว่าเกิดจากสร้างมากหรือขับออกลดลง ซึ่งในความเป็นจริงแห่งการเกิดโรคเกาต์ มันจะเกิดจากการขับออกที่ลดลงเสียมากกว่า แต่เรามักจะไปหาว่าอาหารอะไรที่ยูริกสูงแล้วลดมันเสีย มันก็ดีนะครับ แต่ไม่ตอบโจทย์เท่าไร

4. การขับออกที่ลดลงก็จะมุ่งประเด็นไปที่การขับออกที่ท่อไต เกือบ 90% ของกรดยูริกที่เกินเกิดจากตรงนี้ นอกจากไตเสื่อมไตวายแล้ว กลไกการขับออกที่ท่อไตด้วยโปรตีนขับออกก็สำคัญมาก และเราพบยีนสำคัญที่ควบคุมโปรตีนนั้นเช่น SLC22A12, SLC2A9, ABCG2 จริง ๆ มีอีกหลายตัวเลยนะ ผมยกมาที่มีการศึกษาชัด ความผิดปกติของยีนต่าง ๆ เหล่านี้ ทำให้การทำงานของโปรตีนบกพร่องหรือขาดการทำงานไป แน่นอนกรดยูริกจะคั่ง

5. นอกจากนี้ ยีนดังกล่าวยังไปควบคุมโปรตีนสำคัญในการจัดการยูริกที่อวัยวะอื่นอีกด้วย ที่มีการศึกษามากคือ SLC2A9 ที่ปรากฏบนกระดูกอ่อนผิวข้อ ที่น่าจะอธิบายเรื่องการตกตะกอนของผลึกยูริกในข้อได้ และเจ้ายีนตัวนี้ยังไปควบคุมโปรตีนที่เนื้อเยื่อใต้ผิวหนังบางจุด ที่น่าจะอธิบายการเกิดก้อนเกาต์ (gouty tophus) ที่ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้ หรือ ยีน ABCG2 พบที่ตับและลำไส้ ที่ควบคุมโปรตีนขับกรดยูริกนอกพื้นที่ไต ก็น่าจะมีส่วนของการรักษาสมดุลกรดยูริกด้วย

6. หลังจากมีการศึกษาเรื่องสมดุลการสร้าง การขับออก และรู้จักโปรตีน ยีนที่ควบคุมโปรตีนหลายตัว และพบว่าหากยีนเหล่านี้มีความผิดปกติ จะสัมพันธ์กับการเกิดเกาต์มากกว่าระดับสมดุลกรดยูริกในเลือด หรือแม้แต่ปัจจัยพื้นฐานดั้งเดิมหลายอย่างที่เราพบว่าสัมพันธ์กับการเกิดเกาต์มากกว่าระดับกรดยูริก เช่น ความอ้วน การดื้ออินซูลิน เส้นรอบเอว ค่าความดันโลหิตซิสโตลิก

7. ในยุคหลังที่การศึกษาเชิงลึกระดับโมเลกุลออกมาแล้วนั้น ได้มีการศึกษาที่รวบรวมงานวิจัยแบบ meta analysis ออกมาอีกหลายชิ้นงาน พบว่าระดับกรดยูริกในเลือดที่สูง สัมพันธ์กับการเกิดข้ออักเสบเกาต์เพียง 6-8% เท่านั้น เราพบปัจจัยอื่น ๆ ที่ส่งผลต่อการเกิดข้ออักเสบเกาต์ที่ชัดเจนกว่ามาก แต่ประเด็นคือ การตรวจทำได้ยาก ราคาแพง และทำได้เพียงบอกแนวโน้ม (ที่ดีกว่าระดับกรดยูริก)

8. โดยรวมแล้วการใช้ยีน คาดเดาการเกิดโรคเกาต์ได้ประมาณ 40-45% ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่ไม่ใช่แค่ยีนอย่างเดียวที่ส่งผลกับการเกิดโรคข้ออักเสบเกาต์ แต่ก็ดีกว่าแม่นยำกว่าระดับกรดยูริกในเลือดหลายเท่า และ”ปัจจัยอื่น” ที่ไม่ใช่ยีน ก็มีสัดส่วนของผลจากระดับกรดยูริกในเลือดอยู่เพียงเล็กน้อย ดังนั้นถ้าถามว่าการวัดระดับยูริกในเลือด จะคาดเดาการเกิดเกาต์ได้ดีหรือไม่ ตอบว่า ไม่ครับ

9. แล้วทำไมยังใช้อยู่ ... ระดับกรดยูริกใช้ร่วมในการวินิจฉัยโรคเกาต์ได้ คือวินิจฉัยเกาต์ก่อน แล้วค่อยไปวัดระดับยูริก ไม่ใช่วัดระดับยูริกก่อนแล้วไปวินิจฉัยเกาต์หรือกลัวว่าจะเป็นเกาต์ อีกประการคือ แม้ระดับกรดยูริกจะสัมพันธ์กับการเกิดเกาต์ไม่ถึง 10% แต่เป็นการตรวจที่ทำได้ง่าย ราคาถูก ทำได้ทุกที่ เพียงแต่จะแปลผลนั้นต้องระวังมาก ๆ (คิดเหมือนการตรวจ PSA)

10. ถึงแม้ความรู้จะเปลี่ยนแปลงไปมากเพียงใด แต่หลักการแห่งการวินิจฉัย คือ ประวัติ การตรวจร่างกาย ความเสี่ยงการเกิดโรค คือหลักในการคิดและประเมินความน่าจะเป็นก่อนการทดสอบ แล้วเลือกการทดสอบที่มีความไวความจำเพาะที่เหมาะสม หลังจากนั้นจึงเอาไปแปลผลเป็นโอกาสการเกิดโรคหลังทดสอบ อย่าให้เพียงผลการทดสอบอย่างเดียวมาแปลผลและวินิจฉัย ยังเป็นหลักการที่ดีและต้องใช้อยู่เสมอครับ

เครดิต
อายุรศาสตร์ ง่ายนิดเดียว
https://www.facebook.com/medicine4layman/posts/pfbid02cfyZk1dusF7frY1YwTVZ1hrgr9B93gXUATT8iqgXX25nHdH9auW5AF7SeJ799CjPl



โดย: หมอหมู วันที่: 4 สิงหาคม 2565 เวลา:1:10:05 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]